ของมักของคนเมืองลี้ ของกิ๋นลำอยู่ที่คนมัก

น้ำพริกเห็ดหล่ม

น้ำพริกเห็ด,เห็ดหล่มย่างไฟ ,พริกชี้ฟ้าย่างไฟ ,หอมแดงย่างไฟ ,กระเทียมย่างไฟ ,กะปิย่างไฟ,

"ผงชูรส แล้วแต่คนชอบ ใส่นัก ใส่หน้อยหรือไมใส่ก็ได้ น้ำปลาปรุงรส"

#วิธีการทำ

1. นำส่วนผสมทุกชนิดย่างไฟ สำหรับเห็ดหล่มและกะปิใช้วิธีห่อใบตอง ก่อนนำไปย่างไฟ แกะเปลือกออก โขลกหอมแดง และกระเทียม รวมกันให้ละเอียด

2. ใส่กะปิ หรือ ปลาร้า โขลกให้เข้ากัน

3. ใส่เห็ดหล่ม โขลกและคลุกเคล้าให้เข้ากัน พอหยาบ ไม่ต้องละเอียดมาก ชิมปรุงรสตามชอบ พร้อมเสริฟขึ้นโต๊ะ

เห็ดหล่มย่างไฟ ให้โรยเกลือนิดหน่อย เห็ดจะมีกลิ่นหอมและรสชาติกลมกล่อม เลือกเห็ดหล่มบานเต็มที่ เนื้อเห็ดจะนิ่ม เหมาะสำหรับการตำน้ำพริก

ย่างเห็ดหล่ม

ย่างพริก

น้ำพริกเห็ดล่มโขลกพอหยาบ

พร้อมเสริมรับประทาน

ผักหนามปู่ย่า

“ผักปู่ย่า” ในวันนี้ได้ค้นคว้าเรื่อง “ผักปู่ย่า” เป็นชื่อของพืชชนิดหนึ่งที่จัดเป็นพืช ผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ “ผักปู่ย่า” มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ได้แก่

    - ภาคเหนือ เรียก ผักปู่ย่า หนามปู่ย่า ทะเน้าซอง    - ภาคกลาง เรียก       ช้าเลือด    - ภาคอีสาน เรียก ผักกาดย่า    - นครพนม เรียกว่า ผักขะยา    - จังหวัดเลย เรียก ผักคายา          

      ผักปู่ย่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แคสซาลพิเนีย มิโมซอยเดส (Caesalpinia mimosoides Lamk.) จัดอยู่ในวงศ์ เล็คกูมิโนซี (LEGUMINOSAE)

      ลักษณะทางพฤษศาสตร์ ของ “ผักปู่ย่า” …จัดเป็นไม้เถา ลำต้น ตั้งตรงหรือเลื้อยพันต้นไม้อื่น... มีความสูงต้นมากกว่า 1 เมตร ... ลำต้นมีหนามแหลมมากมายทั้งลำต้นและก้านใบ.. ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบยาว 25-40 ซม. ยอดอ่อนมีสีน้ำตาลแดง ใบย่อยมี 10-30 คู่ และแตกออกไปอีก 10-20 คู่ ... ใบมีลักษณะกลมมน ขนาดกว้าง 4 มม. ใบสามารถหุบเข้าหากันได้เมื่อถูกสัมผัส ก้านใบสีแดง มีหนามแหลมตามกิ่งก้านทั่วไป ดอกเป็นดอกช่อยาว 20-40 ซม. ลักษณะเป็นพุ่ม ดอกสีเขียวอมชมพูน้ำตาล แต่ถ้าดอกมีสีเหลืองจะมีรสเปรี้ยว ใช้ทำยำ ผักปู่ย่า จะบานดอกในช่วงฤดูหนาว ขนาดของดอกยาว 1.2-2 ซม. กว้าง 1-1.8 ซม. ลักษณะเป็นแผ่นแบนและปลายเรียวแหลม ผล ...เป็นฝักขนาดเท่าหัวแม่มือภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด ใบและช่อดอก ... มีกลิ่นฉุนรุนแรงคล้ายกลิ่นแมงกะแท้หรือแมงดา ชาวบ้านว่าผักปู่ย่ามีกลิ่นหอมนวลน่ากิน ผักปู่ย่า ...พบขึ้นในแหล่งธรรมชาติบริเวณ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ และบริเวณชายป่าที่รกร้าง ชอบขึ้นรวมกับต้นไม้อื่นๆ ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ผล มีลักษณะเป็นฝัก บวมพอง มีหนามเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ ภายในฝักจะมีเมล็ด 2 เมล็ด


คุณประโยชน์ทางด้านอาหาร

ส่วนที่เป็นผัก ได้แก่ ยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกของผักปู่ย่า ใช้รับประทานเป็นผักได้ เช่น ยอดรับประทานสด แกงหนอไม้ ใส่น้ำปู และกับซุปหน่อไม้ ยอดอ่อนและใบอ่อนผลิออกในช่วงฤดูหนาว (เดือนตุลาคม-เดือนกุมภาพันธุ์) ชาวเหนือรับประทาน ยอดอ่อน ใบอ่อนของผักปู่ย่า ส่วนดอกและยอดอ่อนนำไปปรุงเป็น "ส้าผัก" ได้โดยปรุงร่วมกับมะเขือแจ้ ยอดมะม่วงและเครื่องปรุงรสหลายชนิด

ประโยชน์ในการเป็นพืชสมุนไพร
ยอดอ่อนและดอก มีรสเปรี้ยว ฝาดเผ็ดร่วมกัน จึงมีสรรพคุณ บำรุงเลือด แก้วิงเวียน และจากรายงานผลการวิจัยที่ค้นพบ พบว่า ในผักพื้นบ้านประเภทนี้ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง จึงมีสรรพคุณในการลดหรือยับยั้งการสร้างเซลล์มะเร็งได้ดี

                               ข้อมูลเนื้อหา โดย(http://natres.psu.ac.th/)ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ นักวิชาการเกษตร 6 คณะทรัพยากรธรรมชาติ) และ นางสาวสุภาพ เสาร์ภิระ

 เรียบเรียงเนื้อหา นางสาวสุภาพ เสาร์ภิระ 

ภาพถ่ายเนื้อหา นางสาวสุภาพ เสาร์ภิระ

โทร 095687324