เครื่องมืองานไม้ เบื้องต้น

งานไม้เริ่มเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เพราะทุกคนสามารถทำงานเหล่านี้ได้ที่บ้านของตัวเอง และมันก็จะเกิดคำถามขึ้นมามากมายถ้าหากว่าคุณเป็นมือใหม่ในด้านนี้ ว่าเครื่องมือช่างไม้แบบไหนเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน รวมไปถึงประเภทของเครื่องมือช่างว่าแบบไหนที่จะตอบโจทย์ความต้องการของคุณให้ชัดเจนได้ ดังนั้นในเรื่องนี้จะมาแนะนําเครื่องมือช่างไม้แบบจัดเต็มให้ได้เลือกมาใช้งานให้ตรงกับความต้องการ จะมีทั้งเครื่องมือช่างไม้ มือไฟฟ้าสำหรับงานไม้ 

1 ค้อนหงอน Hammer

ค้อนหงอนเป็นเครื่องมืออเนกประสงค์และขาดไม่ได้ ค้อนหงอน 20 ออนซ์ เป็นที่นิยมที่ใช้สำหรับตอกและถอนตะปู หน้าตัดกลม ผิวหน้าเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ส่วนหางหรือหงอนค้อนมีลักษณะเป็นง่าม ใช้สำหรับถอนตะปู ด้ามค้อนอาจทำด้วยไม้ แต่ค้อนหงอนที่มีด้ามเหล็กหรือไฟเบอร์กลาสจะแข็งแกร่งกว่า แต่หากคุณกำลังจะตอกตะปูจำนวนมาก ค้อนด้ามไม้จะช่วยลดแรงกดบนมือและข้อมือของคุณได้ดีกว่านั่นเอง

2 สิ่ว Chisel
สิ่วหลากหลายรูปแบบเพื่อใช้งาน สิ่วไม่ได้มีไว้สำหรับช่างแกะสลักเท่านั้น ช่างไม้คนใดจะต้องใช้สิ่วเพื่อทำความสะอาดข้อต่อและเลื่อยตัด มองหาสิ่วที่ทำจากเหล็กกล้าคาร์บอนผสมสูงหรือเหล็กกล้าผสมโครเมียม-วานาเดียม ด้ามจับไม้เนื้อแข็งจะดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีฝาโลหะติดไว้ วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ปลายด้ามบิดเบี้ยวเมื่อใช้ค้อนทุบ
จะต้องมีหลายขนาดโดยเพิ่มทีละ ¼ จาก ¼ เป็นอย่างน้อย 1½ สิ่วที่เล็กที่สุดเหมาะที่สุดสำหรับงานร่อง ¾ และ 1 จะดีที่สุดสำหรับบานพับประตู และ 1½ ก็ใช้งานได้ดีสำหรับการบิ่น คุณยังสามารถใช้สิ่วมุมที่ตัดรอยบากออกจากไม้ด้วยการทุบค้อน เหมือนกับการเจาะรู

3 ไขควง Screwdriver

ไขควงเป็นอีกหนึ่งรายการที่ต้องมีในชุดเครื่องมือช่างไม้ ไขควงถือว่าเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งออกแบบมาเพื่อขันสกรูให้แน่นหรือคลายสกรูออก ซึ่งไขควงทั่วไปประกอบด้วยแท่งโลหะ ส่วนปลายใช้สำหรับยึดกับสกรู ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันเพื่อให้ใช้ได้กับสกรูชนิดต่าง ๆ และไขควงที่นิยมกันมากที่สุดคือไขควงปากแฉกและไขควงปากแบนนั่นเอง 

4 เลื่อยลันดา/เลื่อยฉลุ Hand Saw
เลื่อยลันดาเป็นเลื่อยที่มีมือจับทางด้านโคนของใบเลื่อย โดยฟันของใบเลื่อยลันดาจะเป็นชนิดที่ตัดไม้โดยเฉพาะ ซึ่งตัวของใบเลื่อยจะเป็นแผ่นบางปลายเรียว แต่ในส่วนของโคนใบจะใหญ่และยึดแน่นกับมือจับ ในส่วนของเลื่อยฉลุ เป็นเลื่อยขนาดเล็กที่ออกแบบมาให้สะดวกในการบังคับทอศทางของใบเลื่อย เพื่อให้ได้รูปทรงและลวดลายตามที่ต้องการ โดยเลื่อยฉลุนี้จะเหมาะสมสำหรับแผ่นงานไม้ที่ไม่หนามากนั่นเอง

5 ตลับเมตร Tape Measure

เครื่องมือช่างที่สำคัญตัวต่อไปสำหรับช่างไม้คือ ตลับเมตร นั่นเอง ที่ใช้สำหรับวัดขนาดชิ้นงาน หรือวัดระยะทางได้สะดวกและแม่นยำ โดยทั่วไปแล้วตลับเมตร จะมีลักษณะเป็นตลับสี่เหลี่ยม หรือตลับวงกลมที่บรรจุเทปสายวัดไว้ด้านใน และที่ปลายสายวัดจะมีตะขอเล็กๆ ยื่นออกมาใช้สำหรับเกี่ยววัตถุต่างๆนั่นเอง

6 ระดับน้ำ Water Level

ช่างไม้ทุกคนต้องการระดับน้ำที่ใช้สำหรับวัดพื้นผิวว่าได้ระดับหรือไม่ โดยในตัวของที่วัดระดับน้ำจะประกอบด้วยหลอดแก้วในแนวนอน แนวตั้ง และแนว ทะแยง 45 องศา ในหลอดแก้ว จะมีของเหลวที่มีสีอยู่ข้างใน ในของเหลวนั้นจะมีฟองอากาศขนาดเท่าเมล็ดถั่ว เมื่อลองขยับระดับน้ำดู จะสังเกตเห็นว่าฟองอากาศนั้นจะเคลื่อนที่ไปด้วย แต่ถ้าวัตถุของคุณได้ระดับแล้ว ฟองอากาศจะอยู่ตรงกลางของหลอดแก้วนั่นเอง

7 เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ Vernier Caliper

เป็นเครื่องมือวัดที่มีความละเอียดเที่ยงตรงแม่นยําในระดับหนึ่ง สําหรับความต้องการระยะความยาว ลึก ภายนอกและภายในวัตถุ เพื่อให้ได้ขนาดของวัตถุตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งในปัจจุบันเวอร์เนียร์ คาลิเปอร์จะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายอยู่ 2 ประเภทคือ เวอร์เนียร์แบบอะนา ล็อกและเวอร์เนียร์แบบดิจิตอลนั่นเอง

8 ฉาก Square

หรือนิยมเรียกกันว่า “ไม้ฉาก” เป็นเครื่องมือวัดที่ ใช้เฉพาะในการสร้างมุมฉาก หรือตรวจทุกมุมว่าได้ฉากหรือไม่ เพื่อให้ได้เส้นหรือ รอยตัดที่ตรงสมบูรณ์ มุมไม่เอียง หรือบังคับแนวดิ่งของเลื่อยวงเดือน เพื่อให้งาน ที่ตัดได้ฉาก และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายแบบ ฉาก แบ่งออกมาอยู่ 2 แบบหลัก ๆ นั่นก็คือฉากตายและฉากผสมนั่นเอง

9 แคลมป์จับชิ้นงาน Clamp

เป็นเครื่องมือช่างที่จำเป็นในงานไม้พอสมควร แคลมป์เกือบทั้งหมด ไม่ว่าคุณจะใช้ C-Clamp หรือ F-Clamp สปริงแคลมป์ เป็นต้น แคลมป์เหล่านี้สามาถยึดจับชิ้นงานให้แน่นเพื่อความสะดวกในการทำการ ขัด เจาะ ตัด ตอก ตะไบชิ้นงานจำพวก ไม้ ซึ่งรูปลักษณ์ของปากกาจับชิ้นงานคล้ายปากคีมและขากรรไกรคู่ขนานสองข้าง ข้างนึงขยับได้โดยใช้สกรูและคันโยก และอีกข้างนึงจะเป็นตัวยึดอยู่กับที่ ส่วนใหญ่จะใช้ติดตั้งบนโต๊ะทำงานเพื่อความสะดวกนั่นเอง

10 ปากกาหรือดินสอเขียนงาน Construction Marker

ปากกาเขียนงานหรือดินสอเขียนงาน ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างหนึ่งของงานไม้เลยก็ว่าได้ ปากกาเขียนงานมันจะทำหน้าที่สร้างเครื่องหมายบนชิ้นงานของคุณ เพื่อให้เห็นขีดว่า ควรแกะสลักหรือตัดตรงไหน นี่เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รูปแบบที่ต้องการ

11 เลื่อยวงเดือน Circular Saw

เลื่อยวงเดือน  เป็นเลื่อยไฟฟ้า ใช้สำหรับเลื่อยหรือตัดชิ้นงานที่เป็นวัสดุต่างๆ เช่น ไม้ เป็นเครื่องมือที่ใช้กับไม้ได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการ เลื่อย ซอย บังใบ หรือการทำเดือยนั่นเอง เลื่อยวงเดือนประกอบด้วยด้ามจับที่มีสวิตช์ และฝาครอบที่หมุนได้ เพื่อป้องกันอันตรายจากจานเลื่อยซึ่ง เป็นโลหะและมีฟันโดยรอบใบเลื่อย  เนื่องจากเลื่อยวงเดือนมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน คุณควรเลือกให้เหมาะกับประเภทงาน เพื่อป้องกันอันตรายระหว่างใช้งานและช่วยในการตัดชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

12 กบไสไม้ Plane

กบไสไม้ถือเป็นเครื่องมือสําหรับงานไม้โดยเฉพาะ เพื่อใช้ในการขัดผิวไม้ให้ เรียบตรงและได้ฉาก หรือปรับหน้าไม้ให้ได้ขนาดตามที่กําหนด และได้รูปทรงตาม ต้องการ อีกทั้งยังสามารถใสลบเหลี่ยม ไสลบคม หรือปรับพื้นผิวของเนื้อไม้ให้ ราบเรียบสวยงาม ทั้งนี้กบไสไม้ได้มีการพัฒนา โดยอาศัยเทคโนโลยีมอเตอร์ไฟฟ้า ทําให้ได้กบ ไสไม้กลายเป็นเครื่องจักรกลสําหรับงานไม้โดย เฉพาะ ใช้งานสะดวกและง่ายสําหรับผู้ที่มีทักษะ ในการไสไม้อยู่แล้ว 

13 เลื่อยจิ๊กซอว์ Jigsaw

เป็นเครื่องมือที่ใช้งานตัดเป็นหลักสามารถตัดวัสดุได้หลากหลาย รวมไปถึงงานไม้ เป็นเครื่องมือไฟฟ้าที่ออกแบบมาใช้เพื่อใช้เลื่อยไม้ ในการสร้างลวดลาย ส่วนโค้ง ส่วนเว้า ซอยไม้ และที่สำคัญต้องเลือกใบเลื่อยให้เหมาะกับวัสดุที่จะใช้งาน เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก ถ้าใช้ใบเลื่อยที่เหมาะสม จะสามารถใช้เลื่อยวัสดุได้เกือบทุกชนิด เลื่อยจิ๊กซอว์ไม่สามารถก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงได้ ซึ่งต่างจากเครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้าอื่นๆคุณสามารถบังคับได้โดยอิสระหรือลากไปมา ต้องการเลื่อยเป็นวงกลมก็ผูกไว้กับจุดศูนย์กลาง อย่างไรก็ตามมีข้อเสียอยู่บ้างที่ การควบคุมให้จิกซอว์เลื่อยเป็นแนวเส้นตรง เป็นเรื่องที่ทําได้ยาก และผิวที่ได้ออก

14 เครื่องเราเตอร์ Router

ช่างไม้ทุกคนควรมีเราเตอร์ คุณสามารถกำหนดขอบของงานได้โดยใช้เราเตอร์ เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้ในการเซาะร่อง สร้างลวดลาย  และรูปทรงหลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด ที่มาพร้อมกับดอกเราเตอร์ประเภทต่างๆที่พร้อมใช้งาน งานเหล่านี้ล้วนต้องใช้เราเตอร์ ในการทำงานเพื่อให้ชิ้นงานออกมาสวยงามตามที่ต้องการ

15 เครื่องขัดกระดาษทราย Sanding Machine

เป็นเครื่องมือไฟฟ้าที่ใช้สำหรับขัดแต่งผิวชิ้นงานที่ขรุขระให้เรียบ โดยทั่วไปแล้วเครื่องขัดกระดาษทรายจะมีให้เลือกใช้งานหลายแบบทั้งเครื่องขัดกระดาษทรายแบบสั่นเครื่องขัดกระดาษทรายสายพาน เครื่องขัดกระดาษทรายแบบกลมและเครื่องขัดกระดาษทรายแบบแท่นผสม ซึ่งช่วยให้การทำงานของเราเกิดความรวดเร็ว ละเอียด สวยงาม มากว่าการขัดโดยใช้มือ ส่วนการเลือกใช้งานเครื่องขัดกระดาษทรายให้เหมาะสมกับงานที่จะทำนั้น ขัดได้เรียบและสม่ำเสมอและยังช่วยประหยัดเวลาในการตกแต่งชิ้นงานได้อีกด้วย

16 เลื่อยปรับองศา Miter Saw

เลื่อยปรับองศา ได้กลายเป็นเครื่องมือที่นิยมสำหรับช่างไม้ระดับกลางถึงระดับมืออาชีพ โดยปกติแล้วมือสมัครเล่นและผู้ที่ชื่นชอบ DIY ด้วยจำนวนคุณสมบัติและความคล่องตัวที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำเสนอ เลื่อยปรับองศสามารถตั้งค่าให้เอียงได้ถึง 45 องศา และจะตัดที่มุม 60 องศาทั้งสองทิศทาง มาตรวัดตุ้มปี่บนเลื่อยของคุณควรอ่านง่ายและทำเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจน จุดสำคัญแต่ละจุดควรมีฮาร์ดสต็อป เช่น 0, 15, 22.5, 30 และ 45 องศาเหล่านี้ควรหยุดทั้งสองข้าง ไม่เพียงแค่นั้น แต่คุณยังสามารถล็อคใบเลื่อยได้ทุกมุมที่คุณต้องการ

17 สว่านไฟฟ้า Electric Drill

มาถึงเครื่องมือช่างยอดนิยมอย่าง สว่านไฟฟ้า กันนะครับ เป็นเครื่องมือไฟฟ้าที่มีประโยชน์มากในปัจจุบัน ที่ตอบโจทย์กับช่างไม้เลยก็ว่าได้ที่ช่วยในการเจาะรู ดึงสกรู  สว่านมีรูปทรงลักษณะคล้ายปืนที่มีด้ามจับ ส่วนปลายเป็นปากสำหรับยึดดอกสว่านซึ่งตัวของดอกสว่านมีลักษณะเป็นแท่งเกลียวยาวปลายแหลมที่สามารถหมุนเจาะทำให้เป็นรูได้ ดอกจะสว่านมีหลายประเภทและมีหลายขนาดเลือกให้เหมาะกับงานที่คุณต้องการใช้งานได้

 เครื่องมืองานไม้และความปลอดภัย

 

เครื่องมือวัด

1. ตลับเมตร  ใช้สำหรับวัดหรือกะส่วน  มีความยาว  2 – 3  เมตร  บนเทปมีมาตราวัดทั้งระบบอังกฤษและระบบเมตริก

การบำรุงรักษา

1.  ไม่ควรดึงตลับเมตรเล่นหรือทำตกจากโต๊ะฝึกงาน

2. ทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากใช้งานแล้ว

3. ตรวจดูสภาพของตลับเมตรก่อนหรือใช้งานทุกครั้ง


2. ฉากตาย  ใช้สำหรับหาเส้นฉากและทำมุม   45  องศา

       การบำรุงรักษา

1.      ทำความสะอาดแล้วเช็ดด้วยน้ำมันกันสนิมก่อนเก็บทุกครั้ง

2.      ไม่ควรนำฉากไปใช้ที่ไม่เหมาะสมกับงาน

3.      ระวังไม่ให้ฉากตกจากโต๊ะทำงาน


3. ฉากเป็น   ใช้บอกหรือวัดมุมต่างๆ  ที่ไม่ใช่มุม  45  หรือ  90  องศาประกอบด้วยด้ามและใบบริเวณที่ต่อกัน  ส่วนใบจะมีร่อง  วิธีใช้จับด้ามให้สนิทกับงานต้านที่เรียบจะใช้มาก

ช่วยรับใบให้สนิทกับงานอีกด้านหนึ่งของมุมที่จะวัด  และนำไปเทียบองศาก็จะบอกมุมได้ตามต้องการ

        การบำรุงรักษา   หลังใช้งานเสร็จแล้วต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆ บนส่วนที่เป็นโลหะ


4. ฉากใหญ่  ใช้วัดขีดมุมฉาก  ตรวจฉากของการเข้าไม้ฉากเป็นเหล็กชิ้นเดียวกัน  ทำมุม  90  องศา  ขนาดหนา  1/8  นิ้วเท่ากันตลอด  ความยาวอาจเป็น   16  X   24  หรือ  18 X  24

         วิธีใช้  -    ใช้วัดขีดมุมฉาก  ให้วางฉากลงบนไม้  โดยให้ขอบแนบสนิทกับผิวไม้ด้านเรียบ  แล้วจึงขีดเส้นฉากตามต้องการบนอีกด้านหนึ่ง

                  -    ใช้ตรวจฉากของการเข้าไม้  โดยจับให้ฉากเข้ากับบริเวณที่เข้าไม้  ถ้าขนกับแนบชนิดแสดงว่า   การเข้าไม้ได้ฉากตามต้องการ  งานที่มักจะใช้ฉากใหญ่  คือ  งานชิ้นใหญ่   เช่น  ตู้  ฯลฯ

            การบำรุงรักษา  หลังจากใช้งานต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆ


5.  ฉากรวม   เป็นฉากที่ใช้ตรวจมุมฉาก  และมุม  45  องศา  อาจมีระดับน้ำหรือเหล็กขีดเพื่อให้ใช้งานได้กว้างขวางขึ้น    

      ฉากประกอบด้วย   ส่วนหัวและใบ   ซึ่งถอดแยกกันได้  ส่วนหัวสามารถวิ่งไปบนร่องของใบได้ด้วย

             วิธีใช้  เนื่องจากช่วงระหว่างใบกับหัวจะเป็นมุม  90  องศา  และ  45  องศา  จึงสามารถใช้ฉากรวมนี้วัดมุมได้  ทั้งมุม  90  องศา  และ  45  องศานอกจากนี้ส่วนหัวเมื่อถอดออกจากใบแล้ว  สามารถวัดฉากของการเข้าไม่ได้อีกด้วย

                          การบำรุงรักษา    หลังจากใช้งานต้องทำความสะอาดและใช้ชโลมน้ำมันบางๆ  บนส่วนที่เป็นโลหะ


6. ขอขีดไม้   ใช้ขีดทำแนวเพื่อการเลื่อย  ผ่า หรือทำรูเดือย ประกอบด้วยส่วนหัวและแขนยึดกันแน่นด้วยสลักหรือลิ่ม  ปลายของแขนข้างหนึ่งจะมีเข็มปลายแหลม

               วิธีใช้  คลายสลักหรือลิ่มออกแล้ววัดระยะห่างจากปลายเข็มกับด้ามของหัวที่อยู่ทางปลายเข็มให้ได้ขนาดตามต้องการแล้วล็อกให้แน่น จับขอขีดด้ามที่มีเข็มให้แนบสนิทกับไม้และกดดันไปข้างหน้าโดยให้ปลายเข็มขีดผิวไม้ตลอดเวลา

               การบำรุงรักษา  หลังใช้งานควรทำความสะอาดชโลมน้ำมันส่วนที่เป็นโลหะแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 

 

 

เครื่องมือตัด

1. เลื่อยลันดา  ที่มีขายตามท้องตลาดแบ่งออกได้เป็น  2  อย่างดังนี้

1.1   เลื่อยลันดาชนิดตัด  ใช้ตัดขวางเสี้ยนไม้ปลายของฟันเลื่อยจะแหลม มีลักษณะ เหมือนปลายมีดจำนวนฟันต่อนิ้วประมาณ 8-12 ฟัน ลักษณะการทำงานของฟันจะเหมือนมีดหลาย ๆ เล่มเฉือนไม้เวลาตัดมุมเอียงกับไม้หรือวางที่จะตัดอย่างน้อย 45 องศา

1.2   เลื่อยลันดาชนิดโกรก ใช้เลื่อยหรือผ่าไม้ตามเสี้ยนไม้ จำนวนฟันต่อนิ้ว 5-8 ซี่ เลื่อยชนิดนี้มีฟันห่าง องศาเอียงของฟันจะมากกว่าความยาวของใบเลื่อยมีตั้งแต่ 20-28 นิ้ว ขอบหน้าตัดของปลายฟันจะตั้งฉากกับใบเลื่อย

           เลื่อยทุกชนิดจะต้องทำการคัดคลองเลื่อย คือคัดปลายฟันเลื่อยเอียงสลับกัน ให้กว้างกว่าความหนาของใบเลื่อย เพราะเวลาเลื่อยจะไม่ฝืดและติดไม้

การบำรุงรักษา

1.      ระวังคมเลื่อยจะโดนส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย

2.      เมื่อใช้แล้วทำความสะอาดทาน้ำมันกันสนิมด้วย

3.      หมั่นรักษาความคมของเลื่อย โดยใช้ตะไบสามเหลี่ยมและคัดคลองเลื่อยด้วยคีมคัดคลองเลื่อยตัดปากไม้หรือเลื่อยสันแข็ง เพราะสันหนารูปร่างคล้ายตัดแต่ฟันถี่และละเอียดกว่าความยาวของส่วนใบประมาณ 8-18 นิ้ว ใช้สำหรับงานละเอียดประณีต เช่น เข้าปากไม้ เข้าเดือย


2. เลื่อยตัดปากไม้ หรือเลื่อยสันแข็ง เพราะสันหลังแข็งฟันถี่และละเอียดความยาวของใบ                      ประมาณ   8-18 นิ้ว  ใช้สำหรับงานละเอียด เช่น เข้าปากไม้ เข้าเดือย


3.  เลื่อนรอปากไม้ก็คือเลื่อยตัดปากไม้แต่ใบบางกว่าฟันละเอียดกว่า ด้ามจับคล้ายลิ่วความยาวของใบยาว 6-12 นิ้ว ใช้สำหรับรอปากไม้ในเวลาเข้าไม้ใช้เลื่อยแผ่นไม้บางๆเพื่อทำแบบจำลอง


4. เลื่อยฉลุ คือเลื่อยอกขนาดเล็ก หน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับเลื่อยอกแต่โครงเป็นโลหะใบเลื่อยเล็กใช้งานไม่ได้กว้างเท่าเลื่อยอก

วิธีใช้เลื่อยฉลุ

1.      ใส่ใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยโดยให้ฟันของเลื่อยออกด้านหน้าและคมของใบเลื่อยพุ่งลงข้างล่าง

2.      หมุนปรับใบเลื่อยให้ตึง(อย่าให้ตึงหรือหย่อนเกินไปจะทำให้ขาดง่าย)

3.      ขณะเลื่อยตัดงานควรบังคับโครงใบเลื่อยให้ตรงและเคลื่อนไหวช้าๆ


5. เลื่อยอก ใช้ตัดผ่าไม้ โครงเลื่อยส่วนใหญ่จะเป็นไม้เช่นคันเลื่อย(รัดเกล้า) อกเลื่อยไม้มือจับส่วนที่เป็นเหล็กคือ สลักและใบเลื่อย ใบเลื่อยมีทั้งฟันตัดและฟันโกรก วางทำมุมกับเรือนเลื่อย 

วิธีใช้   การผ่าหรือโกรกไม้ควรใช้ทั้งสองมือ มือหนึ่งจับด้ามอีกมือหนึ่งจับใบ เพื่อคุมใบเลื่อย วางใบเลื่อยตั้งฉากกับไม้และฟันเลื่อยทำมุมกับไม้ 60 องศา ส่วนการตัดไม้อาจใช้มือเดียวจับด้ามให้ใบเลื่อยตั้งฉากกับไม้ ฟันเลื่อยทำมุมกับไม้ 45  องศา

การบำรุงรักษา  ก่อนใช้งานควรสำรวจเลื่อยและหลังใช้งานควรผ่อนความตึงของใบ ทำความสะอาดและชโลมน้ำมันส่วนที่เป็นโลหะ


6. เลื่อยหางหนู  ใช้เลื่อยตัดส่วนโค้งวงกลมภายในมีด้ามและใบใบเลื่อยใหญ่ที่ส่วนด้ามและเรียวเล็กลงไปถึงปลายเลื่อย ฟันเลื่อยเป็นฟันชนิดโกรก

วิธีใช้  เนื่องจากปลายของเลื่อยเรียวเล็ก จึงใช้ในการตัดส่วนโค้งภายในแผ่นไม้ได้ง่าย  วิธีเลื่อยเหมือนกับเลื่อยลันดาฟันโกรก

การบำรุงรักษา  หลังจากการใช้งานต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆบนส่วนที่เป็นโลหะและไม่ควรเลื่อยไม้ที่หนาเกิน ½ นิ้ว

 

 

 

เครื่องมือใส

1.  กบล้าง  กบล้างเป็นเครื่องมือเพื่อใสผิวของเนื้อไม้ให้ราบเรียบ ปกติไม้ที่แปรรูปจะเป็นแผ่นหรือเป็นท่อนก็ตาม ผิวยังหยาบเป็นขุยมีเสี้ยนและรอยฟันเลื่อยเมื่อจะนำมาใช้จึงต้องแต่งให้เรียบร้อยกบที่ใช้ในงานช่างไม้ได้แก่

1.1  กบล้างสั้น  เป็นกบล้างที่มีความยาว 6- 8  นิ้ว  ใช้ใสไม้ที่ขรุขระ  แอ่น  บิด ซึ่งกบชนิดอื่นไม่สามารถใสได้  ใบกบทำมุมกับใบกบ 45 องศา

 1.2 กบล้างยาว  ลักษณะคล้ายกบล้างสั้นแต่ตัวกบยาวกว่า  มีความยาว  16  -18  นิ้วมีมุมเอียงลาดราว  44 – 48 องศา  ใช้ล้างเเนวไม้ให้ตรง  ใช้ไสไม้ก่อนเพราะติดกัน

2. กบผิว  ใช้ไสตามหลังกบล้างเพื่อให้เรียบร้อย   ถ้านำกบผิวไปไสไม้ขณะที่ไม้ไม่เรียบ   

หน้ากบจะเสียใช้ไสผิวไม้ได้ระดับ แบ่งออกเป็นกบผิวสั้นและกบผิวยาว

1.1  กบผิวยาวคล้ายกบล้างยาวแต่ไม่มีฝาประกับ แต่มีเหล็กขนาด  1/8 นิ้วX ¾ นิ้ว บังหน้ากบเพื่อให้ใสไม้ได้เรียบมีความยาว 16-18 นิ้ว มีมุม 52-55 องศาในส่วนของไม้ที่เล็ก  มุม 56 – 60 องศา

              การบำรุงรักษา

1.      เวลาลับคมใบกบระวังใบกบโดนส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย

2.      ขณะใช้งานระวังอย่าให้กบหล่นลงพื้นเพราะอาจแตกหักเสียหายหรือโดนขาได้

3.      เมื่อใส่ใบกบไม่ควรตอกลิ่มมากเกินไป อาจเสียหาย และถอดยาก

4.      หลังใช้งานควรทำความสะอาดและทาน้ำมันที่ท้องกบ

3. กบบังใบ ใช้สำหรับใสร่องบริเวณขอบไม้หรือบังใบ ตัวเรือนกบคล้ายกบล้างต่างกันที่ท้องกบจะไม่เรียบแต่เป็นสันสี่เหลี่ยมและใบกบโผล่กินเนื้อไม้จะอยู่ด้านนี้

       วิธีใช้   ใช้ไสไม้โดยกดให้สันท้องกบกินตามแนวไม้ที่ต้องการ

        การบำรุงรักษา  ก่อนใช้งานควรสำรวจให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้  หลังใช้ควรทำความสะอาด              ชโลมน้ำมัน

4. กบราง  เป็นกบที่ใช้ทำรางร่องหรือลิ้น เพื่อการเพลาะหรือเข้าไม้ตัวเรือนกบแบ่งเป็น 2 ซีกโดยต่อกันด้วยไม้มือจับ ใบกบสามารถเปลี่ยนได้ ซึ่งแบ่งใบกบออกเป็น 2 อย่างคือ  ใบกบทำลิ้นและใบกบทำราง  ลิ้นและรางจะมีขนาดเท่ากัน

   วิธีใช้  ใช้ไสโดยให้ขอบกับด้านในของซีกที่โผล่ยาวออกมาจับขอบไม้ แล้วทำการใสซึ่งจะได้ร่องรางหรือลิ้นตามต้องการ

   การบำรุงรักษา  สำรวจความคมของใบก่อนใช้งาน  หลังใช้งานทำความสะอาดชโลมน้ำมันบางๆบนใบกบ

5. กบขูดหรือกบแต่ง  ใช้ใช้แต่งผิวไม้ที่เป็นส่วนโค้งให้เรียบ ซึ่งกบธรรมดาไม่อาจทำได้ กบประกอบด้วยโครงและแผ่นเหล็กขูด ซึ่งยึดกันด้วยสลักเกลียว

   วิธีใช้  ใช้มือทั้งสองข้างจับมือกบให้แน่นแล้วทำการไสและขูดผิวงาน  อาจจะดึงเข้าหาตัวหรือดันออกไปข้างหน้าก็ได้

   การบำรุงรักษา 

1.      การถอดประกอบควรใช้ค้อนไม้เท่านั้น

2.      หลังการใช้งานควรทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบนส่วนที่เป็นโลหะ

 

 

 

เครื่องมือเจาะ

1. สิ่วปากบางหรือสิ่วแต่ง  ใช้แต่งขูดผิวไม้หรือปากไม้ให้เรียบสิ่วประกอบด้วย

ใบและด้าม  ส่วนใบเป็นเหล็กกล้า  แบนและบางแต่มีความคมมาก

            วิธีใช้  ใช้มือข้างหนึ่งจับด้ามสิ่ว  ทำหน้าที่นำสิ่วไปข้างหน้า  อีกมือหนึ่งจับตอนปากกลิ่วเพื่อบังคับทิศทางของสิ่วไม่เฉออกจากแนวที่ต้องการ

            การบำรุงรักษา

1.      ก่อนใช้งานต้องสำรวจความคมของสิ่ว

2.      หลังใช้งานต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบาง  ๆ  บนส่วนที่เป็นโลหะ

2.  สิ่วเจาะ  ใช้เจาะช่องรูเดือย  สิ่วประกอบด้วยด้ามและใบ  ตัวสิ่วมีความหนาแต่ความ

แต่ความกว้างและความคมน้อยกว่าสิ่วปากบางจึงต้องใช้ค้อนไม้ช่วย

            วิธีใช้  ใช้มือข้างหนึ่งจับด้ามมืออีกข้องหนึ่งจับคอนไม้ค่อยๆตอกให้สิ่วกินเนื้อไม้ทีละน้อยจนใกล้กับความลึกที่ต้องการแล้วแต่งร่องหรือรูอีกครั้งให้เรียบร้อย

            การบำรุงรักษา 

1.      ก่อนใช้ควรสำรวจความคมของสิ่ว

2.      หลังใช้งานต้องทำความสะอาด ชโลมน้ำมันบางๆบนส่วนที่เป็นโลหะ

3.  สิ่วเล็มมือ  ใช้สำหรับเจาะร่องหรือรูให้มีความโค้งหรือกลม แบ่งเป็น 2 ชนิด

คือคมในและคมนอก ใบสิ่วจะมีความโค้ง              

            วิธีใช้  ใช้มือจับด้ามสิ่ว จ่อคมสิ่วลงบนตำแหน่งที่ต้องการแล้วกดหรือดันให้สิ่วดันเนื้อไม้ตามความต้องการ

            การบำรุงรักษา

1.      ก่อนใช้งานต้องสำรวจความคมของสิ่วเสียก่อน

2.      หลังใช้งานต้องทำความสะอาดและชโลมด้วยน้ำมันบางๆบนส่วนที่เป็นโลหะ

4.  สว่านข้อเสือ  ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่น๊อต สกรู โดยประกอบกับดอกสว่าน

ดอกสว่านมีหลายขนาดและหลายลักษณะ ตัวดอกสว่านแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนก้านและส่วนเกลียวส่วนก้านจะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายเรียว ส่วนเกลียวจะมีหลายลักษณะใช้ในงานที่แตกต่างกัน

                        วิธีใช้  สอดก้านดอกสว่านลงในชัค (Chuck) แล้วหมุนให้Jaws บีบดอกสว่านให้แน่นใช้มือหนึ่งจับที่ Head อีกข้องหนึ่งจับที่ Handle แล้วจ่อดอกสว่านลงบนตำแหน่งที่ต้องการและกดHeadแล้วจึงหมุน Handleดอกสว่านจะกินเนื้อไม้

                        การบำรุงรักษา  หลังจากใช้งานควรทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆส่วนที่เป็นโลหะ

5.  สว่านเฟือง  ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่น๊อตสกรูโดยประกอบกับดอกสว่าน ดอกสว่านมีหลายขนาด แต่ไม่โตกว่า ¼ นิ้วก้านรูปทรงกระบอกเรียบ

วิธีใช้  ใช้มือหนึ่งจับHandle หรือSide handleอีกมือหนึ่งจับที่ Crankแล้วจ่อปลาย

ดอกสว่านลงบนตำแหน่งที่ต้องการแล้วกดมือที่จับHandleและหมุนมือที่Crank ดอกสว่านจะกินเนื้อไม้ตามต้องการ

                        การบำรุงรักษา

1.      ก่อนใช้ควรสำรวจสว่านและดอกสว่านทุกครั้ง

2.      หลังใช้ควรทำควรทำความสะอาดและชโลมนำมันบางๆบนส่วนที่เป็นโลหะ

 

 

 

เครื่องตอกและเครื่องมืออื่นๆ

1. ค้อนหงอน  ส่วนประกอบของค้อนแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนหัวและส่วนด้ามใช้สำหรับตอกและถอนตะปู ตอกสิ่ว ตอกไม้เวลาทำโครงร่าง ขนาดของหัวค้อนเรียกตามน้ำหนักของหัวค้อนเป็นปอนด์


2. ค้อนไม้ สำหรับเคาะ คอก ชิ้นงานไม้หรือเคาะถอนใบกบ เคาะโลหะแผ่นให้เรียบและตอกสิ่วเจาะ

การบำรุงรักษา

1.      เมื่อใช้แล้วทำความสะอาดทาน้ำมันกันสนิม

2.      ปรับหน้าค้อนกับด้ามค้อนให้แน่นอยู่เสมอ

3.      อย่าใช้ค้อนผิดประเภท

4.      ดูแลหน้าค้อนให้เรียบ


3. ปากกาจับไม้ติดโต๊ะ สำหรับจับไม้เวลา วัด กะ  ไส  โกรก ตัด

การบำรุงรักษา  ต้องทำความสะอาดและยอดน้ำมันกันสนิมอยู่เสมอ


4. บุ้ง  สำหรับแต่งผิวไม้ แบ่งออกเป็นบุ้งท้องปลิงกับบุ้งกลม

การบำรุงรักษา  ไม่ควรให้เปียกน้ำ ถูกกรดด่างหรือน้ำมัน ควรทำความสะอาดด้วยแปรงปัดผงภายในร่องฟันก่อนเก็บ


5. เหล็กส่งหัวตะปู  เป็นแท่งเหล็กยาวประมาณ 4-5 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ¼ นิ้ว มีหน้าที่สำหรับส่งหัวตะปูให้ลงไปต่ำกว่าระดับพื้น


6. คีมปากนกแก้ว  ใช้ถอนตะปู  ตัดหัวตะปู  ตัดลวด

การบำรุงรักษา  ทาน้ำมันกันสนิมก่อนเก็บทุกครั้ง