ขนมปาดเลิศรส ร้อยปี ของดี
ปี๋ใหม่เมือง
ขนมปาดเลิศรส ร้อยปี ของดีปี๋ใหม่เมือง
ขนมปาดเป็นขนมพื้นเมืองของภาคเหนือ ที่เริ่มจะหาทานยากไปทุกทีถ้าไม่ไปถึงพื้นที่ชุมชนจริงๆจะหารับประทานยากมากโดยเฉพาะขนมปาดพื้นเมืองที่ทำในช่วงเทศกาลอย่างหนึ่งของภาคเหนือหรือเทศกาลของปี๋ใหม่เมืองของภาคเหนือ ขนมนั้นก็คือ ขนมปาดเลิศรส ร้อยปีของดี ปี๋ใหม่เมือง
ที่มาของขนมปาดของเมืองเหนือ
ขนมปาดถือเป็นขนมพื้นบ้านของทางภาคเหนือ ที่มีประวัติมานานมากกว่า 100 ปี ชาวบ้านจะทำขนมปาดในช่วงเดือนเมษายน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือปี๋ใหม่คนเมือง เพื่อนำไปทำบุญในวันปี๋ใหม่เมือง วันที่ 15 เมษายน วันพญาวัน ที่ชาวบ้านทุกหมู่บ้านต้องไปทำบุญตักบาตรในวัดแต่ละวัดที่อยู่ใกล้บ้าน และนำขนมปาดเลี้ยงตอนรับแขกผู้เยี่ยมเยือน รดน้ำดำหัว พ่อแม่ ผู้สูงอายุ ที่มาเที่ยวสงกรานต์ หรือ ปี๋ใหม่เมือง และการทำขนมปาดนั้นจะทำขึ้น ในช่วงที่หมู่บ้านมีงานสำคัญๆในหมู่บ้าน เช่นงานปอยหลวง ปอยข้าวสังฆ์ งานบวช เป็นต้น
วิธีทำขนมปาด คนเมืองเหนือ
ส่วนผสมขนมปาดและข้ันตอนการทำขนม
1. แป้งข้าวเหนียว 2. น้ำอ้อย 3. น้ำ 4. มะพร้าว
วิธีทำ :
1. นำแป้งข้าวเหนียวมาร่อน จากนั้นนำ้แป้งที่ร่อนผสมกับนำแล้วทำเป็นก้อนแบบบาง
2. นำก้อนแป้ง ไปต้มในกระทะใหญ่ที่ตั้งไฟร้อนๆให้สุกประมาณ 15 นาทีและนำขนมมาวางในภาชนะที่เตรียมไว้
3. นำน้ำอ้อย มะพร้าวที่ขูดแล้ว นำไปเคี้ยวผสมกับน้ำอ้อยคนให้เป็นเนื้อเดียวกันในกระทะ
4. จากนั้นนำแป้งที่ต้มสุกแล้วไปผสมกับมะพร้าวและน้ำอ้อย และเคี้ยวให้สุขโดยใช้ไม้พายกวนให้แป้งผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันจนขนมปาดสุก และสีขนมปาดที่สุขจะเป็นสีน้ำตาลแดงเหนียว นุ่ม และ อร่อย (ขั้นตอนนี้ต้องใช้แรงผู้ชายหรือ ผู้หญิงช่วยกันกวนเนื่องจากขนมปาดมีความเหนียวมากกวนลำบาก)เสร็จแล้วนำขนมปาดใส่ถาดหรือใบตอง ที่ทาด้วยน้ำมันที่เตรียมไว้ และทิ้งขนมปาดไว้ให้แห้ง จากนั้นตัดเป็นชิ้นเล็กๆพอคำ และแต่งหน้าด้วยมะพร้าวขูด หรือ ผสมเกลือเล็กน้อย พร้อมเสริฟ์ให้กับผู้ที่มาเที่ยว และนำไปทำบุญที่วัด ในวันสงกรานต์ หรือปี๋ใหม่เมือง
แป้งข้าวเหนียว
น้ำอ้อย
มะพร้าว
ใบตอง
อุปกรณ์การทำขนมปาดกระชอนตักของทอด
กระทะ
ต้มข้าวแป้งในน้ำร้อนตั้งไฟแรง
ขนมปาดที่ต้มสุกแล้ว
น้ำตาลผสมมะพร้าว และข้าวแป้ง ที่ต้มสุก
กวนขนมด้วยไม้พายที่ใหญ่
หญิง และ ชาย ร่วมกัน กวนขนม
ขนมปาด เสิศรส นุ่ม หอม อร่อย
ขนมปาด คนเมือง วิถีชีวิตแห่งล้านนาเมืองเหนือ
เหตุผลที่ขนมปาดหาทานได้ยากนั้น คนรุ่นใหม่อาจจะไม่คุ้นเคย และไม่รู้จัก เพราะเป็นขนมพื้นเมืองของภาคเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่จะทำกันในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมือง และในงานบวช ในช่วงเทศกาล ปี๋ใหม่เมืองเป็นช่าวงเทศกาลที่ลูกหลานส่วนใหญ่จะอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อรดน้ำดำหัวผู้เฒ่า ผู้แก่เพื่อเป็นสิริมงคล และทำอาหารและขนมไปทำบุญที่วัด และการทำขนมปาดเป็นประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เมื่อลูกหลานกลับมาจากต่างจังหวัดและกลับมาบ้านในช่วงเทศกาลปี๋ใหม่เมืองจะช่วยกันกวนขนมปาด กินกันในครอบครัว และแจกให้กับแขกที่มาในงาน ถือเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัวและความสามัคคีในชุมชน
ข้อมูลเน้ือหา โดย : นางสาวสุภาพ เสาร์ภิระ
เรียบเรียง โดย : นางสาวสุภาพ เสาร์ภิระ
ภาพประกอบ โดย : นางสาวสุภาพ เสาร์ภิระ