3.1 การเผาถ่านไม้ไผ่

การเผาถ่าน เป็นวิถีดั้งเดิมที่พบเห็นได้ทั่วไปตามพื้นที่ส่วนใหญ่ในชนบท ถ่าน ที่ได้จากการเผาจะถูกนำ ไปใช้ประโยชน์สำ หรับการหุงต้มและทำ ประโยชน์อื่นๆ ใน ระดับครัวเรือน หรือบางครัวเรือนมีการทำ เป็นอาชีพผลิตถ่านขายสร้างรายได้ให้ กับครอบครัว โดยอาศัยวัตถุดิบในการเผาถ่านจากไม้ตามหัวไร่ปลายนา ป่าชุมชน และป่าสาธารณะต่างๆ แต่ในปัจจุบันเนื่องจากสภาพพื้นที่ป่าไม้ลดลงจึงส่งผลให้ ขาดแคลนไม้ที่ใช้ในการเผาถ่าน เราจึงพบเห็นการเผาถ่านลดน้อยลง มีการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงชนิดของเตาเผาถ่านที่ใช้แบบดั้งเดิมซึ่งส่วนใหญ่เป็นเตาที่ใช้สำ หรับ เผาไม้ขนาดใหญ่ หรือสามารถเผาได้คราวละ จำนวนมาก และภายใต้สถานการณ์ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การเผาถ่านแบบดั้งเดิมถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำลาย สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการเผาถ่านแบบดั้งเดิมจึง ถูกนำ เข้ามาส่งเสริมเพื่อใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการผลิตถ่าน ทั้งนี้การเผาถ่านในแต่ละ พื้นที่ยังมีการใช้วัตถุดิบจากชนิดไม้ที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค บางพื้นที่มีการ ปลูกไม้ทดแทนสำ หรับใช้ในการเผาถ่านโดยเฉพาะ หรือบางพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลง ชนิดไม้ที่ใช้ในการเผาถ่านตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ องค์ความรู้ต่างๆจากการ เผาถ่านจึงควรมีการรวบรวมไว้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้วิถีดั้งเดิมของการเผาถ่าน และได้ เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่เพื่อใช้ในการพัฒนาให้มีการเผาถ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น รวมถึงสามารถช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นได้ ถ่านไม้ ผลผลิตและประโยชน์จากการเผาถ่าน ถ่านไม้ เป็นผลผลิตที่ได้จากไม้ซึ่งถูกสลายตัวด้วยความร้อน โดยทำการเผา ไหม้ถ่านภายในบริเวณที่มีอากาศอยู่เบาบาง หรือในทางเทคนิคคือกระบวนการแยก สารอินทรีย์ภายในไม้ในสภาวะที่มีอากาศอยู่น้อยมาก เมื่อมีการให้ความร้อนระหว่าง การเผาถ่าน จะช่วยกำจัดน้ำ น้ำ มันดิน และสารประกอบอื่นๆออกจากไม้ ผลผลิตที่ได้จากกระบวนการ คือ สารต่างๆประกอบด้วย คาร์บอน (80%) นอกจากนั้นจะ เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (10-20%) เถ้า (0.5-10%) และแร่ธาตุต่างๆ เช่น กำ มะถันและฟอสฟอรัส ถ่านที่ได้จากกระบวนการผลิตจะมีปริมาณคาร์บอนสูงและ ไม่มีความชื้น ทำ ให้มีปริมาณพลังงานในถ่านสูง โดยมีค่าเป็นสองเท่าของปริมาณ พลังงานในไม้แห้ง (สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์, 2549


ลักษณะของถ่านไม้ที่มีคุณภาพดีไม่จำ เป็นต้องเป็นถ่านที่มีค่าความร้อนสูงสุด แต่ต้องมีคุณสมบัติที่ดีของถ่านทางด้านอื่นๆ ประกอบ คือ เป็นขี้เถ้าน้อย มีฝุ่นถ่าน น้อย ใช้ได้นาน ร้อนระอุ ไม่มีควันหรือกลิ่นฉุนในขณะลุกไหม้ ไม่มีการแตกปะทุใน ขณะติดไฟ หรืออาจจะมีการแตกปะทุได้บ้างเพียงเล็กน้อย มีความแกร่งของถ่าน แตกหักยาก ทำ ให้สะดวกในการขนส่งและเก็บรักษา ((บริษัททีวีบูรพาจำกัด, 2556) และ (จิระพงษ์คูหากาญจน์, ไม่ระบุ)) ทั้งนี้ถ่านจะมีคุณภาพดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย คือ

1 ชนิดของไม้ที่ใช้ในการผลิตถ่าน โดยทั่วไปไม้เนื้อแข็งจะให้ถ่านไม้ที่มี คุณภาพดีกว่าไม้เนื้ออ่อน จากข้อมูลการสอบถามพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้ถ่าน และผู้ผลิตถ่าน พบว่าถ่านไม้ที่มีคุณภาพดีที่สุดคือถ่านจากไม้โกงกาง และถ่านจากไม้มะขาม โดยเชื่อ ว่าถ่านจากไม้มะขามจะให้พลังงานความร้อนสูง และมีระยะเวลาการเผาไหม้นานกว่า ไม้ชนิดอื่น (อธิรัช ราชเจริญ, 2555)

2 การควบคุมอุณหภูมิและอากาศถ้าสามารถควบคุมอุณหภูมิภายในเตาถ่าน ขณะที่เผาถ่านให้คงที่ 400 องศาเซลเซียส ก็จะได้ปริมาณเนื้อถ่านสูง แต่ถ้าอุณหภูมิสูง กว่านี้จะได้เนื้อถ่านน้อย ดังนั้นถ้าต้องการเร่งเวลาให้เผาถ่านเสร็จเร็ว โดยโหมเร่งไฟ หน้าเตามาก ความร้อนจะเข้าไปในเตาเร็วและมาก ทำ ให้ไม้ฟืนในตัวเตาลุกติดไฟและ เผาไหม้อย่างรวดเร็ว ผลผลิตถ่านที่ได้จะน้อยและคุณภาพไม่ดี มีปริมาณก๊าซจากเนื้อ ไม้มากถ่านจึงไม่แกร่งแต่ถ้าควบคุมอากาศและไฟหน้าเตาให้ค่อยเป็นค่อยไป ปริมาณ ก๊าซจากไม้ฟืนในเตาจะน้อยและทำ ให้ถ่านมีคุณภาพดีกว่า (สุพรชัย มั่งมีสิทธิ์, 2549) สำ หรับประโยชน์ของถ่านไม้นอกเหนือจากการได้ถ่านที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการหุงต้ม ประกอบอาหาร ถ่านไม้ยังมีประโยชน์


การเผาถ่าน

การเผาถ่านโดยใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร เป็นวิธีการเผาที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ การเผาถ่านในแบบถังแดงในแต่ละครั้งจะได้ถ่านประมาณ 15 กก. การติดตั้งสามารถทำได้ดังนี้

1.ตัดฝาถังด้านบน เพื่อใช้เป็นส่วนของฝาเตาที่สามารถเปิดปิดได้ เพื่อนำไม้เข้าในเตาและนำถ่านออกมาจากเตา

2.เจาะรูในส่วนที่เป็นฝาถัง ขนาดประมาณ 20x25 cm. เพื่อทำหน้าที่เป็นปากเตา ใช้สำหรับปล่อยให้อากาศเข้า และเจาะรูด้านก้นถังใหม่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 ซม. เพื่อที่จะสามารถติดตั้งสามทางปูนขนาด 4 นิ้ว ซึ่งจะใช้ต่อกับท่อใยหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร

3.ขุดหลุมลึกขนาด 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง เพื่อติดตั้งถังลงในหลุมตามแนวนอนและติดตั้งปล่องควัน และกลบตัวถังด้วยดินหรือทรายเพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน

4.ตัดไม้ที่จะใช้เผาถ่าน มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 80 ซม. บรรจุใส่ถังในแนวนอนตามยาวของถังไม้ที่มีขนาดใหญ่ก็ควรจะผ่าเสียก่อน

5.ปิดฝาถังให้แน่นหนาอุดรอยต่าง ๆ ด้วยดินเหนียวไม่ให้เป็นช่องทางให้อากาศเข้าได้ นอกจากทางปากเตา

6.จุดไฟที่ปากเตาเพื่อเริ่มต้นเผาถ่าน ระมัดระวังตำแหน่งของกองไฟหน้าเตาไม่ให้เข้าใกล้เตาจนเกินไป ตำแหน่งที่เหมาะสมคือประมาณ 1 ฟุต ปล่อยให้ไอร้อนเท่านั้นที่ไหลเข้าไปในเตา

7.เมื่อเวลาถ่านสุกให้สังเกตว่าไม่มีควัน ออกมาจากปากปล่องอีก ให้ทำการอุดปากเตาและปากปล่องด้วยดินเหนียวรวมทั้งรอยรั่วอื่น ๆ จนควันไม่สามารถเล็ดลอดออกมาได้โดยเด็ดขาด

8.ทิ้งเตาไว้ เตาจะเย็นลงจนสามารถเปิดเตานำถ่านออกมาได้ในเช้าของวันถัดไป