ลักษณะทางกายภาพของทวีปยุโรป

ยุโรปอดีตเคยเป็นดินแดนที่เป็นผืนแผ่นดินลอเรเซีย (เป็นผืนแผ่นดินกับทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปและเอเชีย) ต่อมาผืนแผ่นดินเคลื่อนที่แยกออกโดยทวีปอเมิรกาเหนือเคลื่อนออกจากกัน เหลือเพียงทวีป ยุโรปและเอเชียเรียกว่า ยูเรเซีย ดังนั้นทวีปยุโรปจึงอยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย

ทวีปยุโรปมีพื้นที่ 10,600,000 ตร.กม. เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากทวีปออสเตรเลียแต่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ3รองจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ปี พ.ศ. 2546 ยุโรปมี ประชากรราว 799,466,000 คนหรือประมาณ 1 ใน 8 ของประชากรโลก

ภาพจาก : http://kunongtoureurope.blogspot.com/2014/01/blog-post.html

ที่ตั้ง

พิกัดทางภูมิศาสตร์

ละติจูด 36 °1 ‘ N – 71 °10′ N ลองจิจูด 66 °E – 9 °30 ‘W

ภาพจาก : http://kunongtoureurope.blogspot.com/2014/01/blog-post.html

อาณาเขตติดต่อ

ทางเหนือติด มหาสมุทรอาร์กติก

ทางตะวันตกติด มหาสมุทรแอตแลนติก

ทางใต้ติด ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ

ด้านตะวันออกติด เทือกเขาอูราลและทะเลแคสเปียน

ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีชายฝั่งทะเลที่ยาวที่สุดในโลกทั้งนี้เพราะความเว้าแหว่งของชายฝั่งทะเลมีมากนั่นเองและยังทำให้มีคาบสมุทรหลายแห่งได้แก่ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศนอร์เวย์และสวีเดิน คาบสมุทรจัดแลนด์เป็นที่ตั้งของประเทศเดนมาร์ก คาบสมุทรไอบีเรียเป็นที่ตั้งของ ประเทศสเปนและโปรตุเกส คาบสมุทรอิตาลีเป็นที่ตั้งของประเทศอิตาลี คาบสมุทรบอลข่านเป็นที่ตั้งของประเทศอดียูโกสลาเวีย แอลเบเนีย โรมาเนีย บัลแกเรีย แอลกรีซ (สาธารณรัฐเฮเลนิก) คาบสมุทรไครเมียในประเทศยูเครน

ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งออกเป็น 4 เขต ดังนี้

1. เขตหินเก่าภาคตะวันตกเฉียงเหนือ เขตนี้มีเทือกเขาที่มีอายุเก่าแก่ เช่น เชอเลน ในคาบสมุทร สแกนดิเนเวีย , แกรมเบียน ในสกอตแลนด์ และมีชายฝั่งที่เว้าแหว่งมากเป็นอ่าวแคบ ๆ มีน้ำลึก สองฝั่ง เป็นหน้าผาสูงชัน เรียกว่า ฟยอร์ด ซึ่งเกิดจากธารน้ำแข็งกัดเซาะ ได้แก่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของ ประเทศนอร์เวย์ และแคว้นสกอตแลนด์ ของสหรราชอาณาจักร

2. เขตที่ราบใหญ่ภาคกลาง (ที่ราบใหญ่ยุโรป)เป็นเขตที่มีความสำคัญทางด้านเกษตรกรรมมาก มี ประชากรหนาแน่น ทั้งนี้เพราะ การคมนาคมขนส่งสะดวกมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสายได้แก่ ไรน์(แม่น้ำ ถ่านหิน/แม่น้ำนานาชาติ) เอลเบลัว เซน เป็นต้น บริเวณชายฝั่งทะเลบอลติทางตอนใต้ของประเทศ นอร์เวย์ สวีเดน ผินแลนด์ เป็นหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เรียกว่า บอลติกชีลด์

3. เขตที่ราบสูงภาคกลาง อยู่ระหว่างเขตที่ราบใหญ่ภาคกลางกับเขตเทือกเขาสูงภาคใต้ ของทวีป ที่ ราบสูงสำคัญได้แก่ เมเซตา ในคาบสมุทรไอบีเรีย , มัสซีฟซองตรัล ในฝรั่งเศส บาวาเรียน หรือแบล็กฟอ เรสต์/ ป่าดำในเยอรมัน, โบฮีเมีย ในเชก เขรนี้เป็นย่ายอุตสาหกรรมสำคัญเนื่องจากเป็นแหล่งถ่ายหิน สำคัญของทวีปโดยเฉพาะในแคว้นรูห์ , ซาร์ , แซกโซนี, และแหล่งถ่ายหินในฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม

4. เขตภูเขาหินใหม่ภาคใต้ได้แก่เทือกเขา พีเรนีส , แอลป์, แอปเพนไนน์, ไดนาริกแอลป์ , คอเคซัส , คาร์เปเธียน, เขตภูเขาหินใหม่นี้เป็นเขตที่เปลือกโลกยังไม่สงบตัวดีจึงยังมีแผ่นดินไหว และภูเขา ไฟระเบิดเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น ภูเขาไฟวิสุเวียส เอทนา สตรอมโบลี ในประเทศอิตาลี

ภาพจาก : http://kunongtoureurope.blogspot.com/2014/01/blog-post.html

ลักษณะภูมิอากาศ ต่างกัน 7 เขตดังนี้

1. เขตภูมิอากาศแบบทุนดรา (แบบขั้วโลก) ลักษณะอากาศ หนาวจัดมากในฤดูหนาวเป็นระยะ เวลานาน ฤดูร้อนสั้นมาก เพียง 1-2 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส มีหิมะและ น้ำแข็งปกคลุมเกือบทั้งปีได้แก่บริเวณชายฝั่งภาคเหนือของคาบสมุทรสแกนดิเนียเวียและชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกของรัสเซีย พืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ได้แก่ มอส สาหร่าย และตะไคร่น้ำไม่มีไม้ยืน ต้น ในฤดูร้อนบางพื้นที่ มีไม้ดอกเล็ก ๆ เช่น ดอกอาร์กติกวิลโลว์ อาร์กติกปอปปี

2. เขตภูมิอากาศแบบไทกา (แบบกึ่งขั้วโลก) ลักษณะอากาศ หนาวเย็นฤดูหนาวอุณหภูมิเฉลี่ย 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนอากาศอบอุ่นชื้นเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ย 17 องศาเซลเซียส ได้แก่บริเวณนอร์เวย์ สวีเดิน ฟินแลนด์ และรัสเซีย พืชพรรณธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นไม้สน (ไทกา)

3. เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะอากาศ อบอุ่นชื้นตลอดปี ฤดูหนาวไม่ หนาวจัด ฤดูร้อนอบอุ่น มีฝนตกชุกตลอดปี ได้แก่บริเวณชายฝั่งตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของ ยุโรป พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน

4. เขตภูมิอากาศอบอุ่นชั้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศ ค่อนข้างหนาวเย็น ฤดูหนาวอุณภูมิเฉลี่ย 1-2องศาเซลเซียส ฤดูร้อนอุณหภูมิเฉลี่ย 19-20 องศาเซลเซียส ได้แก่บริเวณยุโรปตะวันตก และตอนของรัสเซีย พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าสนผสมกับป่าไม้ผลัดใบ

5. เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ลักษณะอากาศ อบอุ่น ฤดูร้อนร้อนจัด มีฝนตกชุกตลอดปี ได้แก่ บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนเหนือ และตอนกลางของคาบสมุทรบอลข่านพืชพรรณ ธรรมชาติ เป็นป่าไม้ผลัดใบ และป่าผสม

6. เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศ ฤดูหนาวอบอุ่น ร้อนจัดในฤดูร้อน มีฝนตก ชุกในฤดูหนาว ได้แก่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในคาบสมุทรไอบีเรีย ภาคใต้ของฝรั่งเศส อิตาลีและคาบสมุทรบอลข่าน พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ไม้คอร์ก โอ๊ก และไม้พุ่มมีหนาม (ไม้พุ่มแคระที่ เรียกว่ามากีส์) สำหรับพืชผลเป็นพืชตระกูล ส้ม องุ่น มะกอก

7. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายแถบอบอุ่น ลักษณะอากาศมีอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มีฝนตกน้อยเฉลี่ยไม่เกิน 20 นิ้วต่อปี แต่ไม่แห้งแล้งเหมือนทะเลทราย ได้แก่บริเวณภาคใต้ของรัสเซีย ตอนกลาง ของคาบสมุทรไอบีเรีย ตอนเหนือของทะเลแคสเปียน และทะเลดำ พืชพรรณธรรมชาติ เป็น ทุ่งหญ้าที่ขึ้นเบาบาง เป็นหญ้าสั้น ๆ เรียกว่า สเตปป์ และมีพุ่มไม้เตี้ยสลับกันห่าง ๆ

อาชีพที่สำคัญของชาวยุโรป

1. เพาะปลูก พืชที่สำคัญของทวีปยุโรป ได้แก่

ข้าวสาลี ประเทศที่ปลูกมากที่สุด คือ ยูเครน รองลงไปคือฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โรมาเนีย บัลแกเรีย เยอรมณีและฮังการี

ภาพจาก : https://www.pobpad.com/%E0%B8%82%E

ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข่างไรย์ ถั่ว และมันฝรั่ง ซึ่งมีปลูกโดยทั่วไป

ภาพจาก : https://www.sanook.com/women/130341/

ภาพจาก : https://mthai.com/health/44996.html

ภาพจาก : https://www.cooking.in.th/potato26/

องุ่น ส้ม มะกอก มะนาว แอปเปิล และผลไม้ชนิดต่าง ๆ ปลูกมากในเขตอากาศเมดิเตอร์เรเนียน แถบประเทศ โปรตุเกส สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี และกรีซ

ภาพจาก : https://www.bloggang.com/viewblog.php

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/blog/con

ภาพจาก : http://www.premiumseedshop.com/produc

ป่านลินิน ปลูกมากในเขตประเทศโปแลนด์ เบลเยี่ยม และไอร์แลนด์

ภาพจาก : https://www.mcshop.com/blog/uncategoriz

ภาพจาก : www.sacit.or.th

2. การเลี้ยงสัตว์ ทำเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ควบคู่ไปกับการเพาะปลูกในลักษณะเกษตรแบบผสม การเลี้ยงสัตว์จะแตกต่างกนไปตามลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ดังนี้

- แบบทุนดรา จะเลี้ยงกวางเรนเดียร์ พบในประเทศฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์ นอกจากนี้ยังมีการล่า

สัตว์จำพวก แมวน้ำ หมี มิ้งค์ สุนัขจิ้งจอก บีเวอร์ เพื่อเป็นการยังชีพอีกด้วย

- เขตทุ่งหญ้าสเตปป์ มีการเลี้ยงโคเนื้อ แพะ แกะ และม้า แถบบริเวณชายฝั่งทะเล แคสเปียน ในภาคใต้ของ

ยูเครนและรัสเซีย

- เขตเมดิเตอร์เรเนียน มีการเลี้ยงโคเนื้อและแกะ

- เขตอบอุ่นชื้อตอนเหนือของคาบสมุทรบอลข่าน มีการเลี้ยงสุกรโดยใช้ข้าวโพดเป็นอาหาร

- เขตภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก มีการทำฟาร์มโคนม ประเทศที่เลี้ยงมากที่สุด คือ เดนมาร์ก รองลงมาคือ รัสเซีย

ภาพจาก : https://th.traveligo.com/tours/europe/norw

ภาพจาก : https://taradko.com/last-news

ภาพจาก : https://www.uq.edu.au/news/article/2020/

3. อาชีพการทำป่าไม้ ทำกันมาในยุโรปเหนือ เช่นฟินแลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน โดยเน้นหนักเพื่อการค้า

4. อาชีพประมง แหล่งที่มีปลาชุมของทวีปยุโรป อยู่บริเวณทะเลเหนือ เรียกว่า ดอกเกอร์แบงก์ ปลาที่จับกันมากคือปลาคอด เฮอริง แมคเคอเรล แฮดดอก แฮลิบัท ซาร์ดีน นอกจากดอกเกอร์แบงก์แล้ว ในอ่าวบิสเคย์ ทะเลแคสเปียน ทะเลดำ และลุ่มน้ำโวลกาก็เป็นแหล่งประมงเช่นกัน โดยเฉพาะปลาสเตอร์เจียนที่เอาไข่มาทำคาร์เวีย

5. อาชีพการทำเหมืองแร่ แร่เศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปยุโรป คือ ถ่านหิน และเหล็ก

6. อาชีพอุตสาหกรรม ที่สำคัญได้แก่ การถลุงเหล็ก และผลิตเหล็กกล้า เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เสื้อผ้า เครื่องหนัก เครื่องแก้ว และอุตสหกรรมการท่องเที่ยว

7. อาชีพค้าขาย สินค้าเข้าได้แก่ วัตถุดิบสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าออก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าสำเร็จรูปที่เป้นผลผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม

8. การคมนาคมทวีปยุโรป เป็นทวีปที่มีการคมนาคมเจริญก้าวหน้ามากมีเส้นทางคมนาคมแน่นที่สุดในโลก โดยเฉพาะทางรถไฟมีความสำคัญมาก และมีประสิทธิภาพสูง เช่น รถไฟของฝรั่งเศสวิ่งได้เร็วที่สุดในโลกคือวิ่งได้เร็วถึง 274 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ลักษณะทางกายภาพของทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปอเมริกาเหนือเป็นดินแดนที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวอิตาลีค้นพบเมื่อค.ศ. 1492 โดยบริเวณที่ค้นพบคือหมู่เกาะเวสอินดีสเชื่อกันว่ามีมนุษย์เข้าไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อประมาณ 30,000 ปีมาแล้ว โดยอพยพมาจากไซบีเรียผ่านช่องแคบเบริงเข้าสู่ทะเลอะแลสกาแล้วจึงขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วทั้งทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ดังที่ปรากฏร่องรอยของอารยธรรมหลายแห่ง

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84

ที่ตั้ง อาณาเขต และขนาด

ทวีปอเมริกาตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ จดมหาสมุทรอาร์กติก น่านน้ำทางทิศเหนือ ได้แก่ ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่าวฮัดสัน ช่องแคบเดวิส และทะเลแลบราดอร์ ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือสุด คือ แหลมมอร์ริสเจซัป ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะกรีนแลนด์

ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแอตแลนติก ดินแดนทางตะวันออกสุดในส่วนภาคพื้นทวีป คือ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของชายฝั่งแลบราดอร์ในประเทศแคนาดา

ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้ มีคลองปานามาเป็นแนวแบ่งเขตทวีป ดินแดนทางใต้สุด ได้แก่ บริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศปานามา

ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนเหนือของทวีปมีช่องแคบเบริงคั่นระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับเอเชียดินแดนทางตะวันตกสุดของภาคพื้นทวีปคือแหลมพรินซ์ออฟเวลส์รัฐอะแลสกาประเทศสหรัฐอเมริกา

ทวีปอเมริกาเหนือมีเนื้อที่ 24,247,039 ตารางกิโลเมตร รูปร่างของทวีปคล้ายกับรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ

ภาพจาก : https://hilight.kapook.com/view/193053

การแบ่งภูมิภาคของทวีปอเมริกาเหนือแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1. แองโกลอเมริกา ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำรีโอแกรนด์ขึ้นไปประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาประชากรส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ

2. ลาตินอเมริกา ได้แก่ ดินแดนของประเทศต่างๆที่อยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำรีโอแกรนด์ลงมาประเทศในกลุ่มนี้ประกอบด้วยอเมริกากลางได้แก่ประเทศเม็กซิโก เบลีซ คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว และปานามาและหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนได้แก่ประเทศบาฮามาสบาร์เบโดส คิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน เกรเนดา เฮติจาเมกา แอนติกาและบาร์บูดาโดมินิกาเซนต์คิตส์และเนวิสเซนต์ลูเซีย และเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์

ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งได้ 4 เขต ดังนี้

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31719

1. เขตเทือกเขาสูงภาคตะวันตก ได้แก่ พื้นที่ชายฝั่งตะวันตกด้านมหาสมุทรแปซิฟิกเทือกเขาสูงภาคตะวันตกเริ่มตั้งแต่เทือกเขาตอนเหนือสุดบริเวณช่องแคบเบริงลงมาถึงประเทศปานามา และมีแนวต่อไปจนถึงเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail

2. เขตที่ราบภาคกลาง มีอาณาเขตตั้งแต่ด้านชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกตอนเหนือลงมาจนถึงอ่าวเม็กซิโก และทางตะวันตกจดแนวเทือกเขาร็อกกีมาทางตะวันออกถึงแนวเทือกเขาแอปพาเลเชียน เป็นที่ราบกว้างใหญ่ เป็นที่ราบลูกคลื่น โดยมีที่สูงอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งติดต่อกับเทือกเขาร็อกกี พื้นผิวดินในเขตนี้มี กรวด ทราย และดินเหนียว ที่เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง ที่ราบภาคกลางอาจแบ่งเป็น 6 เขตย่อย ดังนี้

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail

ที่ราบลุ่มแมกเคนซี เป็นที่ราบแคบ ๆ บริเวณลุ่มแม่น้ำแกเคนซี

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail

ที่ราบแพรรีแคนาดา เป็นที่ราบใหญ่ทางภาคกลางของแคนาดา

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail

ที่ราบลุ่มทะเลสาบเกรตเลกส์ และลุ่มน้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ทะเลสาบเกรตเลกส์เป็นแหล่งน้ำที่มีอาณาเขต ติดต่อกัน ระหว่างทะเลสาบอิรีและออนแทรีโอมีน้ำตกขนาดใหญ่ชื่อ ไนแองการา และมีแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์เป็นทางระบายน้ำจากทะเลสาบเกรตเลกส์ลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก

ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี–มิสซูรี เกิดจากเขตภูเขาในสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ใกล้พรมแดนแคนาดาและไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก มีน้ำอุดมสมบูรณ์

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail

ที่ราบชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกและมหาสมุทรแอตแลนติก ได้แก่ พื้นที่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ภูมิประ เทศทางตะวันตกของเขตนี้มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาแอปพาเลเชียนและลาดเทลงมากลายเป็นที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและอ่าวเม็กซิโกทางด้านตะวันออกและทางตอนใต้ ซึ่งทางตอนใต้มีอากาศร้อน

ที่ราบบนที่สูง ได้แก่ พื้นที่ทางด้านตะวันออกของเทือกเขาร็อกกี เป็นเขตอับฝน

3. เขตหินเก่าแคนาดา ได้แก่ พื้นที่บริเวณรอบ ๆ อ่าวฮัดสันลงมาถึงกลุ่มทะเลสาบเกรตเลกส์ ประกอบด้วยหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่และผ่านการสึกกร่อนมาเป็นเวลาหลายร้อยล้านปีจึงมีแร่หลายชนิดทับถมกัน ลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบสูงเกือบทั้งหมดเรียกว่า ที่ราบสูงลอเรนเชียนพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง บางแห่งเป็นทะเลสาบ และมีทะเลสาบแคสกิลส์ที่ตื้นเขินจนมีป่าสนขึ้น

4. เขตภูเขาภาคตะวันออกเป็นเขตภูเขาหินเก่าและที่ราบสูงมีอาณาเขตตั้งแต่เกาะนิวฟันด์แลนด์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดาลงมาถึงภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาซึ่งสูงไม่มากเพราะผ่านการสึกกร่อนมานาน

แหล่งน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่

แหล่งน้ำจืด ได้แก่

1. แม่น้ำ

แม่น้ำมิสซิสซิปปี

แม่น้ำมิสซูรีหรือ แม่น้ำมิสซิสซิปปี

แม่น้ำรีโอแกรนด์

แม่น้ำยูคอน

แม่น้ำซัสแคตเชวัน

แม่น้ำโคลัมเบีย

แม่น้ำโคโลราโด

แม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์

แม่น้ำเฟรเซอร์

2. ทะเลสาบ มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากการสร้างเขื่อนทะเลสาบขนาดใหญ่ ได้แก่ กลุ่มทะเลสาบเกรตเลกส์ ทะเลสาบวินนิเพก ทะเลสาบเกรตสเลฟ ทะเลสาบเกรตแบร์ ทะเลสาบเกรตซอลต์

แม่น้ำมิสซิสซิปปี

ภาพจาก : https://hmong.in.th/wiki/Mississippi_River

แม่น้ำรีโอแกรนด์

ภาพจาก : https://www.thaiza.com/travel/foreign/476586/

ภูมิอากาศ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ

1. ที่ตั้ง มีอาณาเขตตั้งแต่ใกล้ขั้วโลกจนถึงใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้มีภูมิอากาศทั้งเขตหนาว เขตอบอุ่น และเขตร้อน

2. ลักษณะภูมิประเทศ ด้านที่มีแนวเทือกเขาสูงกั้นทิศทางลมจะมีภูมิอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทรายและทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ส่วนด้านที่ภูเขาที่ไม่สูงมาก ซึ่งไม่ขวางกั้นทิศทางลม จะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น อุณหภูมิปานกลางและมีฝนตกตลอดปี

3. กระแสน้ำ ชายฝั่งตะวันออกด้านมหาสมุทรแอตแลนติกมีกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมไหลผ่านจึงทำให้ชายฝั่งด้านนี้มีภูมิอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก ส่วนชายฝั่งแลบราดอร์ของประเทศแคนาดามีกระแสน้ำเย็นจากแถบขั้วโลกเหนือไหลผ่านและพบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมแถบเกาะนิวฟันด์แลนด์ ทำให้มีหมอกจัดและมีภูเขาน้ำแข็งล่องลอยมาตามกระแสน้ำจนเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ แต่บริเวณดังกล่าวก็มีปลาชุกชุม เรียกว่า แกรนด์แบงส์ชายฝั่งตะวันตกด้านมหาสมุทรแปซิฟิกมีกระแสน้ำอุ่นแปซิฟิกเหนือไหลผ่านจึงมีภูมิอากาศอบอุ่น ส่วนทางตอนใต้ด้านชายฝั่งตะวันตกมีกระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนียไหลเลียบชายฝั่ง ทำให้ฤดูร้อนไม่ร้อนจัด

4. ทิศทางลมประจำ ส่วนใหญ่เป็นลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่ทวีป นำความชื้นเข้าสู่บริเวณชายฝั่งตะวันออก

เขตภูมิอากาศ ภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติของทวีปอเมริกาเหนือเป็น 12 เขต ดังนี้

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31719

1. ภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน พืชพรรณธรรมชาติจะมีใบเขียวตลอดทั้งปี มีความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ

2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน พืชพรรณธรรมชาติเป็นสะวันนา

3. ภูมิอากาศแบบทะเลทรายพืชพรรณธรรมชาติประกอบด้วยพืชจำพวกกระบองเพชรไม้ประเภทมีหนาม และหญ้าใบแข็ง

4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์

5. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบชนิดมีใบกว้างและป่าไม้สนที่ไม่มีฤดูผลัดใบ ส่วนดินแดนถัดเข้าไปในทวีปจะมีฝนตกน้อยลง พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าแพรรี

6. ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดิบชื้นในเขตอบอุ่นประกอบด้วยป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน และมีมอสเป็นพืชผิวดิน

7. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสลับป่าไม้พุ่มเตี้ย เรียกว่า ป่าแคระ

8. ภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป พืชพรรณธรรมชาติมีทั้งป่าผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าไม้ที่ไม่ผลัดใบชนิดที่มีใบแหลม หรือป่าสนผสมป่าไม้ผลัดใบ

9. ภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา พืชพรรณธรรมชาติเป็นพวกป่าสน จึงเป็นแหล่งไม้เนื้ออ่อน

10. ภูมิอากาศแบบทุนดรา พืชพรรณธรรมชาติเป็นพวกสาหร่าย ตะไคร่น้ำ และหญ้ามอสส์

11. ภูมิอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง มีน้ำแข็งปกคลุมจนไม่มีพืชชนิดใดเจริญเติบโตได้

12. ภูมิอากาศแบบที่สูง พืชพรรณธรรมชาติจะน้อยลง อุณหภูมิลดลงมีหิมะตกและมีน้ำแข็งปกคลุมยอดเขาและเทือกเขาสูงอยู่ตลอดเวลา

ทรัพยากรธรรมชาติ

1. ดิน มีดินที่ไม่เหมาะกับการเกษตร ได้แก่ ดินในเขตภูมิอากาศหนาวเย็นทางภาคเหนือของประเทศแคนาดาและรัฐอะแลสกาของประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนบริเวณอื่นมีดินที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนในเขตลุ่มน้ำก็เป็นดินตะกอนที่เหมาะแก่การเพาะปลูก

2. ป่าไม้ เขตป่าไม้สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้สน ซึ่งมีทั้งป่าสนผสมป่าไม้ผลัดใบ และ ป่าไม้เมืองร้อน

3. สัตว์ป่า ปัจจุบันสัตว์ป่าของทวีปนี้มีจำนวนลดลงทั้งชนิดและจำนวน เนื่องจากมีการบุกเบิกพื้นที่ป่ามากขึ้น

4. พลังงาน ทวีปอเมริกาเหนือมีแหล่งพลังงานสำคัญ ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงานน้ำ และ แร่

ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาเหนือ

ประชากร

จำนวนประชากรสถิติในปี ค.ศ. 2011 ระบุว่าทวีปอเมริกาเหนือมีประชากรประมาณ 544 ล้านคน อัตราความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่เท่ากับ 22 คนต่อตารางกิโลเมตร

เชื้อชาติ

ประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ ดังนี้

1. พวกผิวเหลือง เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อพยพมาจากทวีปเอเชีย

2. พวกผิวขาว เป็นประชากรที่อพยพมาจากทวีปยุโรป

3. พวกผิวดำ เป็นประชากรที่ถูกนำเข้ามาเพื่อใช้แรงงานในไร่นาของประเทศสหรัฐอเมริกา

4. พวกเลือดผสม เป็นพวกเลือดผสมระหว่างเชื้อชาติ

ภาษา

ส่วนใหญ่อยู่ในตระกูลภาษาอินโดยูโรเปียน ประกอบด้วย

1. กลุ่มภาษาอังกฤษ เป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

2. กลุ่มภาษาสเปน เป็นภาษาราชการของประเทศเม็กซิโกและประเทศในอเมริกากลาง

3. กลุ่มภาษาฝรั่งเศส ใช้กันมากในรัฐควิเบกของแคนาดา และในเฮติ

ศาสนา

ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนา 2 นิกาย คือ

1. นิกายโปรเตสแตนต์ นับถือกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา

2. นิกายโรมันคาทอลิก นับถือกันมากในรัฐควิเบกของแคนาดา กลุ่มลาตินอเมริกา และประชากรในเมืองของสหรัฐอเมริกาที่เคยเป็นอาณานิคมของสเปน

การกระจายของประชากร ประเทศในกลุ่มแองโกลอเมริกามักอยู่ในเขตเมือง ส่วนประชากรในกลุ่มลาตินอเมริกามักอยู่ในเขตชนบท

1. บริเวณที่มีประชากรหนาแน่น ได้แก่ ทางภาคตะวันออกของทวีป มีปัจจัยดังนี้

ภูมิประเทศเป็นที่ราบ

ปริมาณฝนเพียงพอ

แร่ที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมมีจำนวนมาก

การคมนาคมขนส่งสะดวก

2. บริเวณที่มีประชากรเบาบาง ได้แก่ พื้นที่ที่มีภูมิประเทศและภูมิอากาศเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต เช่น เขตที่สูง และมีภูมิอากาศหนาวเย็น

เศรษฐกิจ อาชีพสำคัญ ได้แก่

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31719

1. การเกษตร ประกอบด้วย

การเพาะปลูก พืชที่ใช้เพาะปลูก ได้แก่

ข้าวโพด เป็นพืชเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ปลูกมากบริเวณที่ราบภาคกลาง

ข้าวสาลี ปลูกมากในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ฝ้าย เป็นสินค้าออกที่สำคัญของทวีปอเมริกาเหนือ

ถั่วเหลือง บริเวณที่ปลูกมาก ได้แก่ เขตที่ราบภาคกลางของสหรัฐอเมริกา

อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศคิวบาและหมู่เกาะเวสต์อีส

ผักและผลไม้ต่าง ๆ ปลูกมากในเขตร้อนของสหรัฐอเมริกา

ข้าวเจ้า จะปลูกในเขตที่ปลอดหิมะและมีระบบชลประทานที่ดี

กล้วยและกาแฟ เป็นพืชเมืองร้อนที่ปลูกมาในแถบอเมริกากลาง

การเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่นิยมเลี้ยงกันมาก ได้แก่

โคเนื้อ เลี้ยงกันมาในเขตอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง โดยเลี้ยงแบบคอกปศุสัตว์ขนาดใหญ่

โคนม แหล่งเลี้ยงโคนมที่สำคัญ ได้แก่ ที่ราบภาคกลางและภาคตะวันออก

สุกร เป็ด และไก่ เลี้ยงในเขตเดียวกับโคนม

แกะ ส่วนใหญ่เลี้ยงเพื่อใช้ขน นิยมเลี้ยงในเขตแห้งแล้งและเขตภูเขา

2. การทำป่าไม้ ไม้สำคัญ คือ ไม้สนและไม้ผลัดใบอื่น ๆ เขตป่าไม้สำคัญอยู่ทางตะวันตกของประเทศแคนาดา

3. การทำประมง แหล่งประมงสำคัญ ได้แก่ เขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมและกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ไหลมาบรรจบกัน ทำให้มีแพลงก์ตอนอุดมสมบูรณ์จึงจับปลาได้มาก

4. การทำเหมืองแร่ ทวีปอเมริกาเหนืออุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม เหล็ก ทองคำและเงิน ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสี และ บ็อกไซต์

5. อุตสาหกรรม อุดมไปด้วยทรัพยากรที่ส่งเสริมด้านอุตสาหกรรม

6. การค้า ประเทศที่มีมูลคาทางการค้ากับภูมิภาคอื่นมากที่สุด คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศแคนาดา ตลอดจนประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา ยกเว้นคิวบาและนิการากัว สินค้าเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ ส่วนสินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันเชื้อเพลิง เหล็ก เหล็กกล้า ถ่านหินเครื่องจักรกล ไม้ ยาสูบ ยานยนต์ เครื่องบิน อาวุธยุทโธปกรณ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร และเคมีภัณฑ์

การคมนาคมขนส่ง มีลักษณะดังนี้

1. ทางบก สหรัฐอเมริกาและแคนาดามีเส้นทางกระจายติดต่อกันอย่างทั่วถึง มีทั้งทางรถยนต์ ซึ่งมีความก้าวหน้าเฉพาะในเขตเมืองและทางรถไฟส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและมักมีอยู่อย่างหนาแน่นบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีป

2. ทางน้ำ ได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร ประกอบด้วยเส้นทางเดินเรือทั้งด้านมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก และ แม่น้ำ ลำคลอง และทะเลสาบ พื้นที่ที่มีเส้นทางคมนาคมประเภทนี้หนาแน่น ได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออก มีการขุดคลองที่คอคอดปานามา เพื่อใช้เป็นเส้นทางลัดระหว่างมหาสมุทรทั้งสองฝั่งโดยไม่ต้องผ่านแหลมฮอร์นในทวีปอเมริกาใต้

3. ทางอากาศ ทวีปอเมริกาเหนือโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและแคนาดามีเส้นทาง ทางอากาศกว้างขวาง

4. ทางท่อ ใช้เพื่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ น้ำมันถ่านหินผง และน้ำ

ลักษณะทางกายภาพของทวีปอเมริกาใต้

เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ต่อมา ค.ศ. 1572 ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสเปน หลังสงครามโลกครั้งที่2ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ได้ต่อสู้เรียกร้องเอกราชเกือบทุกประเทศในปัจจุบันจึงมีอิสระในการปกครองตนเอง ยกเว้นเฟรนช์เกียนา และหมู่เกาะฟอล์กแลนด์

ที่ตั้ง อาณาเขต และขนาด

มีเนื้อที่รวม 17,821,029 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมกลับข้างกับทวีปอเมริกาเหนือ และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับทวีปอเมริกาเหนือ ดินแดนภาคพื้นทวีปทางเหนือสุด คือ แหลมกายีนัส

ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแอตแลนติก ดินแดนภาคพื้นทวีปทางตะวันออกสุด คือ แหลมโกเกย์รูส

ทิศใต้ จดช่องแคบเดรก ดินแดนภาคพื้นทวีปทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คือ แหลมโฟรเวิร์ด

ทิศตะวันตก จดคลองปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก ดินแดนภาคพื้นทวีปทาง ตะวันตกสุด คือ แหลมปารีญัส

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31720

ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 เขต ดังนี้

1. เขตเทือกเขาสูงทางด้านตะวันตก มีเทือกเขาแอนดีสทอดตัวเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกจากเหนือสุดลงมาใต้สุดเทือกเขาแอนดีสเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแอมะซอน ทั้งนี้เทือกเขาสูงทางตะวันตกเป็นแนวเทือกเขาหินใหม่

2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 3 แห่ง คือ

ที่ราบลุ่มแม่น้ำโอรีโนโก เป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ

ที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน เป็นแหล่งป่าไม้เขตร้อนที่สำคัญและเป็นที่อยู่ของชาวอินเดียน

ที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา-ปารากวัย-อุรุกวัย บริเวณที่แม่น้ำทั้ง 3 สายไหลมาบรรจบกันมีลักษณะเป็นอ่าวใหญ่ เรียกว่า รีโอเดลาปลาตา

3. เขตที่ราบสูงทางด้านตะวันออก แบ่งเป็น 4 เขต ได้แก่

ที่ราบสูงกีอานา มีน้ำตกที่สูงที่สุดในโลก คือ น้ำตกเอนเจล

ที่ราบสูงบราซิล เป็นที่ราบสูงระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนกับลุ่มแม่น้ำปารานาและประเทศปารากวัย

ที่ราบสูงมาตูโกรสซู เป็นเขตทุ่งหญ้าเขตร้อนในประเทศบราซิล

ที่ราบสูงปาตาโกเนีย เป็นที่ราบสูงเชิงเขาทางด้านตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสไปจดมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นเขตค่อนข้างแห้งแล้ง

แหล่งน้ำในทวีปอเมริกาใต้

แหล่งน้ำจืดที่สำคัญ มีดังนี้

1. แม่น้ำ ได้แก่

แม่น้ำแอมะซอน

เกิดจากเทือกเขาแอนดีสในประเทศเปรู

ภาพจาก : https://kanokwan075.wordpress.com/2014

แม่น้ำปารานา

เกิดจากที่ราบสูงทางด้านตะวันออก

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81

แม่น้ำปารากวัย

เกิดจากที่ราบสูงในประเทศบราซิลทางตอนกลางของทวีป

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/

แม่น้ำโอรีโนโก

เกิดจากที่ราบสูงกีอานาทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวเนซุเอลา

ภาพจาก : https://th.erch2014.com/obschestvo

แม่น้ำมักดาเล

เกิดจากเทือกเขาแอนดีส

ภาพจาก : https://www.istockphoto.com/th/

แม่น้ำเซาฟรังซีสกู

เกิดจากเทือกเขาในเขตที่ราบสูงบราซิ

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81

2. ทะเลสาบ ได้แก่ ทะเลสาบตีตีกากาซึ่งอยู่ระหว่างประเทศเปรูและโบลิเวีย เป็นทะเลสาบที่ใช้ในการขนส่ง

ภาพจาก : https://kanokwan075.wordpress.com/2014

ภูมิอากาศ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศ ได้แก่

1. ที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ทวีปอเมริกาใต้ตั้งอยู่ในเขตละติจูด จึงอยู่ในเขตร้อน

2. ลักษณะภูมิประเทศ มีเทือกเขาต่างๆเป็นกำแพงขวางกั้นความชื้นและลมประจำที่พัดจากทะเล ทำให้บางบริเวณมีภูมิอากาศแห้งเป็นเขตทุ่งหญ้าและทะเลทราย

3. กระแสน้ำ ทางด้านตะวันตกกระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์หรือกระแสน้ำเย็นเปรู ทำให้ชายฝั่งด้านนี้มีอากาศเย็นและมีความชื้นต่ำในฤดูร้อน ส่วนด้านตะวันออกกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกใต้ ทำให้บริเวณชายฝั่งมีอากาศอบอุ่นและมีความชื้นสูง

4. ลมประจำ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตลมสงบบริเวณเส้นศูนย์สูตร และเขตอิทธิพลลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือและลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ชายฝั่งตะวันออกมีฝนตกชุกประเทศในเขตละติจูดต่ำจะร้อน ยกเว้นบริเวณเทือกเขาและที่ราบสูงซึ่งมีอุณหภูมิลดลงตามระดับความสูง

เขตภูมิอากาศ จำแนกเป็น 8 เขต ดังนี้

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31720

1. ภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดิบชื้น เรียกว่าเซลวาส

2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง

3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ส่วนใหญ่เป็นพืชที่ทนความแห้งแล้ง

4. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย พืชพรรณตามธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้นในเขตอบอุ่น

5. เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้ายาวแบบเดียวกับทุ่งหญ้าแพรรีในทวีปอเมริกาเหนือ เรียกว่า ทุ่งหญ้า ปัมปา

6. เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดิบชื้นในเขตอุ่นซึ่งมีไม้ขนาดใหญ่

7. เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ไม้พุ่มมีหนาม ไม้คอร์กโอ๊ก ต้นไม้มีรากลึก เปลือกหนา และพืชจำพวกมะกอก

8. เขตภูมิอากาศแบบที่สูง อุณหภูมิและปริมาณฝนจะลดลงตามระดับความสูง

ทรัพยากรธรรมชาติ จำแนกได้ดังนี้

1. ดิน มีดินตะกอนที่อุดมสมบูรณ์ 2 ชนิด คือ ดินภูเขาไฟ และ ดินในเขตทุ่งหญ้าปัมปา

2. ป่าไม้ ทวีปอเมริกาใต้มีป่าดิบชื้นมากที่สุดในโลก

3. สัตว์ป่า มีสัตว์ประจำถิ่นที่บางชนิดนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง

4. พลังงาน แหล่งพลังงานสำคัญ ได้แก่ ปิโตรเลียม ถ่านหิน และ พลังงานน้ำ

5. แร่ มีกระจัดกระจายอยู่ในส่วนต่าง ๆ แร่ที่มี เช่น ทองคำ เงิน ทองแดง บ็อกไซต์ และ เหล็ก

2. ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาใต้

จำนวนประชากร

สถิติเมื่อ ค.ศ. 2011 ระบุว่าทวีปอเมริกาใต้มีประชากรประมาณ 398 ล้านคน อัตราความหนาแน่นประมาณ 22 คนต่อตารางกิโลเมตร

เชื้อชาติ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มอินเดียน เป็นชนพื้นเมือง

2. กลุ่มผิวขาว เป็นพวกที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน

3. กลุ่มผิวดำ ชาวผิวขาวได้นำชาวผิวดำจากทวีปแอฟริกาเข้ามาเป็นแรงงาน ต่อมากลุ่มผิวดำได้แต่งงานกับพวกผิวขาวทำให้เกิดลูกเลือดผสม เรียกว่า มูแลตโต

ภาษา

อเมริกาใต้ส่วนใหญ่ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ ยกเว้นบราซิล (ใช้ภาษาโปรตุเกส) กายอานา (ใช้ภาษาอังกฤษ) ดินแดนเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ใช้ภาษาฝรั่งเศส) และซูรินาเม (ใช้ภาษาดัตช์)

ศาสนา

ประชากรมากกว่าร้อยละ 90 นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์มีผู้นับถือน้อย และ ผู้ที่อพยพเข้ามาใหม่ยังมีการนับถือศาสนาอื่น

การกระจายของประชากร

เขตที่มีประชากรหนาแน่นจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการดำรงชีวิต ได้แก่

- เขตชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก

- เขตที่ราบสูงของเทือกเขาแอนดีส

- เขตเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศต่าง ๆ

เศรษฐกิจ อาชีพสำคัญ ได้แก่

1. การเกษตร ประกอบด้วย

การเพาะปลูก ส่วนใหญ่เพาะปลูกพืชไว้เลี้ยงตนเองหรือจำหน่ายในท้องถิ่น

กาแฟ มีการส่งออกกาแฟออกสู่ตลาดประมาณร้อยละ 50 ของโลก

ภาพจาก : https://www.bangkokbanksme.com

ภาพจาก : https://derechoambientalcolombiano.org

โกโก้

เป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนชื้นของทวีป

ภาพจาก : https://www.bloggang.com/mainblog.php

กล้วยและอ้อย

ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น

ภาพจาก : https://pixabay.com/th/photos/%E0%B8%95%

ข้าวสาลี

เป็นสินค้าที่สำคัญ

ภาพจาก : https://cth.co.th/health-benefits-of-wheat/

ข้าวโพด

เป็นสินค้าออกสำคัญที่ปลูกมากในประเทศบราซิล

ภาพจาก : https://hellokhunmor.com/%E0%B9%82%

ฝ้าย

ปลูกมากในบราซิลและอาร์เจนตินา

ภาพจาก : https://twitter.com/samrujlok/status

การเลี้ยงสัตว์ สัตว์เลี้ยงสำคัญ ได้แก่

โคเนื้อ ถือเป็นแหล่งโคเนื้อชั้นนำของโลกทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ

สุกร เลี้ยงเป็นจำนวนมากที่เปรูและบราซิล

2. การทำป่าไม้ ทวีปอเมริกาใต้ใช้ป่าไม้ในทางเศรษฐกิจน้อยแต่ยังมีผลผลิตจากป่ามากมาย

3. การทำประมง น่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกทางชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมเขตหนึ่งของโลก

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31720

4. การทำเหมืองแร่ ทวีปอเมริกาใต้มีแร่สำคัญ ดังนี้

ทองแดง มีแร่ทองแดงสำรองประมาณ 1 ใน 4 ของโลก

เหล็ก มีปริมาณแร่เหล็กสำรองประมาณ 1 ใน 5 ของโลก

ดีบุก ประเทศโบลิเวียผลิตดีบุกได้มากเป็นลำดับ 2 ของโลก

สังกะสี ผลิตได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

ทองคำ ผลิตได้บ้างเล็กน้อยในเกือบทุกประเทศ

ปิโตรเลียมแหล่งผลิตอันดับต้นๆของโลกคือประเทศเวเนซุเอลา

บ็อกไซต์ ผลิตมากในประเทศเวเนซุเอลา และประเทศซูรินาเม

5. อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเบาและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรแต่ปัจจุบันหลายประเทศได้พัฒนาอุตสาหกรรมหนักโดยมีแหล่งอุตสาหกรรมในเขตเมืองหลวงและเมืองใหญ่เป็นส่วนใหญ่

6. การค้า สินค้าเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุสำเร็จรูปจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนสินค้าออก ได้แก่วัตถุดิบแลtผลผลิตทางการเกษตรซึ่งประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้มักจะเสียดุลการค้าเสมอมีเพียงประเทศบราซิลและประเทศเวเนซุเอลาเท่านั้นที่ได้เปรียบดุลการค้า

การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคมขนส่ง ยังกระจายไม่ทั่วทุกภูมิภาค การคมนาคมที่สะดวกมีเฉพาะเขตที่ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ไม่ร้อนหรือแห้งแล้งเกินไป และมีประชากรหนาแน่น ซึ่งลักษณะการคมนาคมขนส่ง มีดังนี้

1. ทางบก แบ่งเป็น

ทางรถยนต์ มีถนนสายหลัก คือ ทางหลวงสายแพนอเมริกัน มีเส้นทางตัดเชื่อมไปยังเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศต่าง ๆ ทำให้เศรษฐกิจในหลายประเทศดีขึ้น

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31720

ทางรถไฟ ส่วนใหญ่มีระยะสั้น ๆ เชื่อมเมืองใหญ่หรือเมืองท่าระหว่างพื้นที่ชายฝั่งกับที่ราบภาคใต้

2. ทางน้ำ แบ่งเป็น

แม่น้ำ ลำคลอง เส้นทางที่ใช้ภายในทวีป ได้แก่ แม่น้ำปารานา

ทะเล มหาสมุทรสามารถเดินเรือสมุทรกับทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรปผ่านทางด้านชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/31720

3. ทางอากาศ ประเทศบราซิลและอาร์เจนตินาได้สร้างท่าอากาศยานทั้งภายในและระหว่างประเทศที่ทันสมัยหลายแห่งส่วนประเทศอื่นๆ แม้จะมีการใช้เครื่องบินน้อยกว่า แต่ก็ยังต้องพึ่งพาการคมนาคมทางอากาศ

ทวีปแอฟริกา

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/lite/knowledge/view/32018

1. ลักษณะทางกายภาพของทวีปแอฟริกา

ที่ตั้ง อาณาเขต และขนาด ทวีปแอฟริกามีครึ่งหนึ่งอยู่ซีกโลกเหนือ และอีกครึ่งหนึ่งอยู่ซีกโลกใต้ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

– ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อเกือบเป็นแผ่นดินเดียวกันกับทวีปยุโรป และเอเชีย โดยมีช่องแคบยิบรอลตาร์เป็นแนวแบ่งทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกา และคลองสุเอชแบ่งทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชีย ดินแดนทางเหนือสุด คือ แหลมบง

– ทิศตะวันออก จดทะเลแดง อ่าวเอเดน และมหาสมุทรอินเดีย เกาะของทวีปแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ เกาะมาดากัสการ์ และช่องแคบโมซัมบิกคั่นระหว่างเกาะนี้กับดินแดนภาคพื้นทวีป

– ทิศใต้ จดมหาสมุทรอินเดีย และแอตแลนติก ดินแดนทางใต้สุด คือ แหลมอะกะลัส

– ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแอตแลนติก มีอ่าวกินีทางตอนกลางทวีป ดินแดนตะวันตกสุด คือ แหลมอัลมาดีเอส

ทวีปแอฟริกามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีเนื้อที่ 30,244,020 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งได้ 3 เขต ดังนี้

เขตที่ราบสูงและภูเขาสูง มีอยู่ 3 บริเวณ ได้แก่

– เขตที่ราบสูงและภูเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือ

– เขตที่ราบสูงและภูเขาสูงทางตะวันออก

– เขตภูเขาและที่ราบสูงทางใต้

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ มี 4 แห่ง ดังนี้

ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์

ภาพจาก : https://www.roboci.com/nile-river

ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/

ที่ราบลุ่มแม่น้ำแซมบีซี

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/

ที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก

ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/

เขตที่ราบสูงทางตะวันตก เป็นที่ราบสูงหินเก่า มีอาณาเขตตั้งแต่ทะเลทรายสะฮาราถึงอ่าวกินี

แหล่งน้ำในทวีปแอฟริกา เป็นแหล่งน้ำจืด ได้แก่

แม่น้ำ มีแม่น้ำสายสำคัญดังนี้

– แม่น้ำไนล์

– แม่น้ำคองโก

– แม่น้ำไนเจอร์

– แม่น้ำแซมบีซี

– แม่น้ำออเรนจ์

– แม่น้ำลิมโปโป

ทะเลสาบน้ำจืด อยู่ 3 แห่ง คือ ทะเลสาบวิกตอเรีย ทะเลสาบแทนกันยีกา และทะเลสาบมาลาวี

ภูมิอากาศ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศ ได้แก่

– ที่ตั้ง เส้นศูนย์สูตรลากผ่านตอนกลางของทวีป ทำให้เนื้อที่ 3 ใน 4 ส่วนอยู่ในเขตร้อน อีก 1 ส่วนอยู่ในเขตอบอุ่น

– ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ทางตอนกลางของทวีปตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร จึงได้รับอิทธิพลความชื้นและมวลอากาศจากทะเลน้อยมาก

– กระแสน้ำ บริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ไหลมาบรรจบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม บริเวณชายฝั่งของโมร็อกโกและดินแดนเวสเทิร์นสะฮารามีกระแสน้ำเย็นคะแนรีจะมีอากาศไม่ร้อนมากแต่บริเวณที่กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่านฤดูหนาวจะมีอากาศอบอุ่นชื้น

– ทิศทางลมประจำ ลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากที่ต่างมาสู่ชายฝั่ง ล้วนมีผลต่อภูมิอากาศทั้งสิ้น

เขตภูมิอากาศ จำแนกได้ 6 เขต ดังนี้

– ภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน มีพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าทึบหรือป่าดิบ

– ภูมิอากาศร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสะวันนา มีพืชพรรณธรรมชาติเป็นต้นไม้สลับทุ่งหญ้า

– ภูมิอากาศแบบทะเลทราย มีพืชพรรณธรรมชาติ เช่น อินทผลัม กระบองเพชร

– ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย มีพืชพรรณธรรมชาติเป็นแบบทุ่งหญ้าสเตปป์

– ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีพืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ มะกอก

– ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น มีพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบ ใบไม้กว้าง และไม้พุ่ม

ภาพจาก : https://www.trueplookpanya.com/lite/knowledge/view/32018

ทรัพยากรธรรมชาติ

– ดิน ไม่ค่อยมีความสมบูรณ์ เพราะแร่และสารอาหารในดินย่อยสลายเร็ว

– ป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้คิดเป็น 1 ใน 5 ของทั้งทวีป ส่วนใหญ่จะปลูกป่าเพื่อการดำรงชีวิต

– สัตว์ในธรรมชาติ ทวีปแอฟริกามีสัตว์หลากหลายชนิด แต่มีการล่าสัตว์ทำให้สัตว์ในธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จึงจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติ

– พลังงาน ส่วนใหญ่มาจากแหล่งพลังงาน ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงานน้ำและ นิวเคลียร์ซึ่งทวีปนี้มีแร่ยูเรเนียมจำนวนมาก

– แร่ เป็นสินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ ผลิตมากในแอฟริกาใต้ ซิมบับเว และกานา เพชร


2. ลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทวีปแอฟริกา

ประชากร ความหนาแน่นของประชากรน้อย

จำนวนประชากร สถิติใน พ.ศ. 2553 ทวีปแอฟริกามีประชากรประมาณ 1,030 ล้านคน มีประชากร 34 คนต่อตารางกิโลเมตร

เชื้อชาติ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

– กลุ่มผิวดำ เป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา เรียกว่า นิกรอยด์ มีผิวสีดำ ผมหยิกหย็อง

– กลุ่มผิวขาว เป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมที่มีผิวขาว

ภาษา แบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

– กลุ่มภาษาเซมิติก

– กลุ่มภาษาซูดาน

– กลุ่มภาษาบันตู

– กลุ่มภาษาเฮาซา

ศาสนา บางส่วนที่นับถือศาสนา ได้แก่ คริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์–ฮินดู และมีส่วนน้อยนับถือศาสนายูดาห์ ซึ่งมีผู้นับถือคริสต์ศาสนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

การกระจายของประชากร

– เขตที่มีประชากรหนาแน่น เป็นบริเวณที่อากาศไม่ร้อนจนเกินไป มีดินอุดมสมบูรณ์ และอยู่ใกล้แหล่งน้ำ

– เขตที่มีประชากรเบาบาง เป็นบริเวณที่อากาศร้อนและแห้งแล้งมาก

เศรษฐกิจ ทวีปแอฟริกามีอาชีพที่สำคัญ ดังนี้

การเกษตร ประกอบด้วย

การเพาะปลูก ซึ่งลักษณะการเพาะปลูกจะต่างกันตามสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศดังนี้

– เขตร้อนชื้น มีภูมิอากาศร้อนชื้น และเพาะปลูกพืชเมืองร้อน

– เขตลุ่มน้ำไนล์ เป็นเขตภูมิอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่ได้รับน้ำจากการชลประทาน

– เขตเมดิเตอร์เรเนียน ปลูกพืชแบบเมดิเตอร์เรเนียน

– เขตอบอุ่นชื้น ปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด ไม้ผล

การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงสัตว์อย่างแพร่หลาย ซึ่งสัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่

– โคพันธุ์พื้นเมือง เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานและเป็นอาหาร

– โคพันธุ์ต่างประเทศ เลี้ยงไว้เพื่อใช้เนื้อและนม

– แพะและแกะ นิยมเลี้ยงแบบเร่ร่อน

– อูฐ ใช้เป็นพาหนะและเป็นอาหาร

– ลา ใช้เป็นพาหนะในเขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย

การล่าสัตว์ มีมากจนสัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว จึงจัดทำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งชาติขึ้น

การทำประมง ชาวแอฟริกันมีการทำประมงน้อย ส่วนแอฟริกาใต้จับปลามากที่สุดในทวีป ซึ่งบริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นเบงเกวลาไหลผ่าน จะมีอาหารอุดมสมบูรณ์และมีปลาชุกชุม

การทำป่าไม้ เป็นแหล่งป่าไม้เมืองร้อนที่สำคัญ แต่ผลิตไม้ได้น้อยกว่าทวีปอื่น

การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญมีดังนี้

– เพชร ผลิตได้ประมาณ 3 ใน 4 ของโลก

– ทองคำ ผลิตทองคำมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก

– พลอย

– ถ่านหิน

– น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ

– เหล็ก

– ทองแดง

อุตสาหกรรม แอฟริกาใต้เป็นประเทศเดียวที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในทวีป ส่วนประเทศอื่นก็มีอุตสาหกรรมแต่เบาบาง

การค้า มักเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบและนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปและอาหารทำให้เสียเปรียบดุลการค้า

ให้ประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ


การคมนาคมขนส่ง มีดังนี้

– ทางบก เนื่องจากค่าทางเศรษฐกิจน้อยและประชากรน้อย การสร้างเส้นทางคมนาคมจึงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

– ทางน้ำ เนื่องจากทวีปแอฟริกาอยู่ในเส้นทางเดินเรือระหว่างทวีปต่าง ๆ หลายประเทศได้มีการปรับท่าเรือ จนมีเมืองท่าขนาดใหญ่หลายเมือง

– ทางอากาศ ประเทศที่มีระบบการคมนาคมขนส่งทางอากาศที่ดีในทวีปแอฟริกา ได้แก่ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อียิปต์ เอธิโอเปีย เคนยา ไนจีเรีย และกานา