ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

หน้าที่ของผู้ประกอบการในการหักภาษี ณ ที่จ่าย

กิจการต่าง ๆ เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจย่อมก่อให้เกิดทั้งรายได้ และค่าใช้จ่าย ทราบหรือไม่ ค่าใช้จ่ายบางประเภทกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี และนำส่งให้กับกรมสรรพากร แต่ถ้าหากผู้จ่ายละเลยไม่หักภาษี และนำส่ง หรือ หักภาษีแล้วแต่ลืมนำส่ง ก็จะเกิดบทลงโทษตามกฎหมาย ดังนี้

1.           ไม่ ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ได้นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวน เงินภาษีที่ไม่ได้หักและไม่ได้นำส่ง ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร

2.           ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

3.           กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ได้ยื่นรายการและนำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

 สรุปความได้ว่า ผู้จ่ายที่ไม่ได้หัก จะต้องเสียภาษีแทนผู้มีรายได้ คือ

1.       ภาษีที่ต้องหักและนำส่ง

2.       เงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน

3.       ค่าปรับอาญากรณีไม่ได้ยื่นแบบภายในกำหนด ค่าปรับไม่เกิน 2 พันบาท

 รายจ่ายอะไรบ้างที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย           

 ตามมาตร 3 เตรส

          การจ่ายค่าใช้จ่ายรายหนึ่งๆ ตั้งแต่ 1 พันบาทขึ้นไป (ไม่รวมภาษี) ผู้จ่ายต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่ง และกรณีสัญญาที่มีมูลค่า 1 พันบาทขึ้นไป แม้จะมีการแบ่งจ่ายแต่ละครั้งไม่เกิน 1 พันก็ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น ค่าโทรศัพท์  ค่าเช่า เป็นต้น     ค่าใช้จ่ายที่ต้องหัก (ขอนำเสนอเฉพาะกรณีที่ต้องเจอบ่อย ๆ ) มีดังนี้

1.  ค่านายหน้า,การรับทำงานให้(เฉพาะนิติบุคคล)   หัก ร้อยละ 3

2.  ค่าลิขสิทธิ์  หัก ร้อยละ 3

3.  ดอกเบี้ย (ธนาคาร เฉพาะดอกเบี้ยพันธบัตร และหุ้นกู้)   หัก  ร้อยละ 1

4.  เงินปันผล, ส่วนแบ่งผลกำไร   หัก  ร้อยละ 10

5.  ค่าเช่าทรัพย์สิน    หัก ร้อยละ 5

6.  ค่าวิชาชีพอิสระ (หมอ,ทนาย,นักบัญชี)  หัก ร้อยละ 3

7.  ค่าจ้างทำของ ,รับเหมาก่อสร้าง  หัก ร้อยละ 3

8.  ค่าโฆษณา   หัก ร้อยละ 2

9.  เงินรางวัลจากการแข่งขัน,ชิงโชค  หัก ร้อยละ 5

10.  ค่าบริการ (ไม่รวมโรงแรม,ภัตตาคาร,ประกันชีวิต)  หัก ร้อยละ 3 

11.  รางวัล ส่วนลด จากการส่งเสริมการขาย  หัก ร้อยละ 3

12.  เบี้ยประกันวินาศภัย  หัก ร้อยละ 1

13.  ค่าขนส่ง (ไม่ใช่สาธารณะ)   หัก ร้อยละ 1

ค่าใช้จ่ายข้อ 1, 2, 3, 5, 6  ที่จ่ายให้มูลนิธิ สมาคม ให้หักภาษีในอัตรา ร้อยละ 10

การหักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาตรา 50 ทวิ ให้กับผู้ที่ถูกหักภาษี  สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

-          บุคคลธรรมดา  หักภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.3

-          นิติบุคคล หักภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.53

 มาตรา 70 ทวิ

กรณีผู้รับเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

รายได้มาตรา 40(2) – (6) เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่านายหน้า ค่าลิขสิทธิ์ ดอกเบี้ย ค่าเช่าทรัพย์สิน  ค่าวิชาชีพอิสระ   ให้ หักภาษีเงินได้ ร้อยละ 15 

เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร  ให้หัก ร้อยละ 10 

                            -      ใช้แบบ ภ.ง.ด.54