1.1.หลักการของโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้

ผู้เรียนจะมีความเข้าใจและสามารถนำโครงงานไปใช้ในการแสวงหาความรู้ได้อย่างดี ดังนั้นผู้เรียนควรมีโลกทัศน์ต่อโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่กว้างขวาง ซึ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจหลักการของโครงงาน ซึ่งได้ประมวลหลักการเฉพาะที่สำคัญมาให้ศึกษาดังนี้หลักการของการทำโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้

1) เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

2) ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

3) ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

4) ผู้เรียนเป็นผู้นำเสนอโครงงานด้วยตนเอง

5) ผู้เรียนร่วมกำหนดแนวทางวัดผลและประเมินผล

จุดมุ่งหมายของการทำโครงงาน (www. thaigoodview.)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 4 มาตรา 22 กล่าวว่า “การจัดการศึกษายึดหลักว่า ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่ามีความสําคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและ เต็มศักยภาพ” และมาตรา 24 กล่าวว่า “การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการดังต่อไปนี้...(7) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน... (11) ฝึกทักษะกระบวนการคิดและการจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ปัญหา...(15) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทําได้คิดเป็นทําเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง...(23) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ต่างๆ อย่างได้ สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา...(33) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคคล ในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ” “โครงงานเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนท่ีใช้พัฒนาความสามารถของผู้เรียน อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ ตอบสนองต่อกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ครูต้องนําไปใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในทุกสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนต้องมีความสามารถใน การเลือกสรรให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับระดับการศึกษาของตนเอง รวมถึงความสามารถในการนําความรู้ที่ เกิดจากการเสาะแสวงหาไปประยุกต์ใช้ชีวิตจริงได้จึงนับว่าเป็นการปฏิรูปผู้เรียนให้รู้จักแสวงหาความรู้ด้วย ตนเองจากสื่อที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน”