Home

สำนักงานรุ่งเรืองการบัญชีและสอบบัญชี

 สำนักงานรุ่งเรืองการบัญชีและสอบบัญชีให้บริการจัดทำบัญชี โดยนักบัญชีมืออาชีพ และเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor) ซึ่งช่วยดูแลงานด้านภาษีสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก SMEs หรือ กิจการที่เพิ่มเริ่มดำเนินงาน แต่ขาดพนักงานบัญชีที่จะมาดูแลบริษัท

               ทางสำนักงานใช้โปรแกรมบัญชีบัญชีทันสมัยล่าสุด ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมสรรพากร สามารถจัดทำบัญชีได้ถูกต้องตามหลักกฎหมายภาษีอากร และทำบัญชีได้ตามมาตรฐานการบัญชีทุกประการ 

               มีการจัดทำบัญชีพร้อมขึ้นทะเบียนโดยผู้ทำบัญชีโดยผู้ทำบัญชีที่จบสาขาบัญชีโดยตรง และมีประสบการทำบัญชีนับ 10 ปี 

 

ราคาค่าบริการจัดทำบัญชี  เริ่มต้นที่ 1,500 บาทต่อเดือน คิดค่าบริการตามปริมาณเอกสาร

 

ราคาค่าบริการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน  จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ฟรีค่าทำตรายาง

1.  จดทะเบียนบริษัท พร้อมจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

2.  จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 

 

          กรณีใช้ที่อยู่เป็นคอนโด เป็นที่อยู่ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอให้ติดต่อผู้จัดการนิติบุคคลในการขอหนังสือรับรอง ว่าสามารถออกใบรับรองสำหรับเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่ เพราะเป็นเอกสารสำคัญในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 


บริการของสำนักงานบัญชี

 

บริการด้านบัญชี

1.            บันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี โดยบันทึกบัญชีในสมุดรายวันเฉพาะ 5 เล่ม ได้แก่ สมุดรายวันทั่วไป  สมุดรายวันรับเงิน สมุดรายวันจ่ายเงิน สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย  โดยใช้โปรแกรมบัญชีที่ทันสมัยล่าสุด

2.            จัดทำบัญชีแยกประเภททั่วไป  ระบบรายงานสินค้าคงเหลือ (Stock Card)  ระบบบัญชีลูกหนี้ ระบบบัญชีเจ้าหนี้  ระบบบัญชีทรัพย์สินและทะเบียนค่าเสื่อมราคา

3.            จัดทำงบการเงินได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน งบกระแสเงินสด งบรายได้และค่าใช้จ่าย งบรายรับ และรายจ่าย  งบต้นทุนผลิต และพร้อมรายละเอียดประกอบงบการเงิน

 

บริการด้านภาษี

1.            รายงานภาษีภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย ซึ่งรายงานภาษีรูปแบบใหม่ ที่ประกาศใช้ของกรมสรรพากรล่าสุดในปี 2558

2.            จัดทำและยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30 ,ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ.40 ยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

3.            จัดทำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2,  ภ.ง.ด.3,  ภ.ง.ด.53 ภ.พ.36 ยื่นภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

4.            จัดทำและยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด.51    ยื่นภายใน 2 เดือนถัดจากรอบบัญชีครึ่งปี

5.            จัดทำและยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ภ.ง.ด.50  ยื่นภายใน 5 เดือนนับจากสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

6.            จัดทำและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภ.ง.ด.94  ยื่นก่อนเดือน กรกฎาคม - กันยายนของทุกปี

7.            จัดทำและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี  ภ.ง.ด.90   ภ.ง.ด.91  ยื่นเดือน ม.ค. – มี.ค.ของทุกปี

 

บริการตรวจสอบบัญชี     ตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต CPA   สำหรับ บริษัทจำกัด ทุกประเภทกิจการ

 

เอกสารที่ต้องจัดเตรียมเริ่มต้นสำหรับผู้ที่ติดต่อทำบัญชี

กรณีกิจการจัดตั้งบริษัทใหม่

1.            ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท และเอกสารอื่น ๆ แนบ

2.            สำเนาหนังสือรับรอง

3.            สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น บอจ.5

4.            เอกสารการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.01 , ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.20 ,คำขอเปลี่ยนแปลงภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภพ.09)

5.            หนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน

 

กรณีกิจการที่ทำบัญชีอยู่กับสำนักงานบัญชีอื่น แล้วต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่

1.            ใช้เอกสารกิจการจัดตั้งบริษัทใหม่ รายการที่ 1 – 5

2.            งบการเงินปีก่อน พร้อมหน้ารายงานผู้สอบบัญชี

3.            สำเนาแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมใบเสร็จรับเงินของปีก่อน

4.            งบทดลอง , กระดาษทำการ , บัญชีแยกประเภท ของปีก่อน

5.            รายละเอียดประกอบงบการเงิน ได้แก่  สมุดทะเบียนบัญชีลูกหนี้ และเจ้าหนี้คงค้าง  ทะเบียนบัญชีทรัพย์สิน และค่าเสื่อมราคาสะสม รายงานสินค้าคงเหลือ (Stock Card) รายละเอียดประกอบงบการเงินอื่น ๆ ที่มี

 

เอกสารทางบัญชีที่ต้องจัดส่งให้สำนักงานบัญชี

กรณีจัดทำบัญชีรายเดือน

1.บิลขาย (ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี) แนบ Pay-in Slip พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร

2.เอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ พร้อมแนบสำเนาเช็ค และหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)

3.เอกสารการจ่ายเงินเดือน และค่าแรง

4. เอกสารการเบิกใช้วัตถุดิบ (กรณีกิจการผลิตสินค้า)

5. เอกสารหนังสือสัญญาว่าจ้าง (กรณีกิจการรับเหมาก่อสร้าง)

6. ใบขนสินค้าขาเข้า และขาออก (กรณีธุรกิจนำเข้า-ส่งออก) พร้อมหลักฐานการชำระค่าสินค้า

 

กรณีลูกค้าทำบัญชีรายปี

1.            บิลขาย (ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี) มีรายงานภาษีขายปะหน้า และแยกเป็นเดือน ม.ค. – ธ.ค. แนบ Pay-in Slip  พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร

2.            เอกสารค่าใช้จ่าย ประเภทใบกำกับภาษี มีรายงานภาษีซื้อปะหน้า และแยกเป็นเดือน ม.ค. – ธ.ค. พร้อมแนบสำเนาเช็ค และหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)  และเอกสารค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่นค่าทางด่วน ให้รวบรวมแยกประเภทเดียวกัน

3.            แบบฟอร์มภาษี เช่น แบบ ภ.พ.30 ภงด.1 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 ภ.ง.ด.51 พร้อมแนบใบเสร็จ เดือน ม.ค. – ธ.ค.

4.            งบการเงิน และ แบบ ภ.ง.ด.50 ปีก่อน

5.            ลูกค้าใหม่ ให้เตรียมเอกสารของคนทำบัญชีปีก่อน ได้แก่  กระดาษทำการ งบทดลอง บัญชีแยกประเภท พร้อมรายละเอียดประกอบงบการเงิน

 

 

ประโยชน์ที่ได้จาการจ้างสำนักงานบัญชีมาช่วยจัดทำบัญชี              

1.            ได้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ในการทำบัญชี และภาษี พร้อมแนะนำวิธีที่ถูกต้องในด้านภาษีแก่ผู้ประกอบการ หากลูกค้ายื่นภาษีเองโดยไม่มีความรู้ เช่น  ยื่นภาษีขายขาดไป  ยื่นภาษีซื้อไว้เกิน  เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง  อาจจะโดนเบี้ยปรับ 1-2 เท่า และเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ชำระไม่ถูกต้อง มาตรา 89/1 , 89(2) , 89(4)

2.            ได้รับการวางแผนให้เสียภาษีที่ถูกต้อง และประหยัดภาษีได้ถุกต้องตามกฎหมายภาษีอากร

3.            ได้รับงบการเงินในระหว่างปี  ทำให้เจ้าของกิจการรู้ฐานะการเงินของกิจการ ณ ปัจจุบันเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาช่วยวางแผนการตลาดของกิจการ

เหตุผลที่ลูกค้ามาทำบัญชีกับเรา  

1.            จัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี และทำบัญชีได้ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร โดยผู้ทำบัญชีที่มีประสบการณ์ในสายงานบัญชีมา 10 ปี และเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอาการ (Tax auditor) ผ่านการจัดทำบัญชีและปิดงบให้กับบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ มากมาย และใช้โปรแกรมบัญชีที่ทันสมัย มาช่วยในการทำงานบัญชี ซึ่งเป็นโปรแกรมบัญชีที่ผ่านการรับรองจากกรมสรรพากรว่าเป็นโปรแกรมบัญชีที่ได้มาตรฐาน ซึ่งสามารถจัดทำบัญชีได้ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร

2.            การให้บริการในราคาไม่แพง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน กิจการขนาดเล็กต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นมากมาย ในการเริ่มทำธุรกิจเริ่มแรก ต้องการที่ประหยัดต้นทุน  ทางสำนักงานจึงได้คิดที่จะให้บริการลูกค้าในราคาถูก มีคุณภาพตามมาตรฐานการให้บริการ

3.            มีการจัดเก็บเอกสารเข้าแฟ้มเป็นอย่างดี

4.            หมดปัญหาเรื่องการส่งภาษีไม่ทัน โดนปรับ โดนประเมิน เพราะสำนักงานมีระบบบริหารจัดการเรื่องเวลาทำงาน ไม่รับงานทำบัญชีมากเกินกว่าที่คนของทางสำนักงานจะสามารถรับทำงานให้

5.            มีความซื่อสัตย์ สุจริต หมดปัญหาเรื่องการโกงเงินภาษีของลูกค้า  เพราะเงินภาษีของลูกค้าโอนเข้าบัญชีของสำนักงาน และเมื่อทางสำนักงานได้นำเงินไปชำระค่าภาษีให้ก็จะส่งหลักฐานเอกสารการชำระเงินไปให้ลูกค้าทันที เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และทางลูกค้าจะได้เกิดความสบายใจแน่นอนว่าจะไม่มีการโกงเงินภาษีของลูกค้าแน่นอน

6.            หมดปัญหาเรื่องการส่งงบการเงินล่าช้า ทำให้โดนปรับ โดนดำเนินคดีตามกฎหมาย เพราะทางสำนักงานจะจัดให้มีการปิดงบก่อนเดือน เมษายนของทุกปี เพื่อป้องกันการทำงบล่าช้า และนำส่งงบการเงินไม่ทัน เมื่อมีการจัดส่งงบการเงิน ทางสำนักงานจะจัดส่งเอกสารการรับงบการเงิน พร้อมแบบ และใบเสร็จรับเงินจากการยื่นภาษีให้ และส่งมอบเอกสาร และเล่มงบการเงินให้ลูกค้าทันทีที่นำส่งงบการเงินเรียบร้อยแล้ว  

        

การวางระบบบัญชีเบื้องต้นสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มประกอบกิจการ

 

เอกสารเบื้องต้นที่จะต้องมีการจัดทำสำหรับงานเอกสารทางบัญชีมีดังนี้     

 

 

ระบบใบสำคัญรับเงิน และ ใบสำคัญจ่ายเงิน

      ถือเป็นปัจจัยสำคัญเลยก็ว่าได้ในการวางระบบบัญชี ที่จะต้องมีเอกสารใบสำคัญรับ และใบสำคัญจ่ายเงิน  ใบสำคัญคืออะไร   

        ใบสำคัญ คือ เอกสารทางบัญชีชนิดหนึ่งที่ใช้ควบการควบคุม และตรวจสอบการ รับ-จ่ายเงิน ว่าเกี่ยวข้องกับรายการค้าอะไร ใครเป็นผู้เบิกจ่ายเงิน เอกสารดังกล่าวได้รับการอนุมัติการจ่ายเงินแล้วหรือไม่ และ การรับจ่ายเงินดังกล่าวผ่านช่องทางใด ในบางครั้ง ใบสำคัญยังรวมเอารายการการลงบันทึกบัญชีเข้าไปด้วย เพื่อให้รู้ว่ารายการใบสำคัญดังกล่าวได้มีการลงบัญชีแล้วหรือไม่อย่างไร

        จำเป็นไหมที่จะต้องมีใบสำคัญรับ-จ่ายเงิน  ขอบอกว่าจำเป็นมาก เพราะว่าหากกิจการไม่ได้มีการจัดทำใบสำคัญรับ-จ่ายเงินมาควบคุม  จะทำให้ไม่ทราบเลยว่า เอกสารดังกล่าว ได้มีการรับ-จ่ายเงินแล้วหรือไม่  ใครเป็นผู้เบิกจ่าย และ เป็นผู้รับเงิน เอกสารดังกล่าวได้รับการอนุมัติการจ่ายเงิน หรือ อนุมัติการออกเอกสารดังกล่าวแล้วหรือไม่อย่างไร  ซึ่งถือเป็นหัวใจอย่างหนึ่งในระบบการคุมคุมภายในเลยทีเดียว

       

การเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีมาใช้งาน 

งานด้านบัญชีส่วนใหญ่จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสารเสียเป็นส่วนใหญ่ ในสมัยก่อนนักบัญชีจะทำการบันทึกบัญชีในสมุดบัญชี ที่เป็นสมุดเล่มใหญ่ยาว ๆ หนา ๆ มีสมุดสต๊อกสินค้าช่วยคุมรายการสินค้าต่าง ๆ ที่เบิกจ่ายและรับเข้าจากการสั่งซื้อ แต่ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะงานด้านบัญชี จึงเริ่มมีโปรแกรมเมอร์พัฒนาซอฟท์แวร์ทางด้านบัญชีขึ้นเพื่อมาช่วยเหลืองานของพนักงานบัญชี แล้วเราจะเลือกโปรแกรมบัญชีอะไรมาใช้สำหรับงานบัญชีดีแหละ นี้เป็นคำถามยอดฮิตของผู้ประกอบการที่จะตัดสินใจเลือกซื้อโปรแกรมมาใช้งาน

 

หลักในการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชี

1.            โปรแกรมบัญชีมีความเสถียร และแสดงข้อมูลทางบัญชีได้ถูกต้อง   อันนี้หัวใจสำคัญที่สุดที่ใช้ในการพิจารณาเลยทีเดียว เพราะผู้เขียนบทความได้เคยประสบปัญหาจากการใช้โปรแกรมบัญชีที่ไร้ความเสถียรภาพมาแล้ว และเป็นปัญหาใหญ่กับนักบัญชีกันเลยทีเดียว บางโปรแกรมบัญชีอาจจะมีปัญหาด้านการแสดงและประมวลผลข้อมูลทางบัญชีที่ผิดพลาด  ปัญหานี้จะพบยาก หากยังไม่ได้มีการทดลองใช้โปรแกรมบัญชีไปสักระยะ แล้วจะทำอย่างไรหละที่จะรู้ว่า โปรแกรมบัญชีไหน มีปัญหา หรือ ใช้แล้วดี ก็ต้องอยู่ที่เราได้ลองใช้โปรแกรมมาทำงานจริง ๆ หรือ สอบถามผู้ที่ได้เคยใช้โปรแกรมบัญชีตัวนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร แล้วพบปัญหาอะไรบ้างหรือป่าว

2.            มีหลายระบบการทำงาน และรูปแบบรายงานหลากหลาย  อันนี้ก็เป็นส่วนสำคัญที่ใช้ตัดสินใจในการซื้อกันเลยทีเดียว โปรแกรมบัญชีที่ดีต้องมีระบบการทำงานที่หลายหลาก และครบถ้วน เช่น

·       ระบบบัญชี   ระบบนี้ช่วยในการทำงานด้านบัญชีเป็นหลัก ซึ่งอาจจะแยกเป็น ระบบบันทึกสมุดรายวัน และระบบบัญชีแยกประเภท

·       ระบบสินค้าคงคลัง  ระบบนี้ช่วยควบคุมระบบสินค้าคงเหลือ ทำให้ทราบว่าสินค้าในแต่ละคลังเหลือเท่าไหร่ และมีสินค้าอะไรที่สามารถขายได้บ้าง

·       ระบบลูกหนี้ และระบบการขาย  ระบบนี้เป็นระบบสำหรับช่วยงานด้านการขาย และควบคุมงานด้านลูกหนี้ เช่น ช่วยการการออกบิลขาย ออกใบกำกับภาษี ออกใบวางบิล ใบแจ้งหนี้ การออกใบเสร็จรับเงิน และใช้ควบคุมลูกหนี้แต่ละรายว่ามีการชำระเงินเข้ามาเมื่อใด และ รายได้ค้างชำระเงินเกินกำหนดเครดิตบ้าง

·       ระบบเจ้าหนี้ และระบบการสั่งซื้อ   ระบบนี้ใช้สำหรับ ช่วยงานด้านการสั่งซื้อ เช่น  ออกใบรับวางบิล ออกใบสั่งซื้อสินค้า ตรวจสอบรายการสั่งซื้อล่าสุด และทราบราคาสินค้าที่เคยสั่งซื้อที่ผ่านมาว่าสั่งซื้ออะไร เป็นราคาและจำนวนเท่าไหร่ สั่งซื้อกับใคร  และที่สำคัญใช้ควบคุมรายการเจ้าหนี้ ว่าเจ้าหนี้รายใดได้ชำระหนี้ไปแล้วบ้าง และเจ้าหนี้รายไหนถึงกำหนดเวลาที่จะต้องชำระหนี้แล้ว  

·       ระบบภาษี  เป็นระบบที่ช่วยงานด้านภาษีต่าง ๆ เช่น  ใช้จัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย ที่ต้องนำข้อมูลตัวเลขมาจัดทำแบบ ภ.พ.30 เพื่อส่งภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือน จัดทำรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภงด.1 , ภงด.3 , ภงด.53

·       ระบบวิเคราะห์รายงานต่าง ๆ  เป็นระบบวิเคราะห์เพื่อออกรายงานนำเสนอต่อฝ่ายบริหารต่าง ๆ เช่น  รายงานยอดขายในแต่ละเดือน รายงานยอดกำไรขั้นต้นของสินค้าแต่ละชนิด รายงานสินค้าจอง และสินค้าค้างส่ง รายงานยอดการสั่งซื้อสินค้าแต่ละชนิด และจุดขั้นต่ำที่ต้องสั่งซื้อ รายงานงบการเงินแต่ละเดือน  รายงานงบการเงินแยกตามแผนก รายงานงบการเงินแบ่งตามโครงการ เป็นต้น

·       ระบบอื่น ๆ เช่น ระบบทรัพย์สิน ระบบบำรุงรักษาและสำรองข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัย และอื่น ๆ

 

3.            บริการหลังการขาย  อันนี้เป็นข้อสำคัญในการพิจารญากันเลยทีเดียว เพราะบางครั้งโปรแกรมบัญชีที่ใช้อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้น  ซึ่งถ้าบริษัทมีฝ่ายไอทีอยู่ก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาได้ก่อนระดับหนึ่งสำหรับบริษัทใหญ่ แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญ  หากวันใดวันนึงโปรแกรมมีปัญหาด้านการใช้งาน ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้  ก็ต้องติดต่อผู้จำหน่ายโปรแกรมทันที ต้องดูถึงบริการหลังการขายว่า มีฝ่ายเทคนิคคอยรับโทรศัพท์หรือไม่ และมีการให้คำปรึกษาการแก้ปัญหาเบื้องต้นหรือไม่  บางครั้งปัญหาด้านโปรแกรมแก้ไม่ได้จำเป็นต้องยกเครื่อง หรือ ส่งข้อมูลไปให้เจ้าของโปรแกรมทำการแก้ไข ก็ต้องคำนึงถึงระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา หากโปรแกรมนั้นใช้เวลาในการแก้ไขปัญหานาน ธุรกิจก็อาจจะมีปัญหาได้  บางครั้งโปรแกรมบางโปรแกรมก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ทำให้เกิดปัญหากับกิจการจนต้องเลิกใช้โปรแกรมตัวนี้ไปเลยก็ได้ ซึ่งพบเห็นได้บ่อยเหมือนกัน

4.            ขนาดของข้อมูลที่รองรับในการเก็บในฐานข้อมูล  อันนี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเหมือนกัน ในการตัดสินค้าซื้อ แต่ถ้าธุรกิจเป็นกิจการขนาดเล็ก มีการเก็บข้อมูลไม่มาก ปัจจัยข้อนี้ก็ไม่สำคัญเท่าไหร่นัก  แต่ถ้าเป็นธูรกิจขนาดใหญ่เช่น ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ ธุรกิจอุปกรณ์ก่อสร้าง  กิจการประเภทนี้มีรายการข้อมูลที่จะต้องเก็บในแต่ละวันมาก เมื่อรวม ๆ กันในแต่ละปี จะมีขนาดข้อมูลที่ใหญ่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูว่าโปรแกรมบัญชีนั้น ๆ รองรับการจัดเก็บ และการจัดการด้านฐานข้อมูลจำนวนมากหรือไม่ เพราะบางโปรแกรมได้ออกแบบมาให้จัดเก็บข้อมูลได้แค่ 1 ปี และบางโปรแกรมเก็บข้อมูลได้ขนาดไม่เกิน 4 GB ถ้าเก็บข้อมูลมากกว่านั้นก็จะมีปัญหาได้

5.            ความยากง่ายในการใช้งาน  โปรแกรมบัญชีที่ใช้งานได้ง่าย หรือ สามารถเรียนรู้ได้เอง ก็ทำให้กิจการสามารถประหยัดต้นทุนในการส่งพนักงานไปอบรม เพราะบางโปรแกรมต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอบรมแต่ละครั้งตั้งแต่ 3 พันบาท ถึงหลัก แสนบาทก็มี หรือบางครั้งอาจมีปัญหาด้านแรงงานในการหาบุคลากรที่มีความสามารถในการใช้งานโปรแกรมได้ มาแทนพนักงานคนเก่าที่ใช้งานโปรแกรมที่ทำงานได้ลาออกไป แต่บางโปรแกรมบัญชีที่ใช้งานยุ่งยาก ก็อาจชดเชยกับ งานด้านการวิเคราะห์ และการรายงานได้ เนื่องจากตัวโปรแกรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดเยอะ ทำให้สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลออกมาได้รวดเร็ว ในขณะที่โปรแกรมบัญชีบางโปรแกรมใช้งานง่าย แต่ไม่สามารถประมวลผล หรือ วิเคราะห์รายงานได้ไม่เยอะ ทำให้ผู้ทำบัญชี จะต้องหาโปรแกรมอื่น ๆ มาช่วยในการจัดเก็บฐานข้อมูล เพื่อจัดทำประมวลผลเพื่อวิเคราะห์แทนโปรแกรมบัญชีตัวนี้เลยทีเดียว

6.            ราคา  อันนี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเช่นกัน เพราะกิจการขนาดเล็ก บางครั้งต้องการโปรแกรมที่มีคุณสมบัติดีเลิศ ครบถ้วน แต่ราคาโปรแกรมราคา 5 แสนบาทบ้าง 5 ล้านบาทบ้าง หรือ บางทีก็ 10 ล้านหรือ 100 ล้านก็ยังมี ก็ต้องหาโปรแกรมในระดับราคาที่สามารถหาซื้อหามาใช้ได้ ในขณะที่บริษัทใหญ่บางแห่ง ซื้อโปรแกรมมาในราคา 5 แสนบาท แต่ใช้งานแค่ระบบบัญชีอย่างเดียว ซึ่งถือว่าไม่คุ้มค่าในการลงทุนเอาเสียเลยทีเดียว

7.            การรองรับเทคโนโลยีในอนาคต  เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโปรแกรมบัญชีก็ต้องมีการพัฒนาเช่นกัน เพื่อรองรับระบบการทำงานที่หลากหลาย เช่น เทคโนโลยีด้านซอฟท์แวร์ ด้านซอฟแวร์ระบบปฏิบัติการที่มีหลากหลายเช่น  Windows , Unix, Lenux, Mac ซึ่งมีหลากหลายเวอร์ชั่น ในขณะที่อนาคตอันใกล้ กำลังจะเปลียนจากระบบ 32บิต เป็น 64 บิต ด้วย และถ้ารองรับการใช้งานผ่านทางด้านอินเตอร์เน็ตได้ ก็ถือว่าคุ้มค่ามาก

 

บทสรุป

1.            ในการตัดสินใจซื้อโปรแกรมบัญชีมาใช้งานนั้น ต้องเขียนออกมาเป็นข้อ ๆ เลยว่า เราต้องการซื้อโปรแกรมบัญชีมาเพื่ออะไร แล้วต้องการคุณสมบัติอะไรจากโปรแกรมบัญชีบ้าง

2.            งบประมาณที่ตั้งขึ้นสำหรับการซื้อโปรแกรมบัญชีนี้มาช่วยงาน

3.            ต้นทุนที่จะเกิดขึ้นหลักจากซื้อโปรแกรมนี้มาใช้แล้ว ซึ่งต้นทุนที่เกิดขึ้นได้แก่ ต้นทุนด้านการฝึกอบรมผู้ใช้งาน  ต้นทุนการลงทุนด้านอุปกรณ์

4.            ต้นทุนค่าเสียโอกาสจาการที่โปรแกรมมีปัญหาไม่สามารถใช้งานได้ หรือ เกิดข้อผิดพลาดต่าง ๆ จากการใช้งาน

 

เมื่อพิจารณาข้างต้นแล้ว ลองถามกับตัวเองดูว่าคุ้มค่าที่จะซื้อโปรแกรมตัวนี้มาใช้งานหรือไม่

 

 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่

                 ขอเอกสารจากสำนักงานบัญชีเก่าคืน ในกรณีที่เอกสารทางบัญชีของท่านได้ฝากไว้กับทางสำนักงานบัญชี โดยจะต้องตรวจสอบเอกสารทางบัญชีว่ามีครบหรือไม่ ดังนี้

1.             เล่มงบการเงินปีก่อน ในการยื่นงบการเงินทุกปี จะต้องมีเล่มงบการเงิน พร้อมกับหน้ารายงานของผู้ตรวจสอบบัญชี ที่ได้เซ็นต์รับรองการตรวจสอบบัญชีของกิจการท่านในการยื่นงบการเงินและชำระภาษีทุกปี

2.            แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 พร้อมใบเสร็จรับเงิน ทุกเดือน สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องยื่นภาษีทุกเดือน แม้ว่าจะไม่มีรายได้ในเดือนนั้น ๆ ก็ตาม

3.            รายงานภาษีซื้อ รายการภาษีขาย พร้อมเอกสารใบกำกับภาษีต้นฉบับจริง ทุกเดือน

4.            แบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภงด.1 , ภงด.2 ,ภงด.3 , ภงด.53 พร้อมใบเสร็จรับเงินทุกเดือน และหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย

5.            แบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี ภดง.51 และภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ภงด.50 พร้อมใบเสร็จ

6.            เอกสารการบันทึกบัญชีที่แยกเป็นเล่ม ในสมุดรายวันทั่วไป สมุดรายวันรับเงิน สมุดรายวันจ่ายเงิน สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย

7.            งบทดลอง หรือ กระดาษทำการของปีก่อน พร้อมสมุดบัญชีแยกประเภท รายการทะเบียนทรัพย์สิน สมุดคุมรายการสินค้าคงเหลือ (Stock Card) สมุดคุมบัญชีเจ้าหนี้ และลูกหนี้ และรายละเอียดประกอบงบการเงินต่าง ๆ

แบบนำส่งงบการเงิน สบช.3 ของปีก่อน