4.5 การค้าออนไลน์

หลักการขายออนไลน์

ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต

กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์

องค์กรการค้าโลก ให้คำจำกัดความไว้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ความหมายของการขายออนไลน์

1. ความหมายของการซื้อขายออนไลน์

การซื้อขายสินค้าออนไลน์ หมายถึง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)เป็นการทำ

ธุรกรรมการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยทั้งสองฝ่ายไม่ต้อง พบกัน แต่ใช้การติดต่อขายทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถซื้อขายสินค้าได้ทุกรูปแบบสินค้าทุกประเภท ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก เกิดความสะดวกสบาย

2. ความหมายของการขายออนไลน์

การขายออนไลน์ หมายถึง การนำสินค้าไปประกาศขายตามเว็บไซต์ที่เป็นทำเล หรือ Maket placeที่ผู้ซื้อกับผู้ขายออนไลน์พบกัน ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ในไทย หรือ ในต่างประเทศเช่นTrade.com และ weloveshopping.com หรือ ในต่างประเทศ เช่น amazon.comและ ebaly.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำเร็จรูปที่สามารถประกาศขายได้ทันทีมีบุคคลเข้ามาดูสินค้าหรือ สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติม เพราะเป็นเว็บไซต์ขนาดใหญ่ และ มีค่าใช้จ่ายต่ำ

3. ความหมายของการเปิดร้านค้าออนไลน์

การเปิดร้านค้าออนไลน์ หมายถึง การสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อนำสินค้าของตนเองมาจำหน่ายผ่าน

ทางช่องทางออนไลน์ ซึ่งร้านค้าออนไลน์จะเหมือนกับร้านค้าทั่วไปนำสินค้ามาวางขายแต่มีความแตกต่างกันตรงที่ทำการซื้อขายทุกขั้นตอนผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้นสามารถซื้อขายได้ทุกที่ ทุกเวลา

ความสำคัญของการขายออนไลน์

ในโลกปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิต ไม่เพียงแต่การสืบค้นข่าวสารข้อมูลต่างๆ การติดต่อสื่อสารในกลุ่มเพื่อน แต่รวมไปถึงการซื้อขายสินค้าแบะบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ ที่เรียกกันว่า E-Commerce เพราะ E-Commerce คือ บริการการซื้อขายออนไลน์ มีความสำคัญ ดังนี้ ทำให้

การซื้อขายออนไลน์ สามารถซื้อขายได้ทุกที่ สร้างความสะดวกสบายให้ผู้ซื้อและผู้ขาย

เทคโนโลยี ก็ยังถือปัจจัยหลักที่ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตไปได้อย่างรวดเร็วมาก เพราะทำธุรกิจ E-Commerce ปัจจุบัน สามารถใช้งานได้หลากหลายช่องทางทั้งทางสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบของ E-Commerce มีความปลอดภัย โดย เว็บไซต์ E-Commerce ส่วนใหญ่จะมีระบบการจ่ายเงินที่สะดวกสบายแต่ระบบความปลอดภัยสูงมาก

เป็นช่องทางใหม่สำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยสร้างโอกาสในการขยายช่องทางการค้าขายให้ผู้ประกอบการได้มากยิ่งขึ้น และเป็นตัวช่วยหนึ่งในการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายและตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

เป็นวิธีที่ดีในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เพราะปัจจุบันสังคมออนไลน์ถือเป็นสื่อหลักที่ช่วยในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ได้อย่างดีเยี่ยม ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ดังนั้น จึงถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยขยายแบรนด์ ซึ่งช่วยเพิ่มฐานลูกค้าและขยายฐานธุรกิจออกไปอีกด้วย

ลักษณะของการขายออนไลน์

การขายสินค้าโดยปกติ ต้องมีหน้าร้านหรือแผงสำหรับการขายสินค้า อาจต้องเช้าพื้นที่ในห้าง หรือ ต้องหาพื้นที่เช่าอื่นๆในราคาไม่แพง นอกจากนั้นยังต้องซื้อสินค้ามาจัดวาง แต่การขายออนไลน์นั้นไม่ได้ยุ่งยากเพียงแค่ลงรายการสินค้า ลงรูป รายละเอียด และราคาของสินค้าในเว็บไซต์ก็สามารถขายของได้แล้ว ในกรณีใช้บริการเปิดร้านค้าออนไลน์ สามารถตั้งชื่อร้าน ตกแต่งป้ายร้านและหน้าตาของร้านได้ตามต้องการ ดังนั้น จะเห็นว่าการขายออนไลน์มีลักษณะที่ต่างจากร้านค้าปกติ ดังนี้

1. ใช้ต้นทุนต่ำกว่าเปิดร้านจริง การขายออนไลน์นั้นมีต้นทุนต่ำกว่าเปิดร้านจริงๆ เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าเช่าร้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน แต่ถ้าต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง หรือ ไปสมัครใช้บริการตามเว็บไซต์ที่ให้บริการเปิดร้านค้าออนไลน์หรือฝากขายสินค้าก็ต้องมีค่าเช่าพื้นที่ ค่าธรรมเนียมรายเดือน-รายปี หรืออาจจะแบ่งเปอร์เซ็นจากการขาย เป็นต้น

2. กลุ่มลูกค้ามีจำนวนมาก อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้โอกาสในการขายของออนไลน์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากสถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี 2012 พบว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตในแต่ละวันมากกว่า 6 ล้านคน แต่ละคนจะเข้าเยี่ยมชมหน้าเว็บอย่างน้อย 50 หน้าในแต่ละวันเวลาที่คนเข้าชมเว็บไซต์มากที่สุดคือ ช่วง 4-5 โมงเย็น และแต่ละยัง Search Enginge ในการค้นหาข้อมูล หรือ สินค้าประมาณ 8 ครั้งต่อวันอีกด้วย

3. เปิดร้านค้าได้ทุกวัน การเปิดร้านค้าทั่วไปจะต้องมีเวลาเปิด-ปิด เช่น เปิดร้านค้าเวลา 10 โมงเช้า ปิดร้านเวลา 1 ทุ่ม เปิดทุกวันจันทร์-เสาร์ หยุด วันอาทิตย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีคนคอยเฝ้าร้าน ซึ่งต้องแบ่งเวลาไปทำธุรกิจอื่นๆ แต่สำหรับการขายหรือเปิดร้านค้าออนไลน์แล้ว สามารถเปิดได้ทุกวัน ไม่จำกัดเวลา ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาชมสินค้าภายในร้านค้าหรือกระทู้ขายของได้ตลอดเวลา

4. เพิ่มช่องทางในการขายสินค้า สำหรับผู้ที่มีหน้าร้านค้าจริงอยู่แล้ว สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการขายสินค้าอีกทางหนึ่งเนื่องจากการเปิดร้านค้าออนไลน์ใช้ทุนไม่มาก สามารถลงรูปพร้อมรายละเอียดของสินค้าโปรโมชั่นใหม่ๆที่อยู่ของร้าน นอกจากนี้ยังช่วยโฆษณาและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านได้

5. ใช้เวลาไม่มากทำเป็นอาชีพเสริมได้ ถึงแม้ว่าจะมีงานประจำทำอยู่แล้ว ก็สามารถขายของหรือเปิดร้านค้าออนไลน์เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งได้ เพราะใช้เวลาในการดูแลร้านไม่มาก สามารถใช้เวลาในช่วงเช้าหรือพักเที่ยง เพื่ออีกทางหนึ่งได้ เพราะใช้เวลาในการดูแลร้านไม่มาก สามารถใช้เวลาในช่วงเช้าหรือพักเที่ยง เพื่อเข้ามาตรวจสอบดูกระทู้ในเว็บบอร์ดหรืออ่านอีเมล ว่ามีลูกค้าเข้ามาสอบถามหรือสั่งซื้อสินค้าของทางร้านหรือไม่ และเวลาจะส่งสินค้าให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ สามารถไปส่งที่ไปรษณีย์ ในวันเสาร์ก่อนเที่ยงได้ เพราะไปรษณีย์ไทยเปิดทำการในวันเสาร์ครึ่งวันด้วย จะได้ไม่รบกวน เวลาทำงานจนเสียงาน หรือ หากที่ทำงานอยู่ใกล้ไปรษณีย์ก็ถือว่าสะดวกมาก สามารถส่งสินค้าได้ทุกวัน

เครื่องมือการทำตลาดออนไลน์

แบบขั้นต้น (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

เครื่องมือการทำการตลาดดิจิทัลขั้นต้น แบบไม่มีค่าใช้จ่าย เหมาะสมกับผู้ประกอบการ

ชุมชนเพื่อจัดทำช่องทางการตลาดดิจิทัลให้รองรับกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้า โดยผู้ประกอบการจะต้องมีบัญชีอีเมล์และบัญชีเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งสามารถเปิดช่องทางในการประชาสัมพันธ์ได้ด้วยการทำการตลาดและประชาสัมพันธ์แบบขั้นต้น แบบไม่มีค่าใช้จ่ายที่มีความนิยม คือ การเปิดเพจร้านค้าบนเฟซบุ๊ก และการเปิดบัญชีไลน์แอด โดยทั้งระบบทั้งสองจะมีคุณสมบัติในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และการพูดคุยโต้ตอบ รวมทั้งการทำโปรโมชั่นสินค้า เฟซบุ๊กเพจ (Facebook Fanpage) เป็นเครื่องมือในการทำการตลาด เพื่อสร้างการรับรู้การมีตัวตนของร้านค้า โดยผู้ประกอบการชุมชนสามารถสร้างเรื่องราว (Story) ของร้านค้าเพื่อบอกเล่าให้ผู้ที่เข้ามาได้รับทราบเรื่องราวของร้านค้าและผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการชุมชนกำลังจำหน่าย การเปิดใช้เฟซบุ๊กเพจไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ แต่ถ้าหากต้องการจะประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กได้เห็นร้านค้าหรือเห็นโปรโมชั่นร้านค้า จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือการทำการตลาดดิจิทัลแบบขั้นสูง (มีค่าใช้จ่าย)

ไลน์แอด (Line@)

เป็นบัญชีทางการรูปแบบใหม่ (Official Account) สำหรับการเปิดเป็นช่องทางสำหรับการติดต่อ

กับลูกค้า ที่ตอบสนองผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อใช้เป็นช่องทางหลักที่มีคุณสมบัติ การติดตามได้ไม่จำกัด มีผู้ดูแลได้มากถึง 100 คน มีฟังก์ชั่นการกระจายข้อความข้อความ และการโต้ตอบอัตโนมัติและระบบอื่นๆที่รองรับ โดยสามารถดาวน์โหลดและติดตั้งบนโทรศัพท์ได้ โดยค้นหาคำว่า Line@ จาก Google Play Store และ App Store โดยใช้บัญชีอีเมล์เป็นข้อมูลสำหรับการสมัครใช้งาน

แบบขั้นสูง (มีค่าใช้จ่าย)

เครื่องมือการทำการตลาดดิจิทัลขั้นสูง แบบมีค่าใช้จ่าย เหมาะสมกับผู้ประกอบการชุมชนที่มีศักยภาพต้องการสร้างรายได้และการแข่งขันทางการตลาด เพื่อทำการส่งเสริมช่องทางการตลาดดิจิทัลให้กลุ่มเป้าหมายของสินค้า ได้รับรู้และเห็นร้านค้าและสินค้า โดยใช้เครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ในการนำเสนอข้อมูลให้กับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยเทคนิคการทำการตลาด วิธีต่างๆ โดยมีค่าใช้จ่ายตามเป้าหมายที่ต้องการให้รับทราบเนื้อหา โดยมีการนิยมใช้งานทั้ง เฟซบุ๊ก และการเปิดบัญชีไลน์แอด โดยระบบทั้งสองจะมีคุณสมบัติในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และการพูดคุยโต้ตอบ รวมทั้งการทำโปรโมชั่นสินค้า โดยเครื่องมือแต่ละตัวมีคุณสมบัติพิเศษดังต่อไปนี้

เฟซบุ๊กเพจ (Facebook Fanpage)

เฟซบุ๊กเพจ มีคุณสมบัติทางการตลาดดิจิทัล โดยมีความสามารถจัดทำการโปรโมทเพจ โปรโมทโพสที่ตนเองสร้างขึ้นบนเฟซบุ๊กให้กลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานเฟซบุ๊กได้เห็นได้ โดยจะสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับสินค้าได้เพื่อให้การประชาสัมพันธ์มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะมีการคำนวณค่าใช้จ่าย และประมาณการผู้ที่จะเห็นข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ประกอบการชุมชนจะต้องระบุและตั้งค่ากลุ่มเป้าหมายของตนเองให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จำหน่าย

ไลน์แอด (Line@)

ไลน์แอด สำหรับผู้ประกอบการชุมชนนั้น หากใช้ฟังก์ชั่นที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้วต้องการประกาศ

ให้ผู้ติดตามทราบโปรโมชั่นมากยิ่งขึ้น กว่า 1,000 ข้อความต่อเดือน หรือ 4 โพสบน Timeline จะมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการไลน์แอด โดยผู้ประกอบการชุมชนสามารถเลือกใช้บริการได้ตามกลุ่มเป้าหมาย โดยชำระเป็นค่าบริการรายเดือนสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้บริการได้ โดยคุณสมบัติของการกระจายข้อความ (Broadcast) ให้ผู้ติดตามทุกคนรับทราบนั้น จะช่วยสร้างการรับรู้โปรโมชั่นของลูกค้าได้