ข้อมูลกศน.ตำบลริมปิง

ข้อมูลทั่งไปของกศน. ตำบลริมปิง

          กศน. ตำบลริมปิง เดิมตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านป่าแก หมู่ที่ ๑ ตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยใช้อาคารเรียนเป็นศูนย์การเรียน ปัจจุบันได้ขอทำการย้ายขอเข้ามาอยู่ในเทศบาลตำบลริมปิงโดยใช้อาคารหลังเก่าโดยเทศบาลตำบลริมปิงให้ความอนุเคราะห์สถานที่ให้ตั้งเป็นกศน.ตำบลริมปิงเป็นศูนย์การเรียนรู้การศึกษาของนักศึกษากศน. ตำบลริมปิง หลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน ระดับดับประถมศึกษา   มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภูมิปัญญาของชุมชน และเป็นแหล่งบริการชุมชนในการจัดกิจกกรมต่าง ๆ

 ปัจจุบันมีครูกศน.ตำบลเป็นผู้รับผิดชอบเขตพื้นที่ตำบลริมปิง   ซึ่งมีทั้งสิ้นจำนวน๑๐ หมู่บ้าน ในการให้การสนับสนุนงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ให้บรรลุเป้าหมายในการจัดกระบวนการทางการศึกษาทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่การศึกษาพื้นฐาน การพัฒนาสังคมและชุมชน การพัฒนาอาชีพ และงานพัฒนาทักษะชีวิต

วิสัยทัศน์

“กศน.ตำบลริมปิงมุ่งจัดกิจกรรมและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต  เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  ให้ประชาชนทั่วไปสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายระดับตำบล ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ

           เพื่อให้การดำเนินงานจัดการศึกษาให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ ได้กำหนดพันธกิจดังนี้

๑.      ประชาชนไดรับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ ตามนโยบายและจุดเน้นกศนอำเภอเมือง

๒.      พัฒนาและส่งเสริมการศึกษาตามความต้องการของผู้รับบริการตามเกณฑ์มาตรฐานของกศน.และนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๓.      ส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

                                                                                                            ๘

เป้าประสงค์                                                                                                                  

              ๑. กศน.ตำบลริมปิงมีระบบบริหารการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามที่สำนักงานกศน.กำหนดสอดคล้องกับบริบทของชุมชน

              ๒. ประชากรวัยแรงงานมีระดับการศึกษาและคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น และมีอาชีพที่สามารถสรางรายไดใหกับตนเองและครอบครัวอยางยั่งยืน บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

              ๓.บุคลากรมีความรู้ความสามารถหลากหลาย สามารถพัฒนาจัดการศึกษาให้ประชาชนอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานกศน.

              ๔. กศน.ตำบลริมปิง พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาใชในการจัดกิจกรรมสงเสริมการเรียนรูใหแกกลุมเปาหมายและประชาชนทั่วไปอยางทั่วถึง

              ๕. กศน.ตำบล นําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพ มาใชในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยไดอยางมีประสิทธิผล

              ๖. กศน.ตำบลริมปิงร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชนอย่างทั่วถึง

กลยุทธ์ตำบล

กลยุทธ์ที่  ๑  พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามโครงสร้างการศึกษาส่งเสริมให้ประชาชนและกลุ่มเป้าหมายอายุ๑๕-๕๙ใน พื้นที่ตำบลริมปิง ๑๐ หมู่บ้านมีส่วนร่วมในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ  เป้าประสงค์ กลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ  เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดของกศน.ตำบลริมปิง

กลยุทธ์ที่  ๒  ส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลริมปิงร่วมกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมการศึกษาปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาในท้องถิ่นและส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี ของตำบลริมปิง

กลยุทธ์ที่  ๓  สร้างเครือข่ายและส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลริมปิงมีส่วนร่วมกิจกรรม แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการเมืองและกฎหมายภายใต้หลักประชาธิปไตยโดยขับเคลื่อนกิจกรรมสร้างความเป็นประชาธิปไตยในชุมชนร่วมภาคีเครือข่าย

กลยุทธ์ที่  ๔  ส่งแสริมให้ประชาชนตำบลริมปิงในพื้นที่ร่วมกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตความเป็นอยู่โดยส่งเสริมอาชีพมีงานทำ พัฒนาความเข้มแข็งยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีอยู่มีกินเพราะสอดคล้องกับเมืองอุตสาหกรรมและเมืองเกษตรกรรม

กลยุทธ์ที่  ๕  พัฒนาแหล่งเรียนรู้  ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธ์ภาพการศึกษา ให้เป็นฐานความรู้ของชุมชนโดยมีภาคีเครือข่ายในตำบลริมปิงมีส่วนร่วม

กลยุทธ์ที่  ๖ ส่งเสริมเครือข่ายและทุกภาคส่วนตำบลริมปิงจัดระบบและกลไกของการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีการเชื่อมโยงและมีการ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับแหล่งข้อมูลและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในตำบลริมปิง

กลยุทธ์ที่  ๗ ส่งเสริม ให้ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคงพึ่งพาตนเอง โดยให้จัดส่งเสริมอาชีพในชุมชนยึดหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิต  เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว                         และให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนอยู่รวมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุข(ศก)

กลยุทธ์ที่  ๘  ส่งเสริมพัฒนาการศึกษาตามแผนการปฏิบัติงานโดยเน้นนโยบายและจุดเน้น                           

กลยุทธ์ที่  ๙  เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรโดยใช้เครื่องมือติดตามรายงานการดำเนินงานเพื่อใช้ในการบริหารและการวางแผน

กลยุทธ์ที่  ๑๐ ส่งเสริมกิจกรรมการศึกษาร่วมกับเครือข่ายใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาในท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน/กลุ่มอาชีพเป็นฐานการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่  ๑๑ พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน                                                                                                                                                                                                                                                       

 ภารกิจที่รับผิดชอบ

          รับผิดชอบดูแลศูนย์การเรียนชุมชนตำบลริมปิง ดำเนินกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทุกงาน/ งานการศึกษาพื้นฐาน /งานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต / งานทักษะอาชีพ /งานเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน/ งานโครงการพิเศษ /และงานกิจกรรมอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำพูน ได้มีคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ๓๔/๒๕๕๔ เรื่องบรรจุพนักงานราชการ ลงวันที่  ๑๐ มกราคม ๒๕๕๔ – ปัจจุบัน  ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่

          ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครู กศน.ตำบลได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และอยู่ในความดูแลของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำพูน   มีคำสั่งศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำพูน เรื่อง มอบหมายงานในหน้าที่ให้ข้าราชการครู พนักงานราชการและลูกจ้างรับผิดชอบงานและปฏิบัติงาน ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้า มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานส่งเสริมการรู้หนังสือ  งานการศึกษาพื้นฐานนอกระบบ งานการศึกษาต่อเนื่อง งานการศึกษาตามอัธยาศัย และงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติในพื้นที่   ซึ่งข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงาน ที่ได้รับมอบหมายพอสรุปได้  ดังนี้

การส่งเสริมการรู้หนังสือ

              กศน.ตำบลริมปิงมีการสำรวจกลุ่มเป้าหมายประชากรวัยแรงงาน๑๕-๕๙ ปีและได้ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔๙ ได้บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐ วรรค ๑ บัญญัติว่า“การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบกับคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ได้กำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวในปีแรก โดยกำหนดไว้ใน ข้อ ๑.๓ การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ข้อ ๑.๓.๑ ว่า “ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี ๑๕ ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้แก่ทุกสถานศึกษา จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา ๒๕๕๒ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อชดเชยรายการต่าง ๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บจากผู้ปกครอง” อีกทั้งนโยบายของรัฐด้านการศึกษา ข้อ ๓.๑.๔ กำหนดว่า “จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี ๑๕ ปี ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน”  

สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานทางการศึกษาได้ดำเนินการจัดการศึกษาให้กับเป้าหมายสำหรับผู้ด้อยโอกาส ประชากรโดยการยกระดับการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์ใน

                                                                                                                             ๑๐

ชีวิตประจำวันมากขึ้น ทุกคนต้องพัฒนาทักษะในการคิด  การตัดสินใจ รวมทั้งการแสวงหาข่าวสารข้อมูลที่จะนำมาปรับใช้ในการดำเนินวิถีชีวิตของตนเอง ครอบครัวเพื่อส่งผลให้ส่งคมอบอุ่นสนานฉันท์ เอื้ออาทรเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำพูน จึงดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้กับนักศึกษาโดยมุ่งหวังว่าผู้จบหลักสูตรทางการศึกษาทุกคน มีคุณสมบัติอันพึ่งประสงค์ ดังนี้ เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต 

เป็นคนดีมีคุณธรรม ตรงต่อเวลา    ช่วยเหลือสังคม    เก่งในเนื้อหาวิชาการและกระบวนการแหวงหาความรู้ มีความเป็นอยู่อย่างสมถะเรียบง่าย พึ่งพาตนเองก่อให้เกิดความสุขต่อตนเองและครอบครัว

 

วิธีการจัดกิจกรรม

๑.ครู และผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์หลักสูตรและวางแผนการจัดการเรียนรู้ การเรียนการสอนตลอดภาคเรียน และจัดทำแผนการพบกลุ่มเป็นรายบุคคล รายกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย และเป็นไปตามความต้องการของนักศึกษา

๒.จัดการพบกลุ่ม ให้นักศึกษามีเวลามาพบกลุ่มไม่น้อยกว่าร้อย ๘๐ หากมีเวลาเรียนไม่ถึง จะไม่มีสิทธิ์สอบปลายภาคเรียน

๓.จัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ในเนื้อหาและเชิญผู้รู้มาสอนเสริม

๔.มอบหมายภารกิจให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (กรต.)

๕.ทดสอบย่อยระหว่างเรียนเป็นระยะ ๆ

๖.ผู้เรียนร่วมเสนอผลงานจากการไปศึกษาค้นคว้า ด้วยการปฏิบัติจริง โดยการจัดทำโครงงาน                        ๗.ผู้เรียนต้องเข้าสอบประเมินผลการเรียนปลายภาค เนื่องจากหลักสูตรได้กำหนดให้มีคะแนนเก็บ ๖๐ คะแนน และคะแนนสอบปลายภาค ๔๐ คะแนน

๘.ผู้เรียนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต หลักสูตรได้กำหนดให้นักศึกษาทุกคนต้องทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับละไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ชั่วโมง

๙.ผู้เรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และประเมินด้านคุณธรรมของสถานศึกษา กศน.อำเภอเมืองลำพูน

๑๐.ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน