2.1 ประวัติศาสตร์สังเขปของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/kanyaratlaosom2541

ประเทศจีนหรือสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่งของโลกโดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายสวยงามได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนที่บ่งบอกถึงความเจริญงอกงามของจีนโบราณ ตั้งแต่ช่วง 2,500 - 2,000 ปีก่อนคริสตศักราช เริ่มจากสมัยราชวงศ์ต่าง ๆ มาจนถึงจีนยุคใหม่คือยุคปัจจุบัน ปี ค.ศ. 2009 รวมมีอายุยาวนานถึง 4,000 - 5,000 ปี

ประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีประชากรมากที่สุดในโลกคือ มีประชากรกว่า1.3พันล้านคนหรือประมาณหนึ่งในห้าของประชากรโลก โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮั่นมีพื้นที่กว้างใหญ่มีขนาดเป็นอันดับ3ของโลกเป็นรองเพียงรัสเซียและแคนาดาเป็นประเทศที่คิดค้นเข็มทิศการผลิตกระดาษ ดินปืน ระบบการพิมพ์ ระบบชลประทาน การก่อสร้างกำแพงเมืองจีน และการขุดคลองขุนถือเป็นโครงการด้านวิศวกรรมอันยิ่งใหญ่แต่โบราณกาลที่มีมากว่า2000ปีด้วยเหตุนี้ประเทศจีนจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งทางศิลปะวัฒนธรรมที่ชาวจีนได้ผ่านประวัติศาสตร์รูปแบบสังคมแบบต่างๆทั้งสังคมแบบยุคมนุษย์หิน สังคมทาส สังคมศักดินา สังคมกึ่งศักดินา สังคมกึ่งเมืองขึ้น จนเข้าสู่สังคมนิยมในปัจจุบัน

ประเทศจีนมีพรมแดนติดกับ 15 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว พม่า อินเดีย ภูฏาน สิกขิม เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน คาซัคสถาน รัสเซีย มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ

ตั้งแต่ก่อตั้งสาธารณรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2492 ประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประเทศจีนอ้างอธิปไตยเหนือเกาะไต้หวัน เผิงหู เอ้หมึงและหมาจู่ แต่ไม่ได้ปกครองโดยที่เกาะเหล่านี้ปกครอง

ภาพจาก : https://www.naewna.com/inter/417838

โดยสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงไทเป ฐานะทางการเมืองของสาธารณรัฐจีนนั้น ยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่คำว่า “จีนแผ่นดินใหญ่” ใช้เรียกส่วนของจีน ที่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ยกเว้นเขตบริหารพิเศษ 2 แห่ง คือ ฮ่องกง และมาเก๊า) นิยมเรียกสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า “จีนแดง” (Read Chaina) ปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียมีเศรษฐกิจและกำลังทางทหารใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียในด้านภาษาในการติดต่อสื่อสารนั้น จีนใช้ภาษาจีนกลาง หรือภาษาธรรมดา เป็นภาษาประจำชาติ ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในห้าภาษาทางการที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ ประเทศจีนมีชนเผ่าต่าง ๆ 56 ชนเผ่า ซึ่งส่วนใหญ่จะมีภาษาประจำเผ่าของตัวเอง ภาษากวางตุ้ง เป็นหนึ่งในภาษาถิ่นที่ใช้พูดในทางใต้ของประเทศ สำหรับภาษาเขียนนั้น ภาษาจีนมีมากว่า 6,000 ปีแล้ว

จากชนเผ่าทั้งหมด 56 เผ่า มีชนเผ่าฮั่น เป็นชนเผ่าที่ใหญ่ที่สุด มีจำนวนประชากรถึง 91.02 % ของประชากรทั้งหมด ที่เหลืออีก 8.98 % เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งประกอบไปด้วย 55 เผ่า โดยทุกชนเผ่ามีสิทธิเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย

รากฐานทางอารยธรรมที่สำคัญของจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์ฉิน (ศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไปในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่นวัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดด้วยการอพยพของประชากร การค้าและการยึดครอง

วีดิโอจากช่อง : SpokeDark TV

2.2 ประวัติศาสตร์สังเขปของประเทศอินเดีย

ภาพจาก : http://campus.sanook.com/gallery/gallery/911842/209674/undefined/

ประเทศอินเดีย หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลกและเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลกโดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคนมีภาษาพูดประมาณแปดร้อยภาษาในด้านเศรษฐกิจอินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก โดย

อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เนปาล และภูฏาน

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดปากีสถาน

ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า

ทิศตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย

ทิศตะวันออกติดบังกลาเทศ

อินเดีย มีพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าไทยประมาณ 6 เท่าประวัติศาสตร์อินเดียเริ่มต้นเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาลหลักฐานทางโบราณคดี ที่พบในแคว้นปัญจาบและแคว้นคุชราตของอินเดียบ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของสังคมเมืองและอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุในยุคสมัยนั้น ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตศักราช ชนเผ่าอินโด-อารยันที่ปกครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น ได้ตั้งอาณาจักรที่ปกครองโดยกษัตริย์นักรบขึ้นเป็นผู้ปกครองดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา (Ganges plain) มีชนเผ่าต่าง ๆ เป็นบริวารอยู่รอบ ๆ ต่อมามีการต่อต้านความมีอำนาจของพวกพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินเดียส่วนใหญ่พวกที่ไม่เห็นด้วยต่างพากันแสวงหาศาสดาใหม่ เป็นบ่อเกิดของศาสนาใหม่ ๆ ความเชื่อใหม่ ๆ ขึ้น จึงทำให้เกิดศาสนาสำคัญขึ้น 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ (Buddhism) กับศาสนาเชน (Jainism) ในขณะที่ศาสนาฮินดูรุ่งเรืองและมีอิทธิพลอย่างมากอยู่ในอินเดีย พวกมคธ (Magodh) มีอำนาจปกครองอยู่ในแถบที่ราบตอนเหนือ พระเจ้าจันทรคุปต์แห่งราชวงค์โมริยะ (Chandragupta Maurya) เป็นกษัตริย์องค์สำคัญในประวัติศาสตร์ของอินเดีย พระเจ้าจันทรคุปต์ทรงตั้งเมืองปาฏะลีบุตร (Pataliputra) เป็นเมืองหลวงของอินเดีย ซึ่งกล่าวกันว่าเมืองปาฏะลีบุตรเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของโลกในเวลานั้น

ต่อมาพระเจ้าจันทรคุปต์หันไปนับถือศาสนาเชนและบำเพ็ญทุกกรกิริยาด้วยการอดอาหารตามความเชื่อของศาสนาเชนจนกระทั่งสิ้นพระชนม์จากนั้นราชวงค์โมริยะซึ่งเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในยุคสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชผู้แผ่อิทธิพลและขยายอาณาจักรอินเดียออกไปไกลจนทิศเหนือจรดแคว้นกัศมีร์หรือแคชเมียร์ (Kashmir) ด้านทิศใต้จรดไมเซอร์ (Mysore) ทิศตะวันออกจรดโอริสสา(Orissa) เมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงใช้วิธีปราบปรามผู้ต่อต้านพระองค์อย่างโหดเหี้ยมทรงขยายอาณาจักรด้วยกองทัพที่เกรียงไกรเข่นฆ่าผู้คนล้มตายเป็นใบไม้ร่วงแต่ภายหลังเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชหันมานับถือพุทธศาสนาทรงเปลี่ยนวิธีการขยายอาณาจักรด้วยกองทัพธรรมเผยแผ่ศาสนาพุทธโดยส่งสมณทูตไปทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเอเชียและประเทศไทยนับเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่อย่างกว้างขวาง

ท่านโมหันทาสการามจัน คานธี

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1

ต่อมาได้มีการรวมพลังกันต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดียมีการตั้งพรรคการเมืองชื่อพรรค National Congress ขึ้น จุดประสงค์มิได้เล่นการเมือง แต่มุ่งไปที่การหาทางปลดปล่อยอินเดียให้เป็นเอกราช มีการรณรงค์ให้ความรู้และปลุกระดมความเป็นชาตินิยมขึ้นในอินเดียนำโดยมหาบุรุษคนสำคัญของอินเดีย คือ ท่านโมหันทาสการามจัน คานธี (Mohandas Karamchand Gandhi) ซึ่งชาวอินเดียเรียกด้วยความยกย่องว่า “มหาตมะ” (Mahatama แปลว่า Great Soul) ผู้ใช้วิธีอหิงสา (nonviolence) ต่อสู้กับ ผู้ปกครองอังกฤษอย่างเงียบๆ มหาตมะ คานธี เป็นผู้นำชาวอินเดียทั้งประเทศทำการประท้วงอย่างสันติในปี ค.ศ. 1922 และได้นำชาวอินเดียต่อต้านกฎหมายเรียกเก็บภาษีเกลือของอังกฤษในปี ค.ศ. 1930 และเดินขบวนครั้งใหญ่เรียกร้องให้อังกฤษปลดปล่อยอินเดีย ในปี ค.ศ. 1942 มีการก่อการจลาจลกลางเมืองจนถึงขั้นนองเลือดเกิดขึ้นในหลายเมืองของอินเดีย

เหตุการณ์เหล่านี้บีบบังคับให้อังกฤษต้องทำความตกลงยอมยกอำนาจการปกครองประเทศให้อินเดียในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ซึ่งชาวอินเดียถือว่าเป็นวันประกาศอิสรภาพ และวันหยุดราชการของประเทศด้วย ในปีค.ศ. 1947 อินเดียได้เอกราชจากอังกฤษแต่อินเดียต้องแบ่งประเทศออกเป็น 2 ประเทศ คือ อินเดียที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นประเทศสาธารณรัฐอินเดีย อินเดียส่วนน้อยที่มีประชาชนเป็นมุสลิมแยกตัวไปตั้งประเทศใหม่เป็นรัฐอิสลามชื่อ ปากีสถาน

ประชากรอินเดียมีประมาณ 1,000 ล้านคน โดยมีเชื้อชาติอินโด-อารยัน ร้อยละ 72 ดราวิเดียน ร้อยละ 25 มองโกลอยด์ ร้อยละ 2 และอื่น ๆ ร้อยละ 1 อัตราการเพิ่มของประชากร ร้อยละ 1.8 พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) และอัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 52.1

ประชากรกว่า 1,000 ล้านคนเหล่านี้ มีความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม มีภาษาหลักใช้พูดถึง 16 ภาษา เช่น ภาษาฮินดี ภาษาอังกฤษ ภาษาเบงกาลี ภาษาอูรดู เป็นต้นและมีภาษาถิ่นมากกว่า 100 ภาษา ภาษาฮินดี ถือว่าเป็นภาษาประจำชาติ เพราะคนอินเดียกว่าร้อยละ 30 ใช้ภาษานี้ คนอินเดียที่อาศัยอยู่รัฐทางตอนเหนือและรัฐทางตอนใต้ นอกจากจะใช้ภาษาที่แตกต่างกันแล้วการแต่งกาย การรับประทานอาหารก็แตกต่างกันออกไปด้วย30 ใช้ภาษานี้ คนอินเดียที่อาศัยอยู่รัฐทางตอนเหนือและรัฐทางตอนใต้ นอกจากจะใช้ภาษาที่แตกต่างกันแล้วการแต่งกาย การรับประทานอาหารก็แตกต่างกันออกไปด้วย

2.3 ประวัติศาสตร์สังเขปของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ภาพจาก : https://thaibizlaos.com/lao/about/

ลาวหรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวไทย แต่ลาวประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงบนที่ราบ ส่วนชาวเขานิยมอยู่บนเทือกเขา

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ 4,000 - 5,000 ปีก่อน กลุ่มชนที่พูดภาษาไต ได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศลาวและที่ราบสูงในภาคอีสาน รวมถึงพวกไท-กะได ม้ง-เมี่ยนที่เป็นบรรพบุรุษของชาวลาวลุ่ม และพวกม้ง-เย้าที่อพยพจากตอนใต้ของประเทศจีนแรกเริ่มกลุ่มชนเหล่านี้ไม่มีการตั้งหลักแหล่งที่แน่นอนต่อมาเมื่อชนเผ่าต่างๆทั้งไทยพม่าและเวียดนามอพยพลงมาในเขตเทือกเขาและหุบเขาของดินแดนเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติมอญ-เขมร ความจำเป็นในการสร้างบ้านเรือนก็เริ่มมีขึ้นจนพัฒนาต่อมาเป็นเมืองเกษตรกรรม และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหุบเขาและที่ราบลุ่มภายใต้อำนาจของอาณาจักรเขมร

ต่อมาในปี พ.ศ.1896 พระเจ้าฟ้างุ้ม ทรงทำสงครามตีเอานครเวียงจันทน์ หลวงพระบางหัวเมืองพวนทั้งหมด ตลอดจนหัวเมืองอีกหลายแห่งในที่ราบสูงโคราชเข้ารวมเป็นอาณาจักรเดียวกันภายใต้ การช่วยเหลือของกษัตริย์เขมร ก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขาอันหนำมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงดง-เชียงทองเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน หลังจากสถาปนาเมืองเชียงดง-เชียงทองแล้ว พระเจ้าฟ้างุ้มทรงรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ จากราชสำนักเขมรมาเป็นศาสนาประจำชาติ และได้อัญเชิญพระบางเป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหลจากราชสำนักเขมรมายังล้านช้างเจ้าฟ้างุ้มทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองหลวงพระบาง”

เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ พระยาสามแสนไทไตรภูวนาถ โอรสของพระเจ้าฟ้างุ้มได้ขึ้นครองราชย์ อาณาจักรล้านช้างเริ่มเสื่อมลง เพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและเกิดกบฏต่าง ๆ นานนับ ร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระโพธิสารราชเจ้าเสด็จขึ้นครองราชย์ และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่น ทรงโปรดให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม และสร้างความเจริญให้กับอาณาจักรล้านช้างเป็นอย่างมากและทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงโปรดให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระราชโอรสไปครองอาณาจักรล้านนาเพื่อเป็นการคานอำนาจพม่าครั้นเมื่อพระเจ้าโพธิสารราชเจ้าเสด็จสวรรคต พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับมาล้านช้าง และทรงอัญเชิญ พระแก้วมรกตจากเชียงใหม่ไปยังเวียงจันทน์ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาทรงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ทรงสร้างวัดพระธาตุหลวง หรือที่เรียกว่า “พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี” และสร้างวัดพระแก้วขึ้นเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต

หลังแผ่นดินพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชอาณาจักรล้านช้างมีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาหลายรัชกาลเจริญสูงสุดในรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชถือว่าเป็นยุคทองแห่งอาณาจักรล้านช้างพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมและเป็นที่นับถือของประชาชนหลังสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชสวรรคตแล้ว ล้านช้างแตกออกเป็น 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์โดยตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งจีน เวียดนาม และสยาม กองทัพสยามพิชิตหัวเมืองลาวตอนเหนือลงได้จึงได้ผนวกหลวงพระบางเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน ราชวงศ์เหวียนของเวียดนามแผ่อำนาจยึดครองลาวทางตอนกลางของแม่น้ำโขง

รอบ ๆ นครเวียงจันทน์ จนถึง พ.ศ. 2322 กองทัพสยามเข้ายึดครองแผ่นดินล้านช้างที่แตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักรได้ทั้งหมด ครั้นถึงปี พ.ศ. 2365 เจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทน์วางแผนก่อกบฏเพื่อกอบกู้เอกราช แต่ไม่สำเร็จถูกตัดสินโทษประหารชีวิต กองทัพสยามในรัชกาลที่ 3 ยกมาตีนครเวียงจันทน์ได้รื้อทำลายกำแพงเมือง เอาไฟเผาราบทั้งเมือง ทรัพย์สินถูกปล้นสะดม ผู้คนถูกกวาดต้อน วัดในนครเวียงจันทน์เหลืออยู่เพียงวัดเดียวที่ไม่ถูกไฟไหม้ คือ วัดสีสะเกด อาจมีสาเหตุสำคัญจากสถาปัตยกรรมของวัดสีสะเกดแห่งนี้สร้างตามแบบอย่างของสถาปัตยกรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ต่อมาในปีพ.ศ. 2428 พวกจีนฮ่อจากมณฑลยูนนาน ยกทัพมารุกรานลาวและตีเมืองต่างๆไล่จากทางตอนเหนือไล่มาถึงนครเวียงจันทน์ตอนใต้ รัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งให้กรมหมื่นประจักษ์ - ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่มาประจำอยู่หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ และยกกองทัพข้ามแม่น้ำโขงมาตีฮ่อที่เวียงจันทน์ พวกจีนฮ่อพ่ายแพ้หนีขึ้นไปเชียงขวาง ไทยตามตีจนถึงเมืองเชียงขวาง จนพวกฮ่อแตกพ่ายไปหมด จนถึงปี พ.ศ. 2436 ไทยต้องเสียดินแดนแถบฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส หลังจากที่ได้ปกครองลาวมาถึง 114 ปี

เมื่อมหาอำนาจตะวันตกเริ่มแผ่นอิทธิพลเข้าสู่อินโดจีน ฝรั่งเศสได้ใช้สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมบีบสยามให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมดให้กับตน (ประเทศลาวในปัจจุบัน) ฝรั่งเศสปกครองลาวแต่ละแขวงโดยมีคนฝรั่งเศสเป็นเจ้าแขวงหรือข้าหลวง คอยควบคุมเจ้าเมืองที่เป็นคนลาวอีกต่อหนึ่ง ซึ่งต้องเก็บส่วยตัวเลขจากชายฉกรรจ์ให้ข้าหลวงฝรั่งเศส ตลอดเวลาที่ลาวตกเป็นเมืองขึ้นนั้น ฝรั่งเศสไม่รักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยรื้อสร้างเป็นถนนไม่ได้สนใจกับวัฒนธรรมของประเทศลาวเท่าไรนัก เพราะถือว่าเป็นดินแดนบ้านป่าล้าหลังไม่มีค่าในเชิงเศรษฐกิจ

ต่อมาในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันนี มีชัยเหนือประเทศฝรั่งเศสและก่อตั้งคณะรัฐบาลขึ้นที่เมืองวิซี คณะข้าหลวงฝรั่งเศสในอินโดจีนให้การหนุนหลังรัฐบาลวิซีและตกลงเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นครั้นถึงปีพ.ศ. 2484 รัฐบาลภายใต้การนำของพลตรีหลวงพิบูลสงครามเริ่มดำเนินการต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสที่เริ่มเสื่อมถอยด้วยการยึดแขวงไชยบุรีและจำปาศักดิ์กลับคืนมาญี่ปุ่นยุให้ลาวประกาศเอกราช แต่กองทัพฝรั่งเศสก็ย้อนกลับคืนมาอีกครั้งหลังสงครามยุติได้ไม่นานลาวหันมาปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดภายใต้การควบคุมดูแลของฝรั่งเศส

พ.ศ.2492 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรฯ (อังกฤษ) ขบวนการลาวอิสระล่มสลายแนวรักร่วมชาติได้พัฒนาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาวในเวลาต่อมาโดยได้รับการสนับสนุนจากโฮจิมินห์และพรรคคอมมิวนิสต์ของเวียดนาม

พ.ศ.2495 ลาวในหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มก่อการจลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงฮานอย

เมื่อฝรั่งเศสแพ้สงครามที่ค่ายเดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากประเทศลาวซึ่งแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนระบบกษัตริย์ในเวียงจันทน์ (ฝ่ายขวา) กับฝ่ายขบวนการประเทศลาว (ฝ่ายซ้าย)

พ.ศ. 2498 ลาวได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ

พ.ศ. 2500 เจ้าสุวรรณภูมา ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาลผสมในนครเวียงจันทน์

พ.ศ. 2506 รัฐบาลคอมมิวนิสต์เวียดนามหันมาใช้เส้นทางโฮจิมินห์ในภาคตะวันออกของลาว

เป็นเส้นทางหลักในการส่งกำลังพลไปปราบปรามพวกต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ กองกำลังอเมริกันเริ่มเข้ามาปฏิบัติการลับในลาว พ.ศ. 2516 สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม “การทำสงครามหลังฉาก” ในประเทศลาวจึงต้องเลิกราไปด้วย

พ.ศ. 2518 หลังจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์มีชัยเหนือเวียดนามทั้งประเทศได้ไม่นาน โดยยึดกรุงพนมเปญเป็นแห่งแรก ต่อมาได้ไซ่ง่อน ขบวนการประเทศลาวยึดอำนาจได้ทั้งหมดในเดือนธันวาคม เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ ตามมาด้วยการสถาปนาประเทศใหม่ชื่อว่า “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” หรือ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518

ระยะ 5 ปี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลาวใช้นโยบายคอมมิวนิสต์ปกครองอย่างเข้มงวด ควบคุมพุทธศาสนา ตัดสัมพันธ์กับประเทศไทย ปราบปรามชนกลุ่มน้อย ราษฎรหลายหมื่นคนถูกจับ ส่งผลให้ปัญญาชนและชนชั้นกลางจำนวนมากหลบหนีออกนอกประเทศ เจ้าสว่างวัฒนาและพระญาติวงศ์สิ้นพระชนม์อยู่ในค่ายกักกัน ชาวบ้านยากจนลง

พ.ศ. 2535 นายไกสอน พมวิหาร ประธานประเทศผู้เชื่อมั่นในระบอบคอมมิวนิสต์ถึงแก่อสัญกรรม นายหนูฮัก พูมสะหวัน ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน การจำกัดเสรีภาพค่อย ๆ ถูกยกเลิกไป ชาวลาวที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศได้รับการเชื้อเชิญให้กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอนลาวเริ่มเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวและฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศไทย

พ.ศ. 2537 มีพิธีเปิด “สะพานมิตรภาพ” ข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมลาว-ไทย เข้าด้วยกัน ส่งผลให้ไทยมีอิทธิพลต่อลาวมากขึ้น ทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ และการที่ประธานหนูฮัก พูมสะหวัน ได้เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการและเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) การปฏิรูปเหล่านี้ ทำให้ลาวได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ. 2540

พ.ศ. 2548 ลาวครบรอบ 30 ปี การสถาปนาประเทศใหม่เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และในปีเดียวกันนี้เอง สะพานมิตรภาพไทย - ลาว ก็ได้เปิดใช้อีกเป็นแห่งที่สองที่จังหวัดเลย

2.4 ประวัติศาสตร์สังเขปของประเทศพม่าหรือสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

ภาพจาก : https://th.maps-myanmar.com

ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นยาวนานมีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี และกลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา

ประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่ามีความเกี่ยวข้องกับชนชาติต่างๆหลายเชื้อชาติ ได้แก่ มอญ พยู รวมถึงมีการเกี่ยวพันธ์กับอาณาจักรและราชวงศ์ต่าง ๆ เช่น

มอญ

เป็นชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว2400ปีก่อนพุทธกาลและได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิขึ้นเป็นอาณาจักiแห่งแรกในราวพุทธศตวรรษที่2ณบริเวณใกล้เมืองท่าตอน(Thaton)ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่2ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชบันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงครามวัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมผสานกับวัฒนธรรมจากอินเดียจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของตนเองเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสมในราวพุทธศตวรรษที่14ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่าและได้เกิดอาณาจักรใหม่ขึ้น เรียกว่า อาณาจักรสุธรรมวดี ที่เมืองพะโค (หงสาวดี)

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/saphanmxy

ปยุ : พยู : เพียว

ชาวปยุหรือพยูหรือเพียว คือ กลุ่มชนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่งเช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดียจากเอกสารของจีนพบว่ามีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยูข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกันชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้ายอาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขังเว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิตชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี

นครรัฐของชาวพยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็ก ซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่าเป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใดนักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยีอย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าว ถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีกเลย

ภาพจาก : https://buddhafacts.wordpress.com

อาณาจักรพุกาม

ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อย ๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจ

ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง “พุกาม” (Bagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสูญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587 - 1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากยันสิทธา (พ.ศ. 1624 - 1655) พระเจ้าอลองสิทธู (พ.ศ. 1655 - 1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครอง โดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือ เขมร (เมืองพระนคร) และพุกาม

อำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจและอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือพระเจ้านราธิหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779 - 1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยูนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงครามในปีพุทธศักราช1820ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมดพระเจ้านราธิหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช1830กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้นภายหลังสงครามครั้งนี้อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมดราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832

ภาพจาก : https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=moonfleet&month=25-02-2010&group=121&gblog=14

อังวะและหงสาวดี

หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกามพม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้งราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่าแต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อการป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070

สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่เมืองหงสาวดีโดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. 1970 - 2035) เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา

ภาพจาก : https://www.angelstartravel.com/content-detail.php

อาณาจักรตองอู

หลังจากอาณาจักรพุกามถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่ โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอูภายใต้การนำของพระเจ้ามิงคยินโย ในปีพุทธศักราช 2074 พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074 - 2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้งในช่วงระยะเวลานี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาคชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือการเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคงในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ในการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรปพม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งการที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดีเหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้าพระเจ้าบุเรงนอง (ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2094 - 2124) ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย) ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่างๆรายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) การทำสงครามของพระองค์ทำให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดอย่างไรก็ตามทั้งมณีปุระและอยุธยาต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน

เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่ง ประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนองสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช2156 พระองค์ตัดสินใจ ที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกสพระเจ้าธารุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไปจนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ท้ายที่สุดหงสาวดีที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดียก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะจากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อยๆอ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช 2259 จากการรุกรานของชาวมอญ

ภาพจาก : http://lakmuangonline.com/?p=2820

ราชวงศ์อลองพญา

ราชวงศ์อลองพญา ได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็วอลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่าได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปีพ.ศ.2296จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2302ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปีพ.ศ.2303 หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตในระหว่างสงคราม พระเจ้าสินบูหชิน (Hsinbyushin , ครองราชย์ พ.ศ. 2306 - 2319) พระราชโอรส ได้นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2309 และประสบความสำเร็จในปีถัดมาในรัชสมัยนี้แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่าแต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ. 2309 - 2312) ทำการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ถูกยุติลง ในรัชสมัยของพระเจ้าโบดอ-พญา (Bodawpaya ครองราชย์ พ.ศ. 2324 - 2362) พระโอรสอีกพระองค์ของพระเจ้าอลองพญาพม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไปแต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่(Arakan)และตะนาวศรี(Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) เข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น

สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า

สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367 2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะไข่ และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษก็เริ่มต้นตักตวงทรัพยากรต่างๆของพม่านับแต่นั้นเพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมากกษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบและทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษเป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สองซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้งหลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตนโดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่าเริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้

รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายไปทั่วในบริเวณชายแดนในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช2428ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้

พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตะขิ่นเป็นกลุ่มนักศึกษาหนุ่มที่หัวรุนแรงมีอองซานนักชาตินิยมและเป็นผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งพวกเขาคิดว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้ว กลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช

ดังนั้นอองซานได้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์(Anti-Fascist Peoples Freedom League:AFPEL)เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับๆและได้กลายเป็นพรรคการเมืองชื่อพรรคAFPEL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่2แล้วพรรคAFPELได้เจรจากับอังกฤษโดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพและมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่พรรคการเมือง AFPEL ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์อังกฤษได้พยายามสนับบสนุนพรรคการเมืองอื่นๆขึ้นแข่งอำนาจพรรคAFPELของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPEL ขึ้นบริหารประเทศ

อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธีจึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPEL อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะเดินทางออกจากที่ประชุมสภา ต่อมาตะขิ้นนุหรืออูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ จนกระทั่งในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์

ปัจจุบันประเทศพม่าปกครองในคณะรัฐบาลทหารที่มาจากการเลือกตั้ง และยังมีปัญหาการสู้รบกันในชนเผ่าน้อยอยู่ตลอดเวลา

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%

ภาพจาก : http://topichistoryn.blogspot.com/2015/10/vs-3.html

วีดิโอจากช่อง : P tells

2.5 ประวัติศาสตร์สังเขปของประเทศอินโดนีเซีย

ภาพจาก : https://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=3&sj_id=8

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Requblic of Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลียและระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย : กาลิมันตัน), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย : อิเรียน) และประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์

อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านานแต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่นานประมาณ300 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญ ๆ ในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลง คือ เมื่อมีผู้รักชาติชาวอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตรอินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชในวันที่17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปรามผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ ไม่สามารถปราบปรามกองทัพของชาวอินโดนีเซียได้ อังกฤษ

ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกันโดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ(Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและ สุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลง โดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศอื่นๆเช่น ออสเตรเลียและอินเดีย ได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการสหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาท โดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอม และได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่ง และคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย

ในวันที่27ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราช และปกครองระบบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซียทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีกผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลดินแดนอิเรียนตะวันตกและให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

2.6 ประวัติศาสตร์สังเขปของประเทศฟิลิปปินส์

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%

ฟิลิปปินส์ (the Philippines) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะจำนวน 7,107 เกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพิเศษคือ เป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก นิวสเปน (พ.ศ. 2064 - 2441) และสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2441 - 2489) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ และเป็นสองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์เป็นชาติเดียวในเอเชียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์และเป็นหนึ่งในชาติที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี(Arnold Joseph Toynbee)นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้กล่าวไว้ในงานของเขาว่า ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศลาตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์

หลักฐานทางโบราณคดีและโบราณชีววิทยาบ่งบอกว่ามีมนุษย์โฮโมเซเปียนส์เคยอาศัยอยู่ในเกาะปาลาวันตั้งแต่ประมาณ 50,000 ปีก่อน ชนเผ่าที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียได้เข้ามาตั้งรกรากในฟิลิปปินส์ และจัดตั้งเส้นทางเครือข่ายการค้ากับเอเชียอาคเนย์ส่วนที่เหลือทั้งหมดตั้งแต่ 5,000 ปีก่อนคริสตกาลภาษาที่ชาวฟิลิปปินส์ใช้พูดคือ ภาษาตากาล็อค

เฟอร์ดินันด์ มาเจลลัน มาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1521 (พ.ศ. 2064) มีเกล โลเปซ เดเลกัสปี มาถึงฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108)และตั้งชุมชนชาวสเปนขึ้นซึ่งนำไปสู่การตั้งอาณานิคมในเวลาต่อมาหลังจากนั้นนักบวชศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้ทำให้ชาวเกาะทั้งหมดให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ในช่วง300ปีนับจากนั้นกองทัพสเปนได้ต่อสู้กับเหตุการณ์กบฏต่างๆมากมาย ทั้งจากชนพื้นเมืองและจากชาติอื่นที่พยายามเข้ามาครอบครองอาณานิคม ซึ่งได้แก่ อังกฤษ จีน ฮอลันดา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และโปรตุเกส สเปน สูญเสียไปมากที่สุดในช่วงที่อังกฤษเข้าครอบครองเมืองหลวงเป็นการชั่วคราวในช่วงสงครามเจ็ดปี (Seven Years’ War) หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ใต้การปกครองของสเปนในฐานะอาณานิคมของสเปนใหม่ (New Spain) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1565 (พ.ศ. 2108) ถึงปี ค.ศ. 1821 (พ.ศ. 2364)และนับจากนั้นฟิลิปปินส์ก็อยู่ใต้การปกครองของสเปนโดยตรงการเดินเรือมะนิลาแกลเลียน(Manial Galleon)จากฟิลิปปินส์ไปเม็กซิโก เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และหมู่เกาะฟิลิปปินส์เปิดตัวเองเข้าสู่การค้าโลกในปีค.ศ.1834ปัจจุบันประเทศฟิลิปปินส์ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำประเทศ

2.7 ประวัติศาสตร์สังเขปของประเทศญี่ปุ่น

ภาพจาก : https://www.jnto.or.th/attractions/highlight-of-japan/map-japan/

ญี่ปุ่น (Nihon/Nippon นิฮง/นิปปง) มีชื่อทางการคือ ประเทศญี่ปุ่น (Nihon-koku/Nippon-koku-นิฮงโกะกุ/นิปปงโกะกุ) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือ ติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสก์ เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่าถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์ จึงทำให้บางครั้งถูกเรียกว่าดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย

ญี่ปุ่นมีเนื้อที่กว่า 377,835 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 62 ของโลกหมู่เกาะญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่กว่า 3,000 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือเกาะฮนชู ฮกไกโด คิวชู และชิโกกุ ตามลำดับ เกาะของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นหมู่เกาะภูเขา ซึ่งในนั้นมีจำนวนหนึ่งเป็นภูเขาไฟ เช่นภูเขาไฟฟูจิ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศ เป็นต้น ประชากรของญี่ปุ่นนั้นมีมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก คือ ประมาณ 128 ล้านคน เมืองหลวงของญี่ปุ่นคือกรุงโตเกียวซึ่งถ้ารวมบริเวณปริมณฑลเข้าไปด้วยแล้วจะกลายเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรอยู่อาศัยมากกว่า 30 ล้านคน

สันนิษฐานว่ามนุษย์มาอาศัยในญี่ปุ่นครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่าการกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่น ภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเองจึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบันอีกหลายศตวรรษต่อมาญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออกหลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน พ.ศ. 2490

ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีจีดีพีสูงเป็นอันดับสองของโลก ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จี 8 โออีซีดี และเอเปค และมีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศญี่ปุ่นมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี และยังเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีเครื่องจักรและเครื่องยนต์

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเริ่มต้นด้วย ยุคยะโยอิ เริ่มเมื่อประมาณ 300 ปีก่อน คริสต์ศักราช เป็นยุคที่ผู้คนเริ่มเรียนรู้วิธีการปลูกข้าว การตีโลหะ ซึ่งได้รับความรู้มาจากผู้อพยพชาวจีนแผ่นดินใหญ่ การกล่าวถึงญี่ปุ่นครั้งแรกปรากฏขึ้นในบันทึกของราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น โฮ่วฮั่นชู ในปี 57 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเรียกชาวญี่ปุ่นว่า วะ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8 อาณาจักรที่ทรงอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่นคือ ยะมะไทโคะกุ ปกครองโดยราชินีฮิมิโกะ ซึ่งเคยส่งคณะทูตไปยังประเทศจีนผ่านทางเกาหลีด้วย

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80

ยุคโดะฮง

ซึ่งตั้งชื่อตามสุสานที่นิยมสร้างขึ้นกันในยุคดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 จนถึง 12 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการปกครองแบบราชวงศ์ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองนั้นอยู่บริเวณเขตคันไซในยุคนี้พระพุทธศาสนาได้เข้ามาจากคาบสมุทรเกาหลีสู่หมู่เกาะญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากจีนเป็นหลักเจ้าชายโชโตะกุทรงส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน ญี่ปุ่นจึงได้รับนวัตกรรมใหม่ๆ จากจีน นอกจากนี้ยังทรงตรารัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา ซึ่งเป็นกฎหมายญี่ปุ่นฉบับแรกอีกด้วย และในที่สุดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นตั้งแต่สมัยอะซึกะ ซึ่งตั้งชื่อตามสุสานที่นิยมสร้างขึ้นกันในยุคดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณพุทธ-ศตวรรษที่ 9 - 12 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มมีการปกครองแบบราชวงศ์ ซึ่งศูนย์กลางการปกครองนั้นอยู่บริเวณเขตคันไซ ในยุคนี้พระพุทธศาสนาได้เข้ามาจากคาบสมุทรเกาหลีสู่หมู่เกาะญี่ปุ่น แต่พระพุทธรูปและพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่นหลังจากนั้นได้รับอิทธิพลจากจีนเป็นหลัก เจ้าชายโชโตะกุทรงส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน ญี่ปุ่นจึงได้รับนวัตกรรมใหม่ๆ จากแผ่นดินใหญ่มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังทรงตรารัฐธรรมนูญสิบเจ็ดมาตรา ซึ่งเป็นกฎหมายญี่ปุ่นฉบับแรกอีกด้วยและในที่สุดพระพุทธศาสนาก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นตั้งแต่สมัยอะซึกะ

ยุคนะระ

(พ.ศ. 1253 - 1337) เป็นยุคแรกที่มีการก่อตัวเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง มีการปกครองอย่างมีระบบให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยการนำระบอบการปกครองมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ศูนย์กลางการปกครองในขณะนั้นก็คือเฮโจเคียวหรือจังหวัดนะระในปัจจุบันในยุคนะระเริ่มพบการเขียนวรรณกรรม เช่น โคจิกิ (พ.ศ.1255) และนิฮงโชะกิ (พ.ศ. 1263) เมืองหลวงถูกย้ายไปที่นะงะโอกะเกียว เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และถูกย้ายอีกครั้งไปยังเฮอังเกียว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอัง

ระหว่าง พ.ศ. 1337 จนถึง พ.ศ. 1728 ซึ่งเป็นยุคเฮอังนั้น ถือได้ว่าเป็นยุคทองของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นยุคสมัยที่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเองเริ่มพัฒนาขึ้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดมากที่สุด คือการประดิษฐ์ตัวอักษร ฮิรางานะ ซึ่งทำให้เกิดวรรณกรรมที่แต่งโดยตัวอักษรนี้เป็นจำนวนมาก เช่น ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ได้มีการแต่งนวนิยายเรื่องนิทานเกนจิขึ้น ซึ่งเป็นนิยายที่บรรยายเกี่ยวกับการใช้ชีวิตการปกครองของตระกูลฟุจิวาระ และบทกลอนที่ถูกใช้เป็นเนื้อเพลงของเพลงชาติญี่ปุ่น คิมิงะโยะ ก็ถูกแต่งขึ้นในช่วงนี้เช่นเดียวกัน

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0

ยุคศักดินา

ญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการที่ผู้ปกครองทางการทหารเริ่มมีอำนาจขึ้น พ.ศ.1728 หลังจากการพ่ายแพ้ของตระกูลไทระ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ได้แต่งตั้งตนเองเป็นโชกุน และสร้างรัฐบาลทหารในเมืองคะมะกุระ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคคะมะกุระ ซึ่งมีการปกครองแบบศักดินา แต่รัฐบาลคามากุระ

ก็ไม่สามารถปกครองทั้งประเทศได้ เพราะพวกราชวงศ์ยังคงมีอำนาจอยู่ในเขตตะวันตก หลังจากการเสียชีวิตของโชกุน โยริโตโมะ ตระกูลโฮโจ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุน รัฐบาลคะมะกุระสามารถต่อต้านการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลใน พ.ศ. 1817 และ พ.ศ. 1824 โดยได้รับความช่วยเหลือจากพายุกามิกาเซ่ ซึ่งทำให้กองทัพมองโกลประสบความเสียหายมาก

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลคะมะกุระก็อ่อนแอลงจากสงครามครั้งนี้ จนในที่สุดต้องสูญเสียอำนาจให้แก่จักรพรรดิโกไดโกะ ผู้ซึ่งพ่ายแพ้ต่ออะชิกะงะ ทากาอุจิ ในเวลาต่อมาไม่นานอาชิกางะ ทากาอุจิ ย้ายรัฐบาลไปตั้งไว้ที่มิโรมะจิ จังหวัดเกียวโต จึงได้ชื่อว่ายุคมุโรมะจิ ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 อำนาจของโชกุนเริ่มเสื่อมลงและเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น เพราะบรรดาเจ้าครองแคว้นต่างทำการสู้รบเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคสงครามที่เรียกว่ายุคเซงโงกุ

ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 มีพ่อค้าและมิชชันนารีจากโปรตุเกสเดินทางมาถึงญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และเริ่มการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างญี่ปุ่นกับโลกตะวันตก

สงครามดำรงอยู่หลายสิบปีจนโอะดะ โนบุนากะเอาชนะเจ้าครองแคว้นอื่นหลายคน โดยใช้เทคโนโลยีและอาวุธของยุโรปและเกือบจะรวมประเทศญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่นได้แล้วเมื่อเขาถูกลอบสังหาร

ใน พ.ศ. 2125 โทพโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อมาสามารถปราบปรามบ้านเมืองให้สงบลงได้ใน พ.ศ. 2133 ฮิเดะโยะชิรุกรานคาบสมุทรเกาหลีถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเมื่อเขาเสียชีวิตลงใน พ.ศ. 2141 ญี่ปุ่นก็ถอนทัพหลังจากฮิเดะโยะชิเสียชีวิต โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ แต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการให้แก่ลูกชายของฮิเดะโยะชิ โทพโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ เพื่อที่จะได้อำนาจทางการเมืองและการทหารอิเอะยะซุเอาชนะไดเมียวต่างๆได้ในสงครามเซะกิงะฮะระในพ.ศ. 2143 จึงขึ้นเป็นโชกุนใน พ.ศ. 2146 และก่อตั้งรัฐบาลใหม่ที่เมืองเอะโดะ ยุคเอะโดะจึงเริ่มต้นขึ้น รัฐบาลใช้วิธีหลายอย่าง เช่น บุเกโชฮัตโต เพื่อควบคุมไดเมียวทั้งหลายในปีพ.ศ. 2182 รัฐบาลเริ่มนโยบายปิดประเทศและใช้นโยบายนี้อย่างไม่เข้มงวดนักต่อเนื่องถึงประมาณสองร้อยห้าสิบปีในระหว่างนี้ญี่ปุ่นศึกษาเทคโนโลยีตะวันตกผ่านการติดต่อกับชาวดัตช์ที่สามารถเข้ามาที่เกาะเดจิมะ(ในจังหวัดนะงะซะกิ)เท่านั้นความสงบสุขจากการปิดประเทศเป็นเวลานานทำให้ชนที่อยู่ใต้อำนาจปกครองอย่างเช่นชาวเมืองได้มีโอกาสที่จะประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆขึ้นมาในทางของตนเองในยุคเอะโดะนี้ยังมีการเริ่มต้นการให้ศึกษาประชาชนเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

แต่ญี่ปุ่นก็ถูกกดดันจากประเทศตะวันตกให้เปิดประเทศอีกครั้ง ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2394 นาวาเอก (พิเศษ) แมทธิว เพอร์รี่ และเรือดำน้ำของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาบุกมาถึงญี่ปุ่นเพื่อบังคับให้เปิดประเทศด้วยสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ต้องทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันกับประเทศตะวันตกอื่นๆซึ่งสนธิสัญญาเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นประสบปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองเพราะการเปิดประเทศและให้สิทธิพิเศษกับชาวต่างชาติทำให้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากไม่พอใจต่อรัฐบาลเอะโดะ และเกิดกระแสเรียกร้องให้คืนอำนาจอธิปไตยแก่องค์จักรพรรดิ (ซึ่งมักเรียกว่าการปฏิรูปเมจิ) จนในที่สุดรัฐบาลเอะโดะก็หมดอำนาจลง

ในยุคเมจิ

รัฐบาลใหม่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิได้ย้ายฐานอำนาจขององค์จักรพรรดิมายังเอะโดะ และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจากเอะโดะเป็นโตเกียว มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองตามแบบตะวันตก เช่น บังคับใช้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2443 และก่อตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยใช้ระบบสองสภา นอกจากนี้ จักรวรรดิญี่ปุ่นยังสนับสนุนการรับเอาวิทยาการจากประเทศตะวันตก และทำให้มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเป็นอย่างมากจักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มมีความขัดแย้งทางทหารกับประเทศข้างเคียงเมื่อพยายามขยายอาณาเขต หลังจากที่ได้ชัยชนะในสงครามจีน - ญี่ปุ่น ครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2437 - 2438) และสงครามรัสเซีย - ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2447 - 2448) ญี่ปุ่นก็ได้อำนาจปกครองไต้หวัน เกาหลี และตอนใต้ของเกาะซาคาลิน

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ทำให้ญี่ปุ่นซึ่งอยู่ฝ่ายไตรภาคีผู้ชนะสามารถขยายอำนาจและอาณาเขตต่อไปอีกญี่ปุ่นดำเนินนโยบายขยายดินแดนต่อไปโดยการครอบครองแมนจูเรียในพ.ศ.2474 และเมื่อถูกนานาชาติประณามในการครอบครองดินแดนนี้ญี่ปุ่นก็ลาออกจากสันนิบาตชาติในสองปีต่อมา ในปี 1936 ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากลกับนาซีเยอรมนี และเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในปี 1941

วีดิโอจากช่อง : Point of View

ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง

ญี่ปุ่นได้เสริมสร้างอำนาจทางการทหารให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นหลังจากญี่ปุ่นถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกาต่อมาจึงได้เปิดฉากสงครามในแถบเอเชียแปซิฟิก(ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในชื่อ สงครามมหาเอเชียบูรพา)ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 โดยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลและการยาตราทัพเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ตลอดสงครามครั้งนั้น ญี่ปุ่นสามารถยึดครองประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ทั้งหมด แต่หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้แก่สหรัฐอเมริกาในการรบทางน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกหลังจากยุทธนาวีแห่งมิดเวย์ (พ.ศ. 2485) ญี่ปุ่นก็ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยง่าย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับระเบิดปรมาณูของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ (ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ตามลำดับ) และการรุกรานของสหภาพโซเวียต (วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2488) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน สงครามทำให้ญี่ปุ่นต้องสูญเสียพลเมืองนับล้านคนและทำให้อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเสียหายอย่างหนักฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งพลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์เข้ามาควบคุมญี่ปุ่นตั้งแต่หลังสงครามจบ

ในปีพ.ศ.2490ญี่ปุ่นเริ่มใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเน้นเรื่องประชาธิปไตยอิสระการควบคุมญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรสิ้นสุดเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกในพ.ศ. 2499 และญี่ปุ่นได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปีพ.ศ. 1956 หลังจากสงครามญี่ปุ่นสามารถพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วยอัตราการเจริญเติบโตที่สูงมากจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

วีดิโอจากช่อง : Point of View

ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุขแต่พระจักรพรรดิไม่มีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศโดยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นว่าสัญลักษณ์แห่งรัฐและความสามัคคีของชนในรัฐอำนาจการปกครองส่วนใหญ่ตกอยู่กับนายกรัฐมนตรีและสมาชิกอื่นๆในสภานิติบัญญัติแห่งชาติอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของชาวญี่ปุ่น พระจักรพรรดิทรงทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐในพิธีการทางการทูต พระองค์ปัจจุบันคือ จักรพรรดิอะกิฮิโตะ ส่วนรัชทายาทคือมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะ

องค์กรนิติบัญญัติของญี่ปุ่น คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือที่เรียก “ไดเอ็ต” เป็นระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (อังกฤษ : House of Representatives) เป็นสภาล่างมีสมาชิกสี่ร้อยแปดสิบคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งสี่ปีและมนตรีสภา (อังกฤษ : HouseofCouncillors)เป็นสภาสูงมีสมาชิกสองร้อยสี่สิบสองคนซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งหกปีโดยมีการเลือกตั้งสมาชิกมนตรีสภาจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุกสามปีสมาชิกของสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์เป็นต้นไป พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นพรรครัฐบาลมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อตั้งพรรคใน พ.ศ. 2498 ยกเว้นช่วงสั้น ๆ ใน พ.ศ. 2536 ที่เกิดรัฐบาลผสมของพรรคฝ่ายค้านทั้งนี้แกนนำฝ่ายค้านคือพรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่นสำหรับอำนาจบริหารนั้นพระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกโดยสมาชิกด้วยกันเองให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลนายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง

นโยบายต่างประเทศและการทหาร

ญี่ปุ่นรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและทางทหารกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรหลัก โดยมีความร่วมมือทางความมั่นคงระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นเสาหลักของนโยบายต่างประเทศ ญี่ปุ่นเป็นสมาชิกของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 1956 ได้เป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ รวม 9 ครั้ง (ล่าสุดเมื่อปี 2005 - 2006) และยังเป็นหนึ่งในกลุ่ม G4 ซึ่งมุ่งหวังจะเข้าเป็นสมาชิกถาวร ในคณะ-มนตรีความมั่นคง ญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกของ G8 และเอเปค มีความตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของต่างประเทศและกระชับความสัมพันธ์ทางการทูต กับประเทศคู่ค้าที่สำคัญทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) รายใหญ่ของโลก โดยบริจาค 7.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2007 จากการสำรวจของบีบีซีพบว่านอกจากประเทศจีนและเกาหลีใต้แล้ว ประเทศส่วนใหญ่มองอิทธิพลของญี่ปุ่นที่มีต่อโลกเชิงบวก

ญี่ปุ่นมีปัญหาข้อพิพาทเรื่องสิทธิในดินแดนต่าง ๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่นกับรัสเซีย เรื่องเกาะคูริล กับเกาหลีใต้เรื่องหินลีอังคอร์ท (หรือทะเกะชิมะ ในภาษาญี่ปุ่น) กับจีนและไต้หวันเรื่องเกาะเซงกากุกับจีน

เรื่องเขตเศรษฐกิจจำเพาะรอบ ๆ โอะกิโนะ โทะริชิมะ เป็นต้น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังคงมีปัญหากับเกาหลีเหนือกรณีการลักพาตัวชาวญี่ปุ่นและเรื่องการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์และเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องเกาะคูริลในทางกฎหมายแล้วญี่ปุ่นยังคงทำสงครามอยู่กับรัสเซีย เพราะไม่เคยมีการลงนามในข้อตกลงใด ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้