ศิลปะไทยโบราณช่างสิบหมู่

ช่างสิบหมู่ คือช่างต่างๆของไทย 10 หมู่ จัดเป็นวัฒนธรรมสาขาหนึ่งที่มีความสำคัญควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอด ช่างไทยสิบหมู่เป็นวัฒนธรรมทางด้านศิลปะแขนงหนึ่งในกระบวนช่างไทยซึ่งได้จำแนกแยกแยะงานช่างไว้มากมาย ได้แก่ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างรัก-ลงรักปิดทอง ช่างบุ และช่างปูน

"ช่างสิบหมู่" ในสมัยก่อนเป็นกรมๆหนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงอธิบายประทานแก่พระยาอนุมานราชธน ในหนังสือบันทึกความรู้เรื่องต่างๆดังนี้ว่า

"ตามปกติการปกครองเมืองสมัยโบราณ จัดเป็นจตุสดมภ์ คือเป็นกระทรวงเวียง วัง คลัง นา กระทรวงใดมีกิจจะต้องทำสิ่งซึ่งต้องอาศัยฝีมือช่าง ก็ต้องหาช่างชนิดที่ต้องการใช้มารวบรวมตั้งไว้ในกระทรวงนั้นเพื่อใช้ จึงได้มีการช่างมากมายกระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆหลายกระทรวงด้วยกัน ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสไว้ ดังจะยกตัวอย่างให้เห็น เช่น กระทรวงวัง มีกรมทหารในกรมรักษาพระองค์ แต่มีกรมช่างทหารในขึ้นอยู่ในกรมทหารในนั้นอีกชั้นหนึ่ง เจ้ากรมคือหลวงประดิษฐ์นิเวศน์ เห็นได้ตามชื่อว่ามีหน้าที่ปลูกสร้างเรือนหลวงในพระราชนิเวศน์ คงมีขึ้นด้วยเหตุที่เจ้ากรมหรือปลัดกรมคนใดคนหนึ่งในกรมทหารในเป็นผู้เข้าใจการปลูกสร้างจึงตรัสใช้ ผู้รับสั่งนั้นก็ต้องเสาะหาช่างมาเป็นลูกมือ งานมากขึ้น ช่างมากขึ้นก็ต้องตั้งขึ้นเป็นกรมทหารใน แม้แต่กรมมหาดเล็กก็ยังมีกรมช่างมหาดเล็ก เป็นอีกกรมหนึ่งเหมือนกัน มีช่างเขียน ช่างปั้นและอื่นๆ ช่างสิบหมู่จึงเป็นชื่อกรมที่รวบรวมช่างไว้มีสิบหมู่ด้วยกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าในบ้านเมืองมีช่างแค่สิบอย่างเท่านั้น ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมารวมไว้เรียกว่า "ช่างสิบหมู่" "

แท้จริงช่างไทยมีอยู่มากกว่า 10 หมู่ แต่ที่เรียกว่า "ช่างสิบหมู่" ก็เพื่อต้องการจะรวบรวมช่างที่เป็นส่วนสำคัญไว้ก่อนเพียง 10 หมู่ ต่อมาภายหลังจึงได้เพิ่มเติม หรือแยกแขนงออกไปอีกตามลักษณะของงานนั่นเอง ตามบัญชีชื่อช่างที่ขึ้นทำเนียบเป็นช่างหลวงมีดังต่อไปนี้ ช่างเลื่อย ช่างก่อ ช่างดอกไม้เพลิง ช่างไม้สำเภา ช่างปืน ช่างสนะ(จีน) ช่างสนะ (ไทย) ช่างขุนพราหมณ์เทศ ช่างรัก ช่างมุก ช่างปากไม้ ช่างเรือ ช่างทำรุ ช่างเขียน ช่างแกะ ช่างสลัก ช่างกลึง ช่างหล่อ ช่างปั้น ช่างหุ่น ช่างบุ ช่างปูน ช่างหุงกระจก ช่างประดับกระจก ช่างหยก ช่างชาดสีสุก ช่างดีบุก ช่างต่อกำปั่น ช่างทอง

“ช่างสิบหมู่” ช่างสิบหมู่นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นจำนวนสิบ แต่สิบตัวนี้เป็นภาษาบาลีความเดิมเขียนว่า สิปปะ และหดไปเหลือ ป. ตัวเดียว แล้วลดมาเป็น บ. เป็นสิบ จะให้เข้าใจง่ายว่าช่างสิบประเภทก็เลยไม่มีใครเข้าใจภาษาดั้งเดิม ช่างสิปปะตรงกับในสันสกฤตแปลว่า “ศิลปะ” เพราะในภาษาสันสกฤตใช้ตัว ศ. ศิลปะกับสิปปะในบาลีจึงมีความหมายตรงกัน ช่างสิบหมู่คือช่างงานศิลปะ โดยในราชการของหลวงก็ต้องทำของใช้ในส่วนของราชการส่วนพระ ส่วนราชสกุล และบริการแก่ศาสนา บริการแก่ประชาชนจึงต้องมีช่างไว้มากมายหลายประเภท ช่างเหล่านี้ก็มาจากการรวบรวมคนที่มีความสามารถมีฝีมือจากพื้นถิ่นพื้นบ้านเอามาเป็นช่างหลวงรวมไว้ในหมู่ กรมช่างสิบหมู่เดิมก็ถูกรวมเป็นกรมศิลปากรแล้วก็มาเป็นกองหัตถศิลป์ใน สุดท้ายเปลี่ยนเป็นกรมศิลปากร ในปัจจุบัน ฉะนั้นแล้วช่างสิบหมู่จึงไม่ได้หมายความว่าเป็นช่าง 10 ประเภทอย่างที่บางคนเข้าใจ

Krom Chang Sip Mu or the Department of the Ten Crafts mainly comprised officials who were craftsmen. The name of the Department seemingly implies that this organization consisted of only 10 types of crafts. However, according to a poem written by Prince Pradit Worakarn, who served as chief of the Department of the Ten Crafts during the reign of King Rama V, the organization in fact covered 13 different categories: drawers, paper-makers, carvers. Modelers, sculptors, plasterers, lacquerers, metal beaters, turners, moulders, wood–carvers, engravers and carpenters.

A book on history of Prinec Prissadang explains the ten types of craftsmen and the Department of the Ten Crafts as follows:

“The name Chang Sip Mu comes from “Chang Sippa” of the Pali language. This is similar to “Silpa (art)” in the Sanskrit language, which means art and craftsmanship. Thai people in the old days preferred Pali to Sanskrit, therefore, the word “Sippa” was commonly used instead of “Sippa”, which is popularly used today. Chang Sippa is, thus, similar to Chang Silpa ro Chang Silp, which means an artist. However, the word “Sippa” was later pronounced “Sip” for short. For this reason, “Chang Sippa” finally became “Chang Sip”. The word “Mu (group)” was later added to clearly identify the grouping of craftsmen”.

There is no historical evidence showing that “Sip” represents the number 10. It is believed that “Krom Chang Sip Mu” was actually derived from “Krom Chang Sippa Mu”. Although officials working at Krom Chang Sip Mu were directly in charge of creating objects of art in response to the King’s wishes, the King himself did not reserve any one of them to serve him exclusively. He intended to recruit craftsmen of different types to be the prime force of the country in building royal palaces, royal regalia, royal vehicles, religious structures, places of worship, necessities for Buddhist monks and various public places. The King considered that it was his duty to contribute to the country and uphold Buddhism. He acted as a patron to various craftsmen, enabling them to contribute to the nation and the monarchy on a continual basis.