ประโยชน์สีและโทษของสีผสมอาหาร

นปัจจุบัน จะพบว่าอาหารส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มต่างๆ ที่ขายอยูทั่วไป มักมีสีสันสดใสสวยงามดึงดูดใจชวนรับ ประทาน ทั้งสีแดง สีเขียว สีเหลือง ฯลฯ แต่คุณรู้บ้างหรือไม่ว่ามันแฝงด้วย อันตราย เนื่องจากผู้ผลิตมักใส่สีสังเคราะห์ทางเคมีลงไป โดยคาดหวังว่าอาหาร เครื่องดื่มที่มีอาหารสดใส สวยงาม จะเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี โดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งจะช่วยให้ขายดี และได้กำไรมากมาย ทำให้ผู้ผลิตมองข้ามพิษภัย ที่อาจจะเกิดขึ้นไป ดังนั้นในการเลือกซื้ออาหาร และเครื่องดื่มจำเป็นต้องคำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดจาสีผสมอาหารให้มากๆ และควรเลือกที่ปลอดภัยให้มากที่สุด เพราะสีผสมอาหารที่สังเคราะห์ทางเคมี จะมีส่วนผสมของโลหะหนัก ทั้งตะกั่ว ปรอท สารหนู โครเมียม และสังกะสี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีผลเสียต่อร่างกายทั้งสิ้น

ซึ่งอันตรายที่มาจากสีผสมอาหารที่สังเคราะห์ทางเคมีก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิงเวียนศีรษะ เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ้าสะสมมากขึ้นอาจมีอาการเป็นอัมพาต ที่แขน ขา หากร่างกายสะสมสารเหล่านี้เข้าไปมากๆ จะส่งผลต่อระบบประสาททั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังอีกด้วย

อันตรายจากสารพิษ

โลกของเราเต็มไปด้วยสีสันทั้งที่เป็นสีสันจากธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ต้นไม้ สี ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตลอดจนสีที่มนุษย์ปรุงแต่ง หรือสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงการแต่งสีสันให้อาหาร ที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน เพื่อสร้างบรรยากาศที่สดใสมีชีวิต ชีวา สีผสม อาหารที่ใช้ปรุงแต่งอาหารให้สวยน่ารับประทานสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. สีอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ได้แก่

สีแดง ปองโซ 4 อาร์และ เออริโธรซิน

สีเหลือง - ตาร์ตาซีน, ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอฟ ซี เอฟ

สีเขียว - ฟาสต์ กรีน เอฟ ซี เอฟ

สีน้ำเงิน - อินดิโกคาร์มีน

2. สีอนินทรีย์ ได้แก่ ผลถ่านที่ได้จากการเผาพืช เช่น สีดำจากผงถ่านที่ได้จากการเผากาบมะพร้าว

ใช้ใส่ในขนมเปียกปูนให้มีสีดำ

3. สีที่ได้จากธรรมชาติ โดยการสกัดพืช และสัตว์ที่ใช้บริโภคได้โดยไม่เกิดอันตราย เช่น

สีแดง - จากครั่ง กระเจี๊ยบ ถั่วแดง

สีเหลือง - จากขมิ้น ฟักทอง ลูกตาล ดอกคำฝอย

สีเขียว - จากใบเตย

สีน้ำเงิน หรือม่วง - จากดอกอัญชัน

อันตรายจากสีผสมอาหาร

อันตรายที่เกิดจากการใช้สีผสมอาหารนั้นเกิดมาจากตัวสีเอง เนื่องจากในสีผสมอาหารแต่ละชนิด หรือแต่ละสีนั้นจะมีส่วนผสมของโลหะหนักอยู่ ในปริมาณที่กฎหมายกำหนด เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี ซึ่งหากผู้ผลิตอาหารใช้สีผสมอาหารในปริมาณที่กฎหมายกำหนด เช่น ตะกั่ว สารหนู โครเมียม สังกะสี ซึ่งหากผู้ผลิตอาหารใช้สีผสมอาหารในปริมาณที่มากเกินไป และผู้บริโภครับประทานอาหารที่ผสมสีดังกล่าวเป็นประจำอาจทำให้ร่างกายได้รับปริมาณโลหะหนักเป็นจำนวนมาก และเกิดการสะสมในร่างกาย พิษภัยจากโลหะหนักที่มีผสมอยู่ในสีผสมอาหารนั้น มีดังนี้ สารหนูเมื่อเข้าไปในร่างกายจะสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ตับและไต การที่มีสารหนูสะสมในร่างกายมากจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร โลหิตจาง ส่วนตะกั่ว จะมีพิษต่อระบบประสาททั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาจทำให้ถึงกับชีวิตใน 1-2 วัน ส่วนอาการพิษเรื้อรังนั้นจะพบเส้นตะกั่วสีม่วงคล้ำที่เหงือก มือตก เท้าตก เป็นอัมพาต เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอาจพบอาการทางระบบประสาทได้ ฉะนั้นก่อนจะรับประทาน ลูกกวาด ขนมหวาน หรืออาหารจำพวกที่ต้องเติมแต่งสีสันให้สวยงาม ควรต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเลือก และปริมาณที่บริโภคให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของชีวิต

เราจะมาดูกันว่าสีผสมอาหารนั้นมีประโยชน์อย่างไรกันบ้าง ซึ่งปัจจุบันอาหารส่วนใหญ่ที่รับเราประทานกัน มักจะมีส่วนผสมของสีผสมอาหารรวมอยู่ด้วย โดยเฉพาะอาหารประเภทขนม ซึ่งสีผสมอาหารนั้นมีประโยชน์อย่างไร สีผสมอาหารนั้นเกิดจากการสกัดจากธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ในการปรับแต่งสีสันของอาหารให้มีสีสันที่สวยงาม และน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสีสันที่แท้จริงของอาหารนั้น อาจจะมีสีสันที่ดูจืดไปหน่อย บางครั้งอาจทำให้ดูแล้วไม่น่ารับประทานเท่าไหร่

โดยเฉพาะขนมแล้ว ถ้าเราทำให้ดูมีสันสีที่สดใสสวยงาม ขนมก็จะออกมาดูน่ารับประทาน ยิ่งถ้าเด็กๆ เห็นแล้วรับรองว่าต้องชอบกันทุกราย เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่าจริงๆ แล้วสีผสมอาหารแต่ละสี สกัดมาจากอะไรกันบ้าง

สีเขียว สกัดมาจากใบเตย อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น ขนมชั้น ซ่าหริ่ม ขนมเปียกปูน ลอดช่อง เป็นต้น

สีแดง สกัดมาจากพืชหลายชนิดมี กระเจี๊ยบแดง ข้าวแดง ฝาง รังคั่ง หัวบีท อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น น้ำกระเจี๊ยบ หมูแดง เต้าหู้ยี้ น้ำยาอุทัย ขนมชั้น ขนมขี้หนู ข้าวเหนียวแก้ว เป็นต้น

สีเหลือง สกัดมาจาก ดอกกรรณิกา ขมิ้น เมล็ดคำแสด ลูกตาลสุก มันเทศ ลูกพุด อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น มะพร้าวแก้ว ขนมเรไร วุ้น ข้าวเหนียวมูน ขนมเบื้อง ข้าวหมก แกงกะหรี่ แกงเหลือง ขนมตาล เค้ก ไอศกรีม ข้าวเกรียบ เต้าหู้เหลือง เป็นต้น

สีน้ำตาล สกัดมาจากโกโก้ อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น ขนมเค้ก คุ้กกี้ ขนมสัมปะนี หน้าน้ำตาลที่ใช้ชุบโดนัท เป็นต้น

สีม่วง สกัดมาจากข้าวเหนียวดำ ลูกผักปรัง และดอกอัญชัน อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น ขนมประเภทแป้งข้าวเหนียว เช่น ถั่วแปบ ขนมจาก ขนมโค ขนมต้ม ฯลฯ และขนมที่ทำให้สุกในเวลาสั้น ๆ อุณหภูมิไม่สูง เช่น ซ่าหริ่ม บัวลอย น้ำดอกไม้ เรไร ช่อม่วง เป็นต้น

สีดำ สกัดมาจากกาบมะพร้าว ดอกดิน อาหารที่นิยมนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น ขนมเปียกปูน ขนมดอกดิน เป็นต้น