1.4 สถานการณ์ไผ่ในประเทศไทย

สถานการณ์ไผ่ในประเทศไทยจากอดีตถึงป้จจุบัน ประเทศไทยสำรวจพบไผ่มากกว่า 72 ชนิด ใน 17 สกุล ที่การกระจายตามภูมิภาคต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญในวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีของชุมชน ท้องถิ่นไทย และกลุ่มชาติพันธุต่างๆ ทั้งในวิถีบริโภค วิถีการผลิต เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือจับสัตว์นํ้า นอกจากนี้ ยังมีบทบาทต่อระบบนิเวศทั้งการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารของสัตว์ป่า การยึดตลิ่งริมนํ้าท่าม กลางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของฝน ไมัใผ่ ยังมีศักยภาพในการเก็บกักคาร์บอนและช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ อีกทางหนึ่ง บทบาทที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ด้านเศรษฐกิจของสังคมไทยทั้งภาพรวมของประเทศ และเศรษฐกิจ ท้องถิ่น จากรายงานการนำเข้าและส่งออกไมีไผ่ปีล่าสุดของกรมป่าไม้ในปี พ.ศ. 2550 มีมูลค่านำเข้า 40 ล้านบาท และส่งออก 60 ล้านบาท ในส่วนของหน่อไม้ มีมูลค่าการแปรรูปภายในประเทศประมาณ 1,400 ล้านบาท และส่ง ออกไม่ตํ่ากว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลภาพรวมมูลค่าเศรษฐกิจ และระบบการตลาดภายใน ประเทศ และที่เชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ ปัจจุบันมีผู้รับชื้อไผ่ราว 40-50 ราย โดยแต่ละรายรับชื้อปีละ 12,000 ตันปริมาณรวมในการชื้อขายประมาณ 480,000-600,000 ตันต่อปี โดยแหล่งผลิตไผ่ เพื่อการค้านั้นได้จาก การตัดในป่าธรรมชาติแถบจังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี และการส่งเสริมการปลูกไผ่นอกพื้นที่ป่า ทั้งนี้แนวโน้ม ความ ต้องการในประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งการใช้ในภาคการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์นั้า การประมง การลดการกัดเซาะชายส่ง ส่วนการส่งออกนั้นประเทศไทยมีการส่งออกน้อยลง ขายไต้ในราคาตํ่า เพราะสินค้ามี คุณภาพตํ่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างประเทศจีน ดังนั้นแนวทางในการจัดการไผ,ในมุมของ นักการตลาดคือ “ปลูกสายพันธุที่ต้องการ มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ” โดยการปลูกขยายพันธุใช้วิธีการแยกเหง้า เพื่อลด ต้นทุน ด้านเวลา และได้ผลเร็ว นอกจากนี้ยังพบประเด็นปัญหาเกี่ยวกับด้านการตลาดคือ การขาดความมั่นใจ ระหว่างผู้ผลิตวัตถุดิบกับผู้แปรรูป นั่นคือหลักประกันที่ว่า ปริมาณวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามที่ผู้แปรรูปต้องการ หรือ กำลังผลิตที่ตอบสนองกับระบบการแปรรูปผลิตภัณฑ์


ขอบคุณ : Forestbook