ช่างบุ

ช่างบุ เป็นช่างฝีมือประเภทหนึ่ง ในจำพวกช่างสิบหมู่ ได้ใช้ฝีมือทำการช่าง ในลักษณะตกแต่งผิวภายนอก ของงานประเภทศิลปภัณฑ์ ครุภัณฑ์ และ สถาปัตยกรรมบางลักษณ์ด้วยงานบุ ให้มีคุณค่าสวยงาม และมั่งคงถาวร

คำว่า “บุ” เป็นคำกริยาอย่างหนึ่ง หมายถึง การเอาของบางๆ หรือ อีกนัยหนึ่งคือ การตีให้เข้ารูป เช่น บุขันทองลงหิน เป็นต้น

รูปภาพ พระพุทธรูปบุทองคำประทับนั่งขัดสมาธิราบ ศิลปะอยุธยาตอนต้น (พุทธศักราช ๑๙๖๗) พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ช่างบุ ที่เป็นช่างหลวง อยู่ในจำพวกช่างสิบหมู่ มาแต่โบราณกาล คือ ช่างประเภทที่ทำการบุโลหะ ให้แผ่ออกเป็นแผ่นบางๆ แล้วนำไปหุ้มคลุมปิดเข้ากับ “หุ่น”ชนิดต่างๆ เพื่อปิดประดับทำเป็นผิวภายนอกของ “หุ่น” ที่ทำขึ้นด้วยวัตถุต่างๆ เช่น ไม้ ปูน โลหะ หิน เป็นต้น ให้เกิดความงาม มีคุณค่า และ ความคงทนถาวรอยู่ได้นานปี

งานบุโลหะ ทำขึ้นสำหรับหุ้มห่อปิดคลุมหุ่นชนิดต่างๆ อาจทำแก่สิ่งที่เรียกว่าหุ่นขนาดย่อมๆ ไปจนกระทั่งทำ แก่หุ่นขนาดใหญ่มาก ดังตัวอย่างงานบุในแต่ละสมัยต่อไปนี้

เมื่อสมัยสุโขทัย มีความในจารึกบนหลักศิลาบางหลักระบุเรื่อง การตีโลหะแผ่เป็นแผ่น แล้วบุหุ้มพระพุทธปฏิมากรอยู่หลายความ หลายแห่งด้วยกัน เป็นต้นว่า จารึกศิลาวัดช้างล้อม ระบุความว่า

“…จึงมาเอาสร้อยทองแถวหนึ่งตีโสมพอกพระเจ้า…”

สมัยล้านนา มีความว่า ต้องการช่างบุนี้บันทึกเข้าไว้ในตำนาน การสถาปนาศาสนสถานสำคัญมีความตอน หนึ่งใน ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าด้วยการบุโลหะหุ้มพระมหาเจดีย์ ณ วัดเจดีย์หลวง กลางเมืองเชียงใหม่ เมื่อรัชกาล พระเจ้าติโลกราช

ต่อมาถึงสมัยอยุธยา พระพุทธปฏิมากรจำนวนไม่น้อย ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในช่วงสมัยอันยาวนาน ถึง ๔๐๐ ปี ก็ได้รับความนิยม ใช้โลหะมีค่าหุ้มห่อหุ้มองค์พระให้สวยงาม และมีคุณค่าเพิ่มขึ้น พระพุทธปฏิมากรสำคัญองค์หนึ่ง ได้รับการบุด้วยทองคำ คือ พระพุทธปฏิมาพระศรีสรรเพชญ์

ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การช่างบุ ยังได้รับการผดุงรักษาให้มีอยู่ต่อมาในหมู่ช่างหลวง จำพวกช่างสิบหมู่ ได้ทำการบุโลหะ เป็นเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ เช่น บุโลหะประดับฐานเบญจา บุทำพระลองประกอบพระโกศ บุธารพระกร บุฝักพระแสง ฝักดาบ และมีงานบุโลหะชิ้นสำคัญยิ่งชิ้นหนึ่ง คือ บุษบกที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เป็นบุษบกที่ทำโครงสร้างด้วยไม้ แล้วบุหุ้มด้วยทองคำทั้งองค์ ในจดหมายเหตุการปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความบอกลักษณะบุษบก ไว้ว่า

“…และพระมหาบุษบกนั้น ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง สูงแปดศอกคืบแผ่สุวรรณธรรมชาติ หุ้มคงแต่เชิงฐานปัทมขึ้น ไปถึงสุดยอด”

Sheet Metal & Repousse' Decorated Work

The method of to beat gold and copper nuggets in order to make gold and copper sheets for covering Buddha images and Mahathat Chedi was alled 'sheet metal and repousse' decorated works'. It occured since Sukhothai and Lanna Periods. The evidence about this type of art work was stated in the inscription found at Wat Chang Lom, Sukhothai Province, dated in 1384, and in Jinakalmalipakarna, Pali-Buddhis literature, which metioned the ceremony of covering Phra Mahathat Chedi in Chiang Mai Province during the regin of Kin Tilokaraj (1442 - 1487).

Lacquering was applied first, and floowd by gold lef giding on metal sheets. The metal sheets were used for covering Buddhist monuments (stupa and chedi) and Buddha images. This method was called 'Bu Thong Changgo' or 'Bu Thong Sakko', which may have been literally corrupted from 'Suwan-Jaggo'. This word was stated in anancient book in Lanna Period, describing the changko sheet used for wrapping the Chedi at Phra That Lampang Luang Temmple, Lampang Province. There was another technique called 'Hum Phlang'. The metal lsheet was used to cover bronze of wood figures. Artisan would elaborately beat its inner surface until the pattern raised.

Sheet metal and repousse' decorated works were not only applied with stupa, chedi, prang and Buddha images, but also used with amyong (leave-like carvings along the roofs at the gable ends)., capital, royal utensils, such as Bussabok (a pavition throne), Royal Seat, Pralong Prakob PhraKoad (an inner layer of a royal mortuary urn), Than Phra Benja (a base of a royal mortuary urn), sword and sheath, Buddhist sealings, bowl with a supporting stand, tray silver and golden carps, etc. The most famous sheet metal and repousse' decorated work were the royal articles of use and golden utensils found inside the hidden chamber at Wat Ratchaburana, dated in Ayutthaya period (15th Century).

Nowadays, the concept of covering metal sheets on chedis was changed. Previously, only the top of the chedi was covered with gold sheet or Thang Chango. In contrast, Gold Sheet is used for wrapping the whole chedi from the pinnacle to the base. Some chedis that has never been covered with Thong Chagko before, are now restored, and covered with Chango Sheet.

Sheet metal and repousse' decorated works are conserved by the office of Traditional Arts (Chang Sib Mu). The office is in charge of creating valuble workpieces for HM King Bhumibol and the royal family on special occasions. Some of the are golden parasol (chat0, tray contained with silver and golden flowers, Phan Waen Fa (the golden tray), meatl lid and its based wrapping sacred books, golden Sema (Boundary markers) made in form of Dharmacakra (the wheel of the law), Noppharat Sirapon Mongkol (Royal head dressing decorated with nine type of aspicious gems), Phra Katha Chomphon (the royal scpter), the summer garment made of gold of Phra Buddha Phra Biddha Patima Suwansirichok Pho Po Ro.

ผู้ให้ข้อมูล นายสุเมธ เอี่ยมประชา ศรีหงส์ นักวิชาการช่างศิลป์