สีสังเคราะห์

ในปัจจุบันพบว่าได้มีการนำสีมาปรุงแต่งอาหารเพื่อให้อาหารนั้นดูสวยงาม น่ารับประทาน เป็นที่ดึงดูดและน่าสนใจทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ นอกจากความสวยงามแล้ว ผู้ผลิตบางรายยังใส่สีลงไปในอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะปกปิดซ่อนเร้นความบกพร้อง ของผลิตภัณฑ์ของตนเอง เช่น ใช้วัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพ หรือเอาของที่เก็บกลับคืนมาไปทำการผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น รวมทั้งผู้ผลิตบางรายไม่คำนึงความปลอดภัยของผู้บริโภคคำนึงถึงประโยชน์ของตนเอง จึงใช้สีย้อมผ้า ย้อมกระดาษแทนสีธรรมชาติหรือสีสังเคราะห์ด้วยเห็นว่าสีย้อมผ้าให้สีที่ติดทนนานกว่าและราคาถูกกว่าจึงก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

สีสังเคราะห์ เป็นสีท่ีได้จากการสังเคราะห์ขึ้นจากสารเคมีต่างๆเป็นสีค่อนข้างคงตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ

1. สีประเภทDyes เป็นสีสังเคราะห์ที่ละลายน้ำได้ดีเหมาะที่จะใช้กับอาหารที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ

2. สีประเภท Lakes เป็นสีสังเคราะห์ที่ละลายได้ในนำ้มันจึงเหมาะกับอาหารประเภทนำ้มันและไขมันมากกว่า

สีผสมอาหารสังเคราะห์ เป็นสีที่ผลิตขึ้นโดยเลียนแบบโครงสร้างสีจากธรรมชาติ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 21 (พ.ศ 2522) ได้แบ่งสี่ผสมอาหารสังเคราะห์ออกเป็น 4 จำพวก คือ

1. จำพวกสีแดง ได้แก่ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau - 4R) เออริโธรซีน(Erythrosine)คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบีน (Carmoisine or Azorubine)

2. จำพวกสีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) ซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ(Sunset yellow FCF) ไรโบฟลาวิล (Riboflavin)

3. จำพวกสีเขียว ได้แก่ฟาสต์กรีน เอฟซีเอฟ(Fast green FCF)

4. จำพวกสีน้ำเงิน ได้แก่ อินดิโกคาร์มีน หรืออินดิโกทีน(lndigocarmine or indigotine) บริล เลียนต์บูล เอฟซีเอฟ (Brilliant blue)


สีสังเคราะห์ หมายถึง สีที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ที่ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ในกลุ่ม สีผสมอาหาร (food color) ซึ่งมีลักษณะถูกต้องตามข้อกำหนดและปลอดภัยต่อการบริโภค สีสังเคราะห์มีราคาถูกกว่าสีธรรมชาติ ให้สีสดและสมํ่าเสมอและให้สีในช่วงที่กว้างกว่าสีธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีขายทั้งในรูปแม่สี และสีผสมในรูปผง สารละลาย และสารละลายแขวนลอย ซึ่งสะดวกต่อการเลือกใช้กับอาหารชนิดต่างๆ ดังนั้น ผู้ใช้จึงนิยมใช้สีสังเคราะห์มากกว่าสีธรรมชาติ ถึงแม้ว่าสีธรรมชาติจะปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากกว่า

1. ประเภทสีแดง มี 3 สี ได้แก่

1.1 ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R) 1.2 คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) 1.3 เออริโทรซีน (Erythrosine)

2. ประเภทสีเหลือง มี 3 สี ได้แก่

2.1 ตาร์ตราซีน (Tartrazine) 2.2 ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (Sunset Yellow F C F) 2.3 ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)

3. ประเภทสีเขียว มี 1 สี ได้แก่

3.1 ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (Fast Green F C F)

4. ประเภทสีน้ำเงิน มี 2 สี ได้แก่

4.1 อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน (Indigocarmine or Indigotine) 4.2 บริลเลียนท์ บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (Brilliant Elue F C F)

2.1 คุณลักษณะของสีสังเคราะ ที่ใช้เป็นสีผสมอาหาร ที่ได้มาตรฐาน

1. ไม่มีสารที่ทำให้เกิดพิษ และตัวสีเองไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายของผู้บริโภค 2. มีโครเมียม หรือ แคดเมียม หรือปรอท หรือซีลีเนียมไม่เกิน 1 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก 3. มีสารหนู ไม่เกิน 5 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก 4. มีตะกั่วไม่เกิน 20 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก 5. มีโลหะหนักชนิดต่างๆ นอกจากตะกั่ว รวมกันไม่เกิน 20 ส่วนในล้านส่วน โดยน้ำหนัก

2. อันตรายจากการใช้สี

3. สีสังเคราะห์เป็นสารแปลกปลอม เมื่อผสมอาหารและรับประทานเข้าไป ในร่างกาย ก็จะเกิดอันตรายได้ ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุ 2 ประการ คือ

4. อันตรายจากสีเอง เพราะสีทุกชนิดถ้าใช้มากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อ ผู้บริโภคไม่มากก็น้อย เนื่องจากเป็นสารแปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย หากร่างกาย ขับถ่ายออกไม่ทัน ก็จะสะสมอยู่ในร่างการแล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ เช่น สีพวกโรห์ตามีน บี (Rhodamine B) เอารามีน (Auramine) มาลาไคท์ กรีน (Malachite green) และไวโอเลท บี เอ็น พี (Violet BNP) อาจทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง หน้าบวม อาเจียน ท้องเดิน อาการชา เพลีย และอ่อนแรงคล้ายเป็นอัมพาต การทำงาน ของระบบทางเดินอาหาร ไต และตับเสีย สีบางอย่างอาจทำให้เกิดมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลือง และอวัยวะอื่น ๆ

5. สีตาร์ตราซีน (สีเหลือง) ถ้ารับประทานเกิน 7.5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะจับอู่ตามเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้การดูดซึมของอาหาร บกพร่องไป สำหรับสี ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (สีเหลือง) ถ้ารับประทานเกิน 5.0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้ท้องเดิน น้ำหนักลด

6. อันตรายจากสารอื่น ที่ติดมาเนื่องจากการสังเคราะห์ หรือจากกระบวน การผลิตที่แยกเอาสารเจือปนออกไม่หมด สารดังกล่าวได้แก่ โลหะหนักต่าง ๆ เซ่น โครเมียม แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว สารหนู พลวง และเซเสเนียม เป็นต้น ซึ่งมีอยู่กับ สีย้อมผ้า แพร เสื่อและสีทาบ้าน โลหะหนักเหล่านี้จะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ แม้ได้รับเพียงปริมาณเล็กน้อย อาการอาจเป็นทั้งอย่างฉับพลันและเรื้อรัง ซึ่งพิษ ของโลหะหนักนี้ถ้าเป็นมากอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุ ของมะเร็งที่อวัยวะอื่นๆ อีกด้วย