5.ฐานกลเม็ดผักพื้นบ้าน



5.ฐานกลเม็ดผักพื้นบ้านตามแนววิถีพอเพียง                              

             ผักพื้นบ้าน แต่ละชนิดนั้น สามารถปลูกและหารับประทานได้ง่าย จึงนิยมนำมาประกอบอาหาร ทานคู่กับอาหารพื้นถิ่นหลากหลายเมนู นอกจากจะช่วยเสริมรสชาติให้กับอาหารแล้ว ยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารต่าง ๆ มีทั้งวิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุ รวมถึงมีสรรพคุณที่เป็นยา ช่วยให้สุขภาพร่างกายของเราสมบูรณ์แข็งแรง

  ผักพื้นบ้านคือ พรรณพืชพื้นบ้านในท้องถิ่น ชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นอาหาร เป็นยารักษาโรค หรือนำมาทำเป็นของใช้สอยในครัวเรือน ผักพื้นบ้านนอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ส่วนใหญ่ยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร เนื่องจากมีรสยาที่หลากหลายอยู่ในผักพื้นบ้าน ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ให้ความสำคัญกับรสอาหารพื้นบ้าน ดังนี้


  รสฝาด มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยสมานแผล แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุในร่างกาย เช่น ยอดมะม่วง ยอดมะกอก ยอดจิก ยอดกระโดน ขนุนอ่อน

  รสหวาน มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยให้มีการดูดซึมได้ดีขึ้น ทำให้ชุ่มชื้น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย เช่น เห็ด ผักหวานป่า ผักขี้หูด บวบ น้ำเต้า ผักเชียงดา ผักหวานบ้าน

  รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณทางยา คือ แก้ท้องอืด แก้ลมจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ เช่น ดอกกระทือ กระเทียม ดอกกระเจียวแดง ดีปลี พริกไทย ใบชะพลู ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย เร่ว

  รสเปรี้ยว มีสรรพคุณทางยา คือ ขับเสมหะ ช่วยระบาย เช่น ยอดมะขามอ่อน มะนาว ยอดชะมวง มะดัน ยอดมะกอก ยอดผักติ้ว ส้มกุ้ง ผักกาดส้ม

  รสหอมเย็น มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย เช่น เตยหอม โสน ดอกขจร บัว ผักบุ้งไทย เป็นต้น

  รสมัน มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงเส้นเอ็น เป็นยาอายุวัฒนะ เช่น สะตอ เนียง ถั่วพู ฟักทอง กระถิน ชะอม ต้างหลวง

  รสขม มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงโลหิต เจริญอาหาร ช่วยระบาย เช่น มะระขี้นก มะแว้งต้น ลิงลาว ยอดหวาย ดอกขี้เหล็ก ใบยอ สะเดา เพกา มะขม

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง

     1.ความพอประมาณ  

                นักเรียนรู้จักการประมาณเกี่ยวกับเวลาการศึกษา การผลิตและการจาหน่ายพืชผักชนิดต่างๆ นักเรียนรู้จักวิธีการจัดการผลผลิตเกี่ยวกับพืชผัก ให้หลากหลาย นักเรียนรู้จักการสารวจ การประกอบอาชีพ เกี่ยวกับพืชผักในชุมชน นักเรียนรู้จักคุณค่า ประโยชน์ของพืชผัก 

     2.ความมีเหตุผล   

               นักเรียนเลือกรับประทานอาหารพืชผักชนิดต่าง ๆ นักเรียนบอกวิธีการจัดการผลผลิต จากการปลูกผัก ได้อย่างเหมาสมตามสภาพท้องถิ่น นักเรียนสามารถเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่าย ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับวัย


     3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  

               นักเรียนตระหนักและเห็นความสาคัญ ของการเลือกใช้ทรัพยากร ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่านักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เป็นแนวทางประกอบอาชีพสร้างรายได้ นักเรียนเรียนรู้กระบวนการทำงานกลุ่มและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข

     1.ความรู้ 

ความสาคัญของพืชผักชนิดต่าง ๆ ขั้นตอนการปลูกผัก รู้จักวิธีการจัดการผลผลิตต่าง ๆจากพืชผัก 

     2.คุณธรรม 

นักเรียนมีความรับผิดชอบ ความขยัน อดทน ประหยัด รู้จักแบ่งปัน รู้จักการทางานร่วมกัน

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชื่อมโยงสู่ 4 มิติ

     1.มิติด้านวัตถุ มีความรู้ในการปลูกพืชผักชนิดต่าง รู้จักวิธีการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดการผลผลิต

     2.มิติด้านสังคม หลักการทางานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข มีความรู้เกี่ยวกับอาชีพในท้องถิ่น

     3.มิติด้านสิ่งแวดล้อม รู้จักการใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด การไม่ใช้สารเคมีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

     4.มิติด้านวัฒนธรรม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์จากพืชผัก

ภาพกิจกรรมฐานการเรียนรู้