ครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ อาจจำแนกกว้างๆ ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ให้ข้อมูลภูมิศาสตร์ เช่น แผนที่ ลูกโลก ข้อมูลสถิติ แผนภาพ

กลุ่มที่ใช้หาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เช่น เข็มทิศ เครื่องวัดระยะทางในแผนที่ เครื่องมือวัดพื้นที่ กล้อง สามมิติ บารอมิเตอร์ เทอร์โมมิเตอร์ ไซโครมิเตอร์ ไฮโกรมิเตอร์ มาตรวัดลม เครื่องวัดน้ำฝน

เครื่องมือเหล่านี้เราควรนำมาศึกษาให้เข้าใจ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาภูมิศาสตร์

1. เครื่องมือที่ให้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

1.1 ลูกโลก (globe)

ลูกโลก คือ หุ่นจำลองของโลก สร้างด้วยวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ ยาง พลาสติก เพื่อใช้ในการศึกษาภูมิศาสตร์ ลูกโลกช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโลก ต่างจากแผนที่ที่ให้ข้อมูลในเชิงพื้นราบ โลกมีรูปร่างคล้ายผลส้ม ลูกโลกแบ่งได้เป็น 2 แบบ แบบแรก คือ ลูกโลกที่แสดงส่วนที่เป็นพื้นผิวโลก เช่น แสดงส่วนที่เป็นพื้นน้ำ ได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร แสดงส่วนที่เป็นพื้นดิน ได้แก่ เกาะ ทวีป ประเทศ แบบที่สอง คือ ลูกโลกที่แสดงโครงสร้างภายในเปลือกโลก

ภาพจาก :https://www.pngmart.com/th/image/100435

ภาพจาก : http://toeytrn.blogspot.com/2015/05/

1.2 ข้อมูลสถิติ

ข้อมูล สถิติ เป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ข้อมูลที่รวบรวมไว้มีทั้งที่เป็นข้อความ และตัวเลขในทางภูมิศาสตร์นิยมแสดงข้อมูลสถิติไว้ 2 รูปแบบ ได้แก่

1) ตารางสถิติ คือ แผนภูมิที่แสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ไว้ในรูปของตาราง เช่น สถิติเนื้อที่ของทวีปหรือประเทศ สถิติประชากร สถิติอุณหภูมิหรือปริมาณน้ำฝนของบริเวณใดบริเวณหนึ่ง

2) กราฟและแผนภูมิ เขียนขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนค่าของตัวแปรหนึ่งเปรียบเทียบกับค่าของตัวแปร อื่นเป็นเครื่องมือสำคัญ อย่างหนึ่งในการศึกษาภูมิศาสตร์ เพราะจะช่วยให้การวิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูล ที่นำมาใช้มีความรวดเร็ว การเปรียบเทียบ อัตราส่วนข้อมูลทำได้สะดวก และเข้าใจได้ง่าย มีหลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟรูปแท่ง แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิรูปทรงกลม

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/renukorn0903532716/1-3-khxmul-sthiti?

3) แผนภาพ (diagram) แผน ภาพคือ รุปที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบคำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ทั้งนี้เพราะเรื่องราวทางภูมิศาสตร์บางอย่างเกิดขึ้นในอดีต เช่น การเกิดที่ราบ การทับถมของหินชั้น และปรากฏการณ์บางอย่างที่มองไม่เห็น เช่น วัฏจักรของน้ำ การเกิดลมบก-ลมทะเล การใช้แผนภาพอธิบายจะทำให้เข้าใจเรื่องราวเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/renukorn09035327

แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์

การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ นอกจากจะต้องรู้จักแผนที่อันเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์อย่างง่ายที่เป็นพื้นฐานแล้ว ก็ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ชนิดอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงออกมาอีกหลายรูปแบบ ซึ่งแม้อาจจะยังไม่มี ความจำเป็นต้องใช้หรือนำไปใช้ประโยชน์ในตอนนี้ แต่ก็ควรศึกษาทำความเข้าใจไว้บ้างเพราะจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการศึกษาสาระสังคมศึกษาหรือสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันก็จะทำให้มีทักษะเกิดความเข้าใจถึงพัฒนาการต่างๆ ของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และดำรงชีวิตในอนาคต

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/wwwarmzaza67com/home/www-armzaza67-com

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนที่

แผนที่เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ การจัดทำแผนที่ในปัจจุบันได้มีพัฒนาการขึ้นเป็นลำดับ มีการ

นำเอารูปถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวทียมมาช่วยในการทำแผนที่ ทำให้สามารถสร้างแผนที่ได้รวดเร็ว

มีความถูกต้องและทันสมัยกว่าในอดีต

ความหมาย แผนที่ (Map) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะและที่ตั้งของสิ่งต่างๆที่ปรากฏ อยู่บนผิวโลกโดยการย่อส่วนกับใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆนั้นลงในวัสดุพื้นแบนราบลักษณะของสิ่งที่แสดงปรากฏบนแผนที่ ประกอบด้วย

1) ลักษณะของสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ทะเล มหาสมุทร ทะเลสาบ แม่น้ำ ภูเขา ที่ราบ ที่ราบสูง เกาะ เป็นต้น

2) ลักษณะของสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เส้นกั้นอาณาเขต เมือง หมู่บ้าน สถานที่ราชการ ศาสนสถาน เส้นทางคมนาคมพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น

ความสำคัญของแผนที่

เนื่องจากแผนที่เป็นที่รวมข้อมูล ประเภทต่างๆ ตามประเภทหรือชนิดของแผนที่ จึงสามารถใช้ประโยชน์

จากแผนที่ได้ตามวัตถุประสงค์ทั้งนี้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเห็นพื้นที่จริงหรือหากจะใช้แผนที่เพื่อการเดินทางก็จะสะดวกและถึงที่หมายได้ถูกต้อง

1. เส้นโครงแผนที่ (map projection)

เส้นโครงแผนที่เป็นระบบของเส้นขนานและเส้นเมริเดียนที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ให้เป็นมาตรฐานไว้ใช้อ้างอิงร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย

1) เส้นขนาน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันออก สร้างขึ้นจากการวัดมุมเริ่มจากเส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีค่ามุม 0 องศาไปยังขั้วโลกทั้งสองด้านละไม่เกิน 90 องสา เส้นขนานที่สำคัญประกอบด้วย

1. เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นอิเควเตอร์ มีค่ามุม 0 องศา

2. เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิปดาเหนือ

3. เส้นทรอปิกอฟแคปริคอร์น มีค่ามุม 23 องศา 30 ลิดาใต้

4. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ

5. เส้นอาร์กติกเซอร์เคิล มีค่ามุม 66 องศา 30 ลิปดาใต้

2) เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ สร้างขึ้นจากการสมมติเส้นเมริเดียนปฐม มีค่ามุม 0 องศา ลากผ่านตำบลกรีนิซ กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ด้านละ 180 องศา โดยเส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและ 180 องศาตะวันตก จะทับกันเป็นเส้นเดียวนี้ให้เป็นเส้นวันที่หรือเส้นแบ่งเขตวันระหว่างชาติ หรือเส้นแบ่งเขตวันสากล

ภาพจาก : http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/02/X11702840/X11702840.html

เส้นเมริเดียนแรก หรือ เส้นเมริเดียนปฐม ( Prime Meridian ) คือเส้นเมริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวแห่งหนึ่ง ตำบล กรีนิช ใกล้กรุงลอนดอนในประเทศอังกฤษทั้งนี้เพื่อใช้เป็นหลักอ้างอิงในการนับเส้นเมริเดียนอื่น ๆ ต่อไป เส้นเมริเดียนรอบโลก มี 360 เส้น แบ่งเป็นเส้นองศา ตะวันออก 180 เส้น และเส้นองศาตะวันตก180 เส้น

ความสำคัญของเส้นเมริเดียน คือ บอกพิกัดของตำแหน่งที่ตั้งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกโดยใช้ร่วมกันเส้นขนาน ( เส้นละติจูด ) และใช้เป็นแนวแบ่งเขตเวลาของโลก

2. ชนิดของแผนที่

โดยทั่วไปแบ่งแผนที่ได้เป็น 3 ชนิด ตามการใช้งาน ได้แก่

1.) แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะความสูงต่ำของพื้นผิวโลก โดยใช้เส้นชั้นความสูงบอกค่าความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางแผนที่ชนิดนี้ถือเป็นแผนที่มูลฐานที่จะนำไปทำข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวกับแผนที่

ภาพาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Topographic_map

2.) แผนที่เฉพาะเรื่อง(Thematic Map) เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะได้แก่ แผนที่รัฐกิจแสดงเขตการปกครองหรืออาณาเขต แผนที่แสดงอุณหภูมิของอากาศ แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝน แผนที่ประวัติศาสตร์เป็นต้น

ภาพจาก : https://www.researchgate.net/figure/Thematic-map-Average-rise-time-of-positive

3.) แผนที่เล่ม (Atlas ) เป็นแผนที่ที่รวบรวมเรื่องต่างๆ ทั้งลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะทางสังคม แผนที่ภูมิอากาศ ไว้ในเล่มเดียวกัน

ภาพจาก : https://www.worldatlas.com/continents

3. องค์ประกอบของแผนที่

สามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่างๆป่าไม้ ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

3.1 ชื่อแผนที่ (map name)เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับให้ผู้ใช้ได้ทราบว่าเป็นแผนที่เรื่อง อะไร แสดงรายละเอียดอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้ได้อย่างถูกต้อง และตรงความต้องการ โดยปกติชื่อแผนที่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติมแสดงไว้ด้วยเช่น แผนที่ประเทศไทยแสดงเนื้อที่ป่าไม้ แผนที่ระเทศไทยแสดงการแบ่งภาคและเขตจังหวัดเป็นต้น

3.2 ขอบระวาง (border) แผนที่ทุกชนิดจะมีขอบระวาง ซึ่งเป็นขอบเขตของพื้นที่ในภูมิประเทศที่แสดงบนแผนที่ แผ่นนั้น มักจะแสดงด้วยเส้นขนานเพื่อแสดงตำแหน่งละติจูดกับเส้นเมริเดียนเพื่อแสดง ตำแหน่งลองจิจูด และจะแสดงตัวเลขเพื่อบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งต่างๆ

3.3 พิกัด (coordinate) พิกัดเป็นตัวกำหนดตำแหน่งต่างๆ บนแผนที่ โดยทั่วไปนิยมใช้อยู่ 2 แบบ คือ

3.3.1 พิกัดภูมิศาสตร์ (geographic coordinate)

พิกัดภูมิศาสตร์เป็นระบบที่บ่งบอก ตำแหน่งที่ตั้งของจุดตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก โดยอาศัยโครงข่ายของเส้นโครงแผนที่ซึ่งประกอบด้วยเส้นเมริเดียนกับเส้นขนาน ตัดกันเป็น “ จุด”

1.) ละติจูด (Latitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้จนถึง 90 องศา ที่ขั้วโลกทั้งสอง

2.) ลองจิจูด (Longitude ) เป็นค่าของระยะทางเชิงมุม โดยนับ 0 องศา จากเส้นเมริเดียน ไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จนถึง 180 องศา

ปัจจุบันการบ่งบอกจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก สามารถทราบได้ง่ายและถูกต้องโดยใช้จีพีเอสเครื่องมือกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิว โลก (GPS: Global Positioning System) เครื่องมือชนิดนี้ มีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก และให้ข้อมูลตำแหน่งบนพื้นผิวดลกได้ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นจึงมีผู้นำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้สะดวกสบายในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การเดินเรือ การเดินทางท่องเที่ยวป่า การเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน เป็นต้น เมื่อกดปุ่มสวิตช์เครื่องจะรับ

3.3.2 พิกัดกริด เป็นการกำหนดตำแหน่งที่ วัดเป็นระยะทาง ของค่าเหนือ(เส้นในแนวนอน(N= northing)) กับค่า ตะวันออก (เส้นในแนวตั้ง (E= easting)) เพื่อให้ทราบว่าตำแหน่งนั้นอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรเป็นระยะทางกี่เมตร และห่างจากเส้นกึ่งกลางโซนแผนที่นั้นระยะทางกี่เมตร ในแผนที่ภูมิประเทศ 1: 50,000 จะมีระบบพิกัดกริดที่ตีเป็นตารางขนาด 2x2 เซนติเมตร(1 ช่อง 2x2 เซนติเมตร มีพื้นที่จริง 1 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งแต่ละเว้นจะมีตัวเลขกำกับบอกค่าระยะทางของค่าเหนือและค่าตะวันออก

3.4 ทิศทาง (direction) มีความสำคัญต่อการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ โดยในสมัยโบราณใช้วิธีดูทิศทางตามการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ในเวลากลางวันและการดูทิศทางของดาวเหนือในเวลากลางคืนต่อมามีการประดิษฐ์เข็มทิศซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยในการหาทิศขึ้นเนื่องจากเข็มของเข็มทิศจะชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลาการใช้ทิศทางในแผนที่ประกอบกับเข็มทิศหรือการสังเกตดวงอาทิตย์และดาวเหนือจึงช่วยให้เราสามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่เราต้องการได้ในแผนที่จะต้องมีภาพเข็มทิศหรือลูกศรชี้ไปทางทิศเหนือเสมอถ้าหากแผนที่ใดไม่ได้กำหนดภาพเข็มทิศหรือลูกศรไว้ก็ให้ใจว่าด้านบานของแผนที่คือทิศเหนือ

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/wkhunnarong2538

4. มาตราส่วน (map scale)

มาตราส่วนหมายถึง สิ่งแสดงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางที่ปรากฏ จริงบนผิวโลก เนื่องจากแผนที่เป็นภาพย่อส่วนของพื้นโลก จึงจำเป็นต้องมีมาตราส่วนกำกับไว้ในแผนที่ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ทราบว่ามาตราส่วนในแผนที่นั้นใช้แทนระยะทางบนพื้นผิว โลกมากน้อยเพียงใด มาตราส่วนที่นิยมใช้มีอยู่ 3 ขนิด ดังนี้

1) มาตรส่วนคำพูด (verbal scale) คือมาตราส่วนที่บอกโดยตรงว่าระยะทางในแผนที่ 1 หน่วย แทนระยะทางในพื้นที่จริงเท่าไร เช่น "1 เซนติเมตร เท่ากับ 20 กิโลเมตร"

2) มาตราส่วนเส้น (graphic scale) หรือมาตราส่วนรูปแท่ง (bar scale) คือมาตราส่วนที่แสดงด้วยเส้นตรงหรือรูปแท่งที่มีตัวเลขกำกับไว้เพื่อบอกความ ยาวบนแผนที่แทนระยะทางจริงบนพื้นโลก โดยมีหน่วยความยาวที่นิยมใช้ คือ กิโลเมตรและไมล์ ซึ่งผู้ใช้แผนที่สามารถหาระยะทางจริงได้โดยใช้ไม้บรรทัดวัดระยะต่างๆที่ต้อง การทราบ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับมาตราส่วนที่กำหนดไว้ในแผนที่นั้น

3) มาตราส่วนแบบเศษส่วน (representative fraction) คือมาตราส่วนที่แสดงด้วยตัวเลขอัตราส่วน เช่น เศษ 1 ส่วน 50,000 หรือ 1: 50,000 หรือหมายความว่าระยะทาง 1 หน่วยเท่ากับระยะทาง 50,000 หน่วยบนพื้นโลก

5. ชื่อภูมิศาสตร์ (geographic name) คือตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่มีความสำคัญในแผนที่ รูปแบบชื่อภูมิศาสตร์ที่นิยมใช้ในแผนที่ทั่วไป มีดังนี้

1) ทวีป ประเทศ รัฐ เกาะใหญ่ และคาบสมุทร นิยมใช้ตัวตรงภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เช่น

ทวีปเอเชีย ASIA

ประเทศไทย THAILAND

คาบสมุทรมลายู MALAY PENINSULA

2) เมืองหลวง เมืองใหญ่ นิยมใช้ตัวตรง ภาษาอังกฤษตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ และต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น

กรุงเทพฯ Krung Thep

เป่ย์จิง Beijing

วอชิงตัน ดี.ซี. Washington, D.C.

3) มหาสมุทร อ่าวใหญ่ ทะเลใหญ่ ทะเลสาบใหญ่ ภูเขา ทุ่งหญ้า ทะเลทรายใหญ่ ที่ราบสูง นิยมใช้ ตัวเอน ภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เช่น

มหาสมุทรแปซิฟิก PACIFIC OCEAN

ทะเลจีนใต้ SOUTH CHINA SEA

ที่ราบสูงโคราช KHORAT PLATEAU

4) แม่น้ำ ลำธาร อ่าวขนาดเล็ก เกาะ ช่องแคบ ทะเลทรายขนาดเล็ก โอเอซิส ที่ลุ่ม นิยมใช้ตัวเอน ภาษาอังกฤษตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ และต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น

แม่น้ำโขง Mekong River

อ่าวบ้านดอน Ao Bandon

ช่องแคบมะละกา Strait of Malacca

5) เขื่อน ถนน ท่อน้ำ ท่อก๊าซ แหล่งอารยธรรมโบราณ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ นิยมใช้ตัวเอนขนาดเล็ก ภาษาอังกฤษตัวแรกใช้ตัวพิมพ์ใหย่ และต่อด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น

เขื่อนสิริกิติ์ Sirkit Dam

ทางหลวงสายเอเชีย Asian Highway

6. สัญลักษณ์ (symbol) และคำอธิบาย

สัญลักษณ์ (legend)เป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ ในภูมิประเทศจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้อย่างถูกต้องทั้งนี้ในแผนที่จะต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ประกอบไว้ด้วยเสมอ

สัญญลักษณ์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1) สัญญลักษณ์ที่เป็นจุด (point symbol) เป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้แทนสถานที่ และกำหนดสถานที่ตั้ง เช่น วัด โรงเรียน สนามบิน ตัวเมือง ลักษณะจุดที่แสดงอาจเป็นรูปร่างทรงเรขาคณิต หรือรูปร่างต่างๆก็ได้

2) สัญญลักษณ์ที่เป็นเส้น (line symbol) เป็นสัญญลักษณืที่ใช้แทนสิ่งต่างๆที่เป็นเส้นมีระยะทาง เช่น แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ เส้นแบ่งเขตการปกครอง ลักษณะเส้นที่แสดงอาจมีรูปร่าง สีต่างๆกันก็ได้

3) สัญญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ (ared symbol) เป็นสัญญลักษณ์ที่ใช้แสดงบริเวณพื้นที่ของสิ่งต่างๆที่ปรากฏในภูมิประเทศ เช่น พื้นที่การเกษตร พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ดินเค็ม ลักษณะพื้นที่ที่แสดงอาจให้มีรูป

ภาพจาก : http://jakkrit-geography1.blogspot.com/2010/07/1-map.html

7. สี (color)

สีที่ใช้เป็นมาตรฐานในแผนที่มี 5 สี คือ

1) สีดำ ใช้แทนสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น วัด โรงเรียน หมู่บ้าน และใช้แทนเส้นกริดและเลขกำกับ

เส้นกริด

2) สีแดง ใช้แทนถนนและรายละเอียดพิเศษอื่นๆ

3) สีน้ำเงิน ใช้แทนบริเวณที่เป็นน้ำ เช่น ทะเล มหาสมุทร

4) สีน้ำตาล ใช้แทนความสูง เช่น เส้นชั้นความสูง เลขกำกับชั้นความสูง

5) สีเขียว ใช้แทนพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่การเกาตร

สีอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้แทนรายละเอียดต่างๆ บางอย่าง ซึ่งจะอธิบายไว้ในคำอธิบายสัญญลักษณ์

8. ความสูงและทรวดทรงของภูมิประเทศ

พื้นผิวโลกมีระดับสูงและต่ำของภูมิประเทศแตกต่างกัน การเขียนแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ จึงต้องแสดงระดับความสูง-ต่ำของภูมิประเทศเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง กัน

8.1 การบอกระดับภูมิประเทศ ใช้ระดับทะเลปานกลาง (mean sea-level) ซึ่งมีตัวย่อว่า รทก.(msl)

เป็นเกณฑ์กำหนดความสูง แผนที่แสดงระดับความสูงนิยมแสดงแตกต่างกัน 4 รูปแบบ ดังนี้

1) เส้นชั้นความสูง (contour line) คือเส้นสมมติที่ลากผ่านบริเวณต่างๆ ของภูมิประเทศที่มีความสูงเท่ากัน และมีตัวเลขกำกับค่าของเส้นชั้นความสูงนั้นๆเสมอ

2) การใช้แถบสี (layer tinting) คือการจำแนกความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ ทั้งที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำโดยใช้แถบสี สีที่นิยมใช้ในแผนที่เพื่อแสดงความสูง-ต่ำ ของภูมิประเทศ มีดังนี้

ภาพจาก : https://sites.google.com/site/renukorn09035327

พื้นดิน กำหนดสีแสดงลักษณะภูมิประเทศไว้ ดังนี้

สีเขียว แสดงที่ราบ ที่ต่ำ

สีเหลือง แสดงเนินเขาหรือที่สูง

สีเหลืองแก่ แสดง ภูเขาสูง

สีน้ำตาล แสดง ภูเขาสูงมาก

สีขาว แสดง ภูเขาที่มีหิมะปกคลุม

พื้นน้ำ สีที่นิยมใช้เพื่อบอกความลึกของแหล่งน้ำในแผนที่ มีดังนี้

สีฟ้าอ่อน แสดง ไหล่ทวีป หรือเขตทะเลตื้น

สีฟ้าแก่ แสดง ทะเลลึก

สีน้ำเงิน แสดง ทะเล หรือมหาสมุทรลึก

สีน้ำเงินแก่ แสดง น่านน้ำที่มีความลึกมาก

3) เส้นลายขวานสับ หรือเส้นลาดเขา(hachure) เป็นเส้นขีดสั้นๆ เรียงกันตามทิศทางลาดของพื้นดิน เพื่อแสดงรูปทรงของภูมิประเทศนั้นหากเป็นพื้นที่ชันสัญญลักษณ์ในแผนที่ภูมิประเทศจะแสดงด้วยเส้นขีดที่สั้นหนาและชิดกันหากเป็นพื้นที่ลาดเทมักแสดงด้วยเส้นขีดยาวบางและห่างกันเส้นลายขวานสับแสดงให้ทราบเฉพาะความสูงของภูมิประเทศส่วนความสูงที่แผนที่กำหนดขึ้นเป็นตัวเลขไม่นิยมแสดงไว้ในแผนที่ที่ใชhเครื่องหมายเส้นลายขวานสับ

4) การแรเงา(shading)เป็นการแสดงความสูงของภูมิประเทศอย่างหยาบๆโดยเขียนหรือแรเงาพื้นที่ให้มีลักษณะเป็นภาพสามมิติหรือมีทรวดทรงขึ้น

8.2 การอ่านเส้นชั้นความสูง

แผนที่ภูมิประเทศที่ใช้เส้นชั้นความสูงของผิวโลก ได้แก่ รูปร่าง ความลาดเท และความสูงของภูเขาหรือเนินเขา เส้นชั้นความสูงจะแสดงไว้เป็นช่วงๆ อย่างเป็นลำดับ โดยใช้หน่วยเดียวกัน เช่น หน่วยความยาวเป็นเมตร จึงอาจสมมติให้ช่วงของเส้นชั้นความสูงห่างกัน 50 เมตร ได้แก่ 0 50 100 150 200 หรือหน่วยความยาวเป็นฟุต อาจกำหนดให้ชั้นความสูงให้ห่างกัน 1,000 ฟุต ได้แก่ 0 1,000 2,000 3,000

ความสูงของภูมิประเทศ เส้นชั้นความสูงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศมีความหมายดังนี้

1) เส้นความสูงที่มีรูปร่างคล้ายวงกลม แสดงว่าลักษณะภูมิประเทสจริงที่ปรากฏในแผนที่นั้นเป็นเนินเขาหรือภูเขารูปกรวย

2) เมื่อไม่มีเส้นชั้นความสูงปรากฏในวงกลมหรือสี่เหลี่ยมด้านในของแผนที่ ภูมิประเทศ แสดงว่าลักษณะภูมิประเทศจริงที่ปรากฏในแผนที่นั้นเป็นที่ราบสูง

3) เมื่อเส้นชั้นความสูงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศแสดงไว้ชิดกันมากในบริเวณใด แสดงว่าลักษณะภูมิประเทศจริงที่ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศของบริเวณนั้นเป็น หน้าผา

ภาพจาก : http://jakkrit-geography1.blogspot.com/2010/07/1-map.html

ความลาดเทของภูมิประเทศ

ช่องว่างที่ปรากฏระหว่างเส้นชั้นความสูงในแผนที่ สามารถบอกได้ว่าภูมิประเทศนั้นมีความชัน ลาดเท หรือราบเรียบ กล่าวคือ ถ้าแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นอยู่ชิดกันมาก แสดงว่าภูมิประเทศจริงของพื้นที่นั้นมีความลาดชัน ถ้าแผนที่นั้นแสดงเส้นชั้นความสูงแต่ละเส้นห่างกัน แสดงว่าภูมิประเทศจริงของพื้นที่นั้นมีลักษณะราบเรียบ

ถ้าแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูงห่างกันมาก แสดงว่าภูมิประเทศจริงของพื้นที่นั้นเป็นที่ต่ำมีระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งมักปรากฏในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเล

9. การคำนวณหาระยะทางและพื้นที่ในแผนที่

9.1 การใช้มาตราส่วนคำนวนหาระยะทางจริงในภูมิประเทศ การคำนวณหาระยะทางจริงใน

ภูมิประเทศ มีสูตรคือ

มาตราส่วน = ระยะทางในแผนที่

ระยะทางจริงในภูมิประเทศ

ภาพจาก : http://jakkrit-geography1.blogspot.com/2010/07/1-map.html

9.2 การคำนวณหาพื้นที่ในแผนที่

การหาขนาดของพื้นที่จากแผนที่ ใช้กับแผนที่ที่มีมาตราส่วนกำหนดมาให้ ซึ่งสามารถหาพื้นที่ได้ทั้งบริเวณที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือรูปแบบอื่นๆก็ได้

การคำนวณหาพื้นที่รูปเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม สามารถทำได้โดยใช้สูตรการหาพื้นที่ทางคณิตศาสตร์ แล้วนำค่าที่ได้ไปรียบเทียบกับมาตราส่วนที่กำหนดไว้ในแผนที่

การคำนวณหาพื้นที่ที่ไม่ใช่รูปเรขาคณิต เช่น เกาะ ทะเลสาบ ทะเลทราย สามารถทำได้โดยการใช้จัตุรัส และการแบ่งแผนที่เป็นส่วนๆ ดังนี้

1. การใช้จัตุรัส สร้างรูปจัตุรัสขนาดเล็กลงในรูปที่ต้องการหาขนาดของพื้นที่ ทั้งนี้จัตุรัสที่สร้างขึ้นจะมีขนาดเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่ขนาดของมาตราส่วนของแผนที่ และขนาดของพื้นที่ที่ต้องการทราบ

2. การใช้เส้นขนาน ลากเส้นขนานลงบนแผนที่ แล้วลากเส้นปิดหัวท้ายคู้ขนานแต่ละคู่ โดยทำให้พื้นที่ที่ถูกตัดออกกับพื้นที่ที่เพิ่มเข้ามามีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด และนำพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เกิดจากการลากเส้นปิดหัวท้ายของเส้นคู่ขนานแต่ละรูปมารวมกัน จะได้พื้นที่ทั้งหมด แล้วนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับมาตราส่วนที่กำหนดไว้ในแผนที่