10.ฐานวิถีการออม

10.ฐานวิถีการออมตามแนววิถีพอเพียง                              

           หลักการออมและการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการยึดหลักประหยัด และตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน จะต้องทำการลด ละ ความฟุ่มเฟือยของไลฟ์สไตล์ที่เคยเป็นอยู่ ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนต่อการดำรงชีพ จะต้องละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่รุนแรงและไม่ถูกต้อง ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ และต้องขวนขวายหาความรู้ ซึ่งจะทำให้เกิดรายได้เพิ่มพูนจนถึงขั้นพอเพียง  ที่สำคัญจะต้องปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วร้ายให้หมดสิ้นไป ซึ่งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้หมายถึงการปฏิเสธการเป็นหนี้สิน หรือการกู้ยืมเงิน แต่ให้เน้นการบริหารความเสี่ยง ซึ่งแม้ว่าจะมีการกู้ยืมเงินมาลงทุน  ทั้งนี้ก็เพื่อดำเนินกิจการที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมากเกินไป และแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามเรื่องการลงทุนหรือขยายธุรกิจ แต่ให้เน้นการทำธุรกิจที่ไม่ให้เสี่ยงมากเกินไป และควรลงทุนให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง

     1.ความพอประมาณ  

               การใช้จ่ายอย่างประหยัด ตามรายได้ที่เรามี อย่าใช้จ่ายเกินตัว อย่าเป็นหนี้ แต่ถ้ามีรายจ่ายเยอะ ก็ต้องหาเยอะตามไปด้วย ที่สำคัญคือ อย่าทำให้ต้องไปเบียดเบียนผู้อื่น เช่นไปกู้คนอื่นมา และไม่สามารถใช้หนี้ได้ เป็นต้น

     2.ความมีเหตุผล   

                การจะใช้เงินนั้น มีเหตุผลที่ดีพอมั้ย เช่นจะซื้อรถ เพื่ออะไร  อะไรคือ Need หรือเป็น Want คืออยากได้มากกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะรวยไม่ได้ สรุปง่ายๆคือ ถ้ามีเหตุผลอยากใช้เงินซื้ออะไรก็ต้องหารายได้ให้มากพอนั่นเอง

     3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  

                ข้อนี้จะตรงกับความไม่ประมาทในการใช้ชีวิต ซึ่งถ้าเป็นเรื่องการเงิน ก็ได้แก่การจัดการความเสี่ยงทั้งหลาย เช่น รถ บ้าน เรามีประกันเพียงพอมั้ย หรือ ถ้าเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือโรคมะเร็ง เรารับมือไหวมั้ย หรือใครจะช่วยเรา รวมไปถึงการมีเงินสำรองฉุกเฉินที่มากพอ เพราะหากตกงานกะทันหัน เรามีเงินเตรียมไว้กี่เดือน  รวมไปถึงเรื่องความขยันก็ได้ เช่น ช่วงที่เราอายุน้อยๆ ก็ต้องรีบทำงานหาเงินเยอะๆ เพื่อเตรียมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณอย่างเพียงพอ ก็ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันของเรา ก็ได้ หรือใครที่เป็นนักลงทุน ก็อาจต้องศึกษาสินค้าการเงินนั้นให้ดี เพราะถ้าเรามีความรู้มาก เราก็ถือว่าเรามีภูมิคุ้มกันมาก หรือ อาจจะมองเป็นการกระจายการลงทุน Asset Allocation ก็ได้ ก็ถือว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง ซึ่งก็เป็นการลดความเสี่ยงในการลงทุน ก็เท่ากับว่าเรามีภูมิคุ้มกันด้านการเงินมากขึ้นไปด้วย

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข

      1.ความรู้ 

ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านความรอบคอบที่จะน าความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ


     2.คุณธรรม 

  ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียรใช้สติปัญญาในการด าเนินชีวิต

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเชื่อมโยงสู่ 4 มิติ

     1.มิติด้านวัตถุ ลดรายจ่าย / เพิ่มรายได้ / ใช้ชีวิตอย่างพอควร / คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ / มีภูมิคุ้มกัน / ไม่เสี่ยงเกินไป / การเผื่อทางเลือกสำรอง

     2.มิติด้านสังคม ช่วยเหลือเกื้อกูล / รู้รักสามัคคี / สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน

     3.มิติด้านสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ / เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้ค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด / ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด

     4.มิติด้านวัฒนธรรม รักและเห็นคุณค่าในความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย / เห็นประโยชน์และคุ้มค่าของภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น / รู้จักแยกแยะและเลือกรับวัฒนธรรมอื่น ๆ

ภาพกิจกรรมฐานการเรียนรู้