ความหมายของสีธรรมชาติ

1. สีธรรมชาติ หมายถึง สีที่ได้มาจากการสังเคราะห์หรือสกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ โดยผ่านการวิเคราะห์เรื่องส่วนประกอบ กรรมวิธีการผลิตความบริสุทธิ์และอื่นๆ จนแน่ใจว่าปลอดภัยต่อการบริโภค ประเภทอาหารทีกระทรวงสาธาณสุขกำหนดให้ใช้ได้เฉพาะสีธรรมชาติ ได้แก่เนื้อสัตว์ ทุกชนิดที่ปรุงแต่ง ย่าง อบ นึ่ง หรือทอด บะหมี่สำเร็จรูป เส้นบะหมี่ แผ่นเกี้ยว สปาเก็ตตี้ มะกะโรนี สีธรรมชาติหาได้ง่ายและบางอย่างมีกลิ่นหอมสามารถรับประทานได้โดยไม่จำกัดปริมาณ และไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดการสะสมของสารพิษในร่างกาย ตัวอย่างสีธรรมชาติ เช่นสีน้ำตาลได้จากนำ้ตาลไหม้ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทน้ำอัดลม เบียร์ อาหารอบ อาหารสัตว์ เป็นต้น และได้จากผงโกโก้ ใช้ผสมลงในของหวานเพื่อแต่งสี รส และใช้ราดหน้าขนม สีเขียวได้จากใบเตยใช้แต่งสีขนม ใบคะน้าใช้แต่งสีเส้นบะหมี่ สีแดงได้จากครั่ง ข้าวแดง แป้งข้าวแดง ใช้แต่งสีเต้าหู้ยี้ ปลาจ่อมและปลาแป้งแดง กระเจี๊ยบให้สีแดงใช้ทำน้ำกระเจี๊ยบ แยม เยลลี นำ้หวานสีแดง สีดำได้มาจากถ่านกะลามะพร้าว ใช้ผสมในขนมเปียกปูน หรือได้จากผงถ่านจากการเผาพืช สีเหลืองได้มาจากขมิ้นหรือหญ้าฝรั้น นิยมใส่อาหารประเภทแกง สีเหลืองได้จากดอกคำฝอยใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการ สีเหลือง ส้ม ม่วง ได้จากถั่วดำใช้แต่งสีขนมหรือได้จากมันเลือดนก ใช้แต่งสีอาหาร เช่น ไอศกรีม

สีธรรมชาติ คือ สีที่สกัดได้จากวัตถุดิบจากแหล่งธรรมชาติ เช่นพืช ได้จากต้นไม้ในป่า โดยได้จากบางส่วนของต้นไม้ เช่น ราก แก่น เปลือก ต้น ผล ดอก สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากกระบวนการตามธรรมชาติ สีธรรมชาติมีบทบาทเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์มายาวนานนับตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์ได้เรียนรู้ที่จะนำสีจากวัสดุธรรมชาติมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ทาสีตามร่างกาย สีของภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ภาพวาดฝาผนัง และเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมต่างๆตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น สีธรรมชาติที่มีใช้ในอดีตนั้นมักจะได้มาจาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ โดยมีพัฒนาการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น

- การใช้สีในการประกอบอาหาร

- การย้อมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม

- การย้อมเครื่องมือ เครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เครื่องมือดักจับสัตว์น้ำ

- การใช้เขม่าหรือควันไฟรมเครื่องจักรสานให้เกิดสีและเสริมความทนทาน

วัตถุดิบย้อมสี ด้วยภูมิปัญญาของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้มีการเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากสี ซึ่งสกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ โดยการนำมาย้อมเส้นใยและผืนผ้า เพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มและใช้สอยในชีวิตประจำวัน สีย้อมธรรมชาตินั้นสามารถจำแนกตามแหล่งที่มาได้ดังนี้

(1) สีย้อมธรรมชาติจากแร่ธาตุ (Mineral Dyes) สีธรรมชาติประเภทนี้เป็นสีเกิดจาสารประกอบของโลหะ จำพวก เหล็ก โครเมี่ยม ตะกั่ว แมงกานีส ทองแดง โคบอลต์ และนิกเกลซึ่งในอดีตเป็นกลุ่มสีที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน ไม่ปรากฎแหล่งผลิตและการใช้สีกลุ่มดังกล่าว สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ยังมีการใช้สีธรรมชาติจากแร่ธาตุในการย้อมสีสิ่งทอ คือสีจากโคลนและดินแดง ซึ่งเป็นวัสดุที่มีสารประกอบพวกอลูมิโนซิลิเกต และสารประกอบโลหะอยู่

(2) สีย้อมธรรมชาติจากสัตว์(Animal Dyes)สีย้อมธรรมชาติจากสัตว์ คือ สารสีที่ได้จากสารที่ขับออกจากตัวสัตว์ หรือตัวสัตว์เอง สำหรับประเทศไทยมีการใช้สีจากแมลง คือ ครั่ง โดยตัวครั่งจะดูดกินนำ้เลี้ยงของต้นไม้แล้วขับสารสีแดงที่เรียกว่า"ยางครั่ง" ออกมาหุมรอบตัวรัง สารสีแดงที่ถูกขับออกมาจากตตัวครั่ง ดังกล่าวมานี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งในการย้อมสิ่งทอผสมในแาหาร และใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท สำหรับเส้นใยที่ย้อมด้วยครั่ง คือ ไหม ขนสัตว์ และฝ้าย เชื่อกันว่าคุณภาพของสีที่ได้จากการย้อมด้วยครั่งจะขึ้นกับชนิดของต้นไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่ง

(3) สีย้อมธรรมชาติจากพืช (Vegetable Dyes) สีย้อมที่ได้จากพืชจัดเป็นกลุ่มสารสีหลักของสีย้อมธรรมชาติ โดยเป็นสีย้อมที่ได้จากทุกส่วนของพืชทั้ง ราก เปลือก ลำต้น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งสีย้อมกลุ่มนี้มีคามหลากหลาย สามารถแบ่งได้โดยวิธีการย้อมเป็นเกณฑ์ได้ 2 กลุ่ม คือ

การย้อมเย็น หรือการย้อมแบบหมัก เป็นสีย้อมที่ได้จากพืช เช่น ผลมะเกลือ ห้อม และคราม เป็นการย้อมสีจากพืชที่มีกรรมวิธีการย้อมโดยไม่ใช้ความร้อน แต่อาศัยคุณสมบัติธรรมชาติของสารสี และปฎิกิริยาเคมี ทางธรรมชาติช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย โดยจะหมักเส้นใยไว้ในน้ำย้อมที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีรายละเอียดวิธีการย้อมที่แตกต่างกันตามชนิดของสารสรที่ได้จากพืช

การย้อมแบบร้อน สีย้อมธรรมชาติที่ใช้การย้อมแบบร้อน จะเป็นสีย้อมที่ได้จากพืชทั่วไปและครั่ง โดยจะนำวัตถุดิบย้อมสีมาสับให้ละเอียดแล้วต้มให้เดือดเพื่อสกัดสารสีออกจากพืช จากนั้นจึงทำการย้อมกับเส้นใย จะมีการใช้ความร้อนและสารช่วยให้สารสีติดกับเส้นใย พืชที่ใช้แต่งสีอาหาร หรือให้สีย้อม

ชนพื้นบ้านรู้จักนำส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิดที่ให้สีมาใช้แต่งสีอาหาร อันเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อร่างกาย หรือนำพืชที่ให้สีย้อมมาย้อมผ้า แห อวน หรือหนัง โดยเฉพาะผ้้าพื้นเมืองจำพวกผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งให้สีสันเป็นธรรมชาติดีกว่าสีสังเคราะห์กลุ่มพืชที่ให้สีดังกล่าว เช่น

              • เหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร

              • เมล็ดดอกคำฝอย(Carthamus tinctorius) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร

              • เมล็ดคำแสด(Bixa orellana) ใช้แต่งสีแสดในอาหาร

              • แก่นไม้ฝาง (Caesalpinia sappan) ใช้แต่งสีแดงในอาหารและใช้ย้อม ผ้า ส่วนรากให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า

              • เนื้อผลฟักทอง (Cucurbita moschata)ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร

              • เนื้อจากผลตาลโตนด(ฺBorassus flabellifer) ใช้แต่งสีเหลือง ทำขนมตาล

              • ผลสุกผักปลัง หรือ ผักปั๋ง(Basella alba) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร

              • เมล็ดข้าวเหนียวดำ(Oryza sativa var. glutinosa) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร

              • กลีบดอกอัญชัญ(Clitoria ternata) I ใช้แต่งสีน้ำเงิน สีฟ้า สีฟ้าอมม่วงในอาหาร

              • ดอกดอกดิน(Aeginetia indica)I ใช้แต่งสีนำ้เงินเข้ม ทำขนมดอกดิน

              • เนื้อไม้สีเสียดเหนือ(Acacia catechu) ให้สีนำ้ตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง

              • ใบอ่อนสัก (Tectona grandis) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า ย้อมกระดาษ

              • เปลือกและผลสมอพิเภก (Terminaliadellirica) ให้สีขี้ม้า ใช้ย้อมผ้า

              • เนื้อไม้กาแล (Maclura cochinchinensis)ให้สีเหลืองปนน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า

              • เปลือกโกงกาง(Rhizophora spp.) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมแห อวน หนัง

              • ยางรง(Garciniahanburyi) ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าและผสมสี

              • เปลือกสะเดา (Azadirachta indica var.amensis)ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า

              • รากมะหาด(Artocarpus lakoocha) ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า

              • เปลือก ราก เนื้อไม้ และใบยอป่า (Morindapubescens) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า

              • เนื้อไม้ประดู่ป่า(Pterocarpus macrocarpus) ให้สีแดงคล้ำ และเปลือกให้สีนำ้ตาล ใช้ย้อมผ้า

              • เปลือกติ้วขน (Cratoxylum formosum spp. pruniflorum) ให้สีนำ้ตาลเข้ม ใช้ย้อมผ้า

              • ผลมะเกลือ (Diospyrus mollis )ให้สีดำ ใช้ย้อมผ้า

              • เปลือกสนทะเล (Casuarina equisetifolia) ให้สีน้ำตาลแกมแดง ใช้ย้อมผ้า

              • เปลือกคาง (Aldizia odoratissima) ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าหนัง

              • ดอกทองกวาว(Butea monosperma) ให้สีเหลืองอมส้ม ใช้ย้อมผ้า

              • ต้นคราม (Indigofera tinctoria) สมัยก่อนนิยมใช้ทำสีครามย้อมผ้า

              • ต้นฮ่อม(Baphicacanthus cusia)ให้สีน้ำเงินเข้มม นิยม ใช้ย้อมเสื้อม่อฮ่อมทางภาคเหนือ

              • ผลมะเกิ้ม หรือมะกอกเลื่อม (Canariumsubulatum ) ให้สีดำ ใช้ทำหมึกเขียนพื้นบ้าน

สำหรับปัจจุบันมีการหันกลับมาให้ความสนใจใช้สีจากวัสดุธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. กระแสความต้องการอนุรักษ์แลสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาจากอดีตให้คงอยู่ในสังคมสืบไป การย้อมสีธรรมชาติซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงได้รับการสนับสนุนมากขึ้นจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป

2. ปัญญาผลกระทบต่อสิ่งแสดล้อม ซึ่งเกิดจากใช้สีสังเคราะห์และสารเคมีอันตรายในอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ สารเคมีที่ตกค้้างและปนเปี้อนในนำ้ทิ้งที่เกิด จากกระบวนการฟอกย้อม ทำให้เกิดการเน่าเสียของแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ

3. ปัญหาความไม่ปลอดภัย และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฎิบัติงานฟอกย้อม ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกับสารเคมี และสีสังเคราะห์ โดยเฉพาะสีสังเคราะห์บางประเภทที่เป็นสารก่อมะเร็ง

4. การให้ความสนใจต่อความปลอดภัยและอันตรายของสารเคมีตกค้างบนผลิตภัณฑ์สิ่งทอของประชาชน ทำให้มีการกำหนดชนิดสีสังเคราะห์ที่จะใช้กับสิ่งทอแต่ละประเภทิทำให้เกิดความระมัดระวังในการใช้สิ่งทอย้อมสีสังเคราะห์และหันมาใช้สิ่งทอที่ได้มาจากการย้อมสีธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น

5.การตื่นตัวด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ทำให้เกิดค่านิยมต่อต้านสินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์/บริโภคมีการใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือ"ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว" เพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่ดีจะต้องเกิดจากกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค และสินค้าใช้แล้วเมื่อเป็นขยะต้องไม่ก่อมลพิษต่อไป ค่านิยมดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการผลักดัน ให้มีการหันกลับมาใช้สิ่งทอย้อมสีย้อมธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น