กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

กลไกราคา หมายถึงภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้าและบริการอันเกิดจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทานเมื่อผู้ผลิตพยายามปรับปรุงการผลิตและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคดังนั้นจะเห็นได้ว่าราคาสินค้าและบริการเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน ตลอดจนเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนราคาให้เข้าสู่จุดดุลยภาพ เช่น เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ก็จะลดลง แต่อุปทานของสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้น เป็นต้น

กลไกราคาจะพบได้ในทุกตลาด ยกเว้น ตลาดแบบผูกขาด เพราะกลไกราคาจะเกิดได้เฉพาะตลาดที่มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะของตลาดเสรีหรือประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยมหรือระบบเศรษฐกิจแบบผสมเท่านั้น โดยระบบเศรษฐกิจเหล่านี้จะมีกลไกราคาเป็นตัวกำหนดว่าจะผลิตสินค้าปริมาณเท่าใดและราคาเท่าใด

การกำหนดราคาสินค้าและบริการในทางเศรษฐกิจ กำหนดไว้ 2 วิธี คือ

1. ให้กลไกราคาเป็นเครื่องมือในการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน

2. รัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการด้วยการควบคุมและแทรกแซงราคาสินค้าและบริการด้วยวิธีกำหนดราคาเมื่อสินค้าที่จำเป็นขาดตลาด เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค , การประกันราคาขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต , การพยุงราคาสินค้าไม่ให้ตกต่ำมากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ให้ขาดทุน

ภาพจาก : https://passita5652.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0