เรื่องที่ 1 กำเนิดและหลักสิทธิมนุษยชน
ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน
ความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชนคืออะไรได้มีผู้ให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนไว้ว่า หมายถึง สิทธิต่างๆ ที่แสดงถึงคุณค่าแห่ง
สิทธิมนุษยชนคืออะไรได้มีผู้ให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนไว้ว่า หมายถึง สิทธิต่างๆ ที่แสดงถึงคุณค่าแห่ง
ความเป็นมนุษย์หากสิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิต่างๆ ที่แสดงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์แล้ว แต่ในสภาพข้อเท็จจริงทางสังคมมนุษย์กลับมิได้รับสิทธิหรือการปฏิบัติที่แสดงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ จึงเกิดพัฒนาการในเรื่องสิทธิมนุษยชนขึ้นความตื่นตัวในเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนมีที่มาอย่างไร วไล ณ ป้อมเพชร. http:/www.action4change.com/ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2553) ได้ศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงถึงความเป็นมาของสิทธิมนุษยชนไว้ว่า
ความเป็นมนุษย์หากสิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิต่างๆ ที่แสดงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์แล้ว แต่ในสภาพข้อเท็จจริงทางสังคมมนุษย์กลับมิได้รับสิทธิหรือการปฏิบัติที่แสดงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ จึงเกิดพัฒนาการในเรื่องสิทธิมนุษยชนขึ้นความตื่นตัวในเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนมีที่มาอย่างไร วไล ณ ป้อมเพชร. http:/www.action4change.com/ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2553) ได้ศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงถึงความเป็นมาของสิทธิมนุษยชนไว้ว่า
สิทธิมนุษยชน ได้มีพัฒนาการมาจากความพยายามของมนุษย์ที่จะให้ ศักดิ์ศรีของมนุษยชนได้รับการเคารพและจากการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาค ที่เกิดขึ้นในดินแดนต่างๆทั่วโลก แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน เกิดจากบรรดานักคิดที่มาจากหลากหลายประเพณีทางวัฒนธรรมและศาสนา ต่อมาผู้บริหารประเทศและนักกฎหมาย ต่างก็มีบทบาทในการส่งเสริมแนวความคิดดังกล่าว และร่างขึ้นเป็นเอกสารที่ใช้ปกป้องสิทธิของบุคคล และค่อยๆ กลายเป็นบทบัญญัติและรัฐธรรมนูญของชาติต่างๆ
สิทธิมนุษยชน ได้มีพัฒนาการมาจากความพยายามของมนุษย์ที่จะให้ ศักดิ์ศรีของมนุษยชนได้รับการเคารพและจากการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาค ที่เกิดขึ้นในดินแดนต่างๆทั่วโลก แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน เกิดจากบรรดานักคิดที่มาจากหลากหลายประเพณีทางวัฒนธรรมและศาสนา ต่อมาผู้บริหารประเทศและนักกฎหมาย ต่างก็มีบทบาทในการส่งเสริมแนวความคิดดังกล่าว และร่างขึ้นเป็นเอกสารที่ใช้ปกป้องสิทธิของบุคคล และค่อยๆ กลายเป็นบทบัญญัติและรัฐธรรมนูญของชาติต่างๆ
พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
พัฒนาการของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
นพนิธิ สุริย http://gotoknow.org/blog/works-of-archannop/51974 ได้ศึกษาพัฒนาการของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยไว้ว่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 มีรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 แม้ธรรมนูญการปกครองฉบับแรกของไทยจะมิได้กล่าวถึงหรือรับรองสิทธิ เสรีภาพ ตลอดจนสิทธิมนุษยชนเลย แต่จากคำประกาศของคณะราษฎร์ที่ประกาศว่า
นพนิธิ สุริย http://gotoknow.org/blog/works-of-archannop/51974 ได้ศึกษาพัฒนาการของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยไว้ว่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 มีรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 แม้ธรรมนูญการปกครองฉบับแรกของไทยจะมิได้กล่าวถึงหรือรับรองสิทธิ เสรีภาพ ตลอดจนสิทธิมนุษยชนเลย แต่จากคำประกาศของคณะราษฎร์ที่ประกาศว่า
1. ต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย ได้แก่ เอกราชในทางการเมือง การศาลการเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศให้มั่นคง
1. ต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย ได้แก่ เอกราชในทางการเมือง การศาลการเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศให้มั่นคง
2. ต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
2. ต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ทุกคนทำ และจะต้องวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ละเลยให้ราษฎรอดอยาก
3. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ทุกคนทำ และจะต้องวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ละเลยให้ราษฎรอดอยาก
4. ต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาค
4. ต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาค
5. ต้องให้ราษฎรมีอิสรภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดหลักดังกล่าวข้างต้น
5. ต้องให้ราษฎรมีอิสรภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดหลักดังกล่าวข้างต้น
การได้นำหลักการของสิทธิมนุษยชนไปใช้ในทางปฏิบัติและระบุรับรองให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน แสดงให้เห็นการตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงวิเคราะห์ได้ว่า เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิไตยโดยคณะราษฎรเป็นจุดเริ่มต้นของความเคลื่อนไหวในด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรมครั้งแรก
การได้นำหลักการของสิทธิมนุษยชนไปใช้ในทางปฏิบัติและระบุรับรองให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน แสดงให้เห็นการตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงวิเคราะห์ได้ว่า เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิไตยโดยคณะราษฎรเป็นจุดเริ่มต้นของความเคลื่อนไหวในด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรมครั้งแรก
ในระหว่างที่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 มีผลใช้บังคับ ปี พ.ศ. 2490 ปรากฏกระแสที่สำคัญคือ เกิดการรวมตัวของกรรมกรในชื่อว่า “สหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย” ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกรรมกรจากิจการสาขาต่างๆ เช่น โรงเลื่อย โรงสี รถไฟ เป็นต้น เนื่องจากกรรมกรเหล่านี้ถูกกดขี่ค่าจ้างแรงงานอย่างมาก อันเป็นผลมาจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระแสความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเป็นการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องต่อสังคมและรัฐ ให้สนองความต้องการที่จำเป็นของตน ทำให้สังคมตระหนักถึงสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน อันเป็นการแสดงออกถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากการกระทำของเอกชนด้วยในปี พ.ศ. 2491 สหประชาติได้ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 อันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 จึงได้รับอิทธิพลจากการประกาศใช้ปฏิญญาสากลของสหประชาชาติ มีบทบัญญัติที่ให้การรับรองสิทธิและเสรีภาพเป็นจำนวนมากและละเอียดกว่ารัฐธรรมฉบับก่อนๆนอกากนี้แล้ว การกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในหมวด 5 อันเป็นหมวดที่ว่าด้วยแนวทางสำหรับการตรากฎหมาย และการบริหารราชการตามนโยบาย ซึ่งแม้จะไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องร้องรัฐหากรัฐไม่ปฏิบัติตาม แต่ก็เป็นการกำหนดหน้าที่แก่รัฐ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับการส่งเสริมและพัฒนาหลักสิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆมาในทางปฏิบัติ สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้รับการรับรองคุ้มครองอย่างจริงจังเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์บ้านเมือง สภาพเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนทัศนคติของผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนผู้เป็นเจ้าของสิทธินั่นเอง เพราะต่อมาธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 ไม่ปรากฏบทบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพแต่อย่างใด และการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 ช่วงรัฐบาลเผด็จการ ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่ให้การรับรองสิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนชาวไทยเลย จนกระทั่งภายหลังเกิดเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยโดยนิสิต นักศึกษา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 จึงมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดและเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มีบทบัญญัติคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 และมีการวางหลักการใหม่ในการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านที่มีการจำกัดอำนาจรัฐที่จะเข้ามาแทรกแซงอันมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และในด้านการเพิ่มหน้าที่ให้แก่รัฐในการให้บริการแก่ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน (มาตรา28) สิทธิทางการเมืองในการใช้สิทธิเลือกตั้งและสิทธิออกเสียงประชามติ (มาตรา 29) สิทธิที่จะไม่ถูกปิดโรงพิมพ์หรือห้ามทำการพิมพ์ เว้นแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ปิดโรงพิมพ์หรือห้ามทำการพิมพ์ (มาตรา 40) เสรีภาพในทางวิชาการ (มาตรา 42) การกำหนดให้พรรคการเมืองต้องแสดงที่มาของรายได้และการใช้จ่ายโดยเปิดเผย (มาตรา 45) และเสรีภาพในการเดินทางภายในราชอาณาจักร (มาตรา 47) นอกจากนี้แล้วสิทธิในทางกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ต้องหาและจำเลยยังได้รับการบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วยได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนหรือพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในการจัดหาทนายความ (มาตรา 34) สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง อันจะทำให้ตนถูกฟ้องเป็นคดีอาญา และถ้อยคำของบุคคลที่เกิดจากการถูกทรมาน ขู่เข็ญ หรือใช้กำลังบังคับหรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ถ้อยคำนั้นเป็นไปโดยไม่สมัครใจ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ (มาตรา 35) และสิทธิที่จะได้ค่าทดแทน หากปรากฏในภายหลังว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด (มาตรา 36)
ในระหว่างที่รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 มีผลใช้บังคับ ปี พ.ศ. 2490 ปรากฏกระแสที่สำคัญคือ เกิดการรวมตัวของกรรมกรในชื่อว่า “สหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย” ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกรรมกรจากิจการสาขาต่างๆ เช่น โรงเลื่อย โรงสี รถไฟ เป็นต้น เนื่องจากกรรมกรเหล่านี้ถูกกดขี่ค่าจ้างแรงงานอย่างมาก อันเป็นผลมาจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระแสความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเป็นการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องต่อสังคมและรัฐ ให้สนองความต้องการที่จำเป็นของตน ทำให้สังคมตระหนักถึงสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน อันเป็นการแสดงออกถึงการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากการกระทำของเอกชนด้วยในปี พ.ศ. 2491 สหประชาติได้ประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 อันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 จึงได้รับอิทธิพลจากการประกาศใช้ปฏิญญาสากลของสหประชาชาติ มีบทบัญญัติที่ให้การรับรองสิทธิและเสรีภาพเป็นจำนวนมากและละเอียดกว่ารัฐธรรมฉบับก่อนๆนอกากนี้แล้ว การกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในหมวด 5 อันเป็นหมวดที่ว่าด้วยแนวทางสำหรับการตรากฎหมาย และการบริหารราชการตามนโยบาย ซึ่งแม้จะไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องร้องรัฐหากรัฐไม่ปฏิบัติตาม แต่ก็เป็นการกำหนดหน้าที่แก่รัฐ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับการส่งเสริมและพัฒนาหลักสิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆมาในทางปฏิบัติ สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยได้รับการรับรองคุ้มครองอย่างจริงจังเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์บ้านเมือง สภาพเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนทัศนคติของผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนผู้เป็นเจ้าของสิทธินั่นเอง เพราะต่อมาธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 ไม่ปรากฏบทบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพแต่อย่างใด และการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 ช่วงรัฐบาลเผด็จการ ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่ให้การรับรองสิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนชาวไทยเลย จนกระทั่งภายหลังเกิดเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยโดยนิสิต นักศึกษา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 จึงมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2517 ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดและเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มีบทบัญญัติคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 และมีการวางหลักการใหม่ในการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านที่มีการจำกัดอำนาจรัฐที่จะเข้ามาแทรกแซงอันมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และในด้านการเพิ่มหน้าที่ให้แก่รัฐในการให้บริการแก่ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน (มาตรา28) สิทธิทางการเมืองในการใช้สิทธิเลือกตั้งและสิทธิออกเสียงประชามติ (มาตรา 29) สิทธิที่จะไม่ถูกปิดโรงพิมพ์หรือห้ามทำการพิมพ์ เว้นแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ปิดโรงพิมพ์หรือห้ามทำการพิมพ์ (มาตรา 40) เสรีภาพในทางวิชาการ (มาตรา 42) การกำหนดให้พรรคการเมืองต้องแสดงที่มาของรายได้และการใช้จ่ายโดยเปิดเผย (มาตรา 45) และเสรีภาพในการเดินทางภายในราชอาณาจักร (มาตรา 47) นอกจากนี้แล้วสิทธิในทางกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้ต้องหาและจำเลยยังได้รับการบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วยได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนหรือพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในการจัดหาทนายความ (มาตรา 34) สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง อันจะทำให้ตนถูกฟ้องเป็นคดีอาญา และถ้อยคำของบุคคลที่เกิดจากการถูกทรมาน ขู่เข็ญ หรือใช้กำลังบังคับหรือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ถ้อยคำนั้นเป็นไปโดยไม่สมัครใจ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ (มาตรา 35) และสิทธิที่จะได้ค่าทดแทน หากปรากฏในภายหลังว่าบุคคลนั้นมิได้เป็นผู้กระทำความผิด (มาตรา 36)
พัฒนาการในเรื่องสิทธมนุษชน ได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่
พัฒนาการในเรื่องสิทธมนุษชน ได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่หนึ่ง ระยะแห่งการเริ่มต้น เป็นยุคที่สภาพทางสังคมมีการกดขี่ข่มเหงไม่เคาเคารพต่อศักดิ์ศรีประจำตัวของมนุษย์ มีการเอารัดเอาเปรียบ แก่งแย่งและไม่มีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในการให้หลักประกันเรื่องสิทธิแก่ประชาชน
ระยะที่หนึ่ง ระยะแห่งการเริ่มต้น เป็นยุคที่สภาพทางสังคมมีการกดขี่ข่มเหงไม่เคาเคารพต่อศักดิ์ศรีประจำตัวของมนุษย์ มีการเอารัดเอาเปรียบ แก่งแย่งและไม่มีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในการให้หลักประกันเรื่องสิทธิแก่ประชาชน
ระยะที่สอง ระยะแห่งการเรียนรู้ เป็นช่วงที่ผู้คนในสังคมเรียกร้องถามหาสิทธิและเสรีภาพ มีความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับกลุ่มคนในประเทศ มีการต่อสู้ ในระยะนี้เริ่มมีกฎหมายหรือกลไกในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผู้คนเริ่มเรียนรู้ถึงสิทธิของตนเอง โดยช่วงท้ายของระยะนี้ผู้คนให้ความสำคัญของสิทธิตนเอง แต่อาจละเลยหรือมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นบ้าง
ระยะที่สอง ระยะแห่งการเรียนรู้ เป็นช่วงที่ผู้คนในสังคมเรียกร้องถามหาสิทธิและเสรีภาพ มีความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองกับกลุ่มคนในประเทศ มีการต่อสู้ ในระยะนี้เริ่มมีกฎหมายหรือกลไกในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ผู้คนเริ่มเรียนรู้ถึงสิทธิของตนเอง โดยช่วงท้ายของระยะนี้ผู้คนให้ความสำคัญของสิทธิตนเอง แต่อาจละเลยหรือมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นบ้าง
ระยะที่สาม ระยะแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นช่วงที่ประชาชนมีการรวมกลุ่มกันเพื่อเหตุผลในการปกป้องและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน มีการรณรงค์ให้ตระหนักถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่น การใช้อำนาจหรือใช้สิทธิมีการคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน การใช้สิทธิ เสรีภาพของประชาชนเป็นไปอย่างกว้างขวาง
ระยะที่สาม ระยะแห่งการเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นช่วงที่ประชาชนมีการรวมกลุ่มกันเพื่อเหตุผลในการปกป้องและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน มีการรณรงค์ให้ตระหนักถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่น การใช้อำนาจหรือใช้สิทธิมีการคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน การใช้สิทธิ เสรีภาพของประชาชนเป็นไปอย่างกว้างขวาง