หูควาย (ช้าแป้น)

ชื่อวิทยาศาสตร์: 𝘊𝘢𝘭𝘭𝘪𝘤𝘢𝘳𝘱𝘢 𝘢𝘳𝘣𝘰𝘳𝘦𝘢 Roxb.

ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE

ชื่ออื่น : กะตอกช้าง ตาโมงปะสี (ยะลา), ทับแป้ง (สระบุรี), เตน (เลย), ผ้า (เชียงใหม่ ภาคกลาง), ผ้าลาย (ภาคใต้), ฝ้า ฝ้าขาว พ่าขาว (ภาคเหนือ), พ่า (ภาคกลาง), มะผ้า (แม่ฮ่องสอน), สักขี้ไก่ (ลำปาง), เสี้ยม (จันทบุรี), หูควาย (ตรัง ภาคเหนือ), หูควายขาว (สุราษฎร์ธานี), หูควายใหญ่ (ชุมพร)


ลักษณะทางพฤกศาสตร์:

ช้าแป้นเป็นไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลสด รูปทรงกลม เมื่อสุกสีม่วง


สรรพคุณ : เปลือก ต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง และนั่งแช่รักษาอัมพาตระยะที่เป็นใหม่ ๆ แก่น ผสมสมุนไพรอื่นรวม 35 ชนิด ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้เปลี่ยนฤดูหรืออีสุกอีใส