ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  สำหรับปีภาษี  ปี 2560

 

อัตราการคำนวน ที่เปลี่ยนแปลง

1.             หักลดหย่อนบุตร หักได้คนละ 30,000 บาทแบบไม่จำกัดจำนวน และหากมีบุตรบุญธรรมให้หักได้คนละ 30,000 บาทซึ่งรวมไม่เกิน 3 คน 

2.        ยกเลิกการลดหย่อนการศึกษาบุตร คนละ 2,000 บาท

3.        เงินได้ประเภท 1 และ 2 รวมกันหักค่าใช้จ่ายได้     หักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

4.      หักลดหย่อนส่วนตัวได้ 60,000 บาท และ คู่สมรถ 60,000 บาท

5.      วิธีคำนวณ วิธีที่ 2 เงินได้ (2) – (8) หากเกิน 120,000 บาทให้ เสียร้อยละ 0.5 ในการคำนวณเปรียบเทียบ

6.  หน้าที่ยื่นแบบ

- โสดมีรายได้เกิน 60,000 บาท ต่อปี หรือ มีรายได้ (1) เกิน 120,000 บาท

- ไม่โสดมีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี หรือ มีรายได้ (1)  เกิน 220,000 บาท  

7.   เงินได้ (7) หักให้ในอัตราเหมาจ่ายร้อยละ 60 หรือ ตามความจำเป็นและสมควร

8. เงินได้ มาตรา 40(3) ค่าลิขสิทธิ ให้หักเหมาะได้ร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 1 แสน หรือ หักตามความจำเป็นและสมควร

8. ห้างหุ้นส่วนสามัญ หักได้คนละ 6 หมื่น รวมกันไม่เกิน 120,000 บาท

 

 รายการหักลดหย่อนสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา          top

1.            หักลดหย่อนส่วนตัว (ผู้มีเงินได้)  30,000 บาท

2.            หักลดหย่อนคู่สมรส (กรณีนำรายได้คู่สมรสมายื่นรวมกัน) 30,000 บาท

3.            หักลดหย่อนบุตร คนละ 15,000 บาท (ไม่เกิน 3 คน บุตรที่มีรายได้ไม่ได้รับสิทธินำมาหักลดหย่อนได้)

4.            หักลดหย่อนการศึกษาบุตร คนละ 2,000 บาท (นับจากบุตรที่มีสิทธิในข้อ 3)

5.            เบี้ยประกันภัย ส่วนแรกหักได้ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท

6.            เงินสะสม ที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้หักจากเงินได้ก่อนหักก่อนหักค่าใช้จ่าย ซึ่งรวมกันต้องไม่เกิน ร้อยละ 15 ของเงินได้

        6.1  ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) แล้วไม่เกิน 500,000 บาท

        6.2. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท

7.            ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่เกิน 100,000 บาท

8.            เงินสมทบ  ตามที่จ่ายจริง

9.            ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท สำหรับ บิดามารดา ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เกินปีละ 30,000 บาท

10.    ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ บิดามารดา คนละ 15,000 บาท

11.    ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม ที่พิการ หรือ ทุพลภาพ คนละ 60,000 บาท

12.    เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

13.    เงินบริจาค แก่การกุศลสาธารณะ โดยหักได้ เท่าจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ

 

หลักเกณฑ์การยื่นแบบชำระภาษีสำหรับคู่สมรส มีวิธีการยื่นแบบ และคำนวณภาษีได้ 5 วิธี ดังนี้              

1.       สามีภรรยาต่างฝ่ายต่างยื่นเสียภาษีในนามของตนเอง

2.      สามีเลือกนำรายได้ของตนเองทั้งหมดยื่นรวมกับภรรยา

3.      ภรรยาเลือกนำเงินได้ของตนทั้งหมดยื่นรวมกับสามี

4.       สามีแยกยื่นเฉพาะเงินเดือน และค่าจ้าง และนำเงินได้อื่น ๆ นอกจากเงินเดือนและค่าจ้างไปยื่นรวามกับภรรยา

5.      ภรรยาแยกยื่นเฉพาะเงินเดือน และค่าจ้าง และนำเงินได้อื่นนอกจากเงินเดือนและค่าจ้างไปยื่นรวมกับสามี

หน้าที่ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีเงินได้          

 

บุคคลธรรมดา

 

 

บทลงโทษตามกฎหมายสำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยง หรือ ไม่ได้ยื่นเสียภาษี            

บุคคลธรรมดา