หน่วยการเรียนรู้ที่  2  การพัฒนาโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด       

มาตรฐานการเรียนรู้                

    มาตรฐาน ว 4.2     เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน    และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน  และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

    ตัวชี้วัด

    ว 4.2 ม.2/2 ออกแบบและเขียนโปรแกรมที่ใช้ตรรกะและฟังก์ชันในการแก้ปัญหา

ความรู้ฝังแน่น ความเข้าใจที่คงทน  (Enduring Understanding) 

    นักเรียนเข้าใจว่า ในการเขียนโปรแกรมหรือการพัฒนาโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพควรใช้วงจร การพัฒนาโปรแกรม (Software Development Life Cycle: SDLC) จะทำให้การพัฒนาโปรแกรมมีความ       รวดเร็วและมีระบบ ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอน เป็นการเขียนโปรแกรมที่มีโครงสร้าง

    ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกเขียนโปรแกรม ซึ่งภาษาไพธอนใช้ตัวแปลภาษาอินเทอร์พรีเตอร์    และมีเครื่องมือที่ช่วยเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย และยังต้องอาศัยการออกแบบโปรแกรมและคำสั่ง ควบคุมทิศทางการทำงานรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การเขียนโปรแกรมแบบลำดับ การเขียนโปรแกรม

    แบบทางเลือก และการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม และภาษาไพธอนยังมีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เป็นชุดคำสั่ง ทำให้การเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนทำได้ง่ายขึ้น

วงจรการพัฒนาโปรแกรม 

คำถาม

วงจรการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วยอะไรบ้าง 

1.  วิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis)

2.  ออกแบบ (Design)

3.  พัฒนาโปรแกรม (Development)

4.  ทดสอบ (Testing)

5.  ติดตั้งและบำรุงรักษา (Deployment & Maintenance)

6.  การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement))

นักเรียนร่วมกันตอบคำถามเกี่ยวกับวงจรการพัฒนาโปรแกรมต่อไปนี้ 

สรุป 

            วงจรการพัฒนาโปรแกรมแบบ Software Development Life Cycle (SDLC) ประกอบไปด้วยวิเคราะห์ความต้องการ ออกแบบ พัฒนาโปรแกรม ทดสอบ ติดตั้งและบำรุงรักษา และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เมื่อผู้พัฒนาโปรแกรมนำวงจรการพัฒนาโปรแกรมนี้ไปใช้จะทำให้พัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ได้อย่างเป็นขั้นตอน และได้โปรแกรมที่มีประสิทธิภาพและตรงต่อความต้องการของผู้ใช้

นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันเขียนวงจรการพัฒนาโปรแกรมคำนวณพื้นที่รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 

ดังตัวอย่าง

          1.   วิเคราะห์ความต้องการ : รับข้อมูลความยาวฐานและความสูงทางอินพุตเข้ามาสองค่า โดยเก็บไว้ในตัวแปร x กับ y จากนั้นนำข้อมูลมาประมวลผล แล้วแสดงผลลัพธ์พื้นที่สามเหลี่ยมด้านเท่าออกมา

2. ออกแบบ 

3.พัฒนาโปรแกรม

                        นำผังงานมาเขียนเป็นโปรแกรมด้วยภาษา Python

4   ทดสอบ

                        ทดสอบว่าโปรแกรมทำงานได้หรือไม่ ถ้าใช้ไม่ได้ให้ปรับปรุงต่อไป

5   ติดตั้งและบำรุงรักษาโปรแกรม

                        เขียนคู่มือการใช้งานว่าจะต้องใช้โปรแกรมอย่างไร

6   การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

                        คิดวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ โดยนำข้อผิดพลาด ผลการใช้งาน ความคิดเห็นของผู้ใช้มาคิดวิธีแก้ปัญหาหรือพัฒนาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

            ดังนั้น วงจรการพัฒนาโปรแกรมแบบ Software Development Life Cycle (SDLC) ใช้เป็นแนวทางหรือเป็นขั้นตอนในการพัฒนาระบบหรือซอฟต์แวร์ ทำให้โปรแกรมที่พัฒนามีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้มากที่สุด

ภาษาคอมพิวเตอร์ 

ประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์ 

นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ 

นักเรียนร่วมกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานสำหรับการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เช่น อินเทอร์เน็ต หนังสือเรียน 

(10 นาที )

ประเภทภาษาคอมพิวเตอร์ 

เปรียบเทียบตัวแปลภาษาระหว่างอินเทอร์พรีเตอร์กับคอมไพเลอร์

         สรุป ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่ใช้กับการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือใช้เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถทำงานตามจุดประสงค์ได้ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ภาษาเครื่อง ภาษาระดับต่ำภาษาระดับสูง ภาษาระดับสูงมาก และภาษาธรรมชาติ

ภาษาไพธอน