ข้อมูล กศน.ตำบลแม่ตืน

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

1. ชื่อสถานศึกษา  กศน.ตำบลแม่ตืน  ตำบลแม่ตืน  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน

2. ที่ตั้ง/                    2. การติดต่อ      บ้านหนองบัวคำ (อาคารศูนย์ผลิตภัณฑ์ตำบลแม่ตืน)  หมู่ที่  10  ถนนพหลโยธิน   

                                    ตำบลแม่ตืน  อำเภอลี้   จังหวัดลำพูน   รหัสไปรษณีย์ 51110                   

                                    โทรศัพท์  095-6873243

     E-mail : Mouy470@Hotmai.com       E-mail : Maetuen@nfe.lpn.go.th 

3.  สังกัด  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน

              สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ    กระทรวงศึกษาธิการ

ปรัชญาของสถานศึกษา   “ คิดเป็น เน้นความพอเพียง ”

              วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา “กศน.อำเภอลี้ จัดและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน ผู้รับบริการให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” 

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา           “คิดเป็น  เน้นคุณธรรม”

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา        “มีคุณธรรม   น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจของสถานศึกษา

        1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ

         2. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน

        3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

        4. นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ ICT มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาตลอดชีวิต

        5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

ประวัติ กศน.ตำบลแม่ตืน

                                 ตามรัฐธรรมนูญแห่ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช  2540  มาตราที่  289  ได้ให้สิทธิแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษา และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น และให้เข้าไปมีส่วนในการจัดการศึกษา อบรมของรัฐ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นโฉมหน้าใหม่ของการเมืองการปกครองของไทย ที่พยายามกระจายอำนาจการบริหารจัดการให้ส่วนท้องถิ่น ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือการพัฒนาคนในท้องถิ่นให้มีความรู้ ความสามารถ มีอาชีพที่มั่นคงสร้างความผาสุกให้แก่ ครอบครัว สังคม และชุมชน ตลอดจนการดูแลรักษาสืบทอด ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตน  โดยเฉพาะอำนาจหน้าที่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.  2537  ที่ให้ อบต. มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม แม้ว่าจะเป็นหน้าที่ประการหนึ่งในอำนาจทั้งหมดของ อบต. ก็ตาม แต่เป็นหน้าที่ที่ตั้งอยู่บนหลักการของการมีส่วนร่วมของประชาชนทุก  ๆ ด้าน นับตั้งแต่การเป็นสมาชิกสภาตำบลหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้  ก็คือทุก ๆ ฝ่ายในชุมชนโดยเฉพาะผู้นำ เช่น อบต. และกลุ่มประชาชนต่าง ๆ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจน นักเรียนนักศึกษา เครือญาติพี่น้อง ร่วมกันและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้และการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

 ศูนย์การเรียนชุมชน (ศรช.) เป็นสมบัติของทุกคนในชุมชนที่ช่วยกันสร้างสรรค์ บำรุงรักษาใช้บริการ เพื่อวัตถุประสงค์ให้ชุมชนเป็นสังคม

แห่งการเรียนรู้ ประชาชนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทุกคนมีโอกาสทางการศึกษามีการเรียนรู้  การทำงาน และ วิถีสอดคล้องกลมกลืนกัน โดยมุ่งมั่นให้ศูนย์การเรียนชุมชนได้ช่วยกันสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนตลอดไป

  ประวัติ  กศน. ตำบลแม่ตืน

                      ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแม่ตืน  ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.   2541   ที่ โรงเรียนบ้านหนองบัวคำ  หมู่ 10   ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้    จังหวัดลำพูน  กศน.ตำบลแม่ตืน ได้ดำเนินการจัดการศึกษานอกโรงเรียน  3   ประเภทด้วยกัน  คือ การศึกษาสายสามัญ   (ประถม  ม.ต้น และ ม.ปลาย)    การศึกษาสายอาชีพ   และการศึกษาตามอัธยาศัย  ต่อมาในปี พ.ศ. 2544  ต้องการความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาได้มีโอกาสมากขึ้นจึงได้ย้ายศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแม่ตืนมาตั้งอยู่ที่  ศาลากลางบ้าน  หมู่ที่  6  ตำบลแม่ตืน  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน  และได้จัดการศึกษาในศูนย์นี้เรื่อยมา ปรากฏว่า ในปี  พ.ศ. 2547 ศูนย์การเรียนเกิดมีปัญญาเรื่องอาคารสถานที่  คือ หลังคาของศูนย์การเรียนเกิดผุพังเวลาฝนตกน้ำฝนจะไหลเข้าสู่ศูนย์การเรียนจึงทำให้หนังสือและเอกสารสำคัญของศูนย์การเรียนเกิดมีปัญญาขึ้น หลังจากนั้นครูและนักศึกษาตำบลแม่ตืนจึงได้ปรึกษาหารือกันเพื่อหาอาคารสถานที่ใหม่เป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแม่ตืนใหม่เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์การเรียนดั้งนั้นทางกลุ่มแม่บ้านตำบลแม่ตืนได้เห็นว่าอาคารสถานที่ของแม่บ้านตั้งอยู่ไม่มีคนใช้จึงได้ให้ใช้อาคารของศูนย์ผลิตภัณฑ์ตำบลแม่ตืน  หมู่ที่ 10  ตำบลแม่ตืน  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน  ให้ทางศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแม่ตืนดูแลในการจัดกิจกรรมดังกล่าว  ผลปรากฎว่าได้รับการตอบสนองจากประชาชนในท้องถิ่นเป็นอย่างดีและ  ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  มีอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว      องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตืนได้ร่วมกับทางศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอลี้  และครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแม่ตืน   จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแม่ตืนเป็นศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติ  เพื่อฉลองเนื่องในวโรกาสที่  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทรงมีพระชนม์มายุครบ  6  รอบ  ในวันที่  5  ธันวาคม   2542     และเริ่มดำเนินการตกแต่ง  ปรับปรุง  เป็นศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติและทำการเปิดป้ายและเปลี่ยนชื่อ จาก ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแม่ตืน เป็น  กศน.ตำบลแม่ตืน ในปัจจุบัน

4.2 ทำเนียบผู้บริหาร 

ลำดับ ชื่อ – สกุล ตำแหน่ง ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

 นายเทอด ทองชัย  ครูอาสาฯประจำตำบลแม่ตืน 2538 - 2541  นายเลิศชัย  วุฒิเสน  ครูอาสาฯประจำตำบลแม่ตืน 2541 – 2543

 นางสาวนงคราญ  เหล็งไทย   ครูอาสาฯประจำตำบลแม่ตืน 2552  นายสุภาพ แสนเมือง  ครูอาสาฯประจำตำบล 2555   

 นายสุพจน์   รัตนเกษมสุข  ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2537  นางสาวชมพู  ตาแก้ว ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2537

 นางดอกไม้  ทองชัย  ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2539  นางอัมพร  สตรอง ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2539

 นางนงคราญ  ปัญญา ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2539  นายเพียบเพียร  ปัญญา ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2539

 นาบัณฑิต  ปัญญาโกษา ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2539  นายสันทัศน์  รังสิยารมณ์ ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2539

 นางสาวปริญญา  แก้วฤทธิ์ ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2540  นางสาวเบ็ญจมาศ  วงค์ต๊ะ  ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2540

 นางจันทนี         อินนันชัย   ครู ประจำกลุ่มตำบลแม่ตืน 2559  นางสาวสุภาพ  เสาร์ภิระ ครู กศน.ตำบลแม่ตืน 2560-จนถึงปัจจุบัน

4.3   ข้อมูลพื้นฐานตำบลแม่ตืน

ประวัติความเป็นมาของประวัติตำบลแม่ตืน  

        เดิมตำบลแม่ตืนเป็นที่อยู่ของพวกลัวะ (ละว้า) ภายหลังมีคนพื้นที่ราบหรือคนพื้นเมืองจากที่ราบลุ่มน้ำปิง อพยพหนีภัยสงครามจากจังหวัดเชียงใหม่   ระหว่าง พระเจ้าตากสินมหาราชและพระเจ้ากาวิละ  กับพม่า  ที่ครอบครองเมืองเชียงใหม่ (ในปี พ.ศ. 2317–2327)  เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตตำบลแม่ตืนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งขึ้นมาตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกับลำน้ำลี้ตลอดแนวชุมชนนั้นมีบ้านแม่ป้อก บ้านแม่เทย บ้านห้วยศาลา  ในปี พ.ศ. 2480-2482 ได้เกิดภาวะฝนแล้งขึ้นในพื้นที่บริเวณแถบนี้  ตลอดจนสภาวะการค้าข้าวเพื่อการส่งออกที่ดีขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวของการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้ราษฎรจาก ทุ่งหัวช้าง บ้านโฮ่ง ดอยเต่า ป่าซาง ฯลฯ  อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้มากขึ้น ได้ร่วมมือกันทำฝายกั้นน้ำลี้ ขุดเหมืองส่งน้ำและบุกเบิกที่นาใหม่  แล้วรวมกันจัดตั้งชุมชนขึ้นใหม่  มีบ้านวังมน บ้านสันป่าสัก บ้านแม่แนต บ้านสันวิไล ในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการสร้างเขื่อนภูมิพลขึ้นที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก กั้นแม่น้ำปิงปริมาณน้ำที่เขื่อนเก็บกักไว้ ได้ท่วมตามแนวแม่น้ำปิง ทำให้ราษฎรบางส่วนที่ได้รับความเดือดร้อน อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน  ในตำบลแม่ตืน คือ หมู่บ้านหนองบัวคำและบ้านไร่ในปัจจุบัน

 ในปี พ.ศ. 2515   ได้มีโครงการปลูกป่าทดแทน  การทำสัมปทานป่า ของบริษัท อารยะ จำกัด   ซึ่งเข้ามาทำไม้ในบริเวณป่าแม่ระงอง (ป่าสงวนแห่งชาติ–ป่าแม่แนตในปี พ.ศ.2518)  ทำให้การต้องการแรงงานในการทำสวนป่ามาก ราษฎรจากบ้านแม่ปันเด็ง บ้านปวง (จากอำเภอทุ่งหัวช้าง) และบ้านแม่แนต เข้าใช้ภายหลังราษฎรได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ตั้งชื่อว่าบ้านวงค์ษาพัฒนา

 ในปี พ.ศ. 2535 หมู่ที่ 3 บ้านแม่ตืน ได้รับอนุมัติจากทางราชการให้แยกหมู่บ้าน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านแม่ตืน  หมู่ 11 บ้านห้วยโป่งสามัคคี  และหมู่ 12 บ้านห้วยเรือแม่เอิบ ในปี พ.ศ. 2544  หมู่ที่ 11 บ้านห้วยโป่งสามัคคี  ได้รับอนุมัติให้แยกหมู่บ้าน 1 หมู่บ้าน  ได้แก่  หมู่ที่ 16 บ้านเด่นสวรรค์    และในปี 2545 หมู่ที่ 9 บ้านสันวิไล    ก็ได้รับอนุมัติ ให้แยกหมู่บ้าน 1 หมู่บ้าน  ได้แก่  หมู่ที่ 17 บ้านสันวิไลพัฒนา

ตำบลแม่ตืนมีขนาดตำบลในปัจจุบันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เป็นจุดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เป็นแหล่งการค้าที่สำคัญของอำเภออีกแห่งหนึ่ง โดยจะมีถนนเชื่อมติดต่อกับ  อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่      และตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง ทำให้ราษฎรภายในตำบลแม่ตืน และตำบลใกล้เคียง  และราษฎรจากต่างอำเภอและต่างจังหวัดเข้ามาค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกันโดยมีตลาดช่วงเย็นที่มีการค้าขายสินค้าและของป่า มีตลาดนัดบ้านแม่ตืน ที่มีเฉพาะวันพุธ ซึ่งชาวท้องถิ่นเรียกว่า ”กาดปุ๊ด”  และตลาดล้านนา ของคุณสุดาทิพย์  ดีไบร์

1.สภาพทั่วไป  

1.1 ที่ตั้งและอาณาเขตตำบลแม่ตืน  ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอลี้  จังหวัดลำพูน  ระยะทาง  19  กิโลเมตร  เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่น  อยู่ในเขตรับผิดชอบของอำเภอลี้  จังหวัดลำพูน   โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ  -  ติดต่อกับตำบลศรีวิชัย      อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน

ทิศใต้   -  ติดต่อกับตำบลป่าไผ่        อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน

ทิศตะวันออก  -  ติดต่อกับตำบลทุ่งหัวช้าง   อำเภอทุ่งหัวช้าง   จังหวัดลำพูน

ทิศตะวันตก  -  ติดต่อกับบ้านแม่ตูบ  ตำบลปงทุ่ง   อำเภอดอยเต่า   จังหวัดเชียงใหม่

        1.2 เนื้อที่ตำบลแม่ตืนมีพื้นที่ประมาณ 130,280  ไร่    (208.45 ตารางกิโลเมตร)

       1.3 ภูมิประเทศ  ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา  ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก  ของตำบลลาดเขากลางของตำบลที่มีแม่น้ำลี้ไหลผ่านจากทิศใต้ไปหาทิศเหนือ  (รวมความยาวที่ไหลผ่านตำบล 20 กิโลเมตร)  ไหลผ่านสู่อำเภอบ้านโฮ่งมีระบบน้ำลำห้วย  ที่มีความสำคัญต่อระบบการผลิต หรือเศรษฐกิจของชุมชน ในเขต อบต.แม่ตืน

2.  สภาพทางสงคม – ประชากร

จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น  จำนวน   8,514     คน    โดยจำแนกได้ดังนี้

 - ประชากรชาย     จำนวน   4,343     คน

 - ประชากรหญิง      จำนวน  4,171     คน

 จำนวนครัวเรือน        จำนวน  2,729    ครัวเรือน

 ความหนาแน่นเฉลี่ย       82  คน / ตารางกิโลเมตร