เปรียบเทียบรูปแบบทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยและระบอบอื่น ๆ

ระบอบการเมืองการปกครอง หมายถึง การจัดระบบให้คนส่วนใหญ่ในสังคมสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างมีระเบียบแบบแผน มีความสัมพันธ์กันอันก่อให้เกิดข้อตกลงอันดีงามร่วมกัน บังเกิดความผาสุกและความสามัคคีในสังคม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. ระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย

2. ระบอบการเมืองการปกครองแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกนิยมใช้เป็นหลักในการจัดการปกครองและบริหารประเทศ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งใช้มานานกว่า 70 ปีแล้ว การปกครองระบอบประชาธิปไตยเกิดจากความศรัทธาในคุณค่าของความเป็นมนุษย์และเชื่อว่าคนเราสามารถปกครองประเทศได้ จึงกำหนดให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจในการปกครอง ซึ่งถือว่าการเมือง การปกครองมาจากมวลชน รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ระบอบประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รัฐธรรมนูญและการปกครองของไทยทุกฉบับกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า เทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันสูงสุด ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ สักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จึงมีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยปกติรัฐธรรมนูญกำหนดให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชนโดยใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรีและอำนาจตุลาการผ่านทางศาล การกำหนดเช่นนี้หมายความว่า อำนาจต่าง ๆ จะใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ซึ่งในความเป็นจริง อำนาจเหล่านี้มีองค์กรเป็นผู้ใช้ ฉะนั้นการที่บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการผ่านทางองค์กรต่าง ๆ นั้นจึงเป็นการเฉลิมพระเกียรติ แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่องค์กรที่เป็นผู้พิจารณานำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย

อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ จะได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการเมืองและกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการปฏิบัติการทางการปกครองทุกอย่าง แต่พระมหากษัตริย์ก็ทรงมีพระราชอำนาจบางประการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญและเป็นพระราชอำนาจที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัยจริง ๆ ได้แก่ การตั้งคณะองคมนตรี การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นต้น

2. ระบอบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ระบบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมานานกว่า 200 ปีแล้ว โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบ ซึ่งมีบทบาทสำคัญทางการเมือง คือ ประธานาธิบดี จะเป็นทั้งผู้นำทางการเมืองและเป็นผู้นำประเทศ ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั่วประเทศ

โดยผ่านคณะผู้เลือกตั้ง ส่วนสมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนแต่ละมลรัฐและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้ง มีการบริหารประเทศโดยมีรองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีร่วมปัจจุบันมีระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข เรียกว่า ระบบกึ่งประธานาธิบดี ซึ่งมีมาเมื่อประมาณ 40 ปีนี้ โดยมีประเทศฝรั่งเศสเป็นแม่แบบ ระบบนี้ประชาชน

จะเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีและผู้แทนราษฎรโดยตรง แต่การเลือกวุฒิสภาจะเลือกโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาจังหวัดและผู้แทนสภาเทศบาลจะเป็นผู้เลือกแทนประชาชน ประธานาธิบดีจะเป็นทั้งประมุขและผู้นำประเทศที่สำคัญที่สุด แต่จะไม่มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้จัดตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมีความเห็นชอบและไว้วางใจจาก สภาผู้แทนราษฎรและสภาผู้แทนราษฎรนี้มีอำนาจปลดนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีได้ แต่นายกรัฐมนตรีไม่มีสิทธิ์ยุบสภา ผู้มีอำนาจยุบสภา คือ ประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีสามารถเสนอร่างกฎหมายได้เหมือนระบบรัฐสภาโดยทั่วไป

ระบอบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ

การปกครองแบบเผด็จการ เป็นระบบการเมืองที่รวมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จไว้ที่ผู้นำคนเดียว หรือคณะเดียวให้อำนาจการตัดสินใจที่รัฐ การปกครองและการบริหารประเทศให้ความสำคัญกับรัฐมากกว่าประชาชน รวมทั้งประโยชน์ที่รัฐจะได้รับ ประชาชนเปรียบเสมือนเป็นส่วนประกอบ ของรัฐเท่านั้น และที่สำคัญรัฐจะต้องสูงสุดและถูกต้องเสมอ การปกครองแบบเผด็จการ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบอำนาจนิยมและแบบเบ็ดเสร็จนิยม

เผด็จการแบบอำนาจนิยม หมายถึง การให้อำนาจแก่ผู้ปกครองประเทศเป็นสำคัญ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมและรับรู้ความเป็นไปของบ้านเมือง จะรู้ก็ต่อเมื่อผู้นำหรือคณะผู้ปกครองประเทศมีความต้องการให้รับรู้เท่านั้น โดยถือว่าเรื่องการเมืองเป็นเรื่องเฉพาะของผู้ปกครองประเทศเท่านั้น ประชาชนจะเข้าไปเกี่ยวข้องได้ในกรณีที่ผู้ปกครองต้องการสร้างความชอบธรรมในบางเรื่องและบางสถานการณ์ แต่ก็เป็นไปโดยจำกัด ประชาชนต้องอยู่ใต้การปกครองและจะต้องฟังคำสั่งอย่างเคร่งครัด แต่ประชาชนจะได้รับสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา สำหรับเรื่องทางเศรษฐกิจและสังคมทั่วไป ผู้ปกครองที่มักจะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ดำเนินกิจการต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบอำนาจของผู้ปกครอง

ลักษณะการปกครองแบบอำนาจนิยม

1. อำนาจทางการเมืองเป็นของผู้นำ มุ่งหมายที่จะควบคุมสิทธิเสรีภาพของทางการปกครองของประชาชนเป็นสำคัญ

2. การบริหารประเทศดำเนินไปอย่างมีเอกภาพ รวมอำนาจไว้ที่รัฐบาลกลาง ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ

3. ประชาชนต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำอย่างเคร่งครัดและต้องไม่ดำเนินการใด ๆ ที่ขัดขวางนโยบายของผู้นำ

4. ควบคุมประชาชนด้วยวิธีการลงโทษอย่างรุนแรงแต่ก็มีการใช้กระบวนการยุติธรรมอยู่บ้าง

5. ลักษณะการปกครองแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่หลายประการ ทั้งในทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกาและเอเชีย

เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนิยม หมายถึง รัฐบาลจะใช้อำนาจอย่างเต็มที่ ควบคุมกิจกรรมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประชาชนทุกคน แสดงให้เห็นถึงประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพอันใด ระบบเผด็จการแบบนี้ยังแบ่งรูปแบบออกได้อีก 2 รูปแบบ คือ

1. ระบบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนิยมของพวกฟาสซิสต์ รูปแบบของระบบนี้จะเห็นการใช้อำนาจรัฐควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนอย่างทั่วถึง นโยบายส่งเสริมชาตินิยมเป็นไปอย่างรุนแรงและสร้างความแข็งแกร่งเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของชาติ

2. ระบบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จนิยมคือการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ รูปแบบของระบบเน้นการใช้อำนาจรัฐควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนอย่างทั่วถึง คล้ายกับพวกฟาสซิสต์แต่จะเชิดชูชนชั้นกรรมาชีพและทำลายล้างชนชั้นอื่น ๆ ให้หมดสิ้น รวมทั้งชนชั้นอื่น ๆ ทุกสังคมทั่วโลก เป้าหมายต้องการให้มีสังคมโลก มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์

ลักษณะการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม

1. สร้างศรัทธาให้ประชาชนยึดมั่นในระบบการปกครองและผู้นำอย่างมั่นคงและต่อเนื่องตลอดไป

2. ควบคุมการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพใด ๆ ทั้งสิ้น

3. ประชาชนต้องเชื่อฟังคำสั่งของผู้นำอย่างเคร่งครัดจะโต้แย้งไม่ได้

4. มีการลงโทษอย่างรุนแรง

5. รัฐบาลมีอำนาจอย่างเต็มที่ กิจการในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ

6. มีการโฆษณาชวนเชื่อและอบรมประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ

7. ลักษณะการปกครองแบบนี้ ปัจจุบันยังใช้กันอยู่หลายประเทศ เช่น โซเวียตรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เขมร เวียดนามและเยอรมนี เป็นต้น แต่สังคมในโลกปัจจุบัน การแข่งขันเศรษฐกิจสูงส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้พยายามผ่อนคลายกฎเกณฑ์ลงมีความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในทางเศรษฐกิจ

เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปกครองระบอบเผด็จการ