ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์สากลในความหมายทั่วไปหมายถึงประวัติศาสตร์ของผู้คนและชาติต่างๆในโลกตะวันตก (Western World) ซึ่งได้แก่ ผู้คนและชาติในทวีปยุโรป และอเมริกา ประวัติศาสตร์สากลมีช่วงเวลาที่ยาวนาน ย้อนไปเป็นเวลาหลายพันปี เพื่อความสะดวกในการศึกษา นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งเป็นช่วงเลาที่มีลักษณะร่วมกัน เรียกเป็นสมัย คือสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ สมัยปัจจุบัน หรือร่วมสมัย นักประวัติศาสตร์สากล ได้พัฒนาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์มาเป็นเวลาประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว เพื่อให้การศึกษาประวัติศาสตร์มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทำให้เรารู้และเข้าใจ เรื่องราวทั้งหลายของผู้คนในอดีตได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการเข้าใจปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีเหตุผลการนับและเทียบศักราชสากลและไทย

ภาพจาก : https://kitttyou1502.wordpress.com

1.การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” 2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ. เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1 นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้

ร.ศ. + ๒๓๒๔ = พ.ศ. พ.ศ. – ๒๓๒๔ = ร.ศ.

จ.ศ. + ๑๑๘๑ = พ.ศ. พ.ศ. – ๑๑๘๑ = จ.ศ.

ม.ศ. + ๖๒๑ = พ.ศ. พ.ศ. – ๖๒๑ = ม.ศ.

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล- แบ่งต่ามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์- แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ- แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง- แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ- แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง ตารางการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ สมัยปัจจุบันหรือร่วมสมัย

ยุคหินเก่า มนุษย์ใช้เครื่องมือทำด้วยหินหยาบ ๆ อาศัยอยู่ในถ้ำ ล่าสัตว์ เริ่มประมาณ ๓,๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ.เมื่อมนุษย์ประดิษฐ์อักษรถึง ค.ศ. ๔๗๖ เมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุด เพราะการรุกรานของพวกอนารยชนเยอรมัน เริ่ม ค.ศ. ๔๗๖ หลังสิ้นสุดจัรวรรดิโรมัน จนถึง ค.ศ.๑๔๙๒ เมื่อคริสโตเฟอร์ดโคลัมมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา เริ่มจาก ค.ศ. ๑๔๙๒ เมื่อยุโรปขยายอำนาจและอิทธิพลไปยังส่วน ต่าง ๆ ของโลก ทำให้มีผลต่อความเจริญของโลกสมัยใหม่ จนถึง ค.ศ.๑๙๔๕ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มจาก ค.ศ.๑๙๔๕ จนถึงเหตุการณ์และความเจริญปัจจุบัน มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน

ยุคหินใหม่ มนุษย์ใช้เครื่องมือหินที่มีการขูดแต่ง ตั้งถิ่นฐานเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์

ยุคโลหะ มนุษย์ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยโลหะ เช่น สำริด เหล็ก อยู่เป็นชุมชน

ภาพจาก : https://kitttyou1502.wordpress.com

2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทย สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม – สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒- สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖- สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐- สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบัน การเทียบยุคสมัยสำคัญระหว่างประวัติศาสตร์สากลกับไทย

ประวัติศาสตร์สากล ประวัติศาสตร์ไทย

สมัยโบราณ- อารยธรรมเมโสโปเตเมีย- อารยธรรมอียิปต์- อารยธรรมกรีก- อารยธรรมโรมันสิ้นสุดสมัยโบราณ เมื่อ ค.ศ. ๔๗๖(พ.ศ.๑๐๑๙) สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย- อาณาจักรลังกาสุกะ- อาณาจักรทวารวดี- อาณาจักรโยนกเชียงแสน- อาณาจักรตามพรลิงค์

สมัยกลาง- จักรวรรดิโรมันตะวันออกสิ้นสุด ค.ศ.1453- การสร้างอาณาจักรคริสเตียน- การปกครองในระบบฟิวดัล- การฟื้นฟูเมืองและการค้า- การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ- การค้นพบทวีปอเมริกา สมัยสุโขทัยสมัยอยุธยา

สมัยใหม่- การสำรวจทางทะเล- การปฏิวัติวิทยาศาสตร์- การปฏิวัติอุตสาหกรรม- การปฏิวัติฝรั่งเศส- สงครามโลกครั้งที่ 1-2- สิ้นสุดสมัยใหม่ ค.ศ.1945 สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์

สมัยปัจจุบัน- ร่วมสมัย – ปัจจุบัน – ยุคสงครามเย็น- ยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (๒๔๘๙ – ปัจจุบัน)

ภาพจาก : https://kitttyou1502.wordpress.com

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

(Historical Sources)

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยการกระทำ การพูด การเขียน การประดิษฐ์ การอยู่อาศัยของมนุษย์ หรือลึกไปกว่าที่ปรากฏอยู่ภายนอก คือ ความคิดอ่าน โลกทัศน์ ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีตความรู้สึกของคนในปัจจุบันสิ่งที่มนุษย์จับต้องและทิ้งร่องรอยไว้ กล่าวได้ว่าอะไรก็ตามที่มาเกี่ยวพันกับมนุษย์ หรือมนุษย์เข้าไปเกี่ยวพันสามารถใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น

ประโยชน์ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นเครื่องมือในการสืบค้นร่องรอยของอดีตเป็นแหล่งค้นคว้าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำเอาไปประกอบกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1. แบ่งตามยุคสมัย

1.1 หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า “มุขปาฐะ”

1.2 หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆมีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมืองมีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ปราณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน

2. แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก

2.1 หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์งานวิจัยในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทยมีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทาประวัติศาสตร์ไทย

2.2 หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐานจากการบอกเล่า ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไลด์แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร

3. แบ่งตามลำดับความสำคัญ

3.1 หลักฐานชั้นต้น (Primary sources) อันได้แก่หลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง

3.2 หลักฐานรอง(Secondary sources) ซึ่งได้แก่บันทึกของผู้ที่ได้รับทราบเหตุการณ์จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง หนังสือประวัติศาสตร์ที่มีผู้เขียนขึ้นภายหลัง โดยอาศัยการศึกษาจากหลักฐานชั้นต้น ก็ยังถือว่าเป็นหลักฐานรองอยู่นั่นเอง นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ได้กล่าวไว้ว่าการแบ่งประเภทของหลักฐานเป็นชั้นต้นและชั้นรอง มีประโยชน์ในการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน หลักฐานชั้นต้นมักได้รับน้ำหนักความน่าเชื่อถือจากนักประวัติศาสตร์มาก เพราะได้มาจากผู้รู้เห็นใกล้ชิดกับข้อเท็จจริง ในขณะที่หลักฐานรองได้รับน้ำหนักความน่าเชื่อถือน้อยลงอย่างไรก็ตามไม่ควรถือในเรื่องนี้อย่างเคร่งครัดมากนัก เพราะหลักฐานชั้นต้นก็อาจให้ข้อเท็จจริงผิดพลาดได้ เช่นผู้บันทึกไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในเหตุการณ์ที่ตนบันทึก หรืออาจจะตั้งใจปกปิดบิดเบือนความจริงเพื่อประโยชน์ของตนหรือคนที่ตนรักเคารพ เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม เอกสารชั้นรองที่บันทึกไว้โดยผู้ไม่มีส่วนได้เสีย แม้ว่าห่างไกลจากเหตุการณ์ แต่ก็สอบสวนข้อเท็จจริงอย่างถ่องแท้แล้ว ก็อาจให้ความจริงที่ถูกต้องกว่าก็ได้

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

- หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

- หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าแบ่งตามลักษณะเด่นของข้อสนเทศที่ให้ในหลักฐานแล้ว อาจกล่าวได้ว่ามีอยู่ 13 ประเภท คือ

1.1 จดหมายเหตุชาวต่างชาติ

1.2 จดหมายเหตุชาวพื้นเมือง

1.3 ตำนาน

1.4 พงศาวดารแบบพุทธศาสนา

1.5 พระราชพงศาวดาร

1.6 เอกสารราชการหรือเอกสารการปกครอง

1.7 หนังสือเทศน์

1.8 วรรณคดี

1.9 บันทึก

1.10 จดหมายส่วนตัว

1.11 หนังสือพิมพ์

1.12 งานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์

1.13 จารึก

2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่

2.1 หลักฐานทางโบราณคดี เช่น หลุมฝังศพ ซากโครงกระดูก เครื่องปั้นดินเผา ลูกปัด หม้อ ไห ถ้วย ชาม ภาชนะต่างๆ หลักฐานเหล่านี้ได้ผ่านการตีความหมายของนักโบราณคดีตามหลักวิชาอย่างถูกต้องแล้ว

2.2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ คือ สิ่งก่อสร้างในงานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และสิ่งแวดล้อมของสังคมที่ให้กำเนิดศิลปกรรมทั้งหลาย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะมักจะช่วยกำหนดอายุของเมืองหรืออารยธรรมที่ไม่มีหลักฐานอย่างอื่นบอกไว้

2.3 นาฏกรรมและดนตรี มักเป็นศิลปะที่ได้รับสืบทอดจารีตมาแต่อดีต

2.4 คำบอกเล่า คือ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีการจดเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานจึงแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและคนเล่า ซึ่งคำบอกเล่านี้มักเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่คนภายในสังคมนั้นมีข้อจำกัดทางการศึกษาจึงใช้การจดจำบอกเล่าสืบต่อกันมา

1. แนวทางการเขียนประวัติศาสตร์แบบตำนานและการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ตำนาน – อยู่ในรูปของมุขปาฐะหรือคำบอกเล่า ไม่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบหลักฐานเพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง ตำนานมี 3 ประเภท

1)ตำนานวีรบุรุษหรือบรรพบุรุษ-เล่าเรื่องผู้นำที่ยิ่งใหญ่ในอดีต เพื่อสืบทอดการเคารพนับถือและพีธีกรรมกราบไหว้บูชาบรรพบุรุษหรือวีรบุรุษของคนรุ่นต่อๆไปภายใต้ลัทธิการบูชาบรรพบุรุษ

2)ตำนานเชื้อสายตระกูลผู้นำหรือวงศ์ตระกูล-การลำดับเชื้อสายตระกูล เพื่อยืนยันสิทธิในทรัพย์สินสถานะทางสังคมและการเมืองของตระกูล “การสร้างบ้านแปงเมือง”

3)ตำนานประวัติศาสตร์สากลของพระพุทธศาสนา-แนวคิดที่ว่า “ทุกสรรพสิ่งอยู่ในกฎธรรมชาติ 3 ประการ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กระบานการทางประวัติศาสตร์ดำเนินจากอดีต ปัจจุบัน อนาคตไปตามธรรมชาติไม่มีผู้ใดกำหนด” ลักษณะสำคัญ คือ

-ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด วีถีประวัติศาสตร์เป็นไปตามธรรมชาติ

-แกนกลางคือจักรพรรดิราชหรือธรรมราชา (พระโพธิสัตว์)เป็นผู้มีบทบาทในการจรรโลงโลกในอยู่ในธรรม

-กำหนดช่วงเวลาเฉพาะในสมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดม

-มีความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับพุทธศาสนา กล่าวถึงกษัตริย์ในอาณาจักรต่างๆในโลกที่ให้การอุปถัมภ์

พุทธศาสนา

*ส่วนที่คล้ากันของตำนานทั้ง 3 ประเภทคือ เป็นเรื่องเล่า มีกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง

2. แนวทางการเขียนประวัติศาสตร์แบบพระราชพงศาวดารและการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์

พระราชพงศาวดาร-กรอบแนว“ความคิด”แบบตำนานเชื้อสายตระกูลผู้นำเกิดในสมัยอยุธยา+ตำนานประวัติศาสตร์สากลของพระพุทธศาสนา + แนวคิดเกี่ยวกับกษัตริย์ของอยุธยาเอง

1) หลักฐาน

-หลักฐานในการเขียน ได้แก่ เอกสารราชการ เช่น กฎหมาย จดหมายเหตุ จดหมายรายวันทัพ ปูมโหร

-จดหมายเหตุ คือ บันทึกเหตุการณ์ที่ล่วงไปแล้ว โดยเหตุการณ์ที่บันทึกนั้นมักจะเป็นเหตุการณ์เดียว

-ปูมโหร บันทึกเหตุการณ์ที่พวกโหรจดบันทึกไว้ในเวลาที่เกิดเหตุการณ์หนึ่งๆในทันที

2) วิธีการใช้หลักฐานและการเขียน

-เริ่มมีการตรวจสอบหลักฐานในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะมีการค้ากว้างขวางจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์จริงในการอธิบายประวัติศาสตร์(ไม่ใช้อธิบายตามกฎธรรมชาติของศาสนาพุทธ)

-เน้นความเป็นราชาธิราช ของกษัตริย์ไทย เน้นเรื่องเฉพาะกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาตามลำดับรัชกาล

การศึกษาประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยรัชการที่ 4 ถึงสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2

และการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์

1. ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญาที่มีผลต่อวิธีการใช้หลักฐาน

1.1 สาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญา “มนุษย์เป็นผู้กำหนดวิถีประวัติศาสตร์”

- การขยายตัวของการค้าและการผลิตเพื่อขาย ทำให้ผู้ประกอบการอันได้แก่ชนชั้นสูงให้ความสำคัญกับการสะสมทรัพย์สินเงินทอง แสวงหาความสุขและความสำเร็จทางโลก เป้าหมายชีวิตตามคติพระพุทธศาสนา ได้แก่ การเกิดในสวรรค์หรือการบรรลุนิพพานลดความสำคัญลง ให้ความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น โดยเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพและความสามารถไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอำนาจเหนือธรรมชาติ

1.2 การให้ความสำคัญกับหลักฐาน

-เน้นให้ความสำคัญแก่ความจริงตามประสบการณ์

-ตรวจสอบหลักฐานว่า เรื่องใดเป็นเรื่องจริง-เท็จ ตามมาตรฐานของความจริง จะต้องผ่านการพิสูจน์จนประจักษ์ได้ด้วยประสบการณ์มนุษย์

-นำวิธีทางวิทยาศาสตร์ของมิชชันนารีเข้ามาพิสูจน์

-แสวงหาข้อมูลใหม่

2.ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญาที่มีผลต่อวิธีการเขียนประวัติศาสตร์

1) ความเปลี่ยนแปลงของความคิดทางเวลา

-สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นเชื่อว่าต้นอยู่ในโลกที่กำลังเสื่อมแต่การให้ความสำคัญตามประสบการณ์จริง เชื่อว่าสังคมเจริญขึ้น เพราะความคิดและการกระทำของมนุษย์ไม่ใช่เสื่อมลง

2)ความคิดเกี่ยวกับกษัตริย์และรัฐ

- รัฐ : มีขอบเขตที่แน่นนอน ประชาชนทั้งหลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐ

-กษัตริย์ : มิได้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีบทบาทร่วมกันในการกำหนดวิถีประวัติศาสตร์ แต่เชื่อว่ากษัตริย์เป็นผู้เดียวที่กำหนดวิถีประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง

3) แนวการเขียน

-แนวการเขียนประวัติศาสตร์ชาติไทย เน้นอดีตที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลายาวนานของชาติไทย

-เห็นว่าประวัติศาสตร์ชาติไทยไม่ได้เริ่มที่อยุธยา แต่มีมาก่อนหน้านี้

-ลักษณะสำคัญคือการอธิบายสาเหตุและผลกระทบ กษัตริย์เป็นผู้กำหนดวิถีประวัติศาสตร์

*ในที่สุดเกิดความสำนึกในเรื่องเชื้อชาติ ซึ่งเป็นผลรวมของทุกสิ่งและทุกคนในรัฐ

3. แนวการเขียนประวัติศาสตร์ชาติไทย

มีการใช้หลักฐานอย่างกว้างขวาง และหลักฐานใหม่ เช่น จารึก โบราณสถาน เอกสารชาวต่างชาติ แต่ไม่เคร่งครัดต่อการตรวจสอบและประคุณค่า เพราะ

1)ผู้ศึกษาไม่ใช่นักประวัติศาสตร์อาชีพแต่เป็นนักปกครอง เช่น กรมพระยาดำรงฯ

2)มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การยืนยันและเสริมสร้างความชอบธรรมให้กษัตริย์ทำให้เกิดการเลือกสรรหลักฐานที่มีขอบเขตของจุดมุ่งหมายดังกล่าว มคิดเกี่ยวกับกษัตริย์และรัฐ

- รัฐ : มีขอบเขตที่แน่นนอน ประชาชนทั้งหลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐ

- กษัตริย์ : มิได้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีบทบาทร่วมกันในการกำหนดวิถีประวัติศาสตร์ แต่เชื่อว่ากษัตริย์เป็นผู้เดียวที่กำหนดวิถีประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง

3) แนวการเขียน

-แนวการเขียนประวัติศาสตร์ชาติไทย เน้นอดีตที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลายาวนานของชาติไทย

-เห็นว่าประวัติศาสตร์ชาติไทยไม่ได้เริ่มที่อยุธยา แต่มีมาก่อนหน้านี้

-ลักษณะสำคัญคือการอธิบายสาเหตุและผลกระทบ กษัตริย์เป็นผู้กำหนดวิถีประวัติศาสตร์

*ในที่สุดเกิดความสำนึกในเรื่องเชื้อชาติ ซึ่งเป็นผลรวมของทุกสิ่งและทุกคนในรัฐ