ภาษีซื้อต้องห้าม

ภาษีซื้อในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษี (ภาษีซื้อต้องห้าม)

 มาตรา 82/5 ภาษีซื้อในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3

    (1) กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ เว้นแต่จะเป็นกรณีมีเหตุอัน

    (2) กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือ ไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด 

    (3) ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ของผู้ประกอบการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

    (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือ เพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด 

    (5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีตามส่วน10

    (6) ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี  (มาตรา 86/4 (8) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด)  ได้แก่

1. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน

2. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ

3. ภาษีซื้อที่เกิดจากใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

4. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้ขาย หรือให้เช่าหรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

5.  ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษี ซึ่งคำว่า "ใบกำกับภาษี" มิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

6. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษี ซึ่งมีข้อความอื่นไม่ครบถ้วน เช่น เลขทะเบียนรถยนต์ในบิลน้ำมัน  สาขาของผู้ออกบิล  สาขาของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อสินค้า หรือบริการ

7. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตาม  ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (copy) แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย

8. ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

9. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษี ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง

10. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษี ข้อความ " ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร " ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี  มิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ”

ภาษีซื้อต้องห้าม และไม่สามารถลงเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ คือ

1.กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้

2.กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือ ไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ

3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ

4.ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี

ภาษีซื้อต้องห้ามที่สามารถนำไปเป็นรายจ่ายได้  คือ

1. ภาษีซื้อที่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 82/5 (4)  ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือ เพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

2. ภาษีซื้อตามมาตรา 82/5 (6)  ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

อ้างอิง  มาตรา 65 ตรี (6 ทวิ)