เรื่องที่ 3 จุดเด่นของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชน

จุดเด่นของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชน

สิทธิและเสรีภาพ เป็นรากฐานสำคัญในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยการที่จะรู้ว่าการปกครองของประเทศใดมีความเป็นประชาธิปไตยได้มากน้อยเพียงใด ต้องดูที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนในประเทศนั้นๆ เป็นสำคัญ ถ้าประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากความเป็นประชาธิปไตยของประเทศนั้นก็มีมาก หากสิทธิ เสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดหรือถูก ริดรอนโดยผู้มีอำนาจในการปกครอง ประชาธิปไตยก็จะมีไม่ได้ ด้วยเหตุนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ จึงได้บัญญัติ คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนไว้และมีการบัญญัติเพิ่มและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ยังคงมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน ได้บัญญัติไว้เรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างชัดเจนและเป็นหมวดหมู่ ปรากฎอยู่ในหมวดที่ 3 ดังนี้

ส่วนที่ 1 บททั่วไปส่วนที่ 2 ความเสมอภาคส่วนที่ 3 สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล

ส่วนที่ 4 สิทธิในกระบวนการยุติธรรม

ส่วนที่ 5 สิทธิในทรัพย์สิน

ส่วนที่ 6 สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

ส่วนที่ 7 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน

ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา

ส่วนที่ 9 สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ

ส่วนที่ 10 สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน

ส่วนที่ 11 เสรีภาพในการชุมนุมและสมาคม

ส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน

ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

ผู้เรียนสามารถศึกษารายละเอียดของสิทธิและเสรีภาพได้ในเอกสารรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3

นอกจากจะบัญญัติสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้แล้วรัฐธรรมนูญก็ยังได้บัญญัติหน้าที่ของประชาชนไว้เช่นกัน ดังตัวอย่างหน้าที่ของประชาชนชาวไทย ในหมวด 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งบัญญัติไว้ ดังนี้


1. บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้(มาตรา 70)

2. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา 71)

3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฏหมายบัญญัติ การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอำนวยความสะดวกใ นการไปเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 72)

4. บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 73)

5. บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องวางตน ป็น กลางทางการเมือง (มาตรา 74)