1.ฐานโคกหนองนาโมเดล

1.ฐานโคกหนองนาโมเดลตามแนววิถีพอเพียง                              

           “โคก หนอง นา โมเดล” ถือเป็นแนวคิดในการออกแบบพื้นที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งรัชกาลที่ 10 ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด โดยเป็นการทำเกษตรในพื้นที่จำกัด กักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดินและใต้ดิน แต่สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเห็นผล กฟผ. จึงจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ 7 เขื่อนพระนาม 3 โรงไฟฟ้า ได้แก่ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ และเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา และโรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา โมเดล” ในการจัดสรรที่ดินสำหรับบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร เปลี่ยนแนวคิดสู่การทำเกษตรอินทรีย์แบบไม่ใช้สารเคมี และสร้างความเข้าใจ ในการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง

     1.ความพอประมาณ  

                ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

     2.ความมีเหตุผล   

                การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

     3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  

                การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข

     1.ความรู้ 

ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบคอบที่จะน าความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ


     2.คุณธรรม 

  ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียรใช้สติปัญญาในการด าเนินชีวิต

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชื่อมโยงสู่ 4 มิติ

     1.มิติด้านวัตถุ ลดรายจ่าย / เพิ่มรายได้ / ใช้ชีวิตอย่างพอควร / คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ / มีภูมิคุ้มกัน / ไม่เสี่ยงเกินไป / การเผื่อทางเลือกสำรอง

     2.มิติด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูล / รู้รักสามัคคี / สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน

     3.มิติด้านสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ / เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้ค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด / ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด

     4.มิติด้านวัฒนธรรม รักและเห็นคุณค่าในความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย / เห็นประโยชน์และคุ้มค่าของภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น / รู้จักแยกแยะและเลือกรับวัฒนธรรมอื่น ๆ

ภาพกิจกรรมฐานการเรียนรู้