การปักผ้าลายโบราณ

ปกาเกอะญอพระบาทห้วยต้ม

ชาวปกาเกอะญอ ได้รับการขนานนามว่าเป็นชนเผ่ามที่มีฝีมือในการทอผ้าและปักผ้าที่เก่งที่สุดเผ่าหนึ่ง มีลวดลายที่สวยงาม มีความเป็นมาตั้งแต่โบราณ อันเป็นเอกลักษ์ของท้องถิ่น ผู้หญิงชาวปกาเกอะญอจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ทักษะฝีมือการทอผ้ามาจากผู้เป็นแม่ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก การออกแบบสร้างสรรค์ลายผ้า และทักษะงานฝีมือของชนเผ่าปกาเกอะญอ เกิดจากความใกล้ชิดและความเคารพต่อธรรมชาติ จึงเกิดหารสร้างสรรค์นำเอาลักษณะเด่นจากสิ่งที่พบเห็นในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาปักเป็นลวดลายบนผืนผ้า เช่น พืชพรรณดอกไม้ต้นไม้ สัตว์น้อยใหญ่ ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนถึงประเพณีและคตินิยมของชนเผ่า

บ้านห้วยต้ม เป็นหมู่บ้านในเขตการปกครองของตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ปัจจุบันบ้านห้วยต้มเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าปกาเกอะญอ (กระเหรี่ยง) ชนเผ่าปกาเกอะญอในชุมชนส่วนใหญ่นั้นจะประกอบอาชีพทางการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว เช่น ปลูกข้าวโพด พืชไร่ แต่ไม่นิยมการเลี้ยงสัตว์ เพราะประชากรส่วนใหญ่ถือศีล กินเจ จะไม่บริโภคเนื้อสัตว์ นอกจากอาชีพเกษตร ชนเผ่าปกาเกอะญอมีอาชีพเสริมคือการทอผ้าฝ้าย การทำเครื่องเงิน  การขุดศิลาแลง และ การจักสานไม้ไผ่ 

หลังจากหมดหน้าฤดูการทำการเกษตร คนในชุมชนปกาเกอะญอจะมีอาชีพเสริมที่แต่งต่างกันไป เพศชายจะมีอาชีพทำเครื่องเงินที่มีลวดลายและเอกลักษณ์เฉพาะตัวและกับอาชีพรับจ้างทั่วไป ส่วนเพศหญิงก็จะมีอาชีพท้อผ้าฝ้ายลายโบราณของชนเผ่า  การย้อมผ้าฝ้ายด้วยสีจากธรรมชาติ  การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า เช่น กระเป๋าผ้า กางเกง เสื้อ ฯลฯ นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกทางหนึ่ง 

ชาวปกาเกอะญอบ้านห้วยต้ม นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือที่ถักทอด้วยตนเองมาแต่สมัยโบราณที่ ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้เฒ่าผู้แก่ ก็ใส่เสื้อผ้าของชนเผ่าทั้งสิ้น เสื้อผ้าที่สวมใส่ส่วนใหญ่จะย้อมด้วยสีธรรมชาติและสร้างลวดลายด้วยการทอด้วยการปักด้วยเส้นไหมและลูกเดือย มีความเป็นเอกลักษณ์ เพราะชาวปกาเกอะญอเพศหญิงส่วนใหญ่จะได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอแก่มาตั้งแต่ 12 ปี จนมีความชำนาญทำให้สามารถออกแบบลวดลายที่สวยงาม  ผ้าฝ้ายลายโบราณของชนเผ่า เป็นผ้าทอมือที่สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ มีการอนุรักษ์ และรักษาผ้าทอท้องถิ่นเอาไว้โดยการทอจะมีการทอหลายอย่าง นับว่าเป็นศิลปะอันทรงคุณค่า และน่าภูมิใจ ซึ่งต้องอาศัยศิลปะในการทอสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แล้วนำมาสวมใส่ในงานประเพณี ที่สำคัญของตนเอง 

 สำหรับลวดลายผ้านั้นได้มาจากลายหนังงูใหญ่ซึ่งมีเรื่องราวเล่าสืบมาว่า มีคู่รักในอดีตของชาวปกาเกอะญอได้เห็นงูเปลี่ยนลายทุกวัน จึงมีความคิดที่จะท้อผ้าตามลายของงูที่เปลี่ยนไป จนหญิงสาวทอผ้าตามลายของงูที่เปลี่ยนไปจนครบ 7 วัน ทำให้หญิงสาวได้ลายผ้าทั้งหมด  7 ลาย นอกจากนั้นยังมีการนำเมล็ดเดือย ซึ่งเป็นพืชป่า ปักบนผืนผ้า และด้วยลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉาพะของชนปกาเกอะญอ จึงเป็นที่สะดุดตาแก่บุคคลภายนอก ให้ความสนใจซื้อหาไปสวมใส่ และเป็นของฝาก ทำให้ชาวปกาเกอะญอ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อการจำหน่าย

นางสุพร แก่งสร้อยไพบูรณ์

ภูมิปัญญาด้านการปักผ้าลายโบราณ ปกาเกอะญอ

บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ข้อมูลเนื้อหาโดย :  นางสุพร แก่งสร้อยไพบูรณ์

เรียบเรียงเนื้อหาโด: นางสาวกานต์ชนก แก้วทิพย์

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ :  นางสาวกานต์ชนก แก้วทิพย์