ช่างรัก

คำว่า “ช่างรัก” เป็นคำเรียกช่างประเภทหนึ่ง ซึ่งอาศัย “รัก” เป็นวัตถุปัจจัยสำคัญ สำหรับประกอบงาน ศิลปกรรม เนื่องด้วยการตกแต่ง ที่ลักษณะของงานเป็นไปในลักษณะประณีตศิลป หรือ มัณฑนศิลป เป็นต้น

รัก หรือ ยางรัก มีคุณลักษณะเป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่ประสงค์จะทา หรือ ถมทับ หรือ เคลือบผิวได้ดี มีคุณสมบัติที่ทำให้ผิวพื้นซึ่งทา หรือ เคลือบรัก เป็นผิวมันภายหลังรักแห้งสนิท มีคุณภาพคงทนต่อ ความร้อน ความชื้น กรด หรือ ด่างอ่อนๆ และ ยังเป็นวัสดุที่ใช้เชื่อมสมุก หรือ สีเข้าด้วยกัน เชื่อมระหว่างผิวพื้นกับวัสดุ สำหรับตกแต่ง เช่น กระจกสี เปลือกหอย และ ยังใช้ผสมสีเข้าด้วยกัน มาแต่โบราณกาล งานศิลปกรรมที่ประกอบด้วยรัก ลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามที่กล่าวมานี้ เรียกว่า “เครื่องรัก” หรือ “งานเครื่องรัก”


“รัก” เป็นชื่อยางไม้ชนิดหนึ่ง เป็นวัสดุที่ได้จาก “ต้นรัก” [lac tree (ภาษาพฤกษศาสตร์ ; melanorrhoea usitata)] คือ ต้นไม้ยืนต้นขนาดย่อม การนำยางรักจากต้นรักมาใช้ ทำด้วยการกรีด หรือ สับด้วยมีดที่ลำต้นรัก ให้เป็นรอยยาวๆ ยางรักจะไหลออกมาตามรอยที่กรีด หรือสับนั้น นำภาชนะเข้ารองรับน้ำยางรักเป็นคราวๆ เก็บรวบรวมไว้ ใช้งานตามขนาดที่ต้องการ ยางรักนี้บางแห่งเรียกว่า “น้ำเกลี้ยง” หรือ “รักน้ำเกลี้ยง” ก็มี “รัก หรือ ยางรัก” แต่ละชนิดที่ช่างรัก ใช้ประกอบงานเครื่องรัก มีคุณลักษณะดังนี้

  1. รักดิบ คือ ยางรักสด ที่ได้จากการกรีด หรือ สับจากต้นรัก ลักษณะเป็นของเหลวสีขาว เมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่งจะ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และ จะกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ รักดิบนี้จะต้องผ่านการกรองให้ปราศจากสิ่งสกปรกปะปน และ จะต้องได้รับการขับน้ำที่เจืออยู่ตามธรรมชาติในยาง ให้ระเหยออกตามสมควรก่อน จึงนำไปใช้ประกอบงานเครื่องรัก
  2. รักน้ำเกลี้ยง คือ รักดิบที่ผ่านการกรอง และ ได้รับการขับน้ำเรียบร้อยแล้ว เป็นน้ำยางรักบริสุทธิ์ จึงเรียกว่า "รักน้ำเกลี้ยง" เป็นวัสดุพื้นฐาน ในการประกอบงานเครื่องรักชนิดต่างๆ เช่น ผสมสมุก ถมพื้นทาผิว
  3. รักสมุก คือ รักน้ำเกลี้ยงผสมกับ “สมุก” มีลักษณะเป็นของเหลวค่อนข้างข้น ใช้สำหรับอุดแนวทางลงพื้น และ ถมพื้น
  4. รักเกลี่ย คือ รักน้ำเกลี้ยงผสมกับสมุกถ่านใบตองแห้งป่น บางทีเรียกว่า “สมุกดิบ” ใช้เฉพาะงาน อุดรูยาร่อง ยาแนวบนพื้นก่อนทารัก สำหรับปิดทองคำเปลว
  5. รักเช็ด คือ รักน้ำเกลี้ยง นำมาเคี่ยวบนไฟอ่อนๆ เพื่อไล่น้ำให้ระเหยออกมากที่สุด จนได้เนื้อรักข้น และเหนียว จัด สำหรับใช้แตะ ทา หรือ เช็ดลงบนพื้นแต่บางๆ เพื่อปิดทองคำเปลว หรือ ทำชักเงาผิวหน้างานเครื่องรัก
  6. รักใส คือ รักน้ำเกลี้ยงที่ผ่านกรรมวิธีสกัดให้สีอ่อนจาง และเนื้อโปร่งใสกว่ารักน้ำเกลี้ยง สำหรับใช้ผสม สีต่างๆ ให้เป็นรักสี

รัก แต่ละชนิดดังที่ได้แนะทำให้ทราบนี้ ล้วนมีที่มาจาก “รักดิบ” อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น รัก แต่ละชนิดจะมีคุณภาพ มากหรือน้อยก็ดี นำมาประกอบงานเครื่องรักแล้วจะได้งานที่ดี มีความคงทนถาวรเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ พื้นฐานของรักดิบ ที่ช่างรักรู้จักเลือกรักดิบ ที่มีคุณภาพดีมาใช้

Lacquering

Thai traditional lacque work comprises tow inportant skilled craftmen to work together. There are 'Chang Rak' (artisan of lacquer work) and 'Chang Khian' (artisan of painting).

At the beginning, 'Chang Rak' was in charge of making Rak lacquer vanish. However, in the later period. 'Chang Rak' had to practice lacquer vanishing and gold leaf gilding as well.

'Chang Khian' will sketch the patterns on the surface of and object, which is already covered with Rak lacquer or vermilion cinabar, and gild it with gold leafs. After that rinse the water through the object, and the detailed patterns or pictures are created in gold outlines. This technique is called 'Lai Pidthong Rodnam', which literally means to gild with the fgold leafs, and followed by pouring the water. The workd 'Lai Pidthong Rod Nam' was finally corrupted to 'Lai Rod Nam' (pattern of pouring water) or 'Lai Thong' (gold pattern). To create this type of artwork 'Yang Rak' is the most important substance.

The natural ingredient used to produce Rak lacquer is called 'Yang Rak' (Rak resin; melonorrhoea). It is originally from Rak tree (Melanorrhoea usitata). Similar ingredients are 'Yang Rak' (Rak latex) and 'Rak Nam Kiang' (Rak lacquer vanish). The other admixtures are 'Samuk' (paddy ash) or 'Rak Samuk' (paddy ash mixed with Rak lacquer vanish), soluble orpiment and gold leaf.

'Lai Pidthong Rod Nam' or Rak lacquer work can be dated back to Sukhothai Period as gold leaf gilding was applied to some bronze Buddha images.

In Ayutthaya Period, red background was popularly practiced at the beginning. However, in the late period, black background was more largely practiced. There was a sentence in an old document called 'Khamhaikan Khunluang Wat Pradu Songtham' (the Account of Khunluang from Wat Pradu Songtham), dated in the 19th Century, mentioned about "the wooden wall as decorated with 'Khian Thong Long Rak' (gold painting and Rak lacquer" and "the wooden wall was decorated with 'Lai Rod Nam Thong Kham Plaeo Phuen Rak' (pattern of pouring water, gold leaf giding and Rak lacquer)." The example of an architectural building of this period that presented lacquer technique was the column of the sermon hall at Wat Yai Suwannaram, Phetchaburi Province.

ผู้ให้ข้อมูล นายสุเมธ เอี่ยมประชา ศรีหงส์ นักวิชาการช่างศิลป์