เรื่องที่ 1 วัฒนธรรม ประเพณีของไทยและเอเชีย


วัฒนธรรม ประเพณีของไทย

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมในภาษาไทยเกิดมาจากการรวมคำ 2 คำ คือ วัฒนะ หมายถึงความเจริญงอกงามรุ่งเรือง และคำว่า ธรรม หมายถึง การกระทำหรือข้อปฏิบัติ รวมแล้วแปลว่า วัฒนธรรมคือข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม พระยาอนุมานราชธนกล่าวว่า วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตหรือสร้างขึ้นเพื่อความสวยงามในวิถีชีวิตของส่วนรวมวัฒนธรรม คือ วิถีทางแห่งชีวิตมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้เรียกกันได้ เอาอย่างกันได้กล่าวโดยสรุปแล้ว วัฒนธรรมหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นไว้เพื่อนำเอาไปช่วยพัฒนา ชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม ซึ่งจะรวมถึงช่วยแก้ปัญหาและช่วยสนองความต้องการของสังคม

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทยได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ จากอิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ประกอบกับความสามารถของคนไทยก่อให้เกิดการสร้างสรรค์การหล่อหลอมรวมกันจนมีลักษณะเด่นๆดังต่อไปนี้ คือ

1. การมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ วิถีคนไทยเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง กิจกรรมต่างๆล้วนนำศาสนามาเกี่ยวข้อง วิธีคิด การดำเนินชีวิตที่คนไทย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจดี ล้วนมาจากคำสั่งสอนทางศาสนา โดยเฉพาะคนไทยในชนบทที่ชีวิตเรียบง่ายไม่ต้องต่อสู้แข่งขันมาก ยังคงมีวิถีชีวิตแบบพุทธ

2. การมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสังคมไทยมีมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นคนไทยทุกคนจึงถวายความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และพระมหากษัตริย์จะมีพระราช กรณียกิจต่างๆที่ทรงคุณประโยชน์ต่อชาวไทย

3. อักษรไทยภาษาไทย สังคมไทยมีอักษรใช้มาตั้งแต่กรุงสุโขทัยและได้รับการพัฒนา อักษรไทยโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จัดเป็นเอกลักษณ์ที่น่าภาคภูมิใจเช่น คำว่า พ่อ แม่ พี่ น้อง ฯลฯ เป็นต้น

4. วัฒนธรรมที่แสดงออกถึงความเป็นไทย บ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์เหมาะสมกับสภาพธรรมชาติของเมืองไทย เรือนไทยสูงโปร่ง หลังคาลาดชัน ทำให้เย็นสบาย อาหารไทยมีลักษณะเฉพาะ มีแกง น้ำพริก ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ต้มยำกุ้ง ฯลฯล้วนแต่อร่อยและแพร่หลายไปในต่างชาติ ยาไทยยังมีใช้อยู่ถึงปัจจุบัน เช่นยาเขียว ยาลม เป็นต้น ยาที่กล่าวมายังเป็นที่นิยมมีสรรพคุณในการรักษาได้ศิลปกรรมไทย เป็นวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงความเพียรพยายามในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีต คือ วรรณคดีไทย แสดงออกในทางตัวหนังสือ เช่น รามเกียรติ์ พระอภัยมณี ดนตรีไทย ยังทรงคุณค่าวัฒนธรรมไทยสื่อถึงความไพเราะอ่อนหวานใช้ดนตรีไทยทั้งระนาด กลอง ซอด้วง ซออู้ ฯลฯครบทั้งดีด สี ตี เป่า เพลงไทย เป็นการร้อยกรองบทเพลงร่วมกับดนตรีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทยเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา เป็นสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของ คนไทคือ

1) ออสตินออสเตรเลียเป็นเกาะที่อยู่ใกล้ที่สุดในหมู่เกาะแองกลิกันตอนใต้ของออสเตรเลีย

2) นิโกรลอยด์เข้ามาในขณะที่พวกเขาอยู่ที่ออสตินดาลมีความเจริญในภูมิภาคนี้แล้วพวกเขามีลักษณะผิวดำขนาดใหญ่ผมหยิกในปัจจุบันยังมีอยู่ในรัฐเปรัค อินเดียเงาะซาวดเซมังปาปวน

3) เมลานีซูดานบราซิลเป็นเผ่าพันธุ์ผสมระหว่างนิโกรลอยด์และออสตินบาเยิร์นนำเสนอพวกเขาไม่ได้อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีอยู่มากตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประเพณีแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยที่สืบเนื่องมา เป็นสิ่งที่คนไทยควรศึกษาทำความเข้าใจและช่วยกันอนุรักษ์ โดยปกติแล้วศาสนาและความเชื่อมีอิทธิพลต่อประเพณีไทย สำหรับประเพณีไทยจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ พระราชประเพณีและประเพณีในท้องถิ่นต่างๆ

วัฒนธรรมประเพณีของประเทศในทวีปเอเชีย

ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้จึงขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตร แต่มีบางประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม เช่น ญี่ปุ่น และบางประเทศเจริญก้าวหน้าทางการผลิตน้ำมัน เช่น ประเทศอิรัก อิหร่าน คูเวตในการศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของประเทศในเอเชีย ควรรู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับลักษณะสำคัญของประชากร และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมประเพณี

ลักษณะสำคัญทางประชากร

ประชากรที่อยู่ในภูมิภาคนี้มีหลายเผ่าด้วยกัน คือ

1) ออสตราลอยด์ เป็นพวกที่อยู่ในหมู่เกาะ ตั้งถิ่นฐานในแหลมมาลายู หมู่เกาะอินโดนีเซีย นิวกินี จนถึงทวีปออสเตรเลีย มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำ ผมหยิก จมูกใหญ่

2) นิโกรลอยด์ อพยพเข้ามาในขณะที่พวกออสตราลอยด์มีความเจริญในภูมิภาคนี้แล้ว พวกนี้มีลักษณะผิวดำ จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา ผมหยิก ในปัจจุบันยังมีอยู่ในรัฐเปรัค กลันตันของมาเลเซีย ภาคใต้ของอินเดีย (ดราวิเดียน) ได้แก่ เงาะ ซาไกเซมัง ปาปวน

3) เมลานีซอยด์ สันนิษฐานว่าเป็นเผ่าผสมระหว่างนิโกรลอยด์ และออสตราลอยด์ปัจจุบันพวกนี้ไม่มีอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีอยู่มากตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะนิวกินีและออสเตรเลีย

4) มองโกลอยด์ อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชียเข้ามาอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ประชากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นพวกเชื้อสายมองโกลอยด์ เช่น มอญ เขมร ไทยลาว เป็นต้นจากลักษณะทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และการอพยพของชนเผ่าต่างๆ ทำให้เกิดการผสมผสานของเผ่าพันธ์ุต่างๆ จนปัจจุบันแทบแยกไม่ออกว่าใครมาจากเผ่าพันธ์ุใ แท้จริงนอกจากนี้ยังมีประชากรที่อพยพมาจากเอเชียตะวันออก คือ จีน และมาจากเอเชียใต้ คือ อินเดีย เข้ามาอยู่ในภูมิภาคนี้

5) คอเคซอยด์ เป็นพวกผิวขาว หน้าตารูปร่างสูงใหญ่อย่างชาวยุโรป แต่ตา และผมสีดำ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออก และทางภาคเหนือของอินเดีย ได้แก่ชาว อาหรับ ชาวปากีสถาน ชาวอินเดีย และประชากรในเนปาล และภูฎาน

สิ่งที่มีอิทธิพลสำคัญต่อวัฒนธรรมของเอเชีย

สิ่งที่มีอิทธิพลสำคัญต่อวัฒนธรรมของเอเชีย คือ ภาษาและอิทธิพลของอารยธรรมภายนอก หรืออารยธรรมจากต่างชาติ

อารยธรรมจีน

จีนเข้ามาติดต่อค้าขายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่อดีตและเข้ามามีอิทธิพลทางด้านการเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ แต่อิทธิพลดังกล่าวมีไม่มาก ทางด้านการเมือง จีนอยู่ในฐานะประเทศมหาอำนาจ อาณาจักรต่างๆที่เป็นเมืองขึ้นต้องส่งบรรณาการให้จีน 3 ปีต่อครั้ง เพื่อให้จีนคุ้มครองจากการถูกรุกรานของอาณาจักรอื่น ส่วนทางด้านเศรษฐกิจจีนได้ทำการค้ากับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สินค้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น การค้าของจีนทำให้อาณาจักรที่เป็นเส้นทางผ่านมีความเจริญมั่นคงขึ้น ทางด้านวัฒนธรรม จีนมีอิทธิพลทางด้านนี้น้อยมากจีนจะเผยแพร่วัฒนธรรมไปยังประเทศของตนเท่านั้นอาณาจักรเวียดนามเคยตกเป็นประเทศราชของจีนเป็นเวลานานจึงรับวัฒนธรรมของจีนไว้มากเช่น การนับถือลัทธิขงจื้อ ลัทธิเต๋า ประเพณีการแต่งกาย การทำศพ และการใช้ชีวิตประจำวัน

อารยธรรมอาหรับ

ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ศาสนาอิสลามมาจากตะวันออกกลางได้แผ่เข้ามาในอินเดีย ทำให้ชาวอินเดียส่วนหนึ่งหันมานับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะพ่อค้าจากอินเดียตอนใต้ซึ่งติดต่อค้าขายในบริเวณหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่เป็นประจำ ได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ในภูมิภาคนี้ ผู้นำทางการเมืองของรัฐในหมู่เกาะต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เวลานั้นต้องการต่อต้านอำนาจทางการเมืองของอาณาจักรมัชปาทิต อาณาจักรฮินดูบนเกาะชวาซึ่งกำลังแผ่อำนาจอยู่จึงหันมานับถือศาสนาอิสลามเพราะให้ประโยชน์ทางการค้ากับพวกพ่อค้ามุสลิมตามหลักของศาสนาอิสลามที่ว่าทุกคนที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นเป็นพี่น้องกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จึงทำให้ศาสนาอิสลามเป็นที่นิยมของกษัตริย์ ชนชั้นสูงและสามัญชนด้วย

อารยธรรมตะวันตก

ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาในภูมิภาคนี้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการค้าและเผยแผ่ศาสนา สินค้าที่ชาวยุโรปต้องการได้แก่ พริกไทย และเครื่องเทศต่างๆ ในระยะแรกๆนั้น ความสนใจของชาวยุโรปจะจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณหมู่เกาะและบริเวณชายฝั่ง ตลอดจนดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกือบทั้งหมดเดิมอาณาจักรต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติและภาษาหลังจากที่ได้รับอารยธรรมอินเดีย จีน และอาหรับแล้ว อารยธรรมใหม่ที่เกิดจากการผสมผสานกัน ทำให้ประชาชนมีสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายคลึงกันและยึดมั่นเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ นอกจากนี้ภายในภูมิภาคก็ยังมีการแข่งขันกันทางด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ จนขาดความสามัคคี ไม่สามารถที่จะต่อต้านการขยายตัวของชาติตะวันตกได้ ในที่สุดก็ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก

วัฒนธรรม ประเพณีของจีน

ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ประชากรร้อยละ 93 เป็นชาวฮั่น ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยในสมัยโบราณ จีนนับเป็นดินแดนที่มีศาสนาและปรัชญารุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่มากมาย โดยลัทธิความเชื่อเดิมนั้นมีอยู่สองอย่างคือ ลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื้อ ซึ่งเน้นหลักจริยธรรมมากกว่าที่จะเป็นหลักศาสนาที่แท้จริง ส่วนพุทธศาสนานั้น จีนเพิ่งรับมาจากอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษแรกนี้เท่านั้น ครั้นมาถึงยุคคอมมิวนิสต์ ศาสนากลับถูกว่าเป็นปฎิปักษ์ต่อลัทธิทางการเมืองโดยตรง ต่อมาทางการก็ได้ยอมผ่อนปรนให้กับการนับถือศาสนาและความเชื่อต่างๆของประชาชนมากขึ้น ทำให้ลัทธิขงจื้อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม (ในเขตตะวันตกของจีน) และศาสนาคริสต์จึงได้กลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง

วัฒนธรรม ประเพณีจีนที่สำคัญ

ความเชื่อคนจีนนิยมมีลูกชายมากกว่าลูกหญิง เพราะลูกชายเป็นผู้สืบนามสกุล คือ แซ่ การเรียกชื่อสกุลของจีนตรงข้ามกับภาษาไทย คือต้นเป็นชื่อสกุล ชื่อตัวใช้เรียกกันในหมู่ญาติ และเพื่อนสนิท นามสกุลเป็นลักษณะพิเศษเชื้อตระกูลการสืบทอดพงศ์เผ่า ต่อมาเป็นพันๆปี ดังนั้นวัฒนธรรมจีนจึงมีจิตสำนึกการบูชาบรรพบุรุษ เป็นแก่นแท้ของวัฒนธรรมนี้

ตราบจนปัจจุบัน ชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ต่างประเทศยังคงรักษาประเพณีที่จะกลับมาสืบหาบ้านเกิดและบรรพบุรุษที่แผ่นดินใหญ่จีน หลายปีมานี้ในฐานะที่เป็นผลิตผลจากประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะพิเศษของสังคมโบราณจีน วัฒนธรรมเกี่ยวกับนามสกุลและเชื้อตระกูลของจีนได้กลายเป็น คลังสมบัติขนาดใหญ่สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์อันยาวนานของชนชาติจีนจากแง่มุมใหม่ เช่น การศึกษาแหล่งกำเนิด การแบ่งแยกและการผสมผสานของนามสกุลนั้น สามารถเพิ่มความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสังคมที่แตกต่างกันในสมัยโบราณให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกทั้งการศึกษาสิ่งของที่เป็นรูปธรรมต่างๆ เช่น หนังสือลำดับญาติของวงศ์ตระกูล ระบบการสืบช่วงวงศ์ตระกูล ฯลฯ สามารถสะท้อนถึงบทบาททางประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่มีต่อพัฒนาการของสังคมโบราณและชีวิตสังคม อย่างไรก็ตามลักษณะพิเศษหลายประการของสังคมโบราณจีน เช่น ระบบรวมศูนย์อำนาจ โครงสร้างของสังคมแบบครอบครัว ค่านิยมทางด้านศีลธรรมและจริยธรรมและหลักความประพฤติที่ถือความซื่อสัตย์ต่อกษัตริย์และการกตัญญูต่อพ่อแม่เป็นบรรทัดฐาน เป็นต้น ล้วนแสดงออกมาในวัฒนธรรมชื่อและนามสกุลอย่างเต็มที่ และก็เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่วัฒนธรรมนามสกุลได้รับความสนใจอย่างมากจากวงวิชาการ

ประเพณีการแต่งงาน

สิ่งแรกที่บอกถึงพิธีการแต่งงานของชาวจีนก็คือสีแดง สำหรับชาวจีนสีแดงหมายถึงความผาสุกและความมั่งคั่ง ปัจจุบันเจ้าสาวจีนจะเลือกชุดแต่งงานสีขาวตามสไตล์ตะวันตกแต่สำหรับสมัยก่อนแล้วสีแดง จะปรากฏให้เห็นทุกที่ในงานแต่งงานตั้งแต่เสื้อผ้า ของตกแต่งแม้กระทั่งของขวัญพิธีแต่งงานของชาวจีนโบราณมักจะถูกจัดโดยผู้เป็นพ่อแม่จะเป็นฝ่ายเลือกเจ้าสาวให้กับบุตรของตน นอกจากนี้ยังมีขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตามเป็นลำดับ ตั้งแต่การเจรจาต่อรอง การสู่ขอ การว่าจ้างซินแสมาตรวจดูดวงของคู่บ่าวสาวว่าสมพงษ์กันหรือไม่ จนไปถึงการตกแต่ง เรือนหอ ต้องเป็นสีแดง เพื่อความเป็นสิริมงคล จะมีการจัดหาชายหนุ่มและหญิงสาวมาทำการเตรียมเตียงให้กับเจ้าสาวนอกจากนี้ยังมีขบวนแห่รับเจ้าสาวจากบ้านของเจ้าสาวมาที่บ้านของเจ้าบ่าว ตามด้วยพิธีแต่งงาน การสักการะบูชาฟ้าดิน การถวายสัตย์ปฏิญาณ และการมอบของขวัญให้แก่กันหลังจากนั้นก็จะเป็นงานเลี้ยงฉลองซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้พิธีแต่งงาน ซึ่งเต็มไปด้วยแขกเหรื่อญาติสนิทมิตรสหายและคนรู้จัก อาหารชั้นดีและสุรา จนกระทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวพร้อมที่จะย้ายเข้าสู่เรือนหอ หลังจากนั้นเจ้าสาวก็จะกลับไปเยี่ยมบ้านเดิมของเธอเป็นเวลาสามวันก่อนที่จะย้ายกลับมาอยู่กับเจ้าบ่าวเป็นการถาวรพร้อมกับมีพิธีฉลองยิ่งใหญ่อีกครั้ง

วัฒนธรรม ประเพณีของชาติอาหรับ

ศาสนาอิสลามมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ “ชนชาติอาหรับ” และการแพร่ขยาย วัฒนธรรมประเพณีจากศาสนาอิสลาม จนทำให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาอิสลามที่มีจำนวน ผู้นับถือมากที่สุดในอเชีย วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญๆ ได้แก่การแต่งกาย ผู้หญิงมุสลิม แต่งกายมิดชิด มีผ้าคลุมร่างกาย และแต่ละชาติอาจแตกต่าง กันบ้างในรายละเอียดการถือศีลอด ชาวมุสลิมจะถือศีลอดในช่วงเดือนรอมะฎอน และชาวมุสลิมทั่วโลก รวมกันปฏิบัติศาสนกิจ และเฉลิมฉลองวาระสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนรอมะฏอนอันประเสริฐ หลังจากมีผู้พบเห็นจันทร์เสี้ยวหรือฮิลาสเมื่อค่ำคืนที่ผ่านมา ทำให้วันนี้เป็นวันแรกของเดือน เชาวาลฮิจเราะห์ หรือวันอิฎิ้ลฟิตริ โดยในวันนี้พี่น้องมุสลิมจะปฎิบัติตนตามแบบอย่างของท่านนบีมุฮัมมัดศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม โดยจะจ่ายซะกาตฟิตเราะห์ ซึ่งเป็นการนำอาหารหลักไปจ่ายให้กับคนยากจน และทุกคนอาบน้ำชำระร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า และแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงาม ทานอินทผลัมก่อนเดินทางไปยังที่ละหมาดหรือมุศ็อลลา ร่วมละหมาดอิฎิ้ลฟิตริ และเดินทางกลับในอีกทาง โดยเมื่อมีการพบปะกันจะมีการกล่าวทักทายกันด้วยว่า “ตะก็อบบะลั้ล ลอฮุมินนาวะมินกุ”