มาตรฐานที่ ๓

กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระดับคุณภาพ : ดีเยี่ยม

๑. กระบวนการพัฒนา

กระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรตามมาตรฐานและตัวชี้วัดหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ครูรู้จักผู้เรียนรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนรวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำผลที่ได้มาให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

๓.๑ โรงเรียนมีการดำเนินการพัฒนาให้ครูทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบครบถ้วน ตลอดจนมีการสอดแทรกแผนเศรษฐกิจพอเพียง แผนSTEM รวมทั้งมีการบูรณาการ ภาระงาน และได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของมาตรฐาน และยังสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสามารถสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยวิชาโครงงานในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และการงานอาชีพ ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต รวมทั้งครูผู้สอนมีสื่อการเรียนการสอนรูปแบบจัดการเรียนรู้ และมีผลงานของนักเรียนเชิงประจักษ์มีการประเมินผู้เรียนจากการปฏิบัติจริง และทราบผลย้อนกลับนำไปพัฒนาตนเองได้ทันที นอกจากนี้ยังมีการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาเช่น วัดอรุณ-ราชวราราม การเรียนรู้เรื่องการสร้างเครื่องบินพลังยาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร การดำนาและทำขนมพื้นบ้านที่นาเฮียไช้ จังหวัดสุพรรณบุรี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกป่าชายเลนบางขุนเทียน เป็นต้น รวมทั้งครูผู้สอนมีการจัดทำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีสื่อการเรียนการสอน มีภาระงาน ได้ผลงานของนักเรียนออกมาในเชิงประจักษ์ มีการประเมินผู้เรียนจากการปฏิบัติจริง ทำให้ทราบผลย้อนกลับและนำไปพัฒนาตนเอง จนสามารถสรุปองค์ประกอบความรู้นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้

๓.๒ โรงเรียนดำเนินการพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการผลิตสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย และนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริงจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถสรุปองค์ความรู้และนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะ แสดงออก แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็นนำเสนอผลงานและแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ได้แก่ กิจกรรม IS กิจกรรมโครงงานกิจกรรมเปิดบ้านทวีธา กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน ภายนอก และภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน พิพิธภัณฑ์โรงเรียน ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ กิจกรรมทัศนศึกษาในทุกระดับชั้น พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ป่ากลางกรุงของบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)ศูนย์ซ่อมบำรุงบริษัทการบินไทย จามจุรีสแควร์อพวช.เป็นต้น

๓.๓ โรงเรียนทวีธาภิเศกได้กำหนดให้มีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน โดยมีการใช้กิจกรรมในชั้นเรียนเชิงบวกที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักเรียนและนักเรียน นักเรียนและครู ตลอดจนนักเรียนและสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมเพื่อนสอนเพื่อน ที่ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมห้อง กิจกรรมวันปีใหม่และวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมวันไหว้ครู กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียน กิจกรรมกีฬาสี กิจกรรม Big Cleaning กิจกรรมรณรงค์ในวันสำคัญต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาและเทศกาล เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ และได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงนอกจากนี้โรงเรียนได้จัดโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยจัดทำข้อมูลสารสนเทศ การเยี่ยมบ้านของนักเรียน และใช้ฐานข้อมูลของโปรแกรม SCAN TOOL เพื่อตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่และปัญหาของนักเรียน แล้วส่งต่อไปยังกลุ่มงานที่รับผิดชอบเพื่อแก้ไขและให้ความช่วยเหลือ อีกทั้งกิจกรรมรับส่งลูกสู่บ้านหลังที่ ๒ โดยศิษย์เก่าและผู้ปกครองส่งนักเรียนสู่ชั้นเรียนพร้อมเล่าประสบการณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน และผู้ปกครองมีส่วนร่วมและสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน

๓.๔ โรงเรียนมีระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ตามแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พ.ศ.๒๕๕๗ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เน้นการพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เช่น การสร้างแบบทดสอบ/การสอบวัดผลกลางภาค-ปลายภาคเรียน แบบประเมินตามสภาพจริง การวัดสมรรถนะผู้เรียน ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ ในทุกรายวิชา มีกระบวนการในการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ โดยการแจกใบแจ้งผลการเรียนทั้งในระหว่างภาคเรียน และเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน มีการแจ้งชื่อนักเรียนที่มีผลการเรียนไม่ผ่าน (0, ร. , มผ.) ผ่านช่องทางประกาศและทางเว็ปไซต์ เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบ และดำเนินการแก้ไขผลการเรียนตามช่วงที่สถานศึกษากำหนด และในปีการศึกษา ๒๕๖๑ มีการดำเนินการจัดกิจกรรมการแก้ ๐ , ร. , มผ. ก่อนการตัดสินผลการเรียนเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พบครูผู้สอนในการแก้ไขผลการเรียน และทำกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ ในช่วงหลังสอบวัดผลปลายภาคเรียน ๑ สัปดาห์ เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์และยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้น

๓.๕ โรงเรียนได้ส่งเสริมและสนับสนุนครูในการจัดทำการวิจัยในชั้นเรียน โดยผลการดำเนินงานการวิจัยในชั้นเรียนเป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ Professional Learning Community เป็นการร่วมมือ ร่วมใจกันของครู ผู้บริหารโรงเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ พัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านการวางแผน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมหรือชุมชนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียน ให้ครูได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามกรอบทิศทางและขอบข่ายการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งมีความจำเป็นที่บุคลากรต้องพัฒนางานต่างๆที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยนำผลการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ไปใช้ในการปรับปรุงและการพัฒนาตนเองเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ต้องมีการกำหนดกรอบทิศทางและขอบข่ายการดำเนินงาน จะเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ที่เมื่อปฏิบัติแล้ว สามารถประเมินผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามกรอบที่ได้วางไว้หรือไม่เพียงใด รวมถึงสามารถนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานได้เป็นอย่างดี

๒. ผลการดำเนินงาน

จากการดำเนินงาน โครงการและกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาให้ครูจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมการจัดการสอนที่ยึดโยงกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น รวมถึงมีการตรวจสอบและประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานที่ ๓ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม

๓. จุดเด่น

โรงเรียนมีหลักสูตรที่หลากหลายให้นักเรียนเลือกได้ทุกกลุ่มตามความสามารถ ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สื่อการสอน จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริงจัดการศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกที่หลากหลาย ทำให้นักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้และนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีตลอดจนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะแสดงออก นำเสนอผลงาน แสดงความคิดเห็น คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต นอกจากนี้โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือ และจัดกิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์และส่งเสริมความรู้ ความรักและความสามัคคีทั้งระหว่างนักเรียนต่อนักเรียน และนักเรียนมีความเคารพรักต่อครูทำให้เกิดบรรยากาศในการเรียนทีดีอีกทั้งครูมีความตั้งใจ มุ่งเน้นที่การปฏิบัติการสอนและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยการทำวิจัยในชั้นเรียน การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และการจัดทำรายงานการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

จุดควรพัฒนา

ควรพัฒนาการตรวจสอบและประเมินเรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนต่อเนื่อง

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา อยู่ในระดับ ๔ ยอดเยี่ยม