เครื่องมือกลที่ใช้ในงานไม้

เครื่องมือกล Power tools

     หรือเรียกกันว่า power tools เป็นเครื่องมือที่พัฒนามาให้การทำงานได้เร็ว สะดวก และมีคุณภาพกว่า โดยการนำไฟฟ้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งปัจจุบันแพร่หลายมาก แต่สำหรับผู้กำลังจะเริ่มใช้เครื่องมือเหล่านี้ควรระมัดระวังและได้ศึกษาการใช้งานให้ดีเสียก่อน เพราะใบคัทเตอร์มีคมและความเร็วรอบของเครื่องจักรจะค่อนข้างสูง

1. เครื่องเลื่อยวงเดือน

     มีหลายขนาด ที่นิยมใช้อยู่ระหว่าง 8-10 นิ้ว สำหรับเลื่อยวงเดือน เป็นเครื่องที่ทำงานค่อนข้างเอนกประสงค์ ถ้าต้องการงานที่มีความละเอียดของผิวตัดที่ได้ ก็เลือกจำนวนฟันถี่หน่อย แต่ถ้าเป็นงานตัด-ซอย ก็ใช้ฟันที่ห่าง(จำนวนฟันน้อย)เพราะจะไม่กินแรงและเพิ่มงานได้ด้วย

     การนำไปใช้งาน

     -งานตัดไม้ ตัดขนาด ตัดความยาวไม้ งานตัดจะหยาบหรือละเอียดขึ้นอยู่กับจำนวนฟันหากถี่ก็จะได้งานที่ละเอียดแต่ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน

     - งานซอยไม้(ช่างไม้บางคนเรียกโกรก)คือการผ่าไม้ตามแนวเกรนโดยมีรั้วเป็นตัวประคอง เช่นซอยไม้อัด กว้าง40cm. ยาวสุดแผ่นไม้อัด หากมีแท่นก็ตั้งรั้วให้ห่างจากใบเลื่อย 40cm หากไม่มีรั้วติดมากันตัวเครื่องก็ใช้วิธีบีบแคลมป์แล้วซอยไม้หรือบางทีเราก็เรียกโกรกไม้ได้เช่นกัน

     - งานเซาะร่อง(ปกติใบเลื่อยกว้างประมาณ3-3.5มม.)หากต้องการเซาะร่องกว้างมากน้อยก็ปรับจำนวนครั้งตามความกว้างของใบเลื่อย (บางครั้งก็ใช้เร้าเตอร์เซาะร่องได้เช่นกัน)

     - งานบังใบ คือการทำให้ไม้ที่ข้างใดข้างหนึ่งเป็นรูปตัว L เช่นการบังไบเพื่อใส่กระจก บังใบเป็นบ่ารับชั้นฯ การทำเดือยเหลี่ยมก็ใช้หลักการเดียวกับการบังใบ คือการตั้งกิน2ครั้ง ทั้งแนวตั้ง และแนวนอน (บางครั้งก็ใช้เร้าเตอร์บังใบได้เช่นกัน)

2. เครื่องRouter

เครื่องRouter

     เป็นเครื่องใช้งานได้หลากหลายเช่นกัน ความเร็วรอบสูงกว่า20000รอบ/นาทีจึงมีอันตรายมาก และการกินของคัทเตอร์นั้นรอบตัว 360องศา ก่อนป้อนงานให้สังเกตทิศทางการหมุนของคัทเตอร์ต้องสวนทางกับการป้อนชิ้นงานเสมอ ไม่เช่นนั้นจะดูดไม้เข้าไปหากจับไม่แน่นก็จะเกิดอันตรายได้ ภาษาที่โรงงานใช้อย่างเป็นทางการคือเครื่องลอกลาย แต่เร้าเตอร์จะเป็นแบบคอม้ามีแท่นเป็นมาตรฐาน

     การนำไปใช้งาน

     -งานตีบัว ทำลวดลาย เช่นตีบัวหน้าโต๊ะ ตีบัวคิ้วไม้ ฯ โดยรูปร่างของลวดลายขึ้นอยู่กับดอกคัทเตอร์ที่เราเลือกใช้ หรือต้องการจะกัดให้เป็นรูปวงกลม หรือเป็นวงรี ก็ทำได้เช่นกัน

     - งานบังไบ ก็ทำได้เช่นกัน เพียงแต่จะกินเพียงครั้งเดียว แต่มีข้อเสียคือเครื่องจะต้องทำงานหนักกว่าเครื่องเลื่อย เพราะต้องกินเนื้อไม้ส่วนที่ต้องตีออกมาทั้งหมด

     - งานเซาะร่อง โดยเฉพาะกรณีที่การเริ่มและจบไม่สุดไม้(เซาะร่องไม่ตลอดไม้) จะสะดวกกว่าเครื่องเลื่อย แต่เครื่องจะต้องทำงานหนักกว่าเช่นกัน

3. เครื่องทริมเมอร์ (Trimmer)

      การทำงานและคุณสมบัติคล้ายคลึงกับเครื่องเร้าเตอร์มาก แต่ขนาดเล็กกว่ามาก สามารถจับได้ด้วยมือเดียว ความเร็วรอบสูง ไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้กับงานหนัก เหมาะกับงานเก็บรายละเอียด

     การนำไปใช้งาน

     - งานที่เก็บเข้ามุม เจียนขอบ เก็บขอบแผ่นลามิเนตที่ติดแล้ว โดยใช้ร่วมกับดอกเราเตอร์ตัวเล็ก แกน 2หุน ปลายติดลูกปืน

     - งานอื่นๆ เช่นเซาะร่องเล็กๆ แกะสลัก แบบฟรีแฮนด์

4. สว่านมือ

     หรือสว่านไฟฟ้า เดี๋ยวนี้ช่างชอบเอามาดัดแปลงใช้สำหรับไขควงไฟฟ้า เพราะจะหมุน ซ้าย ขวาได้และยังมีสว่านแบบโรตารี่ ที่มี3ระบบ เจาะเข้าปูนได้ง่ายและไม่กินแรง และใช้แย๊ก(สกัดปูน)แบบงานไม่หนักมากได้ แต่หัวจับสว่านจะเป็นแบบสวมเร็ว ใช้ไม้ได้กับดอกสว่านทั่วไป หากจะใช้ต้องมีหัวสว่านมาต่ออีกที

     การนำไปใช้งาน

     -งานเจาะไม้ เหล็ก ปูน

     - งานไขควง แทนสว่านไร้สายได้ดี เพราะรุ่นใหม่ๆทำมาหมุนซ้าย-ขวาได้ ปรับความเร็วรอบได้

     - งานขัด นำมาดัดแปลงติดตัวหัวขัดที่ปลายสว่านก็มีนำไปใช้กัน แต่มักใช้กับสว่านแท่นมากกว่า

6. จิ๊กซอว์

     เหมาะสำหรับงานตัดที่มีรูปทรงโค้ง แต่ผิวที่ได้จะไม่เรียบ ต้องขัดแต่งอีกครั้ง ถึงอย่างไรก็จำเป็นสำหรับงานประเภทที่ขึ้นรูปด้วยมือ ความละเอียดขึ้นอยู่กับใบด้วยเช่นกัน จิ๊กซอว์เปรียบได้กับแบนซอว์(Band Saw)หรือเครื่องซอยโค้งในงานอุตสาหกรรมนั่นเอง

     การนำไปใช้งาน

     -งานเลื่อยโค้ง(หรืองานซอยโค้ง) และงานตัดตรงที่ไม่เน้นความละเอียดมากนัก

7. เครื่องขัดสายพาน

     ช่างเรียกว่า "รถถัง" ใช้ขัดพื้นเรียบได้ดี กระดาษทรายสายพาน มีให้เลือก แบบหยาบจนถึงเบอร์ละเอียดตามความต้องการ การใส่กระดาษทรายก็ต้องใส่ให้ถูกทิศทางด้วยมิฉนั้นกระดาษทรายจะขาดก่อนเวลาอันควร ส่วนใหญ่มีขนาดหน้ากว้างที่นิยมใช้ที่4นิ้ว

     การนำไปใช้งาน

     -งานขัดแนวราบ ปรับผิวหน้า บนพื้นที่กว้างๆ ก่อนการทำสี หรือปรับแต่งการขึ้นรูปโค้ง

8. เครื่องขัดแบบสั่น

     เป็นเครื่องที่ช่วนผ่อนแรงขัด เพราะตัวเครื่องเองจะมีลักษณะการสั่นไปบนหน้าผิวงาน มีทั้งทิศทางแนวตรงและแบบหมุนวนเหมาะกับงานเตรียมผิวงานสี

เครื่องมือและอุปกรณ์งานไม้ที่ควรมีสำหรับมือใหม่