หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

ใบความรู้ที่ 5

รายวิชา ง30292 สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การจัดหมู่หนังสือ

*******************************************************************************

การจัดหมู่หนังสือ

การจัดหมู่หนังสือ (Classification of Books) คือ การจัดหนังสือที่มีเนื้อหา หรือลักษณะ การประพันธ์เหมือนกันไว้ด้วยกัน และหนังสือที่มีเนื้อหาสัมพันธ์อยู่ใกล้เคียงกัน โดยกำหนดสัญลักษณ์ แทนเนื้อหาหนังสือแต่ละประเภท

สัญลักษณ์ (Notation) คือ สิ่งที่ใช้แทนเนื้อหารวมถึงวิธีการเขียนหนังสือเล่มนั้น สัญลักษณ์ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือผสมกันทั้งตัวอักษรกับตัวเลข (เอื้อมพร ทัศนประสิทธิผล, 2542, น. 49)

ระบบการจัดหมู่หนังสือ

ระบบการจัดหมู่ (Classification system) คือวิธีการจัดหมู่เพื่อกำหนดเลขหมู่ หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ (พูลสุข เอกไทยเจริญ, 2551, น. 54) ระบบการจัดหมู่ที่เป็นมาตรฐานสากลและ นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วโลกมีหลายระบบ แต่ที่นิยมใช้แพร่หลายในประเทศไทยในห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน และห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย มี 3 ระบบ คือ
1. ระบบทศนิยมของดิวอี้
(Dewey Decimal Classification System) หรือระบบ DDC

2. ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification System) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ระบบ LC ซึ่ง ดร.เฮอร์เบิร์ต พุทนัม (Herbert Putnum) ชาวอเมริกัน คิดขึ้น ปี คศ. 1899 เพื่อจัดหมู่หนังสือในหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใช้อักษรโรมัน A-Z และเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ นิยมใช้ในห้องสมุดเฉพาะและห้องสมุดขนาดใหญ่ ๆ ในประเทศไทยนิยมใช้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

3. ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (U.S. National Library of Medicine) หรือระบบ NLM โดย Mary L. Marshell เมื่อปี ค.ศ. 1948 ใช้จัดหมวดหมู่หนังสือด้านการแพทย์ สำหรับห้องสมุดแพทยศาสตร์ ใช้อักษรโรมันและเลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ

ประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือ

1. ทำให้หนังสือทุกเล่มมีสัญลักษณ์และมีตำแหน่งการจัดวางที่แน่นอน ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือได้สะดวกรวดเร็ว

2. ทำให้หนังสือที่มีเนื้อเรื่องเหมือนกัน และ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกันรวมอยู่ด้วยกัน

3. หนังสือที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน หรือสัมพันธ์กันจะอยู่ใกล้ ๆ กัน

5. ช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดเก็บหนังสือคืนที่ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

6. ช่วยให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือในแต่ละสาขาวิชา แต่ละเรื่อง (subjects) มากน้อยเท่าใด


การจัดหมู่ระบบทศนิยมของดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกย่อ ๆ ว่า ระบบดิวอี้ หรือระบบ D.C. หรือ D.D.C. บรรณารักษ์ชาวอเมริกันชื่อ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) เป็นผู้คิดระบบนี้ขณะที่เป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College) มลรัฐแมสซาชูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบบนี้ตีพิมพ์ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1876 (พ.ศ. 2419) มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้ทันสมัยอยู่เสมอ ปัจจุบันเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 22 ตีพิมพ์เมื่อ
ปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546)

ลักษณะเฉพาะของระบบทศนิยมดิวอี้ (ปราณี วงศ์จำรัส, 2551, น. 122-123)

1. สัญลักษณ์ (Notation) ใช้ตัวเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อเรื่องของหนังสือ เรียกว่า สัญลักษณ์บริสุทธิ์ (Pure Notation) ใช้ตัวเลข 3 หลัก ถัดจากหลักที่สามจะใช้จุดทศนิยม หลังจุดทศนิยมจะมีตัวเลขกี่หลักก็ได้

2. จัดแบ่งความรู้พื้นฐานตามหลักทฤษฏีการเกิดวิชาความรู้บนโลก เช่น ปรัชญา ศาสนา สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เป็นต้น จึงเรียกว่า ระบบทฤษฏี (Theoretical systems) โดยกำหนดการแบ่งวิชาความรู้ในแต่ละหมวดหมู่ไว้เป็นหลักเกณฑ์แน่นอน โดยคำนึงถึงลำดับพัฒนา การเกิดความรู้เป็นสำคัญ

3. โครงสร้างการจัดหมวดหมู่แบบลดหลั่น (Hierarchical Structure) จัดเรียงลำดับของเนื้อหาตามลำดับขั้นของความสำคัญหรือความสัมพันธ์ของเนื้อหา (Hierarchical arrangements) โดยจัดเรียงลำดับจากเรื่องทั่วไปไปยังเรื่องที่มีความเฉพาะเจาะจง เริ่มจากหมวดใหญ่ (Class หรือ Main Class) ไปยังหมวดย่อย (Division) ลงไปยังหมู่ย่อย (Section) และหมู่ย่อยของหมู่ย่อย (Subsection)

ระบบทศนิยมดิวอี้ แบ่งเนื้อหาวิชาเป็น 10 หมวด (Classes) แต่ละหมวดแบ่งออกเป็น 10 หมู่ (Division) แต่ละหมู่แบ่งออกเป็น 10 หมู่ย่อย (Section) โดยใช้ตัวเลขเลขอารบิก 3 หลัก คือ 000-900 เป็นสัญลักษณ์ และใช้เลขทศนิยมไม่จำกัดตำแหน่งเพิ่มเข้าไปในเลขหลัก เพื่อใช้แทนเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจง ดังนี้

1. หมวดใหญ่ (Classes) หรือการแบ่งครั้งที่ 1 แบ่งสาขาความรู้ในโลกออกเป็น 10 หมวด โดยใช้ เลขหลักร้อย เป็นสัญลักษณ์ ดังนี้

000 เบ็ดเตล็ด หรือความรู้ทั่วไป (Generalities)

100 ปรัชญาและจิตวิทยา (Philosophy and Psychology)

200 ศาสนา (Religion)

300 สังคมศาสตร์ (Social Science)

400 ภาษาศาสตร์ (Language)

500 วิทยาศาสตร์ (Pure Science)

600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Applied Science , Technology)

700 ศิลปะและนันทนาการ (Fine Arts)

800 วรรณคดี (Literature)

900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และชีวประวัติ (History , Geography , Biography)

2. หมวดย่อย (Division) หรือการแบ่งครั้งที่ 2 คือการแบ่งหมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็น 10 หมวดย่อย โดยใช้ เลขหลักสิบ แทนสาขาวิชาต่าง ๆ ดังตัวอย่าง

600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์

610 แพทย์ศาสตร์

620 วิศวกรรมศาสตร์

630 เกษตรศาสตร์

640 คหกรรมศาสตร์ และชีวิตครอบครัว

650 การจัดการธุรกิจ

660 วิศวกรรมเคมี และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

670 โรงงานอุตสาหกรรม

680 โรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะอย่าง

690 การก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง

3. หมู่ย่อย (Section) หรือการแบ่งครั้งที่ 3 เป็นการแบ่งหมวดย่อยแต่ละหมวด ออกเป็น 10 หมู่ย่อย รวมเป็น 1,000 หมู่ย่อย โดยใช้ เลขหลักหน่วย แทนสาขาวิชา ดังตัวอย่าง

610 แพทย์ศาสตร์

611 กายวิภาคศาสตร์

612 สรีรวิทยา

613 สุขวิทยา

614 สาธารณสุขศาสตร์

615 อายุรเวช

616 อายุรศาสตร์

617 ศัลยศาสตร์

618 สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

619 การทดลองยากับสัตว์ต่าง ๆ

4. จุดทศนิยม หรือการแบ่งครั้งที่ 4 คือการแบ่งให้ละเอียดโดยใช้ จุดทศนิยม หลังตัวเลขหลักที่สาม โดยตัวเลขหลังจุดทศนิยม ใช้แทนเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจง จะใช้ตัวเลขกี่หลัก ก็ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของหนังสือ ดังตัวอย่าง

332 เศรษฐศาสตร์การเงิน

332.1 ธนาคารและการธนาคาร

332.11 ธนาคารกลางของประเทศ ธนาคารชาติ

332.12 ธนาคารพาณิชย์

332.178 บริการพิเศษ เช่น บัตรเครดิต

332.21 ธนาคารออมสิน

332.3 สถาบันการให้เครดิตทางการเงินและการกู้เงิน

332.6 การลงทุน

332.673 การงทุนระหว่างประเทศ

332.75 การล้มละลาย

332.9 การปลอมแปลงเงินตรา

การจัดหมู่หนังสือที่ไม่ใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์

หนังสือบางประเภทผู้อ่านให้ความสนใจในด้านการใช้ภาษา ตลอดจนวิธีการดำเนินเรื่องมากกว่าสาระทางวิชาการ ห้องสมุดจึงใช้ตัวอักษรย่อของคำที่บอกประเภทหนังสือนั้นๆ แทนการให้เลขหมู่หนังสือแต่ละเล่ม ซึ่งห้องสมุดแต่ละแห่งอาจใช้ตัวอักษรย่อแตกต่างกันสำหรับหนังสือประเภทเดียวกัน เช่น

1. หนังสือนวนิยาย

น หรือ นว แทน นวนิยายภาษาไทย

F หรือ Fic แทน นวนิยายภาษาอังกฤษ (Fiction)

2. หนังสือรวมเรื่องสั้น

ร.ส. แทน รวมเรื่องสั้นภาษาไทย

S.C. แทน รวมเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ (Short Story Collection)

3. หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน

ด หรือ ย แทน หนังสือเด็ก หรือ เยาวชนภาษาไทย

E หรือ J แทน หนังสือเด็ก หรือ เยาวชนภาษาอังกฤษ

(Easy Book , Juvenile)

เลขเรียกหนังสือ (Call Number)

เลขเรียกหนังสือ คือ กลุ่มสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นใช้แทนหนังสือแต่ละเล่ม อย่างน้อยประกอบด้วย 2 ส่วน คือเลขหมู่กับอักษรย่อผู้แต่ง เพื่อบอกที่อยู่ของหนังสือ จะพิมพ์หรือเขียนไว้ที่ตอนล่างของสันหนังสือหรือหน้าปกหนังสือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเรียงหนังสือบนชั้น

เลขเรียกหนังสือในระบบทศนิยมของดิวอี้ประกอบด้วย เลขหมู่หนังสือ อักษรย่อของผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่งหรือเลขหนังสือ และอักษรย่อของชื่อหนังสือ

1. เลขหมู่หนังสือ (Class Number) คือ สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นแทนเนื้อหาของหนังสือ อาจเป็นตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเครื่องหมายอื่น ขึ้นอยู่กับห้องสมุดแต่ละแห่งจะเลือกใช้การจัดหมู่หนังสือ ระบบใดเพื่อกำหนดเลขหมู่หนังสือของตน

ตัวอย่าง เลขหมู่หนังสือ ระบบทศนิยมของดิวอี้ ใช้ตัวเลขอารบิกอย่างน้อย 3 หลัก ถ้าเลขเกิน 3 หลัก จะใช้จุดทศนิยม เช่น

020 หมายถึง หนังสือทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

895.91 หมายถึง หนังสือทางวรรณคดีไทย


2. เลขผู้แต่ง (Author Number) หรือเลขหนังสือ (Book Number) คือสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น ประกอบดัวยอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งชาวไทย หรืออักษรตัวแรกของชื่อสกุลผู้แต่ง ชาวต่างประเทศ

เลขประจำตัวผู้แต่ง และอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง (Workmark)

อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง

ศ 854 ส อักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

ส่วนประกอบของเลขเรียกหนังสือเพิ่มเติม

1. อักษรประกอบเลขหมู่ จะใช้เติมเหนือเลขหมู่ 000-900 เพื่อจำแนก ประเภทของหนังสือ เช่น

อ หรือ R, Ref ใช้กับ หนังสืออ้างอิง (Reference books)

สร หรือ GP ใช้กับ สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government publications)

ว หรือ TH ใช้กับ วิทยานิพนธ์ (Thesis)

บ หรือ C.L. ใช้กับ หนังสือแบบเรียน (Curriculum Laboratory)

ใช้กับ คู่มือครู

ใช้กับ หนังสือคู่มือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย

(เฉพาะห้องสมุดโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย)

2. อักษรขยายอื่น ๆ ได้แก่

เลขปี (Date) ใช้กับหนังสือที่จัดพิมพ์หลายครั้ง หรือหนังสือรายปี

เล่มที่ (Volume) ใช้กับหนังสือที่มีเนื้อหาหลายเล่มจบ ใช้อักษรย่อ ล. หรือ V.

ฉบับที่ (Copy number) ใช้กับหนังสือที่ห้องสมุดมีซ้ำกันหลายฉบับ ใช้อักษรย่อ ฉ. หรือ C.

ตัวอย่าง เลขเรียกหนังสือ สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2542 โดย

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร


338.10212

ศ854ส

2542

ฉ.1



อักษรประกอบเลขหมู่หรือสัญลักษณ์พิเศษ


เลขหมู่



อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง อักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

เลขปีพิมพ์


ตัวอย่าง เลขเรียกหนังสือ โรคพืชวิทยา เล่ม 2 โดย ประเทือง สง่าวงศ์


เลขหมู่

ข้อสังเกต

1. เลขเรียกหนังสือของหนังสือทั่วๆไป ประกอบด้วย

1.1 เลขหมู่หนังสือ

1.2 อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งที่เป็นคนไทย หรืออักษรตัวแรกของนามสกุลของ

ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ

2. เลขเรียกหนังสือของนวนิยาย หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน หนังสือรวมเรื่องสั้น ประกอบด้วย

2.1 ตัวอักษรแทนเลขหมู่ คือ น หรือ F, ย , ร.ส.

2.2 อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง/นามสกุล (เหมือนข้อ 1.2) และอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

3. หนังสืออ้างอิง แบบเรียน ปริญญานิพนธ์ หนังสือเยาวชน คู่มือครู สิ่งพิมพ์รัฐบาล และ

หนังสือคู่มือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย จะเพิ่มอักษรประกอบเลขหมู่หรืออักษรย่อสัญลักษณ์พิเศษ เหนือเลขเรียกหนังสือ

การจัดเรียงหนังสือบนชั้น

การเรียงหนังสือบนชั้น มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ

1. เพื่อให้ผู้ใช้หาหนังสือที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจัดหนังสือที่มีผู้นำออกมาใช้เข้าที่ได้อย่างสะดวก

ห้องสมุดจะใช้หลักเกณฑ์การเรียงหนังสือบนชั้นตามสัญลักษณ์ที่เรียกว่า เลขเรียกหนังสือ (Call Number) โดยยึดหลักการจัดดังนี้

1. จัดแยกหนังสือแต่ละประเภทออกจากกัน โดยดูจากสัญลักษณ์บอกประเภทของหนังสือที่อยู่เหนือเลขหมู่ (Classification numbers) เช่น “อ” “บ” “ค” เป็นต้น ส่วนหนังสือทั่วไปจะ ไม่มีสัญลักษณ์เหนือเลขหมู่หนังสือ หนังสือแต่ละประเภทจัดเรียงไว้ในกลุ่มเดียวกัน

2. เรียงหนังสือตามลำดับเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก เรียงจากซ้ายไปขวาเหมือนเข็มนาฬิกา เริ่มจากแถวบนลงไปแถวล่าง เรียงจนหมดชั้นในตู้หนึ่งแล้วจึงเริ่มเรียงในตู้อื่นต่อไป

3. การลำดับเลขเรียกหนังสือ พิจารณาที่ละส่วนดังนี้

3.1 เลขหมู่ เรียงจากเลขน้อยไปเลขมาก



915.93 920.543 959.93

3.2 เลขหมู่ซ้ำกัน ผู้แต่งคนละคน ให้เรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง

รวมทั้ง นวนิยาย เรื่องสั้น ที่ไม่ได้จัดไว้ในหมวด 800 แต่ใช้อักษรแทนเลขหมู่ ร.ส. และ


915.93 915.93 915.93

ก151ด ข216ก ค135ผ

3.3 เลขหมู่ซ้ำกัน และอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งซ้ำกัน ให้เรียงตามลำดับค่าเลขผู้แต่ง



915.93 915.93 915.93

ก251 ก741 ก911

3.4 เลขหมู่ซ้ำกัน อักษรตัวแรกของผู้แต่งซ้ำกัน เลขผู้แต่งซ้ำกัน ให้เรียงตาม ลำดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง


915.93 915.93 915.93

ก251ค ก251น ก251ห


3.5 หนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน ผู้แต่งคนเดียวกัน เล่มเดียวจบ มีจำนวนหลายฉบับ

ให้เรียงตามลำดับฉบับ ซึ่งใช้อักษรย่อ ฉ. (ฉบับ) หรือ C. (Copy)



915.93 915.93 915.93 796.41 796.41 796.41

ก251ค ก251ค ก251ค H419G H419G H419G

ฉ.1 ฉ.2 ฉ.3 C.1 C.2 C.3


3.6 หนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน ผู้แต่งคนเดียวกันมีหลายเล่มจบ (หนังสือชุด) ให้เรียงตาม ลำดับเล่ม ซึ่งใช้ อักษรย่อ ล. (เล่ม) หรือ V. (Volume)




959.3 959.3 959.3 796.41 796.41 796.41

ว415ป ว415ป ว415ป H419G H419G H419G

ล.1 ล.2 ล.3 V.1 V.2 V.3

3.7 หนังสือชุดที่มีหลายชุด ให้เรียงตามลำดับ เล่มที่ และฉบับที่



510 510 510 510 510 510

ก282ก ก282ก ก316พ ก316พ ก417บ ก417บ

ล.1 ฉ.1 ล.1 ฉ.2 ล.2 ฉ.1 ล.2 ฉ.2 ล.3 ฉ.1 ล.3 ฉ.2



796.41 796.41 796.41 796.41 796.41 796.41

H419G H419G H419G H419G H419G H419G

V.1 C.1 V.1 C.2 V.2 C.1 V.2 C.2 V.3 C.1 V.3 C.2


บรรณานุกรม

กอบแก้ว โชติกุญชร. (2544). การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: แม็ค.

ประหยัด ช่วยงาน. (2545). สารนิเทศและการสืบค้น. ลำปาง: คณะมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏลำปาง.

ปราณี วงศ์จำรัส. (2551). เอกสารคำสอนกระบวนวิชา 009105 สารสนเทศศึกษา.

ม.ป.ท.: ภาควิชาบรรณารักษศาตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พูลสุข เอกไทยเจริญ. (2551). การเขียนรายงานการค้นคว้า. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พวงรัตน์ กุลรัตน์. (ม.ป.ป.). การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: บัณฑิตสาส์น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สำนักหอสมุด. (2544). ห้องสมุดและสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า. เชียงใหม่:

สิรินาฏการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยาเขตปัตตานี. (2538). การใช้ห้องสมุดและทักษะการเรียน

(พิมพ์ครั้งที่ 3). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ลมุล รัตตากร. (2545). การใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุรีรัตน์ กองแดง. (ม.ป.ป.). ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.


การจัดหมู่หนังสือ

การจัดหมู่หนังสือ

การจัดหมู่หนังสือ (Classification of Books) คือ การจัดหนังสือที่มีเนื้อหา หรือลักษณะ การประพันธ์เหมือนกันไว้ด้วยกัน และหนังสือที่มีเนื้อหาสัมพันธ์อยู่ใกล้เคียงกัน โดยกำหนดสัญลักษณ์ แทนเนื้อหาหนังสือแต่ละประเภท

สัญลักษณ์ (Notation) คือ สิ่งที่ใช้แทนเนื้อหารวมถึงวิธีการเขียนหนังสือเล่มนั้น สัญลักษณ์ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือผสมกันทั้งตัวอักษรกับตัวเลข (เอื้อมพร ทัศนประสิทธิผล, 2542, น. 49)

ระบบการจัดหมู่หนังสือ

ระบบการจัดหมู่ (Classification system) คือวิธีการจัดหมู่เพื่อกำหนดเลขหมู่ หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ (พูลสุข เอกไทยเจริญ, 2551, น. 54) ระบบการจัดหมู่ที่เป็นมาตรฐานสากลและ นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วโลกมีหลายระบบ แต่ที่นิยมใช้แพร่หลายในประเทศไทยในห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน และห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย มี 3 ระบบ คือ

1. ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System) หรือระบบ DDC

2. ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification System) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ระบบ LC ซึ่ง ดร.เฮอร์เบิร์ต พุทนัม (Herbert Putnum) ชาวอเมริกัน คิดขึ้น ปี คศ. 1899 เพื่อจัดหมู่หนังสือในหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ใช้อักษรโรมัน A-Z และเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ นิยมใช้ในห้องสมุดเฉพาะและห้องสมุดขนาดใหญ่ ๆ ในประเทศไทยนิยมใช้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

3. ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (U.S. National Library of Medicine) หรือระบบ NLM โดย Mary L. Marshell เมื่อปี ค.ศ. 1948 ใช้จัดหมวดหมู่หนังสือด้านการแพทย์ สำหรับห้องสมุดแพทยศาสตร์ ใช้อักษรโรมันและเลขอารบิก เป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ

ประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือ

1. ทำให้หนังสือทุกเล่มมีสัญลักษณ์และมีตำแหน่งการจัดวางที่แน่นอน ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือได้สะดวกรวดเร็ว

2. ทำให้หนังสือที่มีเนื้อเรื่องเหมือนกัน และ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกันรวมอยู่ด้วยกัน

3. หนังสือที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวเนื่องกัน หรือสัมพันธ์กันจะอยู่ใกล้ ๆ กัน

5. ช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดเก็บหนังสือคืนที่ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

6. ช่วยให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือในแต่ละสาขาวิชา แต่ละเรื่อง (subjects) มากน้อยเท่าใด

การจัดหมู่ระบบทศนิยมของดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) เรียกย่อ ๆ ว่า ระบบดิวอี้ หรือระบบ D.C. หรือ D.D.C. บรรณารักษ์ชาวอเมริกันชื่อ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) เป็นผู้คิดระบบนี้ขณะที่เป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (Amherst College) มลรัฐแมสซาชูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบบนี้ตีพิมพ์ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1876 (พ.ศ. 2419) มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้ทันสมัยอยู่เสมอ ปัจจุบันเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 22 ตีพิมพ์เมื่อ ปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546)

ลักษณะเฉพาะของระบบทศนิยมดิวอี้ (ปราณี วงศ์จำรัส, 2551, น. 122-123)

1. สัญลักษณ์ (Notation) ใช้ตัวเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อเรื่องของหนังสือ เรียกว่า สัญลักษณ์บริสุทธิ์ (Pure Notation) ใช้ตัวเลข 3 หลัก ถัดจากหลักที่สามจะใช้จุดทศนิยม หลังจุดทศนิยมจะมีตัวเลขกี่หลักก็ได้

2. จัดแบ่งความรู้พื้นฐานตามหลักทฤษฏีการเกิดวิชาความรู้บนโลก เช่น ปรัชญา ศาสนา สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เป็นต้น จึงเรียกว่า ระบบทฤษฏี (Theoretical systems) โดยกำหนดการแบ่งวิชาความรู้ในแต่ละหมวดหมู่ไว้เป็นหลักเกณฑ์แน่นอน โดยคำนึงถึงลำดับพัฒนา การเกิดความรู้เป็นสำคัญ

3. โครงสร้างการจัดหมวดหมู่แบบลดหลั่น (Hierarchical Structure) จัดเรียงลำดับของเนื้อหาตามลำดับขั้นของความสำคัญหรือความสัมพันธ์ของเนื้อหา (Hierarchical arrangements) โดยจัดเรียงลำดับจากเรื่องทั่วไปไปยังเรื่องที่มีความเฉพาะเจาะจง เริ่มจากหมวดใหญ่ (Class หรือ Main Class) ไปยังหมวดย่อย (Division) ลงไปยังหมู่ย่อย (Section) และหมู่ย่อยของหมู่ย่อย (Subsection)

ระบบทศนิยมดิวอี้ แบ่งเนื้อหาวิชาเป็น 10 หมวด (Classes) แต่ละหมวดแบ่งออกเป็น 10 หมู่ (Division) แต่ละหมู่แบ่งออกเป็น 10 หมู่ย่อย (Section) โดยใช้ตัวเลขเลขอารบิก 3 หลัก คือ 000-900 เป็นสัญลักษณ์ และใช้เลขทศนิยมไม่จำกัดตำแหน่งเพิ่มเข้าไปในเลขหลัก เพื่อใช้แทนเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจง ดังนี้

1. หมวดใหญ่ (Classes) หรือการแบ่งครั้งที่ 1 แบ่งสาขาความรู้ในโลกออกเป็น 10 หมวด โดยใช้ เลขหลักร้อย เป็นสัญลักษณ์ ดังนี้

000 เบ็ดเตล็ด หรือความรู้ทั่วไป (Generalities)

100 ปรัชญาและจิตวิทยา (Philosophy and Psychology)

200 ศาสนา (Religion)

300 สังคมศาสตร์ (Social Science)

400 ภาษาศาสตร์ (Language)

500 วิทยาศาสตร์ (Pure Science)

600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Applied Science , Technology)

700 ศิลปะและนันทนาการ (Fine Arts)

800 วรรณคดี (Literature)

900 ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และชีวประวัติ (History , Geography , Biography)

2. หมวดย่อย (Division) หรือการแบ่งครั้งที่ 2 คือการแบ่งหมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็น 10 หมวดย่อย โดยใช้ เลขหลักสิบ แทนสาขาวิชาต่าง ๆ ดังตัวอย่าง

600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์

610 แพทย์ศาสตร์

620 วิศวกรรมศาสตร์

630 เกษตรศาสตร์

640 คหกรรมศาสตร์ และชีวิตครอบครัว

650 การจัดการธุรกิจ

660 วิศวกรรมเคมี และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

670 โรงงานอุตสาหกรรม

680 โรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะอย่าง

690 การก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง

3. หมู่ย่อย (Section) หรือการแบ่งครั้งที่ 3 เป็นการแบ่งหมวดย่อยแต่ละหมวด ออกเป็น 10 หมู่ย่อย รวมเป็น 1,000 หมู่ย่อย โดยใช้ เลขหลักหน่วย แทนสาขาวิชา ดังตัวอย่าง

610 แพทย์ศาสตร์

611 กายวิภาคศาสตร์

612 สรีรวิทยา

613 สุขวิทยา

614 สาธารณสุขศาสตร์

615 อายุรเวช

616 อายุรศาสตร์

617 ศัลยศาสตร์

618 สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

619 การทดลองยากับสัตว์ต่าง ๆ

4. จุดทศนิยม หรือการแบ่งครั้งที่ 4 คือการแบ่งให้ละเอียดโดยใช้ จุดทศนิยม หลังตัวเลขหลักที่สาม โดยตัวเลขหลังจุดทศนิยม ใช้แทนเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจง จะใช้ตัวเลขกี่หลัก ก็ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของหนังสือ ดังตัวอย่าง

332 เศรษฐศาสตร์การเงิน

332.1 ธนาคารและการธนาคาร

332.11 ธนาคารกลางของประเทศ ธนาคารชาติ

332.12 ธนาคารพาณิชย์

332.178 บริการพิเศษ เช่น บัตรเครดิต

332.21 ธนาคารออมสิน

332.3 สถาบันการให้เครดิตทางการเงินและการกู้เงิน

332.6 การลงทุน

332.673 การงทุนระหว่างประเทศ

332.75 การล้มละลาย

332.9 การปลอมแปลงเงินตรา

การจัดหมู่หนังสือที่ไม่ใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์

หนังสือบางประเภทผู้อ่านให้ความสนใจในด้านการใช้ภาษา ตลอดจนวิธีการดำเนินเรื่องมากกว่าสาระทางวิชาการ ห้องสมุดจึงใช้ตัวอักษรย่อของคำที่บอกประเภทหนังสือนั้นๆ แทนการให้เลขหมู่หนังสือแต่ละเล่ม ซึ่งห้องสมุดแต่ละแห่งอาจใช้ตัวอักษรย่อแตกต่างกันสำหรับหนังสือประเภทเดียวกัน เช่น

1. หนังสือนวนิยาย

น หรือ นว แทน นวนิยายภาษาไทย

F หรือ Fic แทน นวนิยายภาษาอังกฤษ (Fiction)

2. หนังสือรวมเรื่องสั้น

ร.ส. แทน รวมเรื่องสั้นภาษาไทย

S.C. แทน รวมเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ (Short Story Collection)

3. หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน

ด หรือ ย แทน หนังสือเด็ก หรือ เยาวชนภาษาไทย

E หรือ J แทน หนังสือเด็ก หรือ เยาวชนภาษาอังกฤษ

(Easy Book , Juvenile)

เลขเรียกหนังสือ (Call Number)

เลขเรียกหนังสือ คือ กลุ่มสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นใช้แทนหนังสือแต่ละเล่ม อย่างน้อยประกอบด้วย 2 ส่วน คือเลขหมู่กับอักษรย่อผู้แต่ง เพื่อบอกที่อยู่ของหนังสือ จะพิมพ์หรือเขียนไว้ที่ตอนล่างของสันหนังสือหรือหน้าปกหนังสือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดเรียงหนังสือบนชั้น

เลขเรียกหนังสือในระบบทศนิยมของดิวอี้ประกอบด้วย เลขหมู่หนังสือ อักษรย่อของผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่งหรือเลขหนังสือ และอักษรย่อของชื่อหนังสือ

1. เลขหมู่หนังสือ (Class Number) คือ สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นแทนเนื้อหาของหนังสือ อาจเป็นตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเครื่องหมายอื่น ขึ้นอยู่กับห้องสมุดแต่ละแห่งจะเลือกใช้การจัดหมู่หนังสือ ระบบใดเพื่อกำหนดเลขหมู่หนังสือของตน

ตัวอย่าง เลขหมู่หนังสือ ระบบทศนิยมของดิวอี้ ใช้ตัวเลขอารบิกอย่างน้อย 3 หลัก ถ้าเลขเกิน 3 หลัก จะใช้จุดทศนิยม เช่น

020 หมายถึง หนังสือทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

895.91 หมายถึง หนังสือทางวรรณคดีไทย

2. เลขผู้แต่ง (Author Number) หรือเลขหนังสือ (Book Number) คือสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น ประกอบดัวยอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งชาวไทย หรืออักษรตัวแรกของชื่อสกุลผู้แต่ง ชาวต่างประเทศ

เลขประจำตัวผู้แต่ง และอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง (Workmark)

อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง

ศ 854 ส อักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

ส่วนประกอบของเลขเรียกหนังสือเพิ่มเติม

1. อักษรประกอบเลขหมู่ จะใช้เติมเหนือเลขหมู่ 000-900 เพื่อจำแนก ประเภทของหนังสือ เช่น

อ หรือ R, Ref ใช้กับ หนังสืออ้างอิง (Reference books)

สร หรือ GP ใช้กับ สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government publications)

ว หรือ TH ใช้กับ วิทยานิพนธ์ (Thesis)

บ หรือ C.L. ใช้กับ หนังสือแบบเรียน (Curriculum Laboratory)

ค ใช้กับ คู่มือครู

ม ใช้กับ หนังสือคู่มือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย

(เฉพาะห้องสมุดโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย)

2. อักษรขยายอื่น ๆ ได้แก่

เลขปี (Date) ใช้กับหนังสือที่จัดพิมพ์หลายครั้ง หรือหนังสือรายปี

เล่มที่ (Volume) ใช้กับหนังสือที่มีเนื้อหาหลายเล่มจบ ใช้อักษรย่อ ล. หรือ V.

ฉบับที่ (Copy number) ใช้กับหนังสือที่ห้องสมุดมีซ้ำกันหลายฉบับ ใช้อักษรย่อ ฉ. หรือ C.

ตัวอย่าง เลขเรียกหนังสือ สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2542 โดย

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

อ อักษรประกอบเลขหมู่หรือสัญลักษณ์พิเศษ

338.10212 เลขหมู่

ศ854ส อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง อักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

2542 เลขปีพิมพ์

ฉ.1

ตัวอย่าง เลขเรียกหนังสือ โรคพืชวิทยา เล่ม 2 โดย ประเทือง สง่าวงศ์

เลขหมู่

ข้อสังเกต

1. เลขเรียกหนังสือของหนังสือทั่วๆไป ประกอบด้วย

1.1 เลขหมู่หนังสือ

1.2 อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งที่เป็นคนไทย หรืออักษรตัวแรกของนามสกุลของ

ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ

2. เลขเรียกหนังสือของนวนิยาย หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน หนังสือรวมเรื่องสั้น ประกอบด้วย

2.1 ตัวอักษรแทนเลขหมู่ คือ น หรือ F, ย , ร.ส.

2.2 อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง/นามสกุล (เหมือนข้อ 1.2) และอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

3. หนังสืออ้างอิง แบบเรียน ปริญญานิพนธ์ หนังสือเยาวชน คู่มือครู สิ่งพิมพ์รัฐบาล และ

หนังสือคู่มือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย จะเพิ่มอักษรประกอบเลขหมู่หรืออักษรย่อสัญลักษณ์พิเศษ เหนือเลขเรียกหนังสือ

การจัดเรียงหนังสือบนชั้น

การเรียงหนังสือบนชั้น มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ

1. เพื่อให้ผู้ใช้หาหนังสือที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจัดหนังสือที่มีผู้นำออกมาใช้เข้าที่ได้อย่างสะดวก

ห้องสมุดจะใช้หลักเกณฑ์การเรียงหนังสือบนชั้นตามสัญลักษณ์ที่เรียกว่า เลขเรียกหนังสือ (Call Number) โดยยึดหลักการจัดดังนี้

1. จัดแยกหนังสือแต่ละประเภทออกจากกัน โดยดูจากสัญลักษณ์บอกประเภทของหนังสือที่อยู่เหนือเลขหมู่ (Classification numbers) เช่น “อ” “บ” “ค” เป็นต้น ส่วนหนังสือทั่วไปจะ ไม่มีสัญลักษณ์เหนือเลขหมู่หนังสือ หนังสือแต่ละประเภทจัดเรียงไว้ในกลุ่มเดียวกัน

2. เรียงหนังสือตามลำดับเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก เรียงจากซ้ายไปขวาเหมือนเข็มนาฬิกา เริ่มจากแถวบนลงไปแถวล่าง เรียงจนหมดชั้นในตู้หนึ่งแล้วจึงเริ่มเรียงในตู้อื่นต่อไป

3. การลำดับเลขเรียกหนังสือ พิจารณาที่ละส่วนดังนี้

3.1 เลขหมู่ เรียงจากเลขน้อยไปเลขมาก


915.93 920.543 959.93


3.2 เลขหมู่ซ้ำกัน ผู้แต่งคนละคน ให้เรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง

รวมทั้ง นวนิยาย เรื่องสั้น ที่ไม่ได้จัดไว้ในหมวด 800 แต่ใช้อักษรแทนเลขหมู่ ร.ส. และ


915.93 915.93 915.93 น น น

ก จ ส ก151ด ข216ก ค135ผ

3.3 เลขหมู่ซ้ำกัน และอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งซ้ำกัน ให้เรียงตามลำดับค่าเลขผู้แต่ง

915.93 915.93 915.93

ก251 ก741 ก911

3.4 เลขหมู่ซ้ำกัน อักษรตัวแรกของผู้แต่งซ้ำกัน เลขผู้แต่งซ้ำกัน ให้เรียงตาม ลำดับอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง

915.93 915.93 915.93

ก251ค ก251น ก251ห

3.5 หนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน ผู้แต่งคนเดียวกัน เล่มเดียวจบ มีจำนวนหลายฉบับ

ให้เรียงตามลำดับฉบับ ซึ่งใช้อักษรย่อ ฉ. (ฉบับ) หรือ C. (Copy)


915.93 915.93 915.93 796.41 796.41 796.41

ก251ค ก251ค ก251ค H419G H419G H419G

ฉ.1 ฉ.2 ฉ.3 C.1 C.2 C.3


3.6 หนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน ผู้แต่งคนเดียวกันมีหลายเล่มจบ (หนังสือชุด) ให้เรียงตาม ลำดับเล่ม ซึ่งใช้ อักษรย่อ ล. (เล่ม) หรือ V. (Volume)


959.3 959.3 959.3 796.41 796.41 796.41

ว415ป ว415ป ว415ป H419G H419G H419G

ล.1 ล.2 ล.3 V.1 V.2 V.3

3.7 หนังสือชุดที่มีหลายชุด ให้เรียงตามลำดับ เล่มที่ และฉบับที่


510 510 510 510 510 510

ก282ก ก282ก ก316พ ก316พ ก417บ ก417บ

ล.1 ฉ.1 ล.1 ฉ.2 ล.2 ฉ.1 ล.2 ฉ.2 ล.3 ฉ.1 ล.3 ฉ.2

796.41 796.41 796.41 796.41 796.41 796.41

H419G H419G H419G H419G H419G H419G

V.1 C.1 V.1 C.2 V.2 C.1 V.2 C.2 V.3 C.1 V.3 C.2

บรรณานุกรม

กอบแก้ว โชติกุญชร. (2544). การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: แม็ค.

ประหยัด ช่วยงาน. (2545). สารนิเทศและการสืบค้น. ลำปาง: คณะมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏลำปาง.

ปราณี วงศ์จำรัส. (2551). เอกสารคำสอนกระบวนวิชา 009105 สารสนเทศศึกษา.

ม.ป.ท.: ภาควิชาบรรณารักษศาตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พูลสุข เอกไทยเจริญ. (2551). การเขียนรายงานการค้นคว้า. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พวงรัตน์ กุลรัตน์. (ม.ป.ป.). การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: บัณฑิตสาส์น

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สำนักหอสมุด. (2544). ห้องสมุดและสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า. เชียงใหม่:

สิรินาฏการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยาเขตปัตตานี. (2538). การใช้ห้องสมุดและทักษะการเรียน

(พิมพ์ครั้งที่ 3). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ลมุล รัตตากร. (2545). การใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุรีรัตน์ กองแดง. (ม.ป.ป.). ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.