ชะอม  ชโลมใจ....................

ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  "ชะอม...ชโลมใจ"       ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลศรีวิชัย

ข้อมูลทั่วไป

          ชะอม เป็นพืชจำพวกอาเคเซีย นิยมนำมารับประทานในทุกๆภาคของไทย เป็นพืชยื่นต้น สามารถนำใบแก่และอ่อน เป็นสมุนไพร ของไทย ลำต้นของชะอมมีหนาม ใบมีขนาดเล็กและมีกลิ่นฉุน ใบอ่อนของชะอมหรือส่วนยอดของใบสามารถนำมารับประทานได้ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปแต่ละภาค โดยมากมักปลูกตามรั้วบ้านเนื่องจากมีหนามแล้วยังเป็นผักที่ทานได้ตลอดทั้งปี 

ชะอม ชื่อสามัญ Climbing wattle, Acacia, Cha-om 

ชะอม ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia pennata (L.) Willd. 

จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) 

ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE) 

ผักชะอม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ผักหละ (ภาคเหนือ), อม (ภาคใต้), ผักขา (ภาคอีสาน อุดรธานี), พูซูเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน), โพซุยโดะ (กะเหรี่ยง) เป็นต้น

ลักษณะของชะอม 

    ต้นชะอม เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนามแหลม ส่วนลักษณะของใบชะอมเป็นใบประกอบสีเขียวขนาดเล็ก มีก้านใบย่อยแตกออกจากแกนกลางใบ มีลักษณะคล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุน ใบย่อยมีขนาดเล็กออกตรงข้ามกัน คล้ายรูปรีประมาณ 13-28 คู่ ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบย่อยจะหุบในเวลาเย็น และแผ่ออกเพื่อรับแสงในช่วงกลางวัน ส่วนดอกชะอม มีขนาดเล็กออกตามซอกใบ มีสีขาวถึงขาวนวล

วิธีการขยายพันธุ์ชะอม

      ปลูกโดย การปักชำ การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง หรือการโน้มกิ่งลงดิน โดยวิธีที่ได้รับความนิยมในปุจจับัน และสะดวก รวดเร็ว คือวิธีการตอนกิ่ง

การปลูกชะอม 

    ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักชะอมคือช่วงปลายเดือนเมษายน (ต้นฝน)ถ้าปลูกในช่วงที่ฝนตกมากต้นกล้าจะตาย

- การปลูกผักชะอม จะต้องขุดหลุม ขนาด ลึก 1 ฟุต กว้าง 1 ฟุต รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 1 ถ้วย/หลุมคลุกปุ๋ยคอกในหลุมให้เข้ากับดิน ระยะห่างระหว่างต้น 2 เมตร

- นำต้นกล้าลงปลูก กลบดินโดยเริ่มจากการกลบหน้าดินลงไปก่อนแล้วกลบดินที่ขุดจากก้นหลุมตาม

- นำวัสดุ ฟางข้าว เศษหญ้า แกลบหยาบ คลุมโคนต้นกล้า เพื่อป้องกันวัชพืช รักษาความชื้นของหน้าดิน

- รดน้ำทุกๆ 2 วัน เช้า-เย็น

- ใส่ปุ๋ยคอกทุกๆ 2 สัปดาห์ โดยการนำวัสดุคลุมออกแล้วใส่ปุ๋ยคอก 1 ถ้วย จากนั้นนำวัสดุคลุมอีกครั้ง 

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.opsmoac.go.th/surin-local_wisdom-preview-422891791830

สรรพคุณของชะอม


ประโยชน์ของชะอม


จากการปลูกชะอมสู่ฐานการเรียนรู้ ชะอม.....ชโลมใจ

           ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชะอม..ชโลมใจ เป็นการสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ รวมไปถึงการถอดบทเรียนเกี่ยวกับชะอม ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ในเรื่องของชะอม พันธุ์ วงค์ตระกูล การขยายพันธุ์ การปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต การป้องกันโรค การดูแลรักษา การสร้างภูมิคุ้มกัน การหมุนเวียนชะอม ครู กศน.ตำบล สามารถที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในฐานการเรียนรู้ ชะอม..ชโลมใจ ได้อย่างเข้าใจรวมถึงนักศึกษาที่ได้รับบการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นๆ ให้แก่ผู้ที่มาศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลศรีวิชัย

ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลศรีวิชัย สนับสนุนการปลูกชะอมไว้เป็นพืชเศรษฐกิจสำหรับตำบลศรีวิชัย พร้อมทั้งที่จะพัฒนา ต่อยอด การขยายพันธุ์ แจกจ่าย จำหน่ายกิ่งพันธุ์ต้นชะอม และพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ในเรื่องชะอมที่พร้อมแบ่งปันข้อมูล ความรู้ ผลผลิตที่นำไปบริโภคในชีวิตประจำวัน

ศกร.ระดับตำบลศรีวิชัย.ตำบลศรีวิชัย : ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  "ชะอม...โลมใจ"


ข้อมูลเนื้อหา โดย นายอภิเดช  เนียมพรมลี

เรียบเรียงเนื้อหา โดย นายอภิเดช เนียมพรมลี

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายอภิเดช เนียมพรมลี