7.ฐานชาวนายุคใหม่ใช้พอเพียง

7.ฐานชาวนายุคใหม่ใช้พอเพียงตามแนววิถีพอเพียง                              

          การทำนาเป็นการทำการเกษตรแบบพื้นบ้านที่นำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ โดยเกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้เท่ากับจำนวนที่ตนเองสามารถปลูกได้ ตามพื้นที่ที่มีอยู่ และตามเงินทุนที่มีอยู่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักความพอประมาณตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อปลูกไปแล้ว เกษตรกรสามารถพัฒนาการปลูก ประยุกต์ใช้เศษวัสดุ เศษพืช หรือภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยให้กับข้าวและวิธีการกำจัดศัตรูพืชได้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักความมีเหตุผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อขายได้ราคาดี ผู้ปลูกก็จะมีกำไร สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับหลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ปลูกเมื่อปลูกแล้วก็จะได้รับความรู้ในการปลูกข้าว ซึ่งนำพัฒนา ปรับปรุง ประยุกต์ใช้ในการปลูกในครั้งต่อไป เพื่อลดต้นทุนการผลิต และให้ได้กำไรมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเงื่อนไขความรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการทำนาปลูกข้าว ผู้ปลูกจำเป็นต้องมีความขยัน อดทน ใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาในการปลูก ซึ่งสอดคล้องกับเงื่อนไขคุณธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง

     1.ความพอประมาณ  

                ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

     2.ความมีเหตุผล   

                การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

     3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  

                การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข

     1.ความรู้ 

ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบคอบที่จะน าความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ


     2.คุณธรรม 

  ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียรใช้สติปัญญาในการด าเนินชีวิต

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชื่อมโยงสู่ 4 มิติ

     1.มิติด้านวัตถุ ลดรายจ่าย / เพิ่มรายได้ / ใช้ชีวิตอย่างพอควร / คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ / มีภูมิคุ้มกัน / ไม่เสี่ยงเกินไป / การเผื่อทางเลือกสำรอง

     2.มิติด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูล / รู้รักสามัคคี / สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน

     3.มิติด้านสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ / เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้ค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด / ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด

     4.มิติด้านวัฒนธรรม รักและเห็นคุณค่าในความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย / เห็นประโยชน์และคุ้มค่าของภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น / รู้จักแยกแยะและเลือกรับวัฒนธรรมอื่น ๆ

ภาพกิจกรรมฐานการเรียนรู้