1.6  ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนา การเรียนรู้ 

- มีการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ผู้เรียน เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

- วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อแก้ปัญหา ผู้เรียนที่มีผลการเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดโดยมีการบันทึกรายละเอียดไว้หลังแผนการจัดการเรียนรู้

-   วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลหลังจากการจัดการเรียนรู้แล้วนำมาจัดกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม เก่ง ปานกลาง อ่อน

- นำผลการจัดการเรียนรู้มาศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง

ปัญหาสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 แผนการจัดการเรียนรู้ และ/จัดทำรายงานตามองค์ประกอบของการวิจัยในชั้นเรียน

ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่นำมาพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพตามความสามารถ ความสนใจ และความถนัด ซึ่งในปัจจุบันมี 5 ทฤษฎีที่นิยมนำมาใช้สำหรับการสอน คือ 

1) ทฤษฎีกระบวนการ ทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information processing theory) มีแนวคิดว่าการทำงานของสมองมนุษย์มี ความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการทำงานเป็น 3 ส่วน คือ การรับข้อมูล (Input) การเข้ารหัส (Encoding) และการส่งข้อมูลออก (Output) ทั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการ จัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนได้คือ ให้รู้จักข้อมูล ใส่ใจหรือสังเกต จดบันทึก ทบทวน และทำซ้ าๆ 

2) ทฤษฎีพหุ ปัญญา (Multiple intelligences theory) มีแนวคิดว่ามนุษย์มีเชาวน์ปัญญามาตั้งแต่เกิดและสร้างขึ้นมาใหม่ มี 9 ด้าน ได้แก่ ด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านดนตรี ด้านการ เคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านการเข้าใจตนเอง ด้านความเข้าใจธรรมชาติ และด้านการดำรงอยู่ของชีวิต สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ตามความเหมาะสมกับตนเอง 

3) ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) มีแนวคิดว่า มนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และสิ่งแวดล้อมทางสังคมซึ่งเป็น วัฒนธรรมที่แต่ละสังคมสร้างขึ้น ซึ่งมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคล สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างกระบวนเรียนรู้เพื่อให้เกิดกระบวนสร้างความรู้จากการศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลอง เป็นต้น 

4) ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) มีแนวคิดว่าการเรียนรู้ที่คงทนเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของ ผู้เรียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจ ความถนัด ความสามารถ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เรียน ทำให้บรรยากาศในการเรียนมีความอบอุ่นและมีความสุข  

5) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning theory) มีแนวคิดว่าสมาชิก กลุ่มมีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยมีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ การพึ่งพากันทางบวก การมีปฏิสัมพันธ์เกื้อหนุนกัน การก าหนดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ ละคน การใช้ทักษะระหว่างบุคคลและทักษะกลุ่มย่อย และการใช้กระบวนการกลุ่ม สามารถน าไปประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถและได้ พัฒนาตนเอง  (อรรถพงษ์ ผิวเหลือง , 2565, น.21) 

แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน (ีการศึกษา1/2566)

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง 

ปริศนาแยกสารเพื่อนผสม

 วิเคราะห์ผู้เรียน

PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ Professional Learning Community 

RESEARCH

วิจัยในชั้นเรียน