เทคนิคการเข้าไม้ในงานสถาปัตยกรรม (Wood Joints Detail)

เทคนิคการเข้าไม้ในงานสถาปัตยกรรม (Wood Joints Detail)

ประเภทของไม้ที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม

     มนุษย์นิยมใช้ไม้มาตั้งแต่สมัยอดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องด้วยในอดีตไม้ถือเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ ถึงแม้ในปัจจุบันเราจะไม่สามารถนำไม้ในป่าธรรมชาติมาแปรรูปใช้งานได้เหมือนเช่นยุคก่อนๆแล้ว แต่ก็มีการป่าปลูกทดแทนเพื่อนำไม้มาใช้งานโดยเฉพาะ ซึ่งไม้ที่นำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้าง หรือ งานสถาปัตยกรรม ได้มีการแยกประเภทไม้ให้ละเอียดยิ่งขึ้นตามลักษณะความแข็งแรงของไม้ ดังนี้

ไม้เนื้ออ่อน

     เป็นไม้ที่มีวงปีกว้างมาก เนื่องจากเป็นไม้โดเร็ว ลำต้นใหญ่ เนื้อค่อนข้างเหนียว แต่แปรรูปได้ง่าย เนื้อไม้มีสีจาง หรือ ค่อนข้างซีด ความทนทานมีขีดจำกัดไม่สามารถรับน้ำหนักได้มากเท่าที่ควร จึงเหมาะกับงานในที่ร่ม หรือ งานชั่วคราวเป็นส่วนใหญ่

ไม้เนื้อแข็ง

     เป็นไม้ที่มีวงปีมากกว่าไม้เนื้ออ่อน เพราะมีการเจริญเติบโตช้ากว่า โดยเฉลี่ยมีอายุหลายสิบปี จึงจะนำมาใช้งานได้ ลักษณะทั่วไปของไม้เนื้อแข็ง ผิวสัมผัสของเนื้อไม้จะมีความมัน ลวดลายละเอียด เนื้อแน่น สีเข้ม (แดงถึงดำ) มีน้ำหนักมาก แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับงานปูพื้น งานเฟอร์นิเจอร์ และงานโครงสร้างไม้

ไม้เนื้อแกร่ง

     เป็นไม้ที่มีการเจริยเติบโตช้ามากที่สุด จึงทำให้มีวงปีถี่มากกว่าไม้สองชนิดแรก โดยมีอายุเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 60-70 ปีขึ้นไป จึงจะนำมาใช้งานได้ เนื้อไม้มีสีเข้มค่อนข้างแดง น้ำหนักไม่มากแต่แข็งกว่าไม้เนื้อแข็ง ไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักเป็นไม้ที่ใช้ในงานโครงสร้างเป็นหลัก อาทิ พื้น คาน ตง ขื่อ และเสา

     นอกจากการคัดเลือกประเภทไม้แล้ว การใช้ไม้ในงานสถาปัตยกรรมแต่ละยุค ก็ถูกพัฒนาไปพร้อมๆกับภูมิปัญญาการเข้าไม้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเทคนิคการเข้าไม้ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมไม้ หรือ งานเฟอร์นิเจอร์ไม้ให้มีความปราณีต คงทน แข็งแรง ซึ่งเนื้อหา และรูปแบบของ "เทคนิคการเข้าไม้ (Wood Joints Design)" จะมีความน่าสนใจอย่างไรบ้างนั้น ตามมาชมกันเลยครับ

การเข้าไม้ (Wood Joints) คืออะไร

     การเข้าไม้ คือ การนําไม้ตั้งแต่ 2 แผ่น หรือ 2 ท่อนขึ้นไปมาบากรับ แล้วประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งเมื่อประกอบกันแล้วต้องแข็งแรงเป็นชิ้นเดียวกัน โดยยึดไม้นั้นให้แน่นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการด้วยการตอกตะปู ,ตอกอัดด้วยลูกสลักไม้ ,การใช้สลักเกลียว(ในกรณีที่การเข้าไม้มีสเกลขนาดใหญ่) หรือ การเข้าเดือยอัดกาว (ในกรณีที่ต้องการความปราณีตของรอยต่อ) เป็นต้น

     ดังนั้นการเข้าไม้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และระมัดระวังเป็นอย่างมากก็คือ การวัดระยะ การเลื่อย การบากไม้ หรือ การเจาะร่องทำเดือยจะต้องมีความละเอียดพิถีพิถันเพราะหากหลวม หรือ ไม่ได้มุมฉากที่แม่นยำ อาจส่งผลให้รอยต่อของไม้มีความแข็งแรงที่ลดลง ซึ่งจะทำให้การนำไปใช้งานมีความไม่สมบูรณ์ และอาจเป็นอันตรายได้

     นอกจากนี้เทคนิคการเข้าไม้ในงานสถาปัตยกรรม ยังสามารถแบ่งลักษณะการนำไปใช้งานออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ ใช้ในงานโครงสร้างไม้ (เน้นความแข็งแรง) และงานเฟอร์เจอร์ (เน้นความปราณีตสวยงาม)

การเข้าไม้ (Type of Wood Joints) มีกี่ประเภท

การต่อทาบไม้ตามยาว (Splicing Wood Joint) มีรูปแบบ ดังนี้

การต่อทาบ (Lab Wood Joint)

การต่อทาบแบบล็อคประสาน (Squared Splice Wood Joint)

การต่อทาบแบบบังใบ (Half Lap Wood Joint)

การต่อทาบแบบเฉียง (Scarf Wood Joint)

การต่อทาบแบบปากฉลาม (Finger Wood Joint)

การต่อทาบแบบดาม (Splice Wood Joint)

การเข้าไม้แบบมุม 90 องศา (90 Degree Wood Joint) มีรูปแบบ ดังนี้

การเข้าไม้แบบบังใบ (Rabbet Wood Joint)

การเข้าไม้แบบบากร่อง (Dado Wood Joint)

การเข้าไม้แบบบังใบ และบากร่อง (Dado and Rabbet Wood Joint)

การเข้าไม้แบบบากร่องหางเหยี่ยว (Dovetail Wood Joint)

การเข้าไม้แบบมุม 45 องศา (45Degree Wood Joint) มีรูปแบบ ดังนี้

การเข้าไม้แบบเรียบ (Mitred Butt Wood Joint)

การเข้าไม้แบบบ่ารับ (Notched Wood Joint)

การเข้าไม้แบบเข้าลิ้น (Tongue and Groove Wood Joint)

การเข้าไม้แบบเซาะร่อง (Groove Wood Joint)

การเข้าไม้แบบสอดลิ้น (Splined Wood Joint)

การเพลาะไม้ (Widening Wood Joint)

การเพลาะไม้ คือ การนำแผ่นไม้มาเรียงแล้วต่อประกบเข้าหากันด้วยวิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มความกว้าง ของขนาดไม้ให้ได้ตามที่ต้องการ เพราะไม้ที่มีขนาดใหญ่ๆ นั้นในปัจจุบันค่อนข้างหายาก จึงต้องใช้เทคนิคนี้ในการเพิ่มความกว้างของไม้ โดยแบ่งรูปแบบการเพลาะไม้ ได้ดังนี้

การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาว (Glued and Rubbed Joint)

การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับเดือยไม้ (Glued and Dowelled Joint)

การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับการบังใบ (Glued and Rebated Joint)

การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับรางลิ้น (Glued and Tongued or Grooved Joint)

การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับการสอดลิ้น (Glued and Tongued or Feathered Joint)

การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับตะปูเกลียว (Glued and Wood Screws)

การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับตะปู (Glued and Nail Joint)

การต่อไม้แบบโบราณ

การต่อไม้แบบปากกบ และแบบร่องลิ้น

การต่อ (จ๊อย)​ ไม้ให้ยาวขึ้น แบบง่ายๆและแข็งแรง เพื่อประกอบชิ้นงานยาวมาก ๆ

การต่อชนและเข้าไม้