ใบกำกับภาษีของธุรกิจส่งออก

รู้หรือไม่  กิจการส่งออกให้ถือใบกำกับสินค้า (Invoice) เป็นใบกำกับภาษี (Tax Invoice)

ข้อกฎหมาย

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 21)

ข้อ 1  กำหนดให้ใบกำกับภาษีของการขายสินค้าหรือให้บริการโดยการส่งออกตามมาตรา 86/5(1)แห่งประมวลรัษฎากร มีรายการเช่นเดียวกันกับใบกำกับสินค้าซึ่งผู้ส่งออกได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา :   กรมสรรพากร

บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับราคาสินค้า (Invoice)

บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับราคาสินค้า เป็นเอกสารที่ผู้ส่งสินค้าจัดทำขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เช่น รายการจำนวนสินค้า น้ำหนัก ราคาต่อหน่วย ราคารวมเครื่องหมายหีบห่อ ชื่อผู้ซื้อ เป็นต้น บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับราคาสินค้า (Invoice) นี้มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ

1. Official Invoice

2. Commercial Invoice

  

1. Official invoice ประกอบด้วย

- ใบกำกับสินค้าของศุลกากร (Custom Invoice) ทำขึ้นเพื่อมอบให้ด่านศุลกากรปลายทางใช้ตรวจสินค้า การที่ศุลกากรต้องการใบกำกับราคาสินค้าชนิดนี้ก็เพื่อป้องกันการตัดราคาในบางประเทศ

- ใบกำกับสินค้าของกงสุล (Consular Invoice) เป็นใบกำกับราคาสินค้าที่ต้องให้กงสุลของประเทศผผู้ซื้อที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยตรวจตราก่อนการขนส่ง ตามระเบียบศุลกากรของประเทศผู้ซื้อบางประเทศ เว้นแต่ L/C จะขออนุญาตให้ใบกำกับสินค้านั้นออกได้โดยสถานกงสุลของประเทศพันธมิตรอื่น ดังนั้นใบกำกับสินค้าชนิดนี้จะต้องได้รับการประทับตราทางราชการและลงนามโดยถูกต้อง ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมให้สถานกงสุลตามระเบียบของสถานกงสุลนั้นๆ

2. Commercial Invoice ประกอบด้วย

- Consignment Invoice ใช้ในการสั่งสินค้าเพื่อไปฝากขาย ราคาที่แจ้งเป็น C.I.F

- Sample Invoice ใช้สำหรับส่งสินค้าตัวอย่างไปต่างประเทศ

- Pro-forma Invoice ใช้ในการเสนอราคา และเงื่อนไขในการจ่ายเงิน ผู้ส่งสินค้ามักจะทำเป็น Pro-forma Invoice ส่งไปให้ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อพอใจก็จะเปิด Credit สั่งซื้อสินค้า โดยอ้างเลขที่ และวันที่ของ Pro-forma Invoice นั้นๆ ดังนั้น Pro-forma Invoice จึงใช้ได้ทั้งเป็นการเสนอขายและข้อตกลงแทนสัญญาซื้อขายไปในตัว

ที่มา  http://www.creativelanna.com/center/how-to-export/invoice/