ผ้าทอมือกะเหรี่ยง

ผ้าทอกะเหรี่ยง มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ของผ้าทอทีไม่เหมือนใครการทอผ้าทอกะเหรี่ยง เป็นภูมิปัญญาการทอผ้าแบบ กี่เอว ด้วยเทคนิคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะชาวกะเหรี่ยงเผ่าปกากะญอ การกี่เอว ซึ่งเป็นวิธีการทอผ้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์สูง มีการสืบทอดมายาวนานกว่าร้อยปี ถือว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะแห่งเดียวในโลก จึงต้องอนุรักษ์ไว้ให้อยู่ถึงลูกถึงหลานต่อไป

ข้อมูลพื้นฐาน ผ้าทอมือกะเหรี่ยง

บ้านแม่ป้อกใน หมู่ 4 ตำบลศรีวิชัย

อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ความเป็นมา

ผ้าที่ทอใช้ในชีวิตประจำวันจะเป็นเสื้อกะเหรี่ยง ซิ่นหรือหนึ่ย ย่าม ผ้าโพก ผ้าห่ม หรือผ้าชนิดอื่นๆ จะเน้นความสวยงามและความหนาของเนื้อผ้า เพราะว่าหมู่บ้านติดเขตชายแดน ภูเขาและมีป่าไม้มาก มีอากาศหนาวเย็น จึงต้องใส่เสื้อผ้าหนา เพื่อความอบอุ่นแก่ร่างกาย ซึ่งต่อมาความเจริญมีมากขึ้น การแต่งกายของชาวกะเหรี่ยงก็เริ่มเปลี่ยนไปตามสมัยนิยม แต่ก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีการแต่งกายไว้บ้าง จะมีการแต่งกายด้วยชุดกะเหรี่ยงประจำท้องถิ่น ในงานประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีกินข้าวห่อ งานบ

วัสดุอุปกรณ์การทอผ้าทอมือกะเหรี่ยง

1. แผ่นคาดหลัง (อย่ากุงไผย่) แต่เดิมนั้นทำมาจากหนังสัตว์

2. ไม้พันผ้า (เค่อไถ่ย) คือ ไม้รั้งผ้าสำหรับรั้งและพันผ้าที่ทอแล้ว

3. ไม้กระทบ (เน่ยบะ) คือ ไม้กระทบผ้า ทำจากไม้มะเกลือ ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร

4. ไม้แยกด้าย (กงคู๊) ไม้แยกด้าย ทำจากไม้ไผ่ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร

5. ไม้ไบ่หรือว้าบัง เพื่อแบ่งเส้นด้ายยืน

6. ทะคู่เถิง คือ ไม้ไผ่เจาะรูทั้ง 2 ข้างสำหรับยึดเครื่องทอ

7. เส่ยถึง คือ ไม้ใส่ด้าย ทำจากไม้กลมหนาประมาณ 1 นิ้ว

8. ลุงทุ้ย คือ ไม้ม้วนด้ายพุ่งใช้สำหรับสอดด้ายพุ่ง

9. คองญ่ายฆ่อง คือ ไม้สำหรับยันเท้าสำหรับควบคุมให้ด้ายยืนตึง หรือย่อนในระหว่างทอ

ความสำคัญของการทอผ้าทอมือกะเหรี่ยง

ผ้าทอกะเหรี่ยงมีความสำคัญและมีคุณค่าต่อสังคม ซึ่งผ้าทอกะเหรี่ยงกับการแต่งกายจะบ่งบอกสถานภาพทางสังคมแสดงให้เห็นคุณวุฒิทางจริยธรรมและการควบคุมความประพฤติของผู้สวมใส่ควบคู่กับความสวยงามของลวดลาย ทั้งนี้ ได้มีการส่งเสริมให้นำผ้ามาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การนำมาใช้ในการสืบสานประเพณีกินข้าวห่อการส่งเสริมให้พัฒนาเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และการส่งเสริมให้เกิดการสืบทอดความรู้ให้อยู่กับชุมชน ปัจจุบันผ้าทอกะเหรี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม คือ การขาดแคลนช่างทอผ้ากะเหรี่ยงรุ่นใหม่การหมดความนิยมในการใช้ การขาดความต่อเนื่องและขาดความริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาผ้าทอ และกลายเป็นแค่สัญลักษณ์ของคนกะเหรี่ยง

วิธีการทอผ้าทอมือกะเหรี่ยง

1. การเตรียมเครื่องทอผ้า ก่อนที่จะทอผ้าจะต้องมีการเตรียมเครื่องทอผ้าตั้งแต่การปั่นด้าย

การกรอด้าย การตั้งเครื่องทอผ้า การขึ้นด้าย มีขั้นตอนการทำดังนี้

1.1 การปั่นด้าย อุปกรณ์ในการปั่นด้ายผ้าทอกะเหรี่ยงราชบุรี ประกอบด้วย หลอดกรอด้าย

และเครื่องมือกรอด้าย หลอดกรอด้าย เดิมชาวกะเหรี่ยงใช้วิธีม้วนด้ายด้วยมือให้เป็นก้อน ปัจจุบันใช้ท่อพลาสติกแทน มีความยาวขนาด 10 เซนติเมตร

1.2 การกรอด้ายขวาง ด้ายขวางเป็นด้ายที่สอดเข้าไประหว่างด้ายยืน ทำให้เกิดลวดลายต่างๆเรียกว่า ลุงทุ้ย

ใช้ด้ายพันกับไม้ ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร

1.3 ตั้งไม้เครื่องทอกี่เอว หลังจากปั่นด้ายเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำด้ายมาขึ้นด้าย

1.4 การขึ้นด้าย หรือการขึ้นเครื่องทอกี่เอว เป็นการนำเอาเส้นด้ายมาเรียงต่อกันอย่างมีระเบียบตามแนวนอน

โดยพันรอบกับส่วนประกอบของเครื่องทอ และก่อนที่จะมีการขึ้นด้ายจะต้องมีการเตรียมเส้นด้ายด้วยการปั่นด้าย

การตั้งเครื่องทอ การเรียงเส้นด้าย การเปลี่ยนไม้เป็นเครื่องทอ

2. การทอผ้า มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

2.1. เริ่มต้นคล้องด้ายลงที่หลักที่ 1 สาวเส้นด้ายผ่านหลักที่ 2,3,4,5,6,7 นำไปคล้องที่หลักที่ 8 และสาวมาคล้องที่หลักที่ 1

2.2. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกัน นำมาพันรอบหลักที่ 2

2.3. ดึงด้ายให้ตึงเสมอกันพาดผ่านด้านหน้าของไม้หลักที่ 3 ถึงไม้หลักที่ 4 เป็นจุดแยกด้าย โดยใช้ด้ายสีขาวอีกกลุ่มหนึ่งเป็นเส้นด้ายตะกอสอดเข้าไประหว่างเส้นด้ายเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนที่ไม่ได้คล้องกับตะกอแยกเส้นด้ายผ่านหลังหลักที่ 4 และส่วนที่คล้องตะกอ ดึงเส้นด้ายผ่านด้านหน้าหลักที่ 4

2.4. รวบด้ายทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันให้ตึง พาดผ่านหลักที่ 5,6 พันอ้อมหลักที่ 7

2.5. ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงพร้อมอ้อมหลักที่ 8 และสาวให้ตึง ดึงกลับมาเริ่มต้นที่หลักที่ 1 ใหม่

2.6. สอดไม้ทั้งหมดออกจากเครื่องทอ และนำไม้ไบ่ 1 อัน สอดเข้าไปแทนไม้ใส่ตะกอที่ 1 นำไม้ไบ่ 2 อันเข้าสอดเปลี่ยนไม้ใส่ตะกอที่ 2 และไม้ใส่ตะกอที่ 3 ซึ่งต้องใช้ช่วยแยกด้ายเวลาทอแกะดอก ส่วนไม้ไบ่ที่ 2 ใส่กระบอกไม้ไผ่แทน 1 อัน

การสร้างลวดลายบนผ้าทอกะเหรี่ยง มีเทคนิคการทอที่หลากหลายสามารถสร้างลวดลายให้มีความสวยงาม แสดงอัตลักษณ์ของผ้าทอกะเหรี่ยงราชบุรีได้อย่างเด่นชัด ซึ่งสามารถแบ่งเทคนิคการทอและสร้างลวดลายออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. การทอธรรมดาหรือทอพื้น เป็นการทอลายขัดมีโครงสร้างหลัก โดยการสอดด้ายขวางเข้าไประหว่างด้ายยืนสลับขึ้น 1 ลง 1 หรือขึ้น 2 ลง 2 ตามจำนวนเส้นด้ายที่เรียงไว้ขณะขึ้นเครื่องทอ ผ้าที่ได้จะมีสีเดียวตลอดทั้งผืน ผ้าเรียบสม่ำเสมอ เป็นวิธีการทอขั้นพื้นฐานใช้สำหรับทอเย็บชุดเด็กหญิง เสื้อผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ย่ามกะเหรี่ยง การทอธรรมดาแบบด้ายยืนและด้ายพุ่ง จะมีจำนวนเท่ากันทั้งผืน

2. การทอลายสลับสี เป็นการทอแบบธรรมดา คือ ใช้เส้นด้ายยืนและเส้นด้ายพุ่งตามปกติ แต่แทรกด้ายสีต่างๆ สลับกันเข้าไป ขณะเรียงเส้นด้ายยืน ส่วนการทอลายมัดหมี่จะใช้ด้ายที่ย้อมติดสีบางส่วนเป็นด้ายยืนก่อนขึ้นเครื่องทอ ใช้วิธีการทอเหมือนการทอผ้าพื้นลายมัดหมี่เป็นลายที่ทอเป็นตัวซิ่น

3. การทอลายจกหรือลายแกะดอก เป็นวิธีการทอลวดลายที่มีเทคนิคการทอ ยากที่สุด ซึ่งมีเส้นพุ่งพิเศษที่สร้างลาดลายควบคู่กันไปขณะที่ทอ ด้วยการใช้นิ้วล้วงเข้าไปในด้ายยืน แล้วเอาด้ายสีต่างๆ แทรกเข้าไปขณะที่ทอสลับกับการสอดด้ายพุ่ง เมื่อทอเป็นผืนแล้ว ด้ายที่แทรกเข้าไปนั้น จะปรากฏเป็นลวดลายนูนบนผืนผ้าทั้งผืนไม่เหมือนกัน การทอลายนี้จะเห็นได้จากตีนซิ่น แต่ละลวดลายมีวิธีการแกะดอกแตกต่างกันออกไป

ข้อมูล นายคุณากร จันตา ผู้ใหญ่บ้านแม่ป้อกใน ตำบลศรีวิชัย

ภาพ เรียบเรียงโดย นายลำพอง ชาปาน ครูกศน.ตำบลศรีวิชัย