เรื่องที่ 1 พัฒนาการทางการปฏิรูปทางการเมืองเพื่อการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พัฒนาการทางความคิดและเหตุการณ์สำคัญ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากการติดต่อกับกลุ่มประเทศทางตะวันตก โดยในกลุ่มประเทศทางยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้มีการปฏิรูปการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2319 (ค.ศ. 1776) และเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789)ประเทศไทยเริ่มติดต่อทางการค้ากับประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2367 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นก็มีกลุ่มมิชชันนารีจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา คนไทยจึงเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษ ศึกษาวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะพระภิกษุ เจ้าฟ้ามงกุฎ กลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ และกลุ่มข้าราชการก็ศึกษาวิชาการต่างๆ ด้วย ดังนั้น สังคมไทยบางกลุ่มจึงได้มีค่านิยมโลกทัศน์ตามวิทยาการตะวันตกในหลายๆด้าน รวมทั้งแนวความคิดในเรื่อง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น

กราบบังคมทูลมีสาระสำคัญของคำกราบบังคมทูล 3 ข้อ คือ

1. ภัยอันตรายจะมาถึงบ้านเมือง เนื่องจากการปกครองในขณะนั้น คือ ภัยอันตรายที่จะมีมาจากประเทศที่มีอำนาจมากกว่าประเทศไทย ถ้ามหาอำนาจในยุโรปประสงค์จะได้เมืองใดเป็นอาณานิคม ก็จะต้องอ้างเหตุผลว่าเป็นภารกิจของชาวผิวขาวที่มีมนุษยชาติ ต้องการให้มนุษย์มีความสุขความเจริญ ได้รับความยุติธรรมเสมอกัน ประเทศที่มีการปกครองแบบเก่านอกจากจะกีดขวางความเจริญของประเทศในเอเชียแล้ว ยังกีดขวางความเจริญของประเทศที่เจริญรุ่งเรืองแล้วด้วย แล้วสรุปว่า รัฐบาลที่มีการปกครองแบบเก่าจัดการบ้านเมืองไม่เรียบร้อยเกิดอันตรายทำให้อันตรายนั้นมาถึงชาวยุโรป นับว่าเป็นช่องทางที่ชาวยุโรปจะเข้าจัดการให้หมดอันตราย และอีกประการหนึ่ง ถ้าปิดประเทศไม่ให้ค้าขายก็จะเข้ามาเปิดประเทศค้าขายให้เกิดประโยชน์ ทั้งหมดเป็นเหตุผลที่ประเทศในยุโรป จะยึดเอาเป็นอาณานิคม

2. การที่จะรักษาบ้านเมืองให้พ้นอันตราย ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง การบำรุงรักษาบ้านเมืองแนวเดียวกับที่ญี่ปุ่นได้ทำตามแนวการปกครองของประเทศยุโรป และการป้องกันอันตรายที่จะบังเกิดขึ้นอยู่หลายทาง แต่คิดว่าใช้ไม่ได้คือ

1) การใช้ความอ่อนหวานเพื่อให้มหาอำนาจสงสาร ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ ความอ่อนหวานมานานแล้ว จนเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์ จึงได้จัดการเปลี่ยนการบริหารประเทศให้ยุโรปนับถือ จึงเห็นว่าการใช้ความอ่อนหวานนั้นใช้ไม่ได้

2) การต่อสู้ด้วยกำลังทหารซึ่งก็เป็นความคิดที่ถูกต้อง กำลังทหารของไทยมีไม่เพียงพอ ทั้งยังต้องอาศัยซื้ออาวุธจากต่างประเทศ หากได้รบกันจริงๆ กับประเทศในยุโรป ประเทศในยุโรปที่เป็นมิตร ประเทศของคู่สงคราม กับประเทศไทยก็จะไม่ขายอาวุธใหประเทศไทยเป็นแน่

3) การอาศัยประโยชน์ที่ประเทศไทยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศที่เป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศสอาจทำให้ประเทศไทยเป็นรัฐกันชน (Buffer State) และก็คงให้มีอาณาเขตแดนเพียงเป็นกำแพงกั้นระหว่างอาณานิคม ประเทศไทยก็จะเดือดร้อนเพราะเหตุนี้

4) การจัดการบ้านเมืองเพียงเฉพาะเรื่อง ไม่ได้จัดให้เรียบร้อยตั้งแต่ฐานรากไม่ใช่การแก้ปัญหา

5) สัญญาทางพระราชไมตรีที่ทำไว้กับต่างประเทศ ไม่มีหลักประกันว่าจะคุ้มครองประเทศไทยได้ ตัวอย่างที่สหรัฐอเมริกสัญญาจะช่วยประเทศจีนครั้นมีปัญหาเข้าจริงสหรัฐอเมริกาก็มิได้ช่วย และถ้าประเทศไทยไม่ทำสัญญาให้ผลประโยชน์แก่ต่างประเทศ ประเทศนั้นๆ ก็จะเข้ามากดขี่ให้ประเทศไทยทำสัญญาอยู่นั่นเอง

6) การค้าขายและผลประโยชน์ของชาวยุโรปที่มีอยู่ในประเทศไทย ไม่อาจช่วยคุ้มครองประเทศไทยได้ ถ้าจะมีชาติที่หวังผลประโยชน์มากขี้นมาเบียดเบียน

7) คำกล่าวที่ว่า ประเทศไทยรักษาเอกราชมาได้ก็คงจะรักษาได้อย่างเดิมคำกล่าวอย่างนั้นใช้ไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งเป็นเวลาที่ประเทศในยุโรปกำลังแสวงหาเมืองขึ้น และประเทศที่ไม่มีความเจริญก็ตกเป็นอาณานิคมไปหมดแล้ว ถ้าประเทศไทยไม่แก้ไขก็อาจจะเป็นไปเหมือนกับประเทศที่กล่าวมา

8) กฎหมายระหว่างประเทศจะคุ้มครองประเทศที่เจริญและมีขนบธรรมเนียมคล้ายคลึงกับประเทศญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายให้คล้ายกับยุโรปก็จะได้รับความคุ้มครอง ประเทศไทยก็ต้องปรับปรุงการจัดบ้านเมืองให้เป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น มิฉะนั้นกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่ช่วยประเทศไทยให้พ้นอันตราย

3. การที่จะจัดการตามข้อ 2 ให้สำเร็จ ต้องลงมือจัดให้เป็นจริงทุกประการ

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงเป็นวิวัฒนาการทางความคิดของคนไทยในเรื่องระบอบประชาธิปไตยที่ค่อยๆ ก่อตัวและมีพัฒนาการขึ้นมาตามลำดับ และนับจาก กบฏ ร.ศ. 130 เมื่อปี พ.ศ. 2445 เวลาผ่านไปอีก 20 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2475 (วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475) จึงได้เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งสำคัญของประเทศไทยขึ้น โดยคณะบุคคลที่เรียกว่า “คณะราฎร” ประกอบด้วยทหารและพลเรือน ได้ยึดอำนาจการปกครองจากพระมหากษัตริย์ คือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่เจ็ด และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

พัฒนาการทางการเมืองและการปกครองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่แนวคิด ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยยังจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มปัญญาชนที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตกเท่านั้น จึงมีความขัดแย้งทางความคิดทั้งในกลุ่มผู้ปกครอง ข้าราชการและประชาชน จนเกิดเป็น กบฎ ปฏิวัติและรัฐประหารสลับกันไปมา (ปัญหาทางการเมืองและการปกครองของประเทศไทยหลังปี พ.ศ. 2475 ที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง การเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศมักไม่เป็นไปตามกติกา หรือระเบียบแบบแผนโดยสันติวิธี ตรงกันข้ามมักเกิดการแย่งชิงอำนาจด้วยการใช้กำลังอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปของการจลาจล กบฏปฏิวัติหรือรัฐประหาร) ความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมือง แต่มีความหมายต่างกันในด้านผลของการใช้กำลังความรุนแรงนั้น กล่าวคือ หากการยึดอำนาจครั้งใดที่ผู้ก่อการทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า “กบฏ” หากการยึดอำนาจนั้นสำเร็จและเปลี่ยนเพียงรัฐบาลเรียกว่ารัฐประหาร นับแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาประเทศไทย มีการพัฒนาการทางการเมืองและการปกครองโดยเรียงลำดับตามระยะเวลาของเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นได้

จากพัฒนาการทางการเมืองการปกครองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้ง รวมทั้งเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ด้วย จะเห็นว่ามีพัฒนาการในทางที่ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น แม้ว่าบางยุคสมัยจะถูกกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการก็ตาม เราก็จะเห็นพัฒนาการทางการเมืองในภาคประชาชนที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จนคล้ายกับเป็นความขัดแย้งทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2549 ได้ทำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างของประชาชนทั้งประเทศอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จนหลายฝ่ายวิตกว่าจะนำไปสู่สงครามการเมือง แต่เมื่อมองในด้านดีจะพบว่าในเหตุการณ์ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความตื่นตัวของภาคประชาชน ในด้านการเมืองทั้งประเทศอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ความคิดเห็นทางการเมืองต่างกันที่เกิดขึ้นในเวลานี้เป็นเรื่องใหม่และยังไม่มีความคิดเห็นที่ตรงกัน ต้องอาศัยระยะเวลาและการเรียนรู้ของผู้คนทั้งประเทศที่จะต้องอดทนเรียนรู้และอยู่ร่วมกันให้ได้ท่ามกลาง ความแตกต่างและปรับความคิดเข้าหากันให้ถึงจุดที่พอจะยอมรับกันได้สถานการณ์ความแตกต่างทางความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 จึงเป็นโอกาสอันดีของผู้คนในยุคสมัยนี้ที่จะร่วมกันหาคำตอบและทางออกของเ หตุการณ์ว่าเราจะร่วมกันหาทางออกของเหตุการณ์ด้วยสันติวิธีหรือด้วยความรุนแรง ซึ่งเราทุกคนในเวลานี้ล้วนมีส่วนร่วมในการหาคำตอบและทางออกด้วยกันทุกคน