บทที่ 1 เรื่องสีและสีสังเคราะห์

สีสังเคราะห์ ชนิดสีสังเคราะห์ที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร มี 9 สี คือ

1. ประเภทสีแดงมี 3 สี ได้แก่

  • ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R)

  • คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine)

  • เออร์โธรซีน (Erythrosine)

2. ประเภทสีเหลือง มี 3 สี ได้แก่

  • ตาร์ตราซีน (Tartrazine)

  • ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (Sunset Yellow F C F)

  • ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)

3. ประเภทสีเขียว มี 1 สี ได้แก่

  • ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (Fast Green F C F)

4. ประเภทสีน้ำเงิน มี 2 สี ได้แก่

  • อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน (Indigocarmine or Indigotine)

  • บริลเลียนท์ บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ (Brilliant Elue F C F)

คุณลักษณะของสีผสมอาหารที่ได้มาตรฐาน

  1. ไม่มีสารที่ทำให้เกิดพิษ และตัวสีเองไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย ของผู้บริโภค

  2. มีโครเมียม หรือ แคดเมียม หรือปรอท หรือเซเสเนียมไม่เกิน 1 ส่วน ในล้านส่วนโดยน้ำหนัก

  3. มีสารหนู ไม่เกิน 5 ส่วน ในล้านส่วนโดยน้ำหนัก

  4. มีตะกั่วไม่เกิน 20 ส่วน ในล้านส่วนโดยน้ำหนัก

  5. มีโลหะหนักชนิดต่าง ๆ นอกจากตะกั่ว รวมกันไม่เกิน 20 ส่วน ในล้านส่วน โดยน้ำหนัก

การใช้สีผสมอาหารให้ใช้ตามปริมาณที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

  1. อาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวานที่ใช้สีตาม (2) ให้ใช้ได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม เว้นแต่สีปองโซ 4 อาร์ และสีบริลเลียนท์บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ ให้ใช้ได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ต่ออาหาร ในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม

  2. อาหารอื่นที่มิใช่อาหารตาม (1)

  • สีปองโซ 4 อาร์ ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหาร ในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม

  • สีเอโซรูบิน ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่ออาหาร ในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม

  • สีเออริไทรซิน ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่ออาหาร ในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม

  • สีตาร์ตราซีน ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร ในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม

  • สีซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร ในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม

  • สีฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่ออาหาร ในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม

  • สีอินดิโกคาร์มีนหรืออินดิโกติน ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร ในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม

  • สีบริลเลียนท์บลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหาร ในลักษณะที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม

การใช้สีรวมกันตั้งแต่สองชนิดขืนไป ต้องมีปริมาณของสีทุกชนิดไม่เกิน ปริมาณของสีชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด

การใช้สีผสมอาหารที่มิได้กำหนดชนิดและปริมาณการใช้ หรือการใช้ปริมาณ สีที่แตกต่างไปจากที่กำหนด ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา


สาเหตุที่สีย้อมผ้าใช้ผสมอาหารไม่ได้

สีย้อมผ้า ย้อมแพรมีความบริสุทธิ์ต่ำ มีสารเจือปนและโลหะหนักที่เป็น อันตรายเจือปน เช่น โครเมียม แคดเมียม ปรอท ตะกั่ว และสารหนู เป็นต้น ผู้ประกอบ อาหารส่วนมากใช้สียอมผ้าแต่งสีอาหารด้วยการขาดความรับผิดชอบ มักง่าย หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอเพียงแต่ไหล ฉูดฉาดดึงดูดใจคนซื้อได้มากเป็นพอ เป็นเหตุให้ผู้บริโภค ได้รับอันตรายมากมาย ทั้งนี้เพราะสีย้อมผ้ามี

  1. มีสารที่ทำให้เกิดพิษเจือปน

  2. มีโครเมียม หรือแคดเมียม หรือปรอท หรือเซเสเนียมเกิน 1 ส่วนในล้านส่วน โดยน้ำหนัก

  3. มีสารหนูเกิน 5 ส่วน ในล้านส่วนโดยน้ำหนัก

  4. มีตะกั่วเกิน 20 ส่วน ในล้านส่วนโดยน้ำหนัก

  5. มีโลหะหนักชนิดต่าง ๆ รวมกันเกิน 20 ส่วนในล้านส่วน โดยน้ำหนัก