ข้อดีของสีธรรมชาติ

1. ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค

2. น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม

3. วัตถุดิบหาได้ง่ายในชุมชนไม่ต้องใช้สีเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศ

4. การย้อมสีธรรมชาติสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นตามประสบการณ์ สามารถ ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น

5. สีธรรมชาติมีความหลากหลาย ตามชนิด อายุและส่วนของพืชที่ใช้ ตลอดจนชนิดของสารกระตุ้นหรือขั้นตอนการย้อม

6. การย้อมสีธรรมชาติทำให้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ

7. ความสัมพันธ์ระหว่างคนย้อมสีกับต้นไม้ ย่อมก่อให้ เกิดความรัก ความหวงแหน และเรียนรู้ที่จะอนุรักษ์ และปลูกทดแทนเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน

ข้อจำกัดของสีธรรมชาติ

1. ปริมาณสารสีในวัตถุดิบย้อมสีมีน้อย ทำให้ย้อมได้สีไม่เข้มหรือต้องใช้วัตถุดิบปริมาณมาก

2. ไม่สามารถผลิตได้ในประมาณมากและไม่สามารถผลิตสีตามที่ตลาดต้องการ

3. สีซีดจางและมีความคงทนต่อแสงต่ำ

4. คุณภาพการย้อมสีธรรมชาติขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการซึ่งควบคุมได้ยาก การย้อมสีให้เหมือนเดิมจึงทำได้ยาก

5. ในการย้อมสีธรรมชาติถ้าไม่มีวิธีการ และจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนย่อมจะกลายเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมได้

การสกัดสารที่มีสีในธรรมชาติมีหลักการทั่วไปคือ

1. เลือกแหล่งตัวอย่างที่มีสารที่เราสนใจและจัดกระทำตัวอย่างให้เหมาะสมกับการสกัด

2. ต้องทราบก่อนว่าสารสนใจยั้นละลายในตัวทำละลายใดโดยทั่วไปแล้วเพื่อความสะดวกเรามักใช้ตัวทำละลายที่เป็นของเหลวที่นิยมอาจเป็น น้ำ แอลกอฮอล์ แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า สารที่เราต้องการสกัดนั้นต้องไม่ทำปฎิกริยากับตัวทำละลายที่เลือกเพราะว่าถ้าเป็นอย่างนั้น เราจะแยกสารใจที่ได้ยาก

3. การแยกที่สนใจออกจากตัวทำละลาย ต้องใช้วิธีที่เหมาะสม ส่วนมากแล้ววิธีการระเหย หรือโครมาโทกราฟฟี ซึ่งมีหลายเทคนิคขึ้นอยู่่กับว่าธรรมชาติของสารต้องการเป็นอย่างไร เช่น ระเหยง่ายหรือไม่สลายตัวที่อุณหภูมิสูงหรือไม่

การสกัด เป็นวิธีการแยกสาร โดยอาศัยสมบัติการละลายของสารในตัวทำละลาย หรือการใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารที่ต้องการออกจากของผสม

หลักการเลือกตัวทำละลายให้เหมาะสมกับสารที่ต้องการแยกตัวทำละลายสามารถละลายสารที่ต้องการสกัดได้

- ตัวทำละลายจะต้องไม่ละลายสารอื่นๆที่เราไม่ต้องการสกัด

- ตัวทำละลายจะต้องไม่ทำปฎิกริยากับสารที่เราต้องการสกัด

- ตัวทำละลายสามารถสามารถแยกออกการสารที่เราต้องการสกัดได้ง่าย

- ตัวทำละลายไม่เป็นพิษและมีราคาถูก

หลักการสกัดสาร เติมตัวทำละลายที่เหมาะสมลงในสารที่เราต้องการสกัด จากนั้นก็เขย่าแรงๆ หรือนำไปต้มเพื่อให้สารที่เราต้องการจะสกัดละลายในตัวทำละลายที่เราเลือกไว้ สารที่เราสกัดได้นั้นยังเป็นสารละลายอยู่ ถ้าเราต้องการทำให้บริสุทธิ์ เราควรจะนำสารที่ได้ไปแยกตัวทำละลายออกมาก่อน อาจจะนำไประเหย หรือนำไปกลั่นต่อไป ตัวอย่างเช่นการสกัดนำ้ขิง การสกัดคลอโรฟิวส์ของใบไม้

ปัจจุบันนิยมสกัดสารจากพืชเพื่อใช้เป็นเครื่องดื่ม โดยใช้นำ้เป็นตัวทำละลายออกมา เช่น น้ำใบเตย น้ำขิง นอกจากนี้ยังมีการใช้เฮกเซนในการสกัดน้ำมันออกจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น น้ำมันปาลม์ น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

ประโยชน์ของสารสีในพืช

สารสีต่างๆ ที่มีอยู่ในพืชนั้นมีประโยชน์และมีบทบาทมากพอๆ กับวิตามินเลยทีเดียว โดยมาร์ ฟาร์กัวสัน ผู้สนใจทางเคมีวิทยาของพืชก็ได้แยกไว้อย่างคร่าวๆ พอให้เข้าใจได้ง่ายได้ดังนี้

สารสีแดง มีสาร Cycopene เป็นตัวพิวเม้นท์ให้สีแดงในแตงโม มะเขือเทศ สาร Betacycin ให้สีแดงในลูกทับทิม บีทรูท และแคนเบอร์รี่ สารทั้งสองอย่างนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxydants ซึ่งจะช่วยป้อง กันการเกิดมะเร็งหลายชนิด

สารสีส้ม ผักและผลไม้สีส้ม เช่น มะละกอ แครอท มีสาร Betacarotene ซึ่งมีศักยภาพต้านอนุมูลอิสระอันเป็นตัวก่อมะเม็ง คนผิวขาวซีดที่กินมะละกอหรือแครอทมาก ผิวจะออกสีเหลืองสวย ทางกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาประกาศว่า การกินแครอทวันละ 2-3 หัว จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือด คนไทยที่ทดลองกินมะละกอห่ามมากๆ นานถึง 2 ปี จะช่วยเปลี่ยนสีผิวหน้าที่เป็นฝ้าให้หายได้โดยไม่ต้องพึ่งครีมแก้ฝ้าเลย

สารสีเหลือง พิกเม้นต์ Lutein คือสารสีเหลืองที่ให้สีสันแก่ข้าวโพด ช่วยป้องกันกันความเสื่อมของจุดสี หรือแสงสีของเรตินาดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนแก่มองไม่เห็น

สารสีเขียว พิกเม้นต์คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll ) เป็นสารที่ให้สีเขียวแก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียวแก่ผักต่างๆ ผักที่มีสีเขียวเข้มมากก็ยิ่งมีคลอโรฟีลล์มาก เช่น ตำลึง คะน้า บร็อกโคลี่ ชะพลู บัวบก เป็นต้น และสารคลอโรฟีลล์ ก็มีคุณค่ามากเหลือเกิน นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเมื่อคลอโรฟีลล์ถูกย่อยแล้ว จะมีพลังแรงมากในการป้องกันมะเร็ง ทั้งยังช่วยขจัดกลิ่นเหม็นต่างๆ ในตัวคนด้วย

สารสีม่วง พืชสีม่วงมีสารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) เป็นต้นให้สีม่วงที่คุณเห็นในดอกอัญชัน กะหล่ำม่วงผิวชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง แบล็กเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสารตัวนี้ช่วยลบล้างสารที่ก่อมะเร็งและสาร Anthocyanin นี้ยังออกฤทธิ์ทางขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และอัมพาตด้วย