สมบัติทางกายภาพของสาร

ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เราเห็นอยู่รอบๆ ตัวเรามีมากมายที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น น้ำ อากาศ ต้นไม้ ดอกไม้ แมลง รวมถึงร่างกายของเราด้วยหรือในส่วนที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้น เช่น โทรทัศน์ พัด ลม เก้าอี้ โต๊ะ รถยนต์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีสมบัติร่วมกันคือ มีมวล ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ เราเรียกสิ่งเหล่านี้มีสสารที่มีสมบัติและองค์ประกอบที่ชัดเจน ซึ่งเรียกว่าสาร ซึ่งสสารหรือสาร ซึ่งสสารหรือสารนั้นน่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้

1.1 สารหรือสสารต้องการที่อยู่ หมายความว่า สสารแต่ละชนิดต้องการที่อยู่ ซึ่งจะจะมีปริมาณเท่าใดจะบอกเป็นปริมาตรของสสาร นั้น เช่น น้ำสมหนึ่งแก้ว ข้าวเปลือก 1 ถัง อากาศในห้อง 15 ลบ.ม, เป็นต้น

สำหรับสิ่งต่างๆ ที่เป็นสสาร เราสามารถมองเห็นได้ว่าต้องการที่อยู่แน่นอน แต่อากาศเป็นสสารที่เราไม่สามารถจะมองเห็นได้ จะต้องการที่อยู่หรือไม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจจะทดลองได้ดังนี้ ใช้กระดาษหรือสำลีหรือวัสดุอะไรก็ได้ที่สามารถหาได้ใส่ลงไว้ให้ติดกับก้นแก้วด้านในและนำไปคว่าลงในน้ำ สังเกตดูจะพบว่าวัสดุที่ก้นแก้วจะไม่เปียก เหตุผลคือ อากาศ ที่อยู่แก้วกันน้ำ ไม่ให้เข้าไปในแก้ว หรือผู้เรียนอาจจะลองเป่าหรืออัดลม เข้าในลูกโป่งผลจะเป็นอย่างไร แล้วลองอธิบายเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด

1.2 สสารมีมวล หมายความว่า สสารต้องมีมวลหรือน้ำหนัก ซึ่งมวลจะสังเกตเห็นได้จากส่วนประกอบที่เป็นรูปร่างของสสารนั้นได้ สำหรับน้ำหนักก็ได้จากการชั่งสารนั้นๆ เช่น น้ำหนักของปลา น้ำหนักของผักที่ซื้อมาเป็นต้น

มวล (Mass) คือปริมาณอนุภ่คของเนื้อของสารที่ประกอบขึ้นเป็นวัตถุนั้น และมีค่าคงที่เสมอ

น้ำหนัก (weight) คือ แรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุ สำหรับอากศซึ่งเราได้เห็นรูปร่างตัวตน แต่อากาศก็จะมีน้ำหนัก ซึ่งเราอาจจะทดลองได้ดังนี้

นำลูกโป่งมา 2 ลูก ลูกหนึ่งเป่าให้โป่ง อีกลูกเอาลมออกหรือไม่ต้องเป่า แขวนที่ปลายทั้ง 2 ของคาน (ตามรูป) ใช้เชือกผูกที่กึ่งกลางของคานแล้วแขวนไว้ สังเกตดูจะพบว่าปลายคานด้านที่ปลูกลูกโป่งที่เป่าไว้กดต่ำลงแสดงว่ามีน้ำหนักมากกว่า