2.1 การใช้ประโยชน์ด้านการบริโภค

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ไผ่หลายครั้งที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร อาทิ “ให้ปลูกไผ่สีสุก ซึ่งเป็นไม้ท้องถิ่นที่มีลำต้นโต สามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์และสร้างที่อยู่อาศัยได้ให้เพิ่มมากขึ้น” (26 มกราคม 2548 – โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงบ้านปางขอน จังหวัดเชียงราย) “ความจริงน่าจะสอนราษฎรให้ปลูกต้นไม้ พวกไผ่ จะได้ยึดน้ำไว้ใต้ดิน” และพระราชเสาวนีย์ให้ “ขยายการปลูกไผ่ให้มากขึ้น” (31 มกราคม 2548-โครงการพัฒนาบ้านกอก-บ้านจูน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดน่าน) เป็นต้น

ไผ่เป็นของป่าชนิดหนึ่ง หน่อไผ่เป็นอาหารพื้นบ้าน ลำไผ่นำมาสร้างที่อยู่อาศัย ทำเป็นแนวรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง ทำเสาโป๊ะล้อมจับปลาในทะเล ทำที่ค้างผักและผลไม้ ใช้ในงานด้านก่อสร้าง อุตสาหกรรมกระดาษและอุตสาหกรรมไหมเทียม หรือจักสานใช้สอยในครัวเรือนในชีวิตประจำวัน สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวในระดับท้องถิ่นได้ ใบใช้เป็นภาชนะห่อของและมุงหลังคา เป็นต้น

ในเชิงเศรษฐกิจไผ่และหน่อไผ่หรือหน่อไม้สามารถสร้างงานในการปลูก เก็บเกี่ยว การผลิต และการขนส่ง เป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้แก่ประเทศ และโดยภาพรวมช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ ตั้งแต่ระบบรากที่สานกันอย่างเหนียวแน่นช่วยยึดดินตามไหล่เขาและริมห้วยไว้ไม่ให้พังทลาย ดินขุยไผ่มีลักษณะร่วนโปร่งเบาเหมาะกับการปลูกพืชพิเศษบางชนิด

หน่อไผ่ หรือ หน่อไม้ สามารถนำมาใช่1นการปรุงอาหาร มีทั้งประเภทรับประทานสด ต้ม นึ่ง ดอง ตากแห้ง หน่อไผ่หลายชนิดสามารถนำมาเป็นอาหาร ส่วนมากเป็นไผ่พื้นเมือง ได้แก่ไผ่รวก ไผ่รวกดำ ไผ่ซางดำ ไผ่ซางนวล ไผ่ ป่า ไผ่หนาม ไผ่สีสุก และไผ่จากนอก (ไผ่ตง ) หน่อไม้ที่ใช้ในการอัดปีบ เช่น หน่อไม้ไผ่ตง อัดเป็นปีบขนาด 20 กก. มีทั้ง เนื้อหน่อไม้ ยอดหน่อไม้ เศษหน่อไม้ และหน่อไม้ฝอย หน่อไม้ไผ่รวกนิยมนำมาอัดปีบกันมากในพื้นที่จังหวัด กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ และขอนแก่น ไผ่สีสุก นิยมทำหน่อไม้ปีบทั้งหัวหรือเป็นหน่อไม้ฝอย ส่วนในจังหวัดกาญจนบุรีและพิษณุโลกนิยมนำไผ่ป่ามาทำเป็นหน่อไม้ดอง

การใช้ลำ

การใช้ลำไผ่ต้องคัดเลือกไผ่ที่มีอายุหลายปีเพื่อให้ได้เนื้อไม้ ลำไผ่มีความแข็งแกร่งมากโดยเฉพาะเมื่อผ่านการอบแห้งอัดน้ำรักษาเนื้อไม้แล้ว สามารถนำมาสร้างบ้าน ทำรั้ว ทำสะพานเดิน เครื่องเรือน ของเด็กเล่น นั่งร้านก่อสร้าง หมวก เครื่องดนตรีพื้นบ้านหลายชนิด ชนิดไผ่ที่ควรปลูกไว้ใช้สอย ได้แก่ ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่ซางชนิดต่างๆ ไผ่หก ไผ่บง และไผ่ไร่

โดยธรรมชาติลำไผ่จะกลม แต่เราสามารถบังคับลำไผ่ให้เป็นเหลี่ยมได้ด้วยการครอบท่อเหลี่ยมบังคับ โดยค่อยๆ เลื่อนขึ้นไปตามลำไผ่ที่โตหรือสูงขึ้น ประโยชน์ของไผ่

ไม้ไผ่ เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม และเป็นพืชที่ลำต้นกิ่งมีลักษณะแปลกสวยงาม ไผ่เป็นไม้ที่ตายยาก ถ้าไผ่ออกดอกเมื่อใดจึงจะตาย แต่ก็ยากมากและนานมากที่ไผ่ จะออกดอก ไม้ไผ่มีประโยชน์มากกับคนเราคนเราสามารถนำไม้ไผ่มาสร้างบ้านที่อยู่อาศัย และทำเครื่องจักสานอื่นๆอีกมากมายสำหรับไม่ไผ่นั้นใช้ได้ทุกส่วนตั้งแต่ หน่อ ลำต้น ใบ ราก เยื่อไผ่ ขุยไผ่ มีประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันเราสามารถนำไม้ไผ่มาจักรสานทำเป็นอาชีพหารายได้ให้แก่ครอบครัว และยังเป็นงานที่เราส่งออกไปขายอยู่นอกประเทศสำหรับคนไทยเราแล้ว งานที่ใช้ฝีมือถือว่าเป็นงานที่ประณีตระเอียดและสวยงามมาก

1. ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ

– ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง

– ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ

– ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน

– ให้ความร่มรื่น

– ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน

2. ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์

จาก ความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอ และการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ไผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

3. ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่

– เนื้อไผ่ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ

– เส้นไยใช้ทำไหมเทียม

– เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้

– ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด

4. การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม แบ่งออกได้ ดังนี้ ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด กระบุง กระด้ง กระเช้าผลไม้ ตะกร้าจ่ายตลาด ชะลอม ตะกร้าใส่ขยะ กระเป๋าถือสตรี เข่งใส่ขยะ เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา ลอบ ไซ ฯลฯผลิตภัณฑ์จากลำต้น และกิ่งของไม้ไผ่ ได้แก่ เก้าอี้ โต๊ะ ชั้นวางหนังสือ ทำด้ามไม้กวาด ไม้เท้า คันเบ็ด ราวตากผ้า โครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำแคร่ นั่งร้านก่อสร้าง ท่อส่งน้ำ รางน้ำผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่ ถาดใส่ขนม ทัพพีไม้ ตะเกียบ

ไม้เสียบอาหารกรอบรูป ไม้ก้านธูป ไม้พาย ไม้เกาหลัง เครื่องดนตรี พื้นบ้าน ไม้บรรทัดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีกได้แก่ โครงโคมกระดาษ โครงพัด โครงร่ม ลูกระนาดคันธนู พื้นม้านั่ง แผงตากปลา สุ่มปลา สุ่มไก่

5. ประโยชน์ทางด้านการบริโภค เช่น การนำหน่อไม้ไผ่มาทำเป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นซุบ แกง ต้ม หรือนำมาดองจิ้มน้ำพริก