ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์  (E-Portfolio)  ของ ครูวรางคณา ดำริห์

ข้อมูลผู้ประเมิน

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รายวิชา ว 13101 วิทยาศาสตร์ 3   จำนวน 4  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ว 14101 วิทยาศาสตร์ 4   จำนวน 4  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ว 15101 วิทยาศาสตร์ 5   จำนวน 4  ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ว 16101 วิทยาศาสตร์ 6   จำนวน 4  ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ลูกเสือ เนตรนารี   จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

ชุมนุม           จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

แนะแนว        จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์

การป้องกันการทุจริต          จำนวน  1  ชั่วโมง/สัปดาห์


งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ จำนวน  9  ชั่วโมง/สัปดาห์

โครงการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ฯ   จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5        จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

เวรประจำวัน                                 จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

##############################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2566

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษา ภาคเรียนที่ 1/2566

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 1/2566

##############################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

จำนวน  8 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มงานบริหารงานวิชาการ

กรรมการงานบริหารงานวิชาการ    จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

หัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ฯ       จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์


##############################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารงานวิชาการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 2566

##############################################


2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

   ประเด็นท้าทาย

   เรื่อง การจัดการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐาน เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนทองพูลอุทิศ 

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน 

                  การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในเรื่อง การแยกสารเนื้อผสมของวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์กายภาพซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับอธิบายและเปรียบเทียบการแยกสารผสมโดยการหยิบออก การร่อน การใช้แม่เหล็กดึงดูด การรินออก การกรอง และการตกตะกอนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์รวมทั้งระบุวิธีแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับการแยกสาร แต่เนื่องด้วยธรรมชาติของวิชามีเนื้อหาสาระมากและซับซ้อน ขณะที่รูปแบบการเรียนการสอนเป็นการทดลองแต่ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งของครูผู้สอน ไม่ได้ส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งขัดกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ จึงทำให้นักเรียนเกิดความไม่สนุก ไม่มีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้ และจากการเรียนการสอนที่ผ่านมาพบว่านักเรียนยังไม่สามารถวิเคราะห์และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ส่งผลให้คะแนนผลสัมฤทธิ์ในเรื่องนี้ต่ำ จึงแสดงให้เห็นว่าควร ตระหนักถึงการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงเนื้อหาจากการลงมือปฏิบัติ ค้นหา ความรู้ด้วยตนเอง และสรุปความรู้ด้วยตนเองได้ 

     จากการศึกษาพบว่าเทคนิคการจัดการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐาน มาจากทฤษฎีการเรียนรู้ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศเยอรมนี ได้กำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Goals of ESD ) เพื่อพัฒนาให้เด็กได้รับรู้ เข้าใจ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนประกอบไปด้วย เป้าหมาย 5 ด้าน ได้แก่ 1. ทางเลือกค่านิยมและจริยธรรม (Values and moral options) เด็กสามารถนำค่านิยมและจริยธรรมมาช้ประกอบการตัดสินใจและการลงมือปฏิบัติของตนเอง รวมถึงสะท้อนเกี่ยวกับความยุติธรรม การเคารพธรรมชาติและความหลากหลายทางสังคมว่ามีความสำคัญและเป็นค่านิยมสากลที่มีร่วมกัน (Globally shared values) 2. ความเข้าใจและความรู้ (Understanding and knowledge) ความเข้าใจเด็กสามารถเข้าใจคำศัพท์และความคิดรวบยอดที่เกี่ยวข้อง และความรู้กับความยั่งยืน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ ลำดับของขนาด เวลา พื้นที่ ปริมาณและขนาดของกลุ่ม ระบบ วัฏจักร ธรรมชาติ ความรับผิดชอบการสะท้อนความคิดต่อการกระทำของตนเอง ชุมชนและสังคม การมีส่วนร่วมในประชาธิปไตย และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคต 3. การสะท้อนความคิดและการประเมิน (Reflection and evaluation) เด็กสามารถรวบรวมข้อมูล ค้นหาค่านิยมและมุมมองที่แตกต่าง ประเมินผลลัพธ์และข้อค้นพบในแง่ของความยั่งยืน และพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาอย่างร่วมมือร่วมใจ 4. การลงมือปฏิบัติ (Action) เด็กสามารถตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติด้วยพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งเป้าหมายของตนเองตัดสินใจอย่างเหมาะสม วางแผนการลงมือปฏิบัติของตนเองเรียนรู้ในการประเมินผลที่เกิดขึ้นตามมา และลงมือทำโครงการด้วยความร่วมแรงร่วมใจ 5. แรงจูงใจ (Motivation) เด็กสามารถปิดรับและมีความสนใจถามคำถามในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งมาจากชีวิตประจำวันของตนเอง ร่วมการอภิปรายกับผู้อื่นเกี่ยวกับความยั่งยืนด้วยความมั่นใจและมีประสบการณ์ในการรับรู้ความสามารถของตนเอง

             ผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะใช้การจัดการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐาน เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล 

        2.1 ศึกษาแนวทางการสอนสืบเสาะเป็นฐาน จากแนวทางการสอนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยระดับประถม ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากหลักสูตรกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และศึกษาหลักสูตร สถานศึกษาโรงเรียนทองพูลอุทิศ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี รวมทั้งจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแยกสารเนื้อผสม

    2.2 จัดทำโครงร่างของหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ปริศนาแยกสารเพื่อนผสม  โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ชิ้นงาน และรูปแบบแบบทดสอบ

   2.3 ให้คุณครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา ใบกิจกรรม ชิ้นงาน และลักษณะข้อสอบ พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

      2.4 ครูผู้สอนนำหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนทองพูลอุทิศ

      2.5 นำหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(พื้นฐาน) รหัสวิชา ว 16101 ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566

      2.6 บันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ หากมีผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินในเรื่องใด ให้ใช้กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน และการสอนซ่อมเสริมด้วยคลิปวีดีทัศน์ที่ครูจัดทำขึ้น สำหรับใช้แก้ไขปัญหาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ศึกษา และทำการทดสอบใหม่ จนผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับการแก้ไขให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

       3.1 เชิงปริมาณ

       ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 51 คน ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(พื้นฐาน) รหัสวิชา ว 16101 โดยมีคะแนนทดสอบในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง การแยกสารเนื้อผสม ผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ 70 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด  และผู้เรียนทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมจัดการเรียนรู้ เรื่อง ปริศนาแยกสารเพื่อนผสมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากขึ้นไป

       3.2 เชิงคุณภาพ

       ผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 51 คน มีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้เรื่อง ปริศนาแยกสารเพื่อผสม และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน วิเคราะห์ และสังเคราะห์ มาใช้แก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการการเรียนรู้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน

การจัดการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐาน

ปัญหา รูปแบบการเรียนการสอนเป็นการทดลองผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งของครูผู้สอน ไม่ได้ส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งขัดกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด กระบวนการปฏิบัติ จึงทำให้นักเรียนเกิดความไม่สนุก ไม่มีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้ และจากการเรียนการสอนที่ผ่านมาพบว่านักเรียนยังไม่สามารถวิเคราะห์และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้น้อยมาก

การจัดการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะเป็นฐานเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และการมีส่วนร่วมของผู้เรียน

แก้ปัญหา การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงเนื้อหาจากการลงมือปฏิบัติ ค้นหา ความรู้ด้วยตนเอง และสรุปความรู้ด้วยตนเองได้ และตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นอย่างสร้าง

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)/รายงานผลการปฏิบัติงาน(PA)

คลิปการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้

คลิปการสอนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

ผู้สอนได้ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น

คลิปแรงบันดาลใจ

E-Portfolio :: เว็บไซต์แฟ้มสะสมงานออนไลน์เพื่อเก็บผลงานการปฏิบัติงานของ นางสาววรางคณา  ดำริห์

ตำแหน่ง ครู  โรงเรียนทองพูลอุทิศ 

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

E-mail : warangkana.mew@gmail.com    Line : moomew090934