ช่างเขียน

ช่างเขียน คือ บุคคลที่มีฝีมือ และ ความสามารถกระทำการช่าง ในทางวาดเขียน และ ระบายสี ให้เกิดเป็นลวดลาย หรือ รูปภาพต่างๆ ได้อย่างงดงาม เป็นที่พิศวง และ เป็นสิ่งน่าพึงตาพอใจแก่ผู้ได้พบเห็น

ช่างเขียนแต่โบราณ หรือ แต่ละพื้นถิ่นสยามประเทศ ได้มีคำเรียกต่างกันออกไป อาทิ ช่างแต้ม ช่างเขียนสี น้ำกาว ช่างเขียนลายรดน้ำ เป็นต้น

ในบรรดาช่างประเภทต่างๆ ในหมวดช่างสิบหมู่ด้วยกัน ช่างเขียน จัดว่าเป็นช่างที่มีความสำคัญยิ่งกว่าช่าง หมู่ใดๆ ทั้งนี้ เนื่องจากการวาดเขียน และ การเขียนระบายสี เป็นที่ยอมรับนับถือว่า เป็นสื่อที่มีศักยภาพยิ่ง สำหรับ ถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ออกมา ให้ปรากฏในลักษณะรูปธรรมที่ชัดเจน สามารถใช้เป็นต้นแบบ นำไปสร้างสิ่งต่างๆ ได้ต้องตามความประสงค์ หรือ เป็นต้นแบบที่มีความสำเร็จ และ มีคุณค่าเฉพาะในตัวชิ้นงานนั้นโดยตรง ดังมีหลักฐาน เป็นที่ปรากฏ โดยสำนวนภาษาในหมู่ช่างไทยแต่ก่อนพูดติดปากต่อๆ กันมาว่า

“ช่างกลึงพึ่งช่างชัก ช่างสลักแบบอย่างพึ่งช่างเขียน ช่างติ และช่างเตียน ดันตะบึงไม่พึ่งใคร”

อนึ่ง ช่างเขียน หรือ สาระสำคัญของวิชาช่างเขียน ยังได้รับความนับถือว่า เป็นหลักใหญ่ที่มีความสำคัญ กว่าวิชาการช่างศิลปะแบบไทยประเพณีทั้งหลาย ดังจะเห็นได้ว่า ในโอกาสที่ประกอบการพิธีไหว้ครูช่างประจำปี และ มีการรับผู้เข้ามามอบตัว เป็นศิษย์ใหม่ในสำนักช่างนั้นๆ บุคคลผู้เป็นครูช่าง หัวหน้าสำนักช่าง หรือ เจ้าพิธีไหว้ครูจะทำ การ “ครอบ” หรือ “ประสิทธิประสาธน์” ให้ผู้ที่เข้าเป็นศิษย์ใหม่ ให้เป็นผู้ได้รับวิชา และ การฝึกหัดเป็นช่างต่อไป ได้ทำการ “ครอบ” แก่ศิษย์ใหม่ เป็นปฐมก็คือวิชาช่างเขียน โดยผู้ครอบ จับมือศิษย์ใหม่ให้เขียนลายหรือ รูปภาพตามรอยเส้นลายมือของครูเป็นประเดิม

Painting

In the past, Thai Painting was created in order to decorate Buddhis architecture, such as walls of ubosot (Buddhist Ordination Hall) and vihara, and to decorate Buddhist appliaces, including some books, such as the image of "Phra Bot" (Buddhist Banner) and the illustrated manuscripts of "Tri Bhumi" (Buddhist Cosmology), which were recognized as Buddhist offerings. They were used to explain the essence of Buddha's teaching and the story of Loard Buddha's life. Buddhist painting could draw attention. Consequently, belive and faith in Buddhism occurred. The paintings also reflected custom, tradition, lifestyle of Thai societies in each period. They expressed painters' concepts of beauty, art esthetics, artistic tastes, talent, and painting techniques.

From the two-dimesional mural painting, monochrome and tempera in Sukhothai Period (14th Century), polchrome, fresco, golden leaf painting and "Sen Sin Thao" (zigzag design) to divide each moral scene were added during Ayutthaya Period (15th - 18th Century). In early Rattanakosin Period, natural scenes used as a division between two different scenes and bird's-eye view were initiated.

In the late 19th Century, Thai traditional paintings were influenced by Western art. The Western concept was based on the interdisciplinay of vision science (realistic virtualization). Khrua-In-Khong was a leading painter of the era. In the 20th century, Prince Narisara Nuvativongse applied Anatomical science on painting human figures. It made human figures became more realistic, but still remained Thai conventional contents. His style strongly influenced Thai painters in the late periods.

Nowadays, there are both Thai traditional painting and created painting, which is the combination of styles and techniques between Thai and Western art. Some distinctive paintings, for example, are the moral painting on the inner wall of Phra Buddha Rattanastan Ubosot at the Grand Palace and the illustration of "Phra Mahachanok", the literary work of King Bhumipol Adulyadej.

ผู้ให้ข้อมูล นายสุเมธ เอี่ยมประชา ศรีหงส์ นักวิชาการช่างศิลป์